การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7354
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1854 รหัสสำเนา 26998
คำถามอย่างย่อ
ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
คำถาม
ในมุมมองของรายงานอิสลาม,มุสลิมควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ เป็นศาสนาแห่งเมตตา ทันสมัย ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ทุกคนไปสู่ความเจริญผาสุกแท้จริง รายงานฮะดีซจำนวนมากมายได้เตือนสำทับ เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ พึงรักษาสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บรรดาผู้นำอิสลามต่างเน้นย้ำเสมอในเรื่อง ให้รักษาความเป็นธรรม รักษาสิทธิ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้ง และการประหัตประหารศาสนิกอื่น ณ ที่นี้จะขอหยิบยกตัวอย่างสักสองสามประเด็นดังนี้ :

ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามอธรรมกดขี่พลพรรคอิสลาม หรือมอบหมายหน้าที่เกินกำลังสามารถของเขา ในวันกิยามะฮฺ ฉันจะเป็นปรปักษ์กับเขา”[1]

ในทำนองเดียวกัน กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามกลั่นแกล้ง ผู้อาศัยอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม (ยะฮูดียฺ, คริสเตียน, โซโรแอสเตอร์) เท่ากับเขาได้กลั่นแกล้งฉัน”[2]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามกลั่นแกล้ง ผู้อาศัยอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม ประหนึ่งเขาได้กลั่นแกล้งฉัน”[3]

บรรดาผู้นำอิสลามต่างทราบดีว่า พวกท่านมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่อสถานภาพของผู้ที่มิใช่มุสลิมอาศัยอยู่ในรัฐอิสลาม

อิบนุอับบาซ เล่าจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า ท่านกล่าวว่า : “จงบริจาคทานแก่คนยากจนในทุกศาสนาแห่งฟากฟ้า”[4]

ท่านอิมามอะลี (อ.) วรรคหนึ่งของจดหมายที่ส่งให้มาลิกอัชตัร เขียนว่า : โอ้ มาลิกเอ๋ย จงเป็นผู้มีเมตตา มองดูผู้อื่นด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความรัก หัวอกของเจ้าต้องเปี่ยมไปด้วยความอาลัยรัก จงอย่าเป็นเหมือนสัตว์ดุร้ายที่ไล่ล่าชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา โอ้ มาลิกเอ๋ย ผู้ที่นอบรับคำสั่งเจ้ามีไม่เกินสองกลุ่ม ได้แก่มุสลิมและเพื่อนร่วมศรัทธากับเจ้า, หรือไม่ก็ศาสนิกอื่น ในกรณีนี้พวกเขาก็เหมือนกับเจ้า ในความเป็นมนุษย์”[5]

จำเป็นต้องพิจารณา คำสั่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้สั่งเสียแก่มาลิกอัชตัร ให้รอบคอบ เนื่องจากจดหมายฉบับนั้นได้ออกไป ขณะที่จำนวนมุสลิมให้อียิปต์มีจำนวนน้อยมาก และขณะนั้นอิสลามเพิ่งจะพิชิตได้ไม่นาน แน่นอน ในช่วงเวลาสองสามปีมีชนกลุ่มน้อยนิดเท่านั้นยอมรับอิสลาม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังนับถือศาสนาตริสอยู่[6]

ท่านอิมามซอดิก (อ.)  กล่าวถึง สิทธิของผู้อาศัยอยู่ในรัฐอิสลามว่า : “สิทธิของผู้ที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสลามคือ ทุกสิ่งที่อัลลอฮฺทรงยอมรับจากเขา เจ้าก็จงยอมรับเถิด และตราบที่พวกเขายังไม่ได้บิดพลิ้วสัญญาของพระเจ้า ผู้ทรงเกรียงไกร พวกเจ้าไม่มีอธรรมพวกเขาเด็ดขาด”[7]

