การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9266
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11624 รหัสสำเนา 21050
คำถามอย่างย่อ
การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำถาม
เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ,การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่า เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ หมายถึงอะไร? อิบาดะฮฺ คือการแสดงตนเป็นบ่าวต่ออัลลอฮฺ หมายถึงภารกิจเหล่านี้เองที่เราได้กระทำอยู่ทุกวัน หรือแม้แต่ภารกิจขั้นธรรมดาที่สุดที่ได้กระทำทุกวัน เช่น การกิน การดื่ม สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นอิบาดะฮฺเพื่อพระเจ้าได้. การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺหมายถึง การที่มนุษย์ได้กระทำภารกิจบางอย่าง ซึ่งงานเหล่านี้เองหรืองานประจำวันที่ได้กระทำโดยตั้งเจตนา หรือกระทำลงไปตามเงื่อนไขทางศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ถ้าหากศึกษาอัลกุรอาน และถามอัลกุรอานว่า เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ..

 "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ[1] อิบาดะฮฺคืออะไร? บางครั้งกาลเวลาของเราในมุมมองหนึ่งมีความจำกัดสำหรับการมองคำว่า อิบาดะฮฺ และคิดว่า อิบาดะฮฺ เองก็มีความจำกัดด้วยเหมือนกัน และมีแนวทางเฉพาะสำหรับตน, เช่น นมาซ, ศีลอด, ฮัจญฺ, และ ...แน่นอน สิ่งที่กล่าวมาคือ อิบาดะฮฺแท้จริง, แต่คำถามมีอยู่ว่า แล้วมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสิ่งเหล่านี้เท่านั้นหรือ และเฉพาะแนวทางนี้เท่านั้น? บางที่อาจคิดว่าการมีชีวิตอย่างนี้ ช่างเป็นชีวิตที่มีความจำกัดสิ้นดีและคับแคบด้วย แต่ถ้าหากเราอธิบายความหมายของคำว่าอิบาดะฮฺได้อย่างถูกต้อง และสร้างความเข้าใจกับคำๆ นี้ให้มากยิ่งขึ้น เราก็จะเห็นว่า อิบาดะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดีต่อพรเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีกับพระองค์ ซึ่งซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ใน หนังสือปรัชญาของท่านนามว่าอัสฟารว่า อิบาดะฮฺ ของแต่ละคนขึ้นอยู่ขนาดของการรู้จักและความเข้าใจของเขา ที่มีต่ออัลลอฮฺ, หมายถึงระหว่างการอิบาดะฮฺของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้า, คือการสร้างสายสัมพันธ์โดยตรงกับพระองค์ ดังนั้น เมื่อมนุษย์เข้าใจและรู้จักอัลลอฮฺมากเท่าไหร่ การอิบาดะฮฺของเขาก็จะลุ่มลึกยิ่งกว่า และกว้างมากกว่าไปถึงขั้นที่ว่า อิสลามต้องการเขา, อิสลามต้องการอะไรจากเราหรือ? อิสลามต้องการชีวิตที่แห้งแล้งปราศจากจิตวิญญาณจากเรากระนั้นหรือ? เรานมาซเพียงอย่างเดียว, ถือศีลอด, หรือกล่าวซิกรุลลอฮฺ, และขอดุอาอฺเท่านั้น, อิสลามต้องการเฉพาะสิ่งเหล่านี้จากเราเท่านั้นหรือ? และไม่ต้องการภารกิจหรือการกระทำอื่นใดจากเราอีกกระนั้นหรือ?

