การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7134
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1267 รหัสสำเนา 14830
คำถามอย่างย่อ
กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
คำถาม
กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
คำตอบโดยสังเขป

ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำ อย่างเช่นดุอาที่นบี(..)สอนแก่ท่านอิมามอลี(.)[i]

سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شى‏ء قدیر

. อัญเชิญอัลกุรอาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายะฮ์กุรซี
. งดเว้นสิ่งที่ทำให้หลงลืม เช่นการทำบาป
. หาวิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะขณะทบทวนตำรา
. ตัดความสนใจรอบข้าง
. ฝึกฝนสมาธิ

2. ปัจจัยทั่วไป
. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
. แปรงฟัน
. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ

3. วิธีที่แนะนำโดยนักจิตวิทยา
. แบ่งคำ .สร้างความหมาย .จัดระเบียบ .คืนภาวะแวดล้อม .เคล็ดลับจำเป็นเลิศ



[i] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,ภาคแรก,บทแรก,ดุอาหลังนมาซ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภท อาทิเช่น
1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณ
. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)
. อ่านบทดุอาที่มีผลเสริมความจำ ทั้งนี้ บรรดาอิมามสอนให้เราขอต่อพระองค์ให้ทรงเสริมปัญญาและความเข้าใจ ตัวอย่างดุอาที่มีผลต่อพัฒนาการทางสมอง[1]เช่น
-ดุอาที่ท่านนบี(..)สอนแก่อิมามอลี(.)[2]:

سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل شى‏ء قدیر


-ดุอาที่ซัยยิด บินฏอวู้ส ได้รายงานไว้ว่ามีผลบำรุงจิตใจ โดยให้อ่านสามจบว่า
یا حى یا قیوم یا لااله الا انت اسئلک أن تحیى قلبى اللّهم صل على محمد و آل محمد[3]
-ดุอาเพื่อการทบทวนตำรา

اللهم اخرجنى من ظلمات الوهم و اکرمنى بنور الفهم اللّهم افتح علینا ابواب رحمتک و انشر علینا خزائن علومک برحمتک یا ارحم الراحمین[4]

-หลังนมาซซุบฮิ ก่อนจะเอ่ยคำพูดอื่นใดให้กล่าวประโยคนี้ یا حى یا قیّوم فلا یفوت شیئا علمه و لایؤدّه[5]
.อัญเชิญกุรอาน โดยเฉพาะอายะฮ์กุรซี
. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้ความจำเลือนลาง เช่น การทำบาป การหมกมุ่นทางโลก การเล่นสนุกจนเกินขอบเขต เศร้าเสียใจเกี่ยวกับทางโลก[6]
. ขจัดความเครียด โดยเฉพาะในขณะทบทวนตำรา
. ลดความคิดฟุ้งซ่าน
. ฝึกฝนให้มีสมาธิแน่วแน่
เกร็ดน่ารู้: ต้องคำนึงว่า แม้วิธีต่างๆข้างต้นจะได้มาจากฮะดีษก็ตาม แต่ก็ไม่อาจจะถือเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการบำรุงความจำ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยสำคัญอีกประการที่เกี่ยวข้องได้ นั่นก็คือปัจจัยทางพันธุกรรม
กล่าวคือ ความจำและไอคิวเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสภาพแวดล้อม วิธีที่นำเสนอทั้งหมดเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมซึ่งเรากำหนดได้ แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมอันเกี่ยวข้องกับปู่ย่าตายายของแต่ละคนนั้น เราไม่อาจะควบคุมได้ ฉะนั้น ไม่ควรคาดหวังว่าหากปฏิบัติตามวิธีต่างๆข้างต้นแล้ว ระดับไอคิวจะเพิ่มจาก 90 เป็น 120 ในชั่วข้ามคืน และหากมิได้เป็นไปตามที่คาดไว้ แสดงว่าวิธีที่บรรดาผู้นำศาสนาสอนไว้เป็นเรื่องเหลวไหลก็หาไม่ แต่สมมติในกรณีไอคิวระดับ100 หากต้องการจะพัฒนาศักยภาพความคิดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็อาจเป็นไปได้

ตรงกันข้ามกับกรณีของเด็กๆ หากพวกเขาได้รับการดูแลเอาใจใส่ทางโภชนาการตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยอนุบาล รวมถึงหากมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ช่วยกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ก็สามารถเพิ่มระดับไอคิวของเด็กได้ แต่ในกรณีของวัยรุ่นหรือวัยกลางคนนั้น ทำได้แค่เพียงป้องกันไม่ให้ระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ลดลง และพยายามเพิ่มศักยภาพทางความคิดให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงศักยภาพสูงสุดของระดับเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ โดยที่คำแนะนำจากผู้นำศาสนาที่นำเสนอข้างต้น ล้วนเป็นไปเพื่อดึงศักยภาพดังกล่าวทั้งสิ้น.

