การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10490
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
คำถาม
คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร)

) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1]

) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ

1. “เซาะมัด” คือบุคคลซึ่งเป็นที่สุดของความดีงาม

2. “เซาะมัด” หมายถึงอาตมันบริสุทธิ์นิรันดร์ อมตะ และดำรงตลอดไป

3. “เซาะมัด” หมายถึงการมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีคู่ หมายความว่าทุกสิ่งที่มีความเต็มเปี่ยม ภายในไม่มีที่ว่างเปล่า

4. “เซาะมัด” หมายถึงบุคคลที่ไม่กินไม่ดื่มตลอดกาล

5. “เซาะมัด” หมายถึงบุคคลที่ไม่นอน[2]

อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “เซาะมัด” หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งยืนหยัดด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น[3]

ท่านอิมามอะลี บิน อัลฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า : เซาะมัดหมายถึง บุคคลผู้ซึ่งไม่มีหุ้นส่วน และการรักษาบางสิ่งมิใช่เรื่องยากลำบากสำหรับเขา, และไม่มีสิ่งใดถูกซ่อนเร้นสำหรับเขา[4]

เช่นเดียวกันกล่าวว่า ประชาชนชาวบัศเราะฮฺได้เขียนจดหมายถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วถามท่านถึงความหมายของ เซาะมัด ท่านอิมามได้ตอบพวกเขาว่า :

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ” พีงรู้ไว้เถิดว่าไม่สมควรถกเถียงหรืออภิปรายเกี่ยวกับอัลกุรอานโดยปราศจากความรู้” เนื่องจากฉันได้ยินท่านตาของฉันเราะซูลลุลลอฮฺ (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามที่พูดสิ่งใดโดยปราศจากความรู้ เขาต้องไปพำนักในไฟนรกสถานที่ซึ่งได้ตระเตรียมไว้สำหรับเขา อัลลอฮฺ ตรัสอธิบายคำว่า เซาะมัด ว่า :  "لَمْ يَلِدْ وَ لَمْ يُولَدْ وَ لَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُواً أَحَدٌ" พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติและมิมีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์” ใช่แล้วอัลลอฮฺ ทรงเป็นเซาะมัด หมายถึงพระองค์มิได้มีหรือถูกบังเกิดขึ้นมาจากสิ่งอื่น และมิได้มีอยู่ในสิ่งอื่น หรือมิได้สถิตอยู่บนสิ่งอื่น พระองค์คือผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง, และทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้เกิดขึ้นเพราะอำนาจของพระองค์ และสิ่งใดก็ตามที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการสูญสิ้น ก็จะสลายและสูญสิ้นด้วยพระประสงค์ของพระองค์, สิ่งใดก็ตามได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการธำรงอยู่ ทุกสิ่งก็จะดำรงอยู่ด้วยความปรีชาญาณของพระองค์ และนี่คือความหมายที่ว่า อัลลอฮฺ ทรงเป็นเซาะมัด[5]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ เมื่อพิจารณาความหมายของรายงานที่กล่าวอธิบายถึงคำว่า “เซาะมัด” ตามความเป็นจริงแล้วทั้งหมดได้กลับไปหาความจริงเดียวกัน นั่นคือความยิ่งใหญ่และจอมราชันย์ ซึ่งปราศจากความต้องการในทุกสิ่ง แต่ในทางตรงกันข้ามทุกสิ่งนั้นต้องพึ่งพาพระองค์

) ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า : ความหมายที่ว่าอัลลอฮฺทรงเป็น เซาะมัด หมายถึงว่าทุกสิ่งโดยตัวตนแล้ว หรือร่องรอยและโดยคุณสมบัติแล้ว ต้องการในพระองค์ทั้งสิ้น พระองค์คือที่สิ้นสุดของจุดหมายปลายทาง โดยหลักแล้วความหมายของคำว่า “เซาะมัด” คือ ความตั้งใจ หรือการตั้งเจตนาที่มีความเชื่อมั่น เมื่อกล่าวว่า : "صمده، يصمده، صمدا" บนรูปกริยาของ “นะเซาะเราะ ยันซุรุ” จะให้ความหมายว่า บุคคลนั้นได้ตั้งเจตนา หรือบุคคลนั้นได้ตั้งเจตนากับบางสิ่ง, ขณะที่เขามีความเชื่อมั่นกับบุคคลหรือสิ่งนั้น นักตัฟซีร บางท่านกล่าวคำนี้ เป็นคำคุณศัพท์ ซึ่งมีการตีความในหลายความหมาย ซึ่งความหมายส่วนใหญ่ล้วนกลับไปยังความหมายที่ว่า : “นายจอมราชันย์ผู้ซึ่งได้มีการตั้งเจตนาไปยังพระองค์ในทุกสารทิศ จนกระทั่งว่าสิ่งที่ตนได้ตั้งเจตนาได้รับการตอบสนอง” และเนื่องจากโองการที่กำลังกล่าวถึงนั้น มีความหมายกว้างโดยสมบูรณ์ จึงให้ความหมายดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) คือ นายผู้ทรงยิ่งใหญ่ ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหมดบนโลกนี้ ได้ตั้งเจตนาและความต้องการของพวกเขาไปยังพระองค์