แน่นอน มิใช่อย่างที่กล่าวมาอย่างแน่นอน, ถามว่าวิถีชีวิตของมะอฺซูม (.) มีเพียงเท่านี้หรือ? ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ ได้อ่านดุอาอฺตั้งแต่เช้าจรดเย็นกระนั้นหรือ? หรือว่าท่านนมาซเพียงอย่างเดียว? หรือเฉพาะกล่าวซิกรุลลอฮฺเท่านั้น? กระทำเฉพาะเพียงเท่านี้ มิได้กระทำอย่างอื่นอีกใช่ไหม? แน่นอน มันมิได้เป็นเพียงเท่านี้. ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ คือบุรุษ์แห่งการเมอง, บุรุษแห่งสงคราม, บุรุษแห่งความรู้, บุรุษแห่งงาน , บุคคลที่ได้กระทำงานถึงขนาดนั้น ท่านขุดบ่อน้ำเอง, ซ่อมทางน้ำ ดูแลทางเดิน นำน้ำไปแจกจ่าย, ท่านมิได้นั่งซิกรุลลอฮฺเพียงอย่างเดียว,ดังนั้น แล้วอิบาดะฮฺของอะลีอยู่ตรงไหนหรือ? อิบาดะฮฺของอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลาที่ท่านอ่านดุอาอฺโกเมลเท่านั้นหรือ? อิบาดะฮฺอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลา เช่น ขณะนมาซเท่านั้นหรือ? นมาซซึ่งท่านได้มุ่งมั่นเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) ถึงขนาดที่ว่าสามารถดึงลูกธนูที่ปักอยู่ที่ขาของท่านออกโดยไม่รู้ตัว. มิใช่เช่นนั้นหรอก ทว่าอะลี (.) แม้กระทั่งช่วงเวลาขุดบ่อน้ำ ท่านก็อิบาดะฮฺ. ขณะกำลังทำสงครามท่านก็อิบาดะฮฺ, ดังคำกล่าวของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ที่ว่า :

"لضربة علیّ یوم الخندق افضل من عبادة الثقلین".

การฟันของอะลีในวันคอนดักนั้น ประเสริฐยิ่งกว่าการอิบาดะฮฺอันหนักอึ้งทั้งสอง[2] การตีความดังกล่าวนี้ มิได้หมายความว่าการฟันของท่านอิมามอะลี บุตรของอบูฏอลิบในวันนั้น จะยิ่งใหญ่และสูงส่งกว่าการอิบาดะฮฺของมนุษย์และญิน ทว่าตัวท่านคืออิบาดะฮฺ, หมายถึงการดำรงชีวิตทั้งหมดของมนุษย์คือ อิบาดะฮฺ, ด้วยเหตุนี้, ถ้าเรากลับไปสู่คำถามเก่าอีกครั้งหนึ่งที่ว่า การมีชีวิตเยี่ยงอัลลอฮฺหมายถึงอะไร? คำตอบก็คือ ภารกิจการงานต่างๆ ที่เราได้กระทำในแต่ละวัน แม้กระทั่งงานในระดับธรรมดาที่สุด เช่น การกิน การดื่ม, สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นอิบาดะฮฺได้, อาจมีคนถามว่าเป็นไปได้อย่างไร?

