การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7728
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/04/17
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
คำถาม
ชีอะฮฺกล่าว่า มุอาวิยะฮฺเป็นการเฟร แต่เรากลับเห็นว่าท่านอิมามฮะซัน บุตรของอะลี (อ.) ตามคำกล่าวของชีอะฮฺ เขาเป็นอิมามมะอฺซูม ได้ทำสัญญาสันติภาพกับมุอาวิยะฮฺ และถอนตัวจากการดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ดังนั้นชีอะฮฺจำเป็นต้องพูดว่า อิมามฮะซัน (อ.) ได้ถอนตัวจากตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ เพื่อประโยชน์ของกาเฟรคนหนึ่ง แน่นอนสิ่งนี้ย่อมขัดแย้งกับการเป็นมะอฺซูมของท่าน หรือไม่ก็ต้องยอมรับว่ามุอาวิยะฮฺเป็นมุสลิมคนหนึ่ง
คำตอบโดยสังเขป

มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป

อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.)  (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

แทนคำถามนี้ ซึ่งผู้ถามผู้ที่เกียรติกรุณาถามมานั้น เป้าหมายของการถามที่ได้ถามมานั้นคืออะไร เนื่องจากวิธีอธิบายคำถาม จึงเป็นลักษณะของคำสั่งให้ตอบ? ท่านต้องการลบใบหน้าอันเลวร้าย และความชั่วที่มุอาวิยะฮฺได้กระทำไว้ให้หมดไปหรือ หรือต้องการต้องการทราบเหตุผลที่แท้จริงของการทำสัญญาสันติภาพ ระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) บุตรชายของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เป็นไปได้ไหมว่า เพื่อสิ่งที่สูงกว่าถ้าจะทำสัญญาสันติภาพตามที่ได้ถามมาข้างต้น กับบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความเชื่อศรัทธาเลย? อย่างไรก็ตามชีอะฮฺมีความเชื่อว่า เพียงแค่การคำปฏิญาณ (ชะฮาดะตัยนฺ) ภายนอกเท่านั้น ก็สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเขาผู้นั้นเป็นมุสลิม แต่สิ่งนี้มิได้เป็นเหตุผลว่าทุกคนที่ยอมรับอิสลามแล้ว เขาจะยืนหยัดมั่นคงอยู่กับหลักความศรัทธา และคุณค่าของอิสลาม เกี่ยวกับมุอาวิยะฮฺนั้น มีรายงานจำนวนมากทั้งจากฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺที่ยืนยันว่า เขาไม่เขายึดมั่นอยู่กับหลักการอิสลามเลย

ณ โอกาสนี้ขอนำเสนอรายงานที่มาจากฝ่ายซุนนียฺ ดังนี้ :

อะฮฺมัด บิน ฮันบัล รายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน บุรีดะฮฺว่า “ฉันและบิดาของฉันได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺ เขาได้เรียกให้เรานั่งบนพรหม และได้นำเอาอาหารมาเลี้ยง พวกเราได้กินอาหารนั้น หลังจากนั้นเขาได้นำเอาสุรามาเลี้ยง มุอาวิยะฮฺดื่มสุราเหมือนเรื่องปรกติ เขาได้เชิญให้บิดาของฉันดื่มด้วย แต่บิดาของฉันพูดว่า นับตั้งแต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ห้ามดื่มสุรา ฉันก็ไม่เคยดื่มอีกเลย[1] ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ที่ดื่มสุราประหนึ่งผู้ที่กำลังสักการะเจว็ดรูปปั้นทั้งหลาย[2] เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮฺของท่านศาสดา เขายังเป็นคนแรกที่ได้ให้อะซานในนะมาซอีดทั้งสอง เขาได้สร้างบิดอะฮฺต่างๆ มากมายในศาสนา[3] ขณะที่ตามชัรอียฺแล้วมิได้มีการอนุญาตให้อะซาน นอกจากในนะมาซวาญิบประจำวันเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมุสลิมทุกคน และของทุกมัซฮับ ท่านอิบนุอับบาส และญาบิร กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไม่เคยอะซานในวันอีดฟิฏร์และอีดอัฎฮาเลย”[4] เขาได้ให้คนซีเรียนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ มัสอูดดียฺ กล่าวว่า “การภักดีของชาวเมืองซีเรียที่มีต่อมุอาวิยะฮฺถึงขั้นที่ว่า เมื่อมุอาวิยะฮฺเคลื่อนทัพไปยังซิฟฟีน เขาได้จัดนะมาซญุมุอะฮฺ ขึ้นในวันพุธ[5] และภารกิจอื่นๆ อีกที่เขาได้กระทำ ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงว่าตัวมุอาวิยะฮฺ ไม่เคยใส่ใจต่อหลักการอิสลาม

ในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ที่กล่าวว่าเกียรติยศของพวกเขาคือการได้ปฏิบัติซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ฉะนั้น การปกป้องบุคคลเฉกเช่นมุอาวิยะฮฺ มิใช่เรื่องประหลาดหรือ

แต่สิ่งที่หน้าประหลาดใจไปยิ่งกว่านั้นก็คือ เขาได้สนใจบุคคลหนึ่ง ซึ่งท่านเราะซูลและรายงานฮะดีซได้กล่าวถึงเขา ในทางเสื่อมเสียทั้งให้หนังสือชีอะฮฺ และซุนนียฺ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ เคาะซออิซ อะมีรุลมุอฺมินีน (อ.) ซึ่งบางส่วนได้นำเสนอไปตามความเหมาะสม เช่น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ฮะซันและฮุซัยนฺ ดอกไม้สองดอกที่สุดหอมหวนสำหรับฉันในโลกนี้” “ฮะซันและฮุซัยนฺ ทั้งสองคือบุตรของฉันและเป็นหัวชาหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์”[6]

แต่จุดประสงค์ของผู้ถามถึงสาเหตุของการทำสัญญาสันติภาพระหว่าง ท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ ซึ่งในทัศนะของผู้ถามเข้าใจว่าบุคคลเฉกเช่น อิมามจะทำสัญญาสันติภาพกับคนเช่นมุอาวิยะฮฺได้อย่างไร โดยต้องการอยากทราบทัศนะของชีอะฮฺที่มีต่อมุอาวิยะฮฺ ดังนั้น จะกล่าวโดยสรุปสั้นๆ ว่า หลังจากท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ชะฮีดไปแล้ว ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ก็ได้ดำรงตำแหน่งอิมามแทน ซึ่งนับตั้งแต่วันแรกสิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับท่านอิมามฮะซัน (อ.) คือมุอาวิยะฮฺและการกระทำของเขา เนื่องจากเขาได้เริ่มก่อกวน สร้างอุบายและแผนการต่างๆ แสดงความดื้อรั้น เขาได้ต่อต้านอิมามทั้งที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากท่านเราะซูล (อ.) และประชาชนก็ได้ให้บัยอัตกับท่านด้วย ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้ส่งจดหมายหลายฉบับไปถึงมุอาวิยะฮฺ เพื่อให้ข้อพิสูจน์สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้มีบันทึกอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น[7] แต่จดหมายเหล่านั้นหาได้มีผลอันใดต่อมุอาวยะฮฺไม่ ทว่าในทางกลับกันมุอาวิยะฮฺได้จัดตั้งทัพเพื่อเคลื่อนไปสู่อิรัก ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการจัดทัพ และอาศัยความเสียสละของเหล่าสหายจำน้อยนิด เพื่อต่อสู้กับกองทัพของมุอาวิยะฮฺ แต่น่าเสียดายว่ากองทัพที่อ่อนแอของท่านอิมาม ไม่อาจต้านทานกำลังทรัพย์ของมุอาวิยะฮฺ ที่ใช้หว่านซื้อทหารในกองทัพของท่านอิมามไปมากมาย ซึ่งแม่ทัพของท่านอิมามด้วยซ้ำไปที่เขาและทหารอีกจำนวนหนึ่ง ได้แปรพักตร์ไปเข้ากับมุอาวิยะฮฺ[8] ท่านอิมาม (อ.) เมื่อได้เห็นสถานการณ์เช่นนั้น เห็นเหล่าทหารที่ไม่ซื่อสัตย์ ท่านได้ปรึกษากับเหล่าสหายของท่าน เพื่อจะได้รวบรวมกำลังต่อสู้กับมุอาวิยะฮฺ แต่ทว่าส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะสู้รบ จนในที่สุดท่านอิมามได้กล่าวว่า “ฉันได้สัญญาสันติภาพตามคำเรียกร้องของคนส่วนใหญ่ ฉันไม่พอใจที่จะต้องบีบบังคับผู้ใดให้ต้องทำตาม และฉันต้องการรักษาชีวิตของชีอะฮฺจำนวนน้อยนิดให้คงอยู่ต่อไป จึงได้ถอนทัพไว้สู้รบในโอกาสต่อไป (ทำสัญญาสันติภาพ) แน่อนอัลลอฮฺ ทรงอานุภาพยิ่งเสมอ[9]

