การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5952
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/14
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10154 รหัสสำเนา 22925
คำถามอย่างย่อ
กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
คำถาม
กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์ พร้อมกับแสดงตัวบทภาษาอรับและระบุหนังสืออ้างอิงได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

นอกจากโองการกุรอานมากมายที่กล่าวถึงการญิฮาดแล้ว ยังมีฮะดีษจำนวนมากที่กล่าวถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ อาทิเช่น
หนึ่ง.

 فَإِنَّ الْجِهَادَ بَابٌ مِنْ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ فَتَحَهُ اللَّهُ لِخَاصَّةِ أَوْلِيَائِهِ وَ هُوَ لِبَاسُ التَّقْوَى وَ دِرْعُ اللَّهِ الْحَصِينَةُ وَ جُنَّتُهُ الْوَثِيقَةُ فَمَنْ تَرَكَهُ رَغْبَةً عَنْهُ أَلْبَسَهُ اللَّهُ ثَوْبَ الذُّلِّ وَ شَمِلَهُ الْبَلَاءُ وَ دُيِّثَ بِالصَّغَارِ وَ الْقَمَاءَةِ وَ ضُرِبَ عَلَى قَلْبِهِ بِالْإِسْهَابِ وَ أُدِيلَ الْحَقُّ مِنْهُ بِتَضْيِيعِ الْجِهَادِ وَ سِيمَ الْخَسْفَ وَ مُنِعَ النَّصَف

ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “...เพราะญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่งที่อัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป[1]

 

สอง.

 عِدَّةٌ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ خَالِدٍ عَنْ أَبِي الْبَخْتَرِيِّ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص إِنَّ جَبْرَئِيلَ أَخْبَرَنِي بِأَمْرٍ قَرَّتْ بِهِ عَيْنِي وَ فَرِحَ بِهِ قَلْبِي قَالَ يَا مُحَمَّدُ مَنْ غَزَا غَزَاةً فِي سَبِيلِ اللَّهِ مِنْ أُمَّتِكَ فَمَا أَصَابَهُ قَطْرَةٌ مِنَ السَّمَاءِ أَوْ صُدَاعٌ إِلَّا كَانَتْ لَهُ شَهَادَةً يَوْمَ الْقِيَامَة

ท่านนบี(ซ.ล)กล่าวว่า “ญิบรออีลได้แจ้งเรื่องหนึ่งซึ่งยังความปีติยินดีแก่ฉันเป็นอย่างยิ่ง ญิบรออีลแจ้งว่า โอ้มุฮัมมัด อุมมัตของท่านคนใดที่ก้าวสู่สมรภูมิเพื่อหนทางของพระองค์นั้น ทุกเม็ดฝนหรือทุกโรคภัยที่ประสบแก่เขา จะเป็นพยานช่วยเหลือเขาในวันกิยามะฮ์[2]
 

สาม

 عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ عَنْ أَبِيهِ عَنِ النَّوْفَلِيِّ عَنِ السَّكُونِيِّ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قِيلَ لِلنَّبِيِّ ص مَا بَالُ الشَّهِيدِ لَا يُفْتَنُ فِي قَبْرِهِ فَقَالَ [النَّبِيُ‏] ص كَفَى بِالْبَارِقَةِ فَوْقَ رَأْسِهِ فِتْنَة

มีผู้กล่าวแก่ท่านนบี(ซ.ล.)ว่า เหตุใดชะฮีดจึงไม่ถูกสอบสวนในสุสานเสมือนคนอื่นๆ? ท่านตอบว่า “คมดาบที่เคยตวัดอยู่รอบกายเขาเป็นการทดสอบที่เพียงพอแล้ว”[3]
 

สี่.

 الْحُسَيْنِ بْنِ مُحَمَّدٍ عَنْ أَحْمَدَ بْنِ إِسْحَاقَ عَنْ سَعْدَانَ عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ ع مَنْ قُتِلَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ لَمْ يُعَرِّفْهُ اللَّهُ شَيْئاً مِنْ سَيِّئَاتِهِ
อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮ์ พระองค์จะไม่ทรงเอาผิดในบาปกรรมที่เขากระทำมา”[4]
 

ห้า.

  عَلِيُّ بْنُ إِبْرَاهِيمَ عَنْ أَبِيهِ عَنِ النَّوْفَلِيِّ عَنِ السَّكُونِيِّ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع‏ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص لِلْجَنَّةِ بَابٌ يُقَالُ لَهُ بَابُ الْمُجَاهِدِينَ يَمْضُونَ إِلَيْهِ فَإِذَا هُوَ مَفْتُوحٌ وَ هُمْ مُتَقَلِّدُونَ سُيُوفَهُمْ وَ الْجَمْعُ فِي‏ الْمَوْقِفِ وَ الْمَلَائِكَةُ تُرَحِّبُ بِهِمْ فَمَنْ تَرَكَ الْجِهَادَ أَلْبَسَهُ اللَّهُ ذُلًّا فِي نَفْسِهِ وَ فَقْراً فِي مَعِيشَتِهِ وَ مَحْقاً فِي دِينِه

ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สวรรค์มีประตูหนึ่งที่เรียกว่า “ประตูแห่งบรรดาชะฮีด” ซึ่งเหล่าชะฮีดจะมุ่งหน้าสู่ประตูนี้โดยมีดาบที่แขวนอยู่ที่คอของพวกเขา ในขณะที่ผู้คนรอกระบวนการไต่สวนของตน พลันประตูดังกล่าวก็เปิดออกโดยที่มีมะลาอิกะฮ์กล่าวต้อนรับอาคันตุกะ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาด อัลลอฮ์จะทรงทำให้เขาประสบกับความไม่เชื่อมั่นในตนเอง ความยากจน และการรังเกียจศาสนา”[5]
 

หก.