คำตอบ ก็คือช่วงเวลาที่เราต้องการจะกิน, เราได้ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์และระเบียบของการกิน, หมายถึงเรากินทุกสิ่งทุกอย่างได้หรือ, แน่นอน ทรัพย์ที่ฮะรอมเราไม่สามารถรับประทานได้. อาหารบางประเภทที่อิสลามได้ห้ามรับประทาน เราก็ไม่อาจรับประทานสิ่งเหล่านั้นได้, และถ้าเราได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เราได้พยายามรับประทานเฉพาะทรัพย์สินที่ฮะลาล อาหารที่เรารับประทานเราได้เนียต (ตั้งเจตนา) ว่า เพื่อเราจะได้มีพลัง และจะได้สามารถปฏิบัติงานได้ และงานที่เราได้กระทำลงไปนั้น เพื่อต้องการให้ปมเงื่อนของงานได้เปิดออกเพื่อประชาชนคนอื่น เพื่อว่าเราจะได้สามารถช่วยเหลือพี่น้องของเรา พี่สาวน้องสาว บุตรหลาน ภรรยา เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงานของเราได้ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยกระดับจิตวิญญาณให้สูงส่ง, เราได้ทำงานเพื่อหวังว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่หนึ่ง, ดังนั้น การรับประทานโดยมีจุดมุ่งหมายอย่างนี้จึงถือว่าเป็น อิบาดะฮฺ, และการนอนหลับของเราก็จะเป็นอิบาดะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตของเราจะมีอีกความหมายหนึ่ง, มีเรื่องเล่าหนึ่งกล่าวว่า ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ) อยู่ในมัสญิด ท่านได้กล่าวว่า ถ้าหากพวกเธอต้องการเห็นชาวสวรรค์จงดูเถิดว่า บุคคลแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาในมัสญิด, เขาคือชาวสวรรค์ ขณะนั้นมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งต้องการอยากจะทราบอย่างยิ่งว่า ชาวสวรรค์มีคุณสมบัติอย่างไร? และแล้วเขาได้เห็นชายชราคนหนึ่งเดินเข้ามาในมัสญิด เขาได้พยายามพิจารณาลักษณะท่าทางของชายชราคนนั้น ก็เห็นว่าชายชราคนนั้นมิได้กระทำสิ่งใดเป็นพิเศษ, เขาจึงพูดว่า ชายคนนี้คงต้องทำอะไรเป็นพิเศษในบ้านของเขาอย่างแน่นอน เขาจึงได้เป็นชาวสวรรค์, เด็กหนุ่มคนนั้นได้เดินสะกดรอยตามชายชราคนนั้นออกไปจนกระทั่งไปถึงบ้านเขา, ชายชราได้เข้าบ้าน, ชายหนุ่มจึงคิดว่าเขาไม่สามารถมองเห็นพฤติกรรมของชายชราภายในบ้านได้, จึงได้ตัดสินใจเคาะประตู, แล้วกล่าวว่าฉันเป็นผู้เดินทาง คืนนี้ฉันขอค้างแรมที่บ้านของท่าน, ชายชราคนนั้นกล่าวว่า เชิญตามสบาย, ชายหนุ่มยังเฝ้าคอยดูพฤติกรรมของชายชราด้วยความระมัดระวัง แต่เขาก็ยังไม่เห็นการกระทำพิเศษอันใดจากชายคนนั้น, ชายหนุ่มจึงคิดว่า สิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้ตีความนั้น เขาต้องกระทำอะไรบางอย่างแน่นอน, เมื่อถึงเวลานอนเขาก็คิดว่า ชายคนนั้นคงกระทำอิบาดะฮฺในช่วงดึกอย่างมากมายแน่นอน เขาจึงไม่ได้นอนหลับเพื่อจะได้รอดูว่าชายชราเมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะทำอะไรเป็นพิเศษ, เขาก็เห็นว่าชายชราได้นอนหลับและตื่นขึ้นนมาซซุบฮฺตามปกติ, ชายหนุ่มได้หาข้ออ้างมาอ้างเพื่อจะได้เฝ้าดูพฤติกรรมของชายชราต่อไปอีกสักสองสามวัน, สุดท้ายเขาก็ได้เข้าไปหาชายชราคนนั้นและกล่าวเล่าเรื่องให้ฟังว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวถึงท่านว่าเช่นนี้ ฉันจึงตามท่านมาเพื่อสังเกตดูว่าท่านได้ทำอะไรจึงได้เป็นชาวสวรรค์ แต่ฉันก็มิได้เห็นภารกิจอันใดเป็นการเฉพาะจากท่านเลย ดังนั้น ท่านได้ทำสิ่งใดหรือ?

ชายชรากล่าวว่า : ฉันเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นชาวสวรรค์หรือเปล่า, แต่ฉันก็ไม่เคยทำสิ่งใดเป็นพิเศษดอก. เพียงแต่ว่าทุกสิ่งที่ฉันได้กระทำฉันได้ทำไปเพื่ออัลลอฮฺ สิ่งที่ฉันกระทำลงไป ฉันพยายามที่จะไม่ทำสิ่งที่ขัดแย้งคำสอนเท่านั้นเอง