ดังนั้น เมื่อพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ความแตกแยกทางความคิดโดยน้ำมือของมุอาวิยะฮฺ ความเหน็ดเหนื่อยของประชาชนจากสงคราม สัญญาสันติภาพอันไม่พึงประสงค์จึงต้องเกิดขึ้น แน่นอนว่า สัญญาสันติภาพนี้ย่อมไม่เข้ากันกับความเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านอิมาม แต่ก็ไม่มีคำอธิบายสำหรับฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าจะพูดแล้วสันติภาพไม่เหมาะสมกับอิมามอย่างไร ในเมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เองยังต้องฝืนทำสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ เนื่องจากความชั่วร้ายของบรรดาผู้ปฏิเสธ และญาฮิลชาวมักกะฮฺในสมัยนั้น ซึ่งในตอนนั้นมุอาวิยะฮฺ และบิดาของเขาอบูซุฟยานก็อยู่ด้วย พวกเขาอยู่ในฝ่ายของผู้ปฏิเสธที่ต่อต้านท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[10] ท่านศาสดาต้องยอมรับสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ[11] แต่ก็ไม่มีข้อคลางแคลงใจอันใดเกิดขึ้น มันเป็นไปไม่ได้ที่ว่าหลังจากสันญาสันติภาพแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะไม่มะอฺซูมอีกต่อไป เนื่องจากได้ทำสัญญาสันติภาพกับมุชริก (ผู้เคารพรูปปั้นบูชาทั้งหมาย) ดังนั้น มุชริก เป็นมุสลิม และเป็นมุอฺมินกระนั้นหรือ และการทำสันติภาพของท่านอิมามฮะซันมิได้เป็นไปเพื่อสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าดอกหรือ แล้วท่านอิมามไม่อาจจะตัดสินใจกระทำสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าได้กระนั้นหรือ ขณะที่การกระทำของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านจะมีคำอธิบายเป็นอย่างอื่นไหม

ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้กระทำลงไปนั้น มีความสำคัญยิ่งกว่า และเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับการรักษาอิสลามให้ดำรงสืบไป

 

 


[1] มุสนัดอะฮฺมัด เล่ม 6 หน้า 476, ฮะดีซที่ 22433

[2] อัตตัรฆีบ วัรตัรฮีบ, อิบนุมุนซัร, เล่ม 3, หน้า 102, คัดลอกมาจากหนังสือ วาเกะอะฮฺ อาชูรอ วะพอซุก เบะชุบฮอต, อะลีอัสฆัร ริฎวานียฺ, หน้า 56

[3] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 187, พิมพ์ที่ดารุลฟิกรฺ เบรูต

[4] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, เล่ม 10, หน้า 327, 917.

[5] มุรูจญฺ อัซซะฮับ มัสอูดียฺ, เล่ม 3 หน้า 42.

[6] เคาะซะอิซ นะซาอียฺ, หน้า 106,-108, พิมพ์ที่ มักตับตะบี อัสกะรียะฮฺ

[7] อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ซัยยิดฮาชิม เราะซูล มะฮัลลอตียฺ, หน้า 202, 210

[8] อ้างแล้ว, หน้า 214

[9] อะอฺลามุลฮิดายะฮฺ, กิตาบอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 147, คัดลอกมาจาก อัคบาร อัฏฏุวาล 221.

[10] วากิอะฮฺ อาชูรอ, อะลีอัสฆัร ริฎวานนี, หน้า 54.

[11] พียอมบัรอุมมี, ชะฮีดมุเฎาะฮะรียฺ, หน้า 27

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6397 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9040 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • อะไรคือมาตรฐานความจำกัดของเสรีภาพในการพูดในมุมมองของอิสลาม
    6015 สิทธิและกฎหมาย 2553/12/22
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10540 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    7248 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7167 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    6259 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8274 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57510 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42177 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39317 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38925 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27999 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27929 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27763 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25759 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...