2. ปัจจัยทางวัตถุ
. สนองความต้องการขั้นพื้นฐาน(บริโภคอย่างเหมาะสม ออกกำลังกาย ดูแลสุขอนามัย)
. แปรงฟัน
. รับประทานอาหารที่มีกลูโคส(เช่น อินทผลัม น้ำผึ้ง ขนมหวานที่ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ) อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันตับปลา ส้ม มะเขือเทศ ข้าวกล้อง ผักเขียว แครอท ตับ ฯลฯ
หนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(ฉบับเต็ม)แนะนำว่า ควรรับประทานลูกเกดโดยเฉพาะชนิดสีแดงเข้มจำนวนยี่สิบเอ็ดเม็ดระหว่างมื้อเช้า, ฮัลวา(งาบดหวาน), เนื้อบริเวณต้นคอ, น้ำผึ้ง, และถั่วอะดัส เนื่องจากมีคุณประโยชน์ต่อความจำทั้งสิ้น.[7]
. ฝึกทบทวนเนื้อหาที่ต้องการจำ(สำคัญอย่างยิ่ง)
. หลังอ่านหนังสือเป็นเวลาสี่สิบห้านาที ให้หยุดพักสิบนาที
. ฝึกหายใจ วิธีง่ายๆก็คือ ขณะยืนตรงหรือนอนหงาย ให้หายใจเข้าเต็มปอด แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจออกมาช้าๆ

3. กลวิธีเสริมความจำจากผู้เชี่ยวชาญ
. วิธีผสมคำ: หมายถึงการผสมพยางค์หรือตัวเลขที่ต้องการจำ ให้เป็นคำหรือประโยคที่มีความหมาย อย่างเช่น ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง หรือกลอนสระที่เราคุ้นเคยกันดี
. เน้นจำความหมาย: วิธีนี้จะทำให้ท่องจำได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยเฉพาะหากเราเข้าใจความหมายของสิ่งที่ต้องการจำได้ลึกเท่าใด ก็ยิ่งทำให้จำง่ายยิ่งขึ้น ฉะนั้น แทนที่เราจะท่องจำประโยคเพียงผิวเผิน ก็ให้เราคำนึงถึงความหมายด้วย
. จัดระเบียบ: การเข้าใจ จำ และนึกทบทวนเนื้อหาที่ซับซ้อนจะไม่ไช่เรื่องยากอีกต่อไป หากมีการจัดให้เป็นระเบียบตามหมวดหมู่ที่เหมาะสม ไล่เรียงจากเนื้อหาองค์รวมไปสู่รายละเอียดปลีกย่อย แล้วจึงท่องจำตามแผนภูมิดังกล่าว
. คืนสู่บรรยากาศแวดล้อม: การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นในเวลาและสถานที่อันเฉพาะทั้งสิ้น เราเรียกภาชนะกาลเวลาและสถานที่เหล่านี้ว่าบรรยากาศแวดล้อมหากต้องการจะนึกทบทวนประเด็นใดเป็นพิเศษ ควรหาทางย้อนสู่บรรยากาศแวดล้อมที่คล้ายกับเมื่อครั้งที่เราเรียนรู้ประเด็นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการจะนึกชื่อเพื่อนๆสมัยประถม ให้ลองเดินที่ระเบียงห้องในโรงเรียนประถมดู จะพบว่าสามารถนึกทบทวนได้ง่ายกว่า
.เคล็ดลับจำเป็นเลิศ: วิธีนี้เป็นกลยุทธการเรียนรู้และจดจำตำราที่มีประสิทธิภาพยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยหกขั้นตอนด้วยกัน 1.อ่านคร่าวๆ 2.สอบถามผู้อื่น 3.อ่านละเอียด 4.ไตร่ตรอง 5.จดจำ 6.ทบทวน
อธิบาย: สมมติว่าผู้อ่านต้องการจะท่องจำหนังสือสักเล่มให้ได้ ขั้นแรกให้อ่านหนังสือเล่มนั้นอย่างคร่าวๆเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาหนังสือ และสามารถนำใจความสำคัญมาเรียงลำดับตามวิธีจัดระเบียบได้อีกด้วย ขั้นตอนที่สอง ให้ผู้อ่านตั้งคำถามเกี่ยวกับแต่ละหมวดในหนังสือ แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม นั่นคืออ่านจริงโดยจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบสำหรับขั้นตอนที่สอง ส่วนขั้นตอนที่สี่ ให้ผู้อ่านครุ่นคิดถึงความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาที่อ่าน เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีเน้นจำความหมายหลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนที่ห้าและหก ที่ผู้อ่านควรต้องจดจำและท่องเนื้อหาปากเปล่าได้ และสามารถทบทวนด้วยการตอบคำถามที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่สองได้โดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.[8]

เพื่อศึกษาเพิ่มเติม โปรดอ่าน: คำถามที่808: ดัชนี,“เงื่อนไขและดุอาสำหรับการอ่านตำรา



[1] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม,หน้า,ฮะดีษที่,ฮะดีษอุนวาน บะศ่อรีย์.

[2] มะฟาตีฮุ้ลญินาน,ภาคแรก,บทแรก,ดุอาหลังนมาซ

[3] อ้างแล้ว,ภาคผนวก.

[4] อ้างแล้ว

[5] อ้างแล้ว

[6] อ้างแล้ว

[7] อ้างแล้ว

[8] คัดย่อมาจากเนื้อหาซีดีโพ้รเซมอนโดยปรับเปลี่ยนเล็กน้อย.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7292 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
    7746 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า1) คำว่าอิซมัตเป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรมพฤติกรรมชั่วร้ายและความผิดต่างๆโดยสิ้นเชิงอีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาดและการหลงลืมโดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์2. ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6361 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7107 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อัลกุรอานเป็นของขวัญแก่ชาวฮินดู ขณะที่เขาต้องการที่จะศึกษาและรู้จักอัลกุรอาน และเขาต้องสัมผัสหน้าอัลกุรอานแน่นอน ?
    6689 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    ก่อนที่จะอธิบายถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้, จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ก่อน1. ฮินดูในความเป็นจริงก็คือผู้ปฏิเสธศรัทธา2. ในกรณีที่มั่นใจ (มิใช่เดา) ว่าเขาจะทำให้กุรอานนะญิซโดยกาเฟร
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    7660 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7317 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10333 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    7801 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    21264 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56843 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38424 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...