ในทำนองเดียวกันคำแนะนำและเตือนสำทับจากท่านเราะชูล (ซ็อลฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมุสลิมว่า ให้ดำรงชีพอย่างสันติวิธีกับบรรดาผู้นับถือศาสนาในเมืองหรือประเทศอื่น (ประเทศที่มิใช่อิสลาม) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ดวงวิญญาณต่างหากที่มีการดำรงอยู่อย่างสันติวิธี อัลกุรอานเองก็ได้เน้นย้ำประเด็นนี้เอาไว้ สิ่งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า อิสลามเป็นศาสนาสูงส่งและมีความประเสริฐยิ่ง โดยสัญชาติญาณแล้วอิสลามมิได้มีจิตใฝ่หาความรุนแรง หรือกระหายสงครามแต่อย่างใด

ท่านอิมามอะลี (อ.) บางตอนของจดหมายที่ส่งให้มาลิกอัชตัร ได้เขียนว่า “ถ้าหากเจ้าได้สัญญาระหว่างเจ้ากับบรรดาศัตรูของเจ้า หรือสัญญาว่าจะให้สถานที่พักพิงแก่พวกเขา จงห่มอาภรณ์แห่งความซื่อสัตย์เถิด จงเคารพพันธสัญญาต่างๆ ของตน จงให้ชีวิตของตนเป็นโล่ป้องกันพันธสัญญาเหล่านั้นของตน เนื่องจากไม่มีข้อบังคับใดจากอัลลอฮฺ ที่จะเหมือนกับความซื่อสัตย์ ประชาคมโลกที่มีความขัดแย้งกันทุกวันนี้ พวกเขาก็มีความเห็นพร้องต้องกันว่าเกิดจากความไม่ซื่อสัตย์  แม้แต่พวกมุชริกีนในยุคอนารยชน นอกจากบรรดามุสลิมแล้ว พวกเขาก็รักษาความซื่อสัตย์ เนื่องจากพวกเขาเคยประสบกับความเลวร้ายจากการบิดพลิ้วสัญญามาแล้ว ด้วยเหตุนี้ เจ้าจงอย่าบิดพลิ้วสัญญาเด็ดขาด จงอย่าทรยศกับข้อสัญญาของตนที่ให้ไว้ จงอย่าหลอกลวงศัตรูของเจ้า เนื่องจากผู้ที่เป็นญาฮิลที่แร้งน้ำใจ บุคคลที่จิตใจแข็งกระด้างเขาไม่หันสู่พระเจ้า อัลลอฮฺทรงให้ความปลอดภัยสงบมั่น แก่บุคคลที่ได้ให้สัญญาในนามของพระองค์ พระองค์จะประทานความเมตตา อันเป็นแหล่งของความสะดวกสบายแก่ปวงบ่าว เพื่อเขาจะได้พึงพิงกับสิ่งนั้น[8]

บทสรุปจากคำแนะนำของเหล่าบรรดาผู้นำแห่งอิสลาม เกี่ยวกับการสร้ายความสัมพันธ์กับผู้ที่ใช่มุสลิมคือ รักษาความยุติธรรม และให้ความเป็นธรรม รักษาสิทธิ หลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้งศาสนิกอื่น เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาได้บิดพลิ้วสัญญา หรือทรยศ ฉะนั้น ในกรณีนี้อิสลามได้มีคำสั่งเด็ดขาดในการจัดการ และขจัดความเลวร้ายที่เกิดขึ้นให้สิ้นซากไป กล่าวว่า “จงกล่าวเถิด  โอ้  ชาวคัมภีร์เอ๋ย  เพราะเหตุใดพวกท่านจึงขัดขวางผู้ศรัทธา  จากทางของอัลลอฮฺ  ทั้งที่รู้แต่ปรารถนาจะให้ทางนั้นคด  อัลลอฮฺไม่เฉยเมยในสิ่งที่พวกท่านกระทำ”[9]

 


[1] ซ็อดรุดดีน บะบาฆี, อะดาลัต วะ เกาะฎอ ดัร อิสลาม, หน้า 57, ซัยนุลอาบิดีน, โกรบอนนี, อิสลามวะฮุกูกบะชัร, หน้า 397, "من ظلم معاهداً و كلفه فوق طاقته فانا خصمه یوم القیامة".

