การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
22980
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
คำถาม
จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์

ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร

คำตอบเชิงรายละเอียด

การจัดงานฉลองวันเกิด มิได้เป็นแบบฉบับของอิสลาม และตามคำสอนของอิสลามก็มิได้แนะนำเอาไว้ว่า ให้มนุษย์จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดของตัวเอง, หรือแม้แต่การให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ถึงแม้ว่าจะมีผลบุญ และมีผลสะท้อนในแง่ดีก็ตาม แต่ในประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกและตะวันออกก็ไม่เคยมีมาก่อน อัลลอฮฺ (ซบ.) ก็มิได้ทรงเอ่ยถึงวันเกิดของใครนอกจาก 2 เหตุการณ์ด้วยกัน กล่าวคือวันเกิดของศาสดามูซา (อ.) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเมตตากรุณาของพระองค์ ที่มีต่อมูซา และการให้เกียรติอันเฉพาะเจาะจงสำหรับเขา และทรงช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากน้ำมือของฟาโรห์ และทรงชุบเลี้ยงให้เติบโตขึ้นมาภายในครอบครัวของเขา อัลกุรอานกล่าวว่า < فَالْتَقَطَهُ آلُ فِرْعَوْنَ لِيَكُونَ لَهُمْ عَدُوًّا وَ حَزَناً >:  ดังนั้น บริวารของฟิรเอานได้เก็บเขาขึ้นมา (จากน้ำ) เพื่อให้เขากลายเป็นศัตรูและเป็นความเศร้าโศกแก่พวกเขา[1]

สองวันประสูติศาสดาอีซา (อ.) ในฐานะที่เป็นแหล่งเผยอำนาจของพระเจ้า, แต่พระองค์มิได้กล่าวถึงการประสูติของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดาท่านอื่นเลย, เนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องถือกำเนิดตามวาระกำหนด, จึงไม่มีคุณค่าอันใดพิเศษสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้เองชัรอียฺอิสลาม จึงมิได้มีการแนะนำว่าให้จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดแก่ตนเองแต่อย่างใด หรือแม้แต่วันประสูติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) หรือบุคคลอื่นก็มิได้สนับสนุนให้จัด ในกรณีนี้บรรดามุสลิมได้ลอกเรียนแบบวัฒนธรรมของคนอื่นมา และจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังที่บรรดาคริสเตียนได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ผู้อาวุโส นักวรรณกรรม นักศีลปะ และผู้มีความสำคัญในชีวิตของพวกเขา ขึ้นทุกปี หรือแม้แต่จุดเริ่มต้นของวันที่ ก็ถือเอาวันเกิดของศาสดาอีซา (อ.) เป็นที่ตั้ง ขณะที่มุสลิมได้ถือเอาการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในครั้งแรกเป็นเริ่มต้นวันที่และปี

อย่างไรก็ตาม เรามิได้มองการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดไปในแง่ลบ หรือไม่ดีแต่อย่างไร,เนื่องจากเราถือว่าการลอกเรียนแบบลักษณะนี้ หรือการจัดงานฉลองวันเกิดให้แก่ผู้อาวุโสแห่งอิสลาม มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด เนื่องจากงานเหล่านี้หรือการให้ความสำคัญต่อต่อการฉลองวันเกิด ทำให้ประชาชนได้รู้จักบรรดาคำสอน ความพยายาม สาส์น และจริยธรรมของบรรดาท่านผู้นำเหล่านั้นดียิ่งขึ้น เพื่อประยุกต์ตนเองให้เข้ากับคำสอนเหล่านั้น และเท่ากับเป็นการนำเสนอท่านเหล่านั้นเพื่อให้สังคมได้รู้จักอีกครั้ง และเป็นการทำให้ประชาชาติมุสลิมมีความสนุกสนานรื่นเริง ประกอบกับได้นำเอาวิถีชีวิตของท่านเหล่านั้น มาเป็นแบบอย่าง หรือปลุกเร้าประชาชนให้ตื่นตัวในทุกปี จากจุดนี้เองที่เรามีความเห็นต่าง และไม่เห็นด้วยกับมุสลิมบางกลุ่มที่ต่อต้านการจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูตินบี (ซ็อล ฯ) โดยกล่าวโจมตีว่าการจัดงานดังกล่าว เป็นบิดอะฮฺ (อุปโลกน์) ขึ้นใหม่ในอิสลามและฮะรอม, ด้วยเหตุผลว่า บิดอะฮฺ มิได้ครอบคลุมภารกิจซึ่งประชาชนรู้ว่า มิได้มีกฎเกณฑ์อันใดมาจากพระเจ้าในเรื่องนั้น เพื่อจะได้กล่าวว่านั้นเป็นซุนนะฮฺที่ฮะรอม. 2) การจัดงานฉลองวันเกิดมีผลในแง่บวก, เนื่องจากได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชาติอิสลาม กับบรรดาผู้นำศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลาม และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับท่านเหล่านั้น ได้นำเอาแบบอย่างของพวกเขา ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยแนวคิด ประสบการณ์ สาระอันเป็นแก่สาร มาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัว และเป็นแบบอย่างแก่ชีวิตของพวกเขา อีกด้านหนึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงสั่งห้ามโดยถือว่าการจัดงานฉลองวันเกิด วันตรุษ และการแสดงความสุขสันต์ต่อกันเป็นสี่งฮะรอม หรือการปฏิบัติตามแบบอย่าง เฉกเช่น การนำเอาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตที่ผลิตขึ้นมา ซึ่งชีวิตมนุษย์คุ้นเคย ต้องใช้ประโยชน์ และต้องใช้ชิวิตอยู่ร่วมกับสิ่งเหล่านั้น ถือว่าไม่เป็นไร

