การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8350
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18616 รหัสสำเนา 19936
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
คำถาม
ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่นหรือญาติใกล้ชิด และสุดท้ายก็เป็นมุอฺมินผู้ศัรทธา, แต่มีอัลกุรอานบางโองการเช่นที่กล่าวว่า “อะลัยกุมอันฟุซะกุม” ประกอบกับมีรายงานบางบท เช่น ที่กล่าวว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ขณะดุอาอฺ จะดุอาอฺให้คนอื่นก่อน หลังจากนั้นจึงดุอาอฺให้แก่ตัวเองและครอบครัว สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งภายนอก และจะมีวิธีอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? และเราสมควรทำอย่างไรก่อน?
คำตอบโดยสังเขป

ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่น เพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้ว การชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของ ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, มีรายงานฮะดีซจำนวนมากของเราได้บ่งชี้และเน้นย้ำถึงประเด็นดังกล่าวเอาไว้อย่างมาก, เนื่องจากการกระทำอย่างนี้นอกจากจะไม่ทำให้ความปรารถนาล่าช้าออกไปแล้ว, ทว่ายังเป็นสาเหตุทำให้ความปรารถนาของตนสัมฤทธิผลโดยเร็วอีกต่างหาก และสิ่งนั้นก็จะทวีคูณมากยิ่งขึ้นไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

ระหว่างตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณ และการห่างไกลออกจากความผิด ตำแหน่งของการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งปรารถนาจากพระเจ้า เกิดความสับสนและผสมปนเปรในคำถาม, เนื่องจากตำแหน่งแรก , กล่าวคือปัญหาเรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจิตใจ และการออกห่างไกลจากบาปกรรมนั้น สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากอัลกุรอาน และรายงานต่างๆ ก็คือ, มนุษย์ต้องคำนึงและคิดถึงตัวเองก่อนคนอื่นเป็นสำคัญ, อัลกุรอาน ขณะที่สาธยายถึงความห่างไกลจากไฟนรก และการขัดเกลาจิตใจตนให้สะอาดจากความอนาจารด้านศีลธรรม ด้วยการผ่านขบวนการขัดเกลาจิตวิญญาณ, อัลกุรอาน ได้กล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายไว้เช่นนี้ว่า : โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! ดูแลตัวพวกเธอเองให้ดี (ให้รอดพ้นจากการหลงผิด การหลงทาง และการหลงลืม) ผู้ที่หลงผิดนั้นจะไม่เป็นอันตรายแก่พวกเธอดอก หากพวกเธอได้รับทางนำแล้ว ยังอัลลอฮฺคือการกลับคืนของพวกเธอทั้งหมด แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเธอในสิ่งที่พวกเธอเคยกระทำ[1] หรืออัลกุรอาน โองการอื่นได้กล่าวทำนองนี้ว่า :โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาจงคุ้มครองตัวของเองและครอบครัวของสูเจ้า ให้พ้นจากไฟนรกเพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน[2] (กล่าวคือจงอย่าทำให้ตนเองต้องโทษในไฟนรกด้วยบาปกรรมเหล่านี้)

ทำนองเดียวกันถ้าหากพิจารณา, โองการเหล่านี้ซึ่งกำลังวิภาษอยู่นี้มิได้กล่าวถึง ดุอาอฺและการสรรเสริญแต่อย่างใด, ทว่าตำแหน่งของมัน คือ ตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณ และการออกห่างไกลจากบาปและจริยธรรมไม่ดีทั้งหลาย ซึ่งในที่นั้นสิ่งจำเป็นคือ มนุษย์ต้องให้ความสำคัญต่อคนอื่นหรือเครือญาติก่อนตัวเอง, และแน่นอนสิ่งนี้มิได้หมายความว่า เป็นการละเว้นการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่วแต่อย่างใด, เนื่องจากตนได้กระทำสิ่งวาญิบต่างๆ โดยผ่านขบวนการขัดเกลาจิตวิญญาณ ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะมีข้ออ้างแล้วละเลยปัญหาเรื่องการขัดเกลาตนเอง