[2] ซ็อดรุดดีน บะบาฆี, เล่มเดิม, หน้า 57,

[3] อิบนุอบิลฮะดีด, ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, เล่ม 20, หน้า 253, ฮะดีซ 578, "من آدی ذمیاً آذانی".

[4] อะฟีฟ อับดุลฟะตาฮฺ เฎาะบาเราะฮฺ, รูฮุดดีน อัลอิสลามี, หน้า 276, ."تصدقوا علی اهل الادیان كلها"

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ,จดหมายฉบับที่ 53, กล่าวว่า

واشعر قلبك الرحمة للرعیة و المحبة لهم، و اللطف بهم، و لا تكونن علیهم سبعاً ضاریا تغتنم أكلهم، فانهم صنفان: اما اخ لك فی الدین، او نظیر لك فی الخلق ...".

[6] วารสาร มักตับอิสลาม ปี 8, ฉบับที่ 5, หน้า 49.

[7] วะซาอุลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 177, บทที่ 3, ،"و حق اهل الذمة ان تقبل ما قبل الله عز و جل و لا تظلمهم ما وفوا لله عزوجل بعهده".

[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ,จดหมายฉบับที่ 53, กล่าวว่า

"ان عقدت بینك و بین عدوك عقدة او البسته منك ذمة فحط عهدك بالوفاء و ارع ذمتك بالامانة،‌ و اجعل نفسك جنة دون ما أعطیت فانه لیس من فرائض الله شیء الناس اشدّ علیه اجتماعاً ، مع تفرق اهوائهم،‌ و تشتّت آرائهم، من تعظیم الوفاء بالعهود".

[9] บทอาลิอิมรอน, 99,กล่าวว่า : "قُلْ يا أَهْلَ الْكِتابِ لِمَ تَصُدُّونَ عَنْ سَبيلِ اللَّهِ مَنْ آمَنَ تَبْغُونَها عِوَجاً وَ أَنْتُمْ شُهَداءُ وَ مَا اللَّهُ بِغافِلٍ عَمَّا تَعْمَلُون"‏.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    5545 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7372 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8681 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6213 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11010 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7926 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    5863 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ผมทำงานอยู่ในร้านค้าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเจ้าของร้านตัดสินใจไล่ผมออกจากงาน แต่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้ผม อนุญาตหรือไม่ที่จะหยิบฉวยของในร้านหรือทรัพย์สินของเขาทดแทนค่าจ้างที่เขายังไม่ได้จ่ายให้ผม ?
    5749 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
    คำถามของคุณได้ถูกส่งไปยังสำนักงานมัรญะอ์ตักลีดหลายท่านแล้วและได้คำตอบมาดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอี“การกระทำในลักษณะตอบโต้ลูกหนี้จะเป็นที่อนุมัติก็ต่อเมื่อลูกหนี้อ้างโดยมิชอบว่าตนไม่ได้เป็นหนี้หรือขัดขืนไม่ยอมจ่ายหนี้โดยไม่มีทางอื่นที่จะทวงหนี้ได้นอกจากวิธีนี้แต่หากนอกเหนือจากนี้แล้วการที่จะยึดและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาซีซตานี“หากเขาเป็นหนี้เราและไม่ยอมจ่ายหนี้ในกรณีที่เขายอมรับว่าเขาเป็นหนี้เราสามารถชดเชยสิ่งนี้ด้วยการริบทรัพย์สินของเขาที่พบเห็น”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมามะการิมชีรอซี“เราไม่ทราบถึงเรื่องส่วนตัวดังกล่าวแต่โดยทั่วไปแล้วหากผู้ใดลิดรอนสิทธิผู้อื่น
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6551 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59392 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38419 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...