ปัญหาเรื่องการจัดงานฉลองวันเกิดสำหรับบุคคลหนึ่ง, ถือว่าเป็นสภาพของการแสดงความเป็นมิตร และความใกล้ชิด ซึ่งบุคคลหนึ่งได้จัดขึ้นเนื่องจากตัวเขาได้ย่างก้าวเข้ามาสู่โลก หรือเพื่อสำเหนียกการดำเนินชีวิตตลอดระยะหนึ่งปีที่ผ่านมา เราไม่ต้องการทำร้ายประเพณีเหล่านี้ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับการนำเข้าประเพณีของคนอื่นโดยการปฏิบัติตามเยี่ยงคนตาบอด เนื่องจากโดยหลักการแล้วเชื่อว่า ประเพณีและแบบอย่างต่างๆ ต้องมีรากที่มาที่ลุ่มลึกเพื่อสร้างความชัดเจนแก่ประชาชาติ แต่หลังจากได้รับรู้ประเพณีเหล่านี้แล้ว หรือประเพณีเหล่านี้ได้ถูกจัดขึ้นในสังคมแล้ว เราสามารถทำให้มีความสมบูรณ์เกิดขึ้นได้ เช่น งานฉลองวันเกิดบุตรหลานของตน เราสามารถดัดแปลงเป็นงานขอบคุณต่อพระเจ้า ที่พระองค์ทรงโปรดประทานความโปรดปราน และชีวิตแก่เราตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการกล่าวสรรเสริญต่อพระองค์ ด้วยวิธีการเฉกเช่นที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ต้อนรับยามรุ่งอรุณในตอนเช้าและยามพลบค่ำ โดยกล่าวว่า ..

«و هذا يوم حادث جديد و هو علينا شاهد عتيد، ان احسنّا ودّعنا بحمد، و ان اسأنا فارقنا بذم»

“วันนี้คือ วันเกิดขึ้นใหม่ วันซึ่งเพิ่งจะมาถึงใหม่ เป็นวันซึ่งได้ยืนยันต่อการกระทำของเรา ถ้าหากเรากระทำสิ่งดีขอให้เราจากวันนี้ด้วยการสรรเสริญพระองค์, แต่ถ้าเรากระทำชั่วร้ายขอให้เราแยกออกจากความชั่วร้ายนั้นด้วยเถิด”[2]

ดังนั้น เราสามารถดัดแปลงประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่ หรืองานฉลองวันเกิดของบุคคล ให้เป็นงานที่คู่ควรเหมาะสมต่อการสรรเสริญขอบคุณพระเจ้า ที่พระองค์ได้ดูแลเขาตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน, อีกทั้งเป็นโอกาสดีสำหรับการคิดใคร่ครวญว่า เขาได้ใช้ชีวิตไปอย่างไรตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และชีวิตที่เหลือเขาควรจะปรับปรุงแก้ไขให้ดีได้อย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงวิงวอนต่อพระองค์ว่า :

«اللّهم اجعل مستقبل امرى خيراً من ماضيه و خير اعمالى خواتيمها و خير ايامى يوم القاك فيه»؛

“โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์”[3]

ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร

 

 


[1] อัลกุรอาน บทเกาะซ็อซ 8.

[2] คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลของซัยยิด ฟัฏลุลลอฮฺ

[3] อ้างแล้ว

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5875 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5955 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9728 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7873 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    5587 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5951 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12088 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    6956 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
    5555 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/03/07
    คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์ นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์: وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13346 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...