 عَنْ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ ع قَالَ الْمَوْتُ طَالِبٌ وَ مَطْلُوبٌ لَا يُعْجِزُهُ الْمُقِيمُ وَ لَا يَفُوتُهُ الْهَارِبُ فَقَدِّمُوا وَ لَا تَتَّكِلُوا فَإِنَّهُ لَيْسَ عَنِ الْمَوْتِ مَحِيصٌ إِنَّكُمْ إِنْ لَمْ تُقْتَلُوا تَمُوتُوا وَ الَّذِي نَفْسُ عَلِيٍّ بِيَدِهِ لَأَلْفُ ضَرْبَةٍ بِالسَّيْفِ عَلَى الرَّأْسِ أَهْوَنُ‏ مِنْ مَوْتٍ عَلَى فِرَاش‏

อิมามอลี(อ.)เคยกล่าวไว้ว่า “ความตายจะตามล่าคนบางกลุ่ม แต่คนบางคนเลือกที่จะต้อนรับความตาย คนที่เอกเขนกในบ้านย่อมไม่สามารถจะกำราบความตายได้ ผู้ที่หนีสงครามก็ไม่อาจจะหลบหลีกมันได้ ฉะนั้น จงเร่งรีบและอย่าคอยท่า เพราะไม่มีทางหนีความตายได้ แม้ไม่ถูกสังหารก็ย่อมจะเสียชีวิตอยู่ดี ขอสาบานต่อพระผู้ที่ทรงกำชะตาชีวิตอลีไว้ในอุ้งพระหัตถ์ หากคมดาบนับพันเล่มจะกระหน่ำลงมา ยังดีเสียกว่าจะให้ฉันตายบนฟูกเตียง”[6]
 

เจ็ด.

  عَنْ جَابِرٍ عَنْ أَبِي جَعْفَرٍ ع قَالَ أَتَى رَجُلٌ رَسُولَ اللَّهِ ص فَقَالَ إِنِّي رَاغِبٌ نَشِيطٌ فِي الْجِهَادِ قَالَ فَجَاهِدْ فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَإِنَّكَ إِنْ تُقْتَلْ كُنْتَ حَيّاً عِنْدَ اللَّهِ تُرْزَقُ وَ إِنْ مِتَّ فَقَدْ وَقَعَ أَجْرُكَ عَلَى اللَّهِ وَ إِنْ رَجَعْتَ خَرَجْتَ مِنَ الذُّنُوبِ إِلَى اللَّه

มีชายคนหนึ่งเอ่ยกับท่านนบี(ซ.ล.)ว่า กระผมปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมญิฮาด ท่านกล่าวตอบว่า “ฉะนั้นจงออกไปญิฮาดเถิด เพราะหากเธอถูกสังหารก็จะยังมีชีวิตอยู่และได้รับปัจจัยจากอัลลอฮ์ หากเสียชีวิตปกติในหนทางนี้ อัลลอฮ์จะทรงประทานรางวัลแก่เธอ และหากกลับมาโดยสวัสดิภาพ บาปขอเธอจะได้รับการอภัยโทษ”[7]

 

 


[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,หน้า 69,คุฏบะฮ์ที่ 27,สำนักพิมพ์ดารุลฮิจเราะฮ์,กุม

[2] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ,อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 8,ฮะดีษที่ 8,ดารุ้ลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1365

[3] เพิ่งอ้าง,เล่ม 5,หน้า 54,ฮะดีษที่ 5

[4] เพิ่งอ้าง,เล่ม 5,หน้า 54,ฮะดีษที่ 6

[5] เพิ่งอ้าง,เล่ม 5,หน้า 2,ฮะดีษที่ 6

[6] ฏูซี,อบูญะฟัร,อัลอะมาลี,เล่ม 1,หน้า 216,ฮะดีษที่ 378,สำนักพิมพ์ดารุษษิกอฟะฮ์,ฮ.ศ.1414

[7] อัยยาชี,มุฮัมมัด บิน มัสอู้ด,ตัฟซี้รอัยยาชี,เล่ม 1,หน้า 206,ฮะดีษที่,โรงพิมพ์อิลมียะฮ์,เตหราน,ฮ.ศ.1380

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6551 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • สามารถกุรบานสัตว์ (เชือดพลี) ในพิธีฮัจญฺ นอกเขตมุนาได้หรือไม่?
    5213 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาฟาฎิลลันกะรอนียฺ :ตอบว่า, ไม่อนุญาตเนื่องจากการเชือดพลีแกะเป็นวาญิบประการหนึ่งของพิธีฮัจญฺซึ่งต้องทำให้มุนาหรือสถานที่ปัจจุบันได้กระทำกันอยู่และต้องเชือดพลีในช่วงเทศกาลฮัจญฺเท่านั้นท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมามะการิมชีรอซียฺ :ตอบว่า, ก่อนหน้านี้ได้ออกคำวินิจฉัยประเด็นนี้ไปแล้วว่าฮุจญาตสามาถเลือกได้ว่าจะเชือดพลีในมักกะฮฺหรือที่เมืองของตนแต่ต้องพิจารณาและเอาใจใส่เงื่อนไขต่างๆของการกุรบานอย่างสมบูรณ์ ...
  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    10063 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5892 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8537 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
    6886 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้วจะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับโดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอนอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7210 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10409 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8703 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59403 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56852 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41681 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38435 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38435 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33461 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27249 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27150 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25224 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...