แน่นอน เมื่ออัลลอฮฺ คือผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ และทุกสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งการมีอยู่ของเขานั้นอัลลอฮฺคือผู้ทรงประทานให้ ดังนั้น ทุกสิ่งที่คำว่า สิ่งได้ถูกใช้กับเขา ทั้งตัวตน คุณลักษณะ และร่องรอยของเขาล้วนต้องการไปยังอัลลอฮฺทั้งสิ้น, ซึ่งถ้าจ้องการขจัดความต้องการของเขา ต้องตั้งเจตนากับพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า:  [6] "أَلا لَهُ الْخَلْقُ وَ الْأَمْرُ" อีกโองการหนึ่งตรัสว่า : "وَ أَنَّ إِلى‏ رَبِّكَ الْمُنْتَهى‏"[7] ดังนั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าที่ใดก็ตามบนโลกนี้มีความต้องการ พระองค์คือ เซาะมัด,หมายถึง ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องพึ่งพาสิ่งใด เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นจะต้องสิ้นสุดจุดหมายปลายทางยังพระองค์ และทุกความต้องการของเขาสมจริงได้ เนื่องจากพระองค์

จากจุดนี้เป็นที่ชัดเจนว่า ถ้าหากอักษร อลีฟและลามเข้ามาบนคำวา “เซาะมัด” จะให้ความหมายเป็น ฮัศรฺ หมายถึง อัลลอฮฺ เท่านั้นที่พระองค์ทรงเป็น เซาะมัด โดยสมบูรณ์ ซึ่งต่างไปจากคำว่า อะฮัด เนื่องจากจะไม่มีอลีฟลาม เข้ามาบนคำนี้ เป็นเพราะว่าคำๆ นี้ มีความหมายอันเฉพาะเจาะจง และในประโยคที่เป็นประโยคบอกเล่า ไม่อาจพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวสำหรับสิ่งอื่น นอกจากอัลลอฮฺได้ ดังนั้น ไม่มีความต้องการอันใด ด้วยการนำเอาอลีฟลามฮัศรฺ เข้ามาแล้วจะสามารถนำเอาคนอื่นไปแทนที่อัลลอฮฺได้ หรือผู้อื่นจะสามารถแบกความรับผิดชอบ และทำให้ความหวังของคนอื่นสมประสงค์ได้[8]

คำถามข้อนี้ไม่มีคำตอบโดยละเอียด

 


[1] รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ, มุฟรอดาต อัลฟาซกุรอาน, เล่ม 1, หน้า 492, หมวดคำว่า “เซาะมัด” ซิฮาฮ์ อัลลุเฆาะฮฺ, มัจญฺมะอุลบะรัยนฺ, ญะวามิอุลญามิอ์, กอมูซุลกุรอาน, นิฮายะฮฺ อิบนุอะษรี และ ..

[2] มัจญิลิซซียฺ, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 3, สำนักพิมพ์ อัลวะฟาอฺ เบรูต, ฮ.ศ. 1409.

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม

[5] ฮุร ออมีลี, วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 27, หน้า 189, สถาบันอาลุลบัยตฺ (อ.) กุม, ฮ.ศ. 1409.

[6] พึงรู้เถิดว่า การสร้างและการบริหารทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น, บทอะอฺรอฟ 54

[7] แท้จริงจุดหมายปลายทาง (ของเขา) ย่อมไปสู่พระเจ้าของเจ้า, บทอันนัจมุ 42.

[8] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, อัลมีซานฟีตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 20, หน้า 388-389, สำนักพิมพ์ ตัฟตัรอินติชอรอิสลามมี,กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1417

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...