แต่ในส่วนของ ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขอสิ่งต้องการจากอัลลอฮฺ ตรงนี้สิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานจำนวนมากของเราก็คือ, สิ่งตรงข้ามกันกับปัญหาเรื่องการขัดเกลา, เนื่องจากตามคำแนะนำของบรรดามะอฺซูมผู้บริสุทธิ์ (.) ในกรณีนี้ดีกว่าให้นึกถึงบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ทำนองเดียวกันเรื่องราวของท่านอิมามฮะซัน (.) เกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มารดาของท่านซึ่งได้กล่าวถึงในตอนแรกของคำถามว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (.) ได้ตอบคำถามของท่านอิมามฮะซัน (.) เกี่ยวกับการดุอาอฺว่า : «الجار ثم الدار»؛ เพื่อนบ้านต้องมาก่อนคนในบ้าน[3] หรือในที่อื่นมีรายงานจากท่านอิมามซัจญาด (.) กล่าวว่า: แท้จริงมวลมลาอิกะฮฺหากได้ยินว่ามุอฺมินคนหนึ่งได้ดุอาอฺให้กับพี่น้องมุอฺมินอีกคนหนึ่งที่หายหน้าไป หรือกล่าวถึงความดีงามของเขา จะมีคำพูดกล่าวแก่เขาว่า : ช่างเป็นพี่น้องร่วมสายศรัทธาที่ดีเสียเหลือกิน,เขากำลังดุอาอฺสิ่งที่ดีให้แก่พี่น้องมุอฺมินด้วยกัน, ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้อยู่ต่อหน้าตนเองด้วย แต่กลับพูดถึงสิ่งดีๆ ของเขา, แน่นอน อัลลอฮฺ จะทรงตอบแทนให้ท่านเป็นสองเท่า ในสิ่งที่ท่านได้วอนขอให้กับพี่น้องผู้ศรัทธาด้วยกัน[4]

รายงานทำนองนี้มีอยู่ในตำราฮะดีซเป็นจำนวนมาก, ตัวอย่าง, หนังสือวะซาอิลุชชีอะฮฺ ภายใต้หัวข้อว่า

«بَابُ اسْتِحْبَابِ اخْتِیَارِ الْإِنْسَانِ الدُّعَاءَ لِلْمُؤْمِنِ عَلَى الدُّعَاءِ لِنَفْسِهِ»

มุสตะฮับให้ดุอาอฺให้แก่บุคคลอื่นก่อนที่จะดุอาอฺให้แก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งในที่นั้นจะมีรายงานจำนวนมากที่กล่าวเกี่ยวกับการขอดุอาอฺให้คนอื่นก่อนตนเอง

เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมศึกษาได้จากหัวข้อ การดุอาอฺให้แก่คู่ครองที่หลงทางและเครือญาติคำถามที่ 14979 (ไซต์ : 14755)



[1] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 105.

[2] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 6.

[3] เชค โฮรอามีลียฺ, วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 7, หน้า 112, بَابُ اسْتِحْبَابِ اخْتِیَارِ الْإِنْسَانِ الدُّعَاءَ لِلْمُؤْمِنِ عَلَى الدُّعَاءِ لِنَفْسِهِ มุอัซซะซะฮฺ อาลัลบัยตฺ, กุม

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 111

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    4976 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    11697 بروج 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • หากประสบกับภาวะน้ำแพง จะอาบน้ำยกหะดัสใหญ่อย่างไร?
    6977 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    โดยปกติแล้วการทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ถือเป็นมุสตะฮับแต่จะเป็นวาญิบต่อเมื่อต้องทำนมาซฟัรดูหรืออิบาดะฮ์อื่นๆ[1]แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้เพื่ออาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นมีราคาสูงเสียจนอาจสร้างปัญหาแก่คุณในแง่ทุนทรัพย์ในกรณีเช่นนี้การหาน้ำและการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ก็ไม่เป็นวาญิบอีกต่อไปและสามารถทำตะยัมมุมแทนได้[2]ควรใช้น้ำสำหรับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เท่าที่ความสามารถของท่านจะอำนวยฉะนั้นการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่กับน้ำนั้นจะเป็นวาญิบเฉพาะกรณีที่เงื่อนไขด้านน้ำเอื้ออำนวยเท่านั้นอนึ่งหากในหนึ่งวันท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้เพียงครั้งเดียวท่านสามารถเลื่อนการนมาซซุฮริ-อัซริออกไปและอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เพื่อให้สามารถทำนมาซซุฮ์ริ, อัซริ, มักริบและอีชาด้วยกับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ครั้งเดียวได้และหากท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้๒ครั้งให้อาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซซุบฮิหนึ่งครั้งและทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซ๔เวลาที่เหลือดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (โดยเลื่อนการนมาซซุฮริและอัศริออกไปจนใกล้ถึงเวลานมาซมักริบและอิชา)[1]ประมวลปัญหาศาสนาโดยบรรดามัรญะอ์,เล่ม 1,
  • บุตรีของมุสลิม บิน อะกีลมีชื่อว่าอะไร?
    6581 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    หลังจากได้ศึกษาหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านมุสลิมบินอะกีลเข้าใจได้ว่าท่านมุสลิมมีบุตรี 2 คนนามว่าอาติกะฮฺและฮะมีดะฮฺซึ่งอาติกะฮฺอยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺด้วยและเธอได้ชะฮีดในวันอาชูรอขณะศัตรูได้บุกโจมตีเต็นท์ต่างๆส่วนฮะมีดะฮฺได้ถูกจับตัวเป็นเชลยพร้อมกับเชลยแห่งกัรบะลาอฺซึ่งตระกูลของมุสลิมได้สืบเชื้อสายมาจากนาง ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7529 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    10759 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    10412 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9015 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    6514 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    5562 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57978 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40699 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37609 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36582 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32662 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26856 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26425 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26203 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24320 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...