การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5932
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/18
คำถามอย่างย่อ
กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
คำถาม
กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิงด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้
อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย”
สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง”

คำตอบเชิงรายละเอียด

มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้

1. อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า

أَيْ بُنَيَّ إِنِّي وَ إِنْ لَمْ أَكُنْ عُمِّرْتُ عُمُرَ مَنْ كَانَ قَبْلِي فَقَدْ نَظَرْتُ فِي أَعْمَالِهِمْ وَ فَكَّرْتُ فِي أَخْبَارِهِمْ وَ سِرْتُ فِي آثَارِهِمْ حَتَّى عُدْتُ كَأَحَدِهِمْ بَلْ كَأَنِّي بِمَا انْتَهَى إِلَيَّ مِنْ أُمُورِهِمْ قَدْ عُمِّرْتُ مَعَ أَوَّلِهِمْ إِلَى آخِرِهِم‏

“ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจวบจนคนสุดท้าย”[1]

2. من لم يعتبر بغيره لم يستظهر لنفسه “ผู้ใดที่ไม่เรียนรู้อุทาหรณ์ของผู้อื่น ย่อมไม่มีที่พักพิงในชีวิต”

3. من لم يعتبر بتصاريف الأيام لم ينزجر بالملام “ผู้ใดที่ไม่เก็บเกี่ยวอุทาหรณ์จากวันเวลาที่ผันแปร ก็ไม่ควรเคืองผู้อื่นหากถูกตำหนิ”

4. من لم يتعظ بالناس وعظ الله بالناس به ”ผู้ใดไม่ยอมเรียนรู้บทเรียนของผู้คน อัลลอฮ์จะให้ผู้คนสั่งสอนเขา”

5.  من لم يعتبر بغير [بعبر] الدنيا و صروفها لم تنجع فيه المواعظ “ผู้ใดไม่ยอมศึกษาบทเรียนจากวันเวลา คำแนะนำใดๆก็ไม่มีค่าสำหรับเขา”

6. لا فكر لمن لا اعتبار له  “ปัญญาก็จะไม่เกิดแก่ผู้ที่ไม่ยอมเรียนรู้อุทาหรณ์”[2]

7. وَ مَنِ اعْتَبَرَ أَبْصَرَ وَ مَنْ أَبْصَرَ فَهِمَ وَ مَنْ فَهِمَ عَلِم “ผู้ที่เก็บเกี่ยวบทเรียนจากบรรพชนจะบังเกิดวิสัยทัศน์ ผู้ที่มีวิสัยทัศน์จะเข้าใจแจ่มแจ้ง ผู้ที่เข้าใจแจ่มแจ้งจะเป็นผู้รู้”[3]

8.  استدلّ على ما لم يكن بما قد كان، فإنّ الأمور أشباه، و لا تكوننّ ممّن لا تنفعه العظة إلّا إذا بالغت في إيلامه، فإنّ العاقل يتّعظ بالآداب، و البهائم لا تتّعظ إلّا بالضّرب. اطرح عنك و اردات الهموم بعزائم الصّبر و حسن اليقين

ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่อิมามฮะซัน(อ.)บุตรชายว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง”[4]

 


[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,สาส์นที่ 31,คำแปลและอธิบายสังเขปนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 3,หน้า59

[2] ตะมีมี อามิดี,อับดุลวาฮิด, ฆุเราะรุลฮิกัมวะดุเราะรุ้ลกะลาม,หน้า 473,สำนักงานเผยแพร่อิสลาม,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1366

[3] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,สาส์นที่ 208

[4] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,สาส์นที่ 467

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7880 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานจึงเป็นโองการ โองการ? และซูเราะฮฺใดจากซูเราะฮฺต่างๆ ที่ได้ประทานแก่นะบี (ซ็อลฯ) ในครั้งเดียว?
    14982 วิทยาการกุรอาน 2555/09/29
    อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น : 1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี 2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย 3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก ...
  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    15432 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10026 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    8590 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6579 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • ผลงานประพันธ์ของชะฮีดดัสท์เฆ้บน่าเชื่อถือหรือไม่?
    5947 تاريخ بزرگان 2554/07/03
    ชะฮีดอายะตุลลอฮ์ฮัจยีอับดุลฮุเซนดัสท์เฆ้บชีรอซีนับเป็นอุละมาระดับนักวินิจฉัย(มุจตะฮิด)ท่านหนึ่งซึ่งนอกจากจะมีวุฒิภาวะขั้นสูงแล้วท่านยังเป็นนักจาริกทางจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากบ่วงกิเลสอีกทั้งเชี่ยวชาญด้านวิชาฟิกเกาะฮ์เทววิทยาอิสลามจริยศาสตร์รหัสยนิยมอิสลามฯลฯงานประพันธ์ของท่านล้วนน่าเชื่อถือและทรงคุณค่าทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีผลงานของผู้ที่มิไช่มะอ์ศูม(ผู้ผ่องแผ้วจากบาป)ล้วนสามารถนำมาวิจารณ์ทางวิชาการได้ซึ่งผลงานของชะฮีดดัสท์เฆ้บก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ ...
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    17847 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17009 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8127 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59405 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56853 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41682 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38437 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38435 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27548 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27250 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27151 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25224 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...