และมีเพียงเท่านี้หรือ, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า ท่านเป็นชาวสวรรค์, มันมีเพียงเท่านี้หรือ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺนั้นหมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำลงไป หรือภารกิจประจำที่ได้กระทำอยู่ทุกวัน ถ้าหากได้ตั้งเจตนาอย่างถูกต้อง ได้กระทำลงไปโดยพึงระวังรักษากฎเกณฑ์ของศาสนา เวลานั้น เขาจะเห็นว่าสีสันและกลิ่นของชีวิตได้เปลี่ยนไป ซึ่งจะพบว่าผลกระทบของชีวิตได้เปลี่ยนไปด้วย, คำพูดที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำที่ว่า จงทำให้ชีวิตของท่านมีบะเราะกัตเถิด นั่นหมายถึงว่า เราได้ดำเนินชีวิตไปตามคำกล่าวที่ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวเสมอว่า พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติตามฮะดีซที่กล่าวว่า ..

  "مَنْ أَخْلَصَ لِلَّهِ أَرْبَعِینَ یَوْماً فَجَّرَ اللَّهُ یَنَابِیعَ الْحِکْمَةِ مِنْ قَلْبِهِ عَلَى لِسَانِهِ"[3]

จงปฏิบัติการงานเถิด ภายใน 40 วัน จงทำงานเพื่ออัลลอฮฺสักอย่างหนึ่ง, ถ้าหากว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น พวกเธอจงสาปแช่งฉัน[4]หมายถึงวาฉันมีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า พวกเธอคงกระทำเช่นนั้นจริง ด้วยเหตุนี้ เราก็สามารถทดลองดูได้ เพื่อว่าชีวิตของเราจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี อินชาอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทซารียาต, 59.

[2] ซัยยิด บิน ฏอวูส, อิกบาลลุลอะอฺมาล, หน้า 467, ดารุลกุตุบ อิสลามียะฮฺ, เตหะราน, 1367

[3] บุคคลใดก็ตามได้ปฏิบัติงาน 40 วันด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงเปิดประตูแห่งวิทยปัญญาจากใจของเขา ให้ถ่ายทอดมาทางลิ้นมัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 67, หน้า 249, สถาบัน อัลวะฟาอ์ เบรูต- เลบานอน ปี .. 1404

[4] การตีความของอายะตุลลอฮฺ อามีนนีซึ่งได้เล่ามาจากคำพูดของอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    19803 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    8587 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9134 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆ จำนวนมากมาย และประตูแต่ละที่มีชื่อกำกับเฉพาะด้วย
    17306 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆจำนวนมากมายซึ่งมีถึง 8 ประตูด้วยกัน, ส่วนนามชื่อเฉพาะของประตูเหล่านั้นหรือประตูบานนั้นจะกลุ่มชนใดได้ผ่านเข้าไปบ้างรายงานฮะดีซมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างและชื่อเฉพาะประตูมีรายงานที่กระจัดกระจายแจ้งเอาไว้
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6448 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ในเดือนใดมากที่สุด?
    7137 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้ 1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1] 2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา 3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี) หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้ หนึ่ง. يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ ...
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13455 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5629 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    9869 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • ผลงานประพันธ์ของชะฮีดดัสท์เฆ้บน่าเชื่อถือหรือไม่?
    5944 تاريخ بزرگان 2554/07/03
    ชะฮีดอายะตุลลอฮ์ฮัจยีอับดุลฮุเซนดัสท์เฆ้บชีรอซีนับเป็นอุละมาระดับนักวินิจฉัย(มุจตะฮิด)ท่านหนึ่งซึ่งนอกจากจะมีวุฒิภาวะขั้นสูงแล้วท่านยังเป็นนักจาริกทางจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากบ่วงกิเลสอีกทั้งเชี่ยวชาญด้านวิชาฟิกเกาะฮ์เทววิทยาอิสลามจริยศาสตร์รหัสยนิยมอิสลามฯลฯงานประพันธ์ของท่านล้วนน่าเชื่อถือและทรงคุณค่าทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีผลงานของผู้ที่มิไช่มะอ์ศูม(ผู้ผ่องแผ้วจากบาป)ล้วนสามารถนำมาวิจารณ์ทางวิชาการได้ซึ่งผลงานของชะฮีดดัสท์เฆ้บก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...