การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8397
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1428 รหัสสำเนา 19004
คำถามอย่างย่อ
การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
คำถาม
การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ ถือว่ไม่อนุญาต และมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน

แต่ถ้าติดต่อกันเนื่องจากเป็นอาชีพ เช่น, เพื่อนร่วมงาน วิชาการการ และการศึกษา, ถ้าหากการติดต่อกันนั้นมิได้เป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหาย หรือข้อครหาในทางไม่ดี ประกอบกับได้ใส่ใจในเรื่องกฏเกณฑ์อยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นไร

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามทัศนะของหลักการอิสลามการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างชายหนุ่ม และหญิงสาวก่อนการสมรส, ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันโดยตรง หรือผ่านสื่อทางอ้อมอื่นๆ, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือกลัวว่าจะเกิดข้อครหานินทา หรือกลัวว่าการติดต่อกันนั้นจะนำไปสู่การทำความผิดอื่น, ถือว่าไม่อนุญาและผิดหลักการแน่นอน. ดังนั้น ลองพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดต่อไปนี้ ซึ่งคำวินิจฉัยบางบทจะทำให้ประเด็นดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น :

คำถามที่ 1 : ในการพูดคุยกันระหว่างชายหนุ่ม กับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม,มีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างพูดคุยโดยตรงกับผ่านสื่อทางอ้อมอื่น?

มัรญิอฺทั้งหมด : ไม่, ไม่มีความแตกต่างกันเลยในแง่ของกฏเกณฑ์ และทั้งสองกรณี, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ และเกรงว่าจะเป็นฮะรอม ถือว่าขัดกับชัรอียฺ[1]

คำถามที่ 2 : แชดกับเพศตรงข้าม หรือพูดคุยกันทั่วๆ ไป มีกฏเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือนำไปสู่ความบาป ถือว่าไม่อนุญาต[2]

คำถามที่ 3 : การให้สลามระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ถือว่าอนุญาตหรือไม่?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมิได้มีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือมิได้เกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่เป็นไร[3]

คำถามที่ 4 : การล้อเล่นกับเพศตรงข้ามที่เป็นนามะฮฺรัมมีกฏเกณฑ์เป็นอย่างไร?

มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่อนุญาต[4]

คำถามที่ 5 : การติดต่อกันอย่างใกล้ชิดระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวขณะร่วมงานกัน หรือขณะเป็นแขกผิดหลักการหรือไม่?

มัรญิอฺทั้งหมด : การเป็นเพื่อนหรือกิ๊กระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ถือว่าไม่อนุญาต, เนื่องเกรงว่าจะนำไปสู่การกระทำผิดในระหว่างติดต่อกัน, แต่ถ้าเป็นการติดต่อกันเพราะเป็นอาชีพ หรือหน้าที่, ถ้าหากไม่ได้เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหาย, หรือใส่ใจต่อหลักการเป็นพิเศษอยู่แล้ว, ถือว่าไม่เป็นไร.[5]

คำถามที่ 6: การเขียนจดหมายติดต่อกับนามะฮฺรัม หรือการติดต่อในเชิงชู้สาวผ่านทางอีเมล์ มีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

มัรญิอฺทั้งหมด : การติดต่ออันเป็นสาเหตุนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเป็นสาเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหายอย่างอื่น ถือว่าขัดต่อหลักชัรอียฺ ไม่อนุญาต[6]

จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดและปัญหาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ได้บทสรุปว่า : การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ก่อนการแต่งงาน ไม่ว่าจะติดกันโดยตรงหรือผ่านสื่อ, ถ้ามีเจตนาเพื่อสนองตอบตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรมแล้วละก็ ถือว่าไม่อนุญาตและขัดต่อหลักชัรอียฺ.

แต่การติดต่อระหว่างเพื่อนร่วมงาน ติดต่อด้านวิชาการ หรือเพื่อการศึกษา, ถ้าหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือรักษาหลักการชัรอียฺระหว่างการติดต่อ ถือว่าไม่เป็นไร[7]



[1] อิมาม,อิสติฟตาอาต,เล่ม 3, คำถามที่ 52, บะฮฺญัติ,เตาฎีฮุลมะซาอิล, ข้อที่ 1936, มะการิมชีรอซียฺ, อิฟติฟตาอาต, เล่ม 1, คำถามที่ 819, ตับรีซีย์, อิสติฟตาอาต, 1622, ซอฟีย์, ญามิอุลอะฮฺกาม, เล่ม 2, หน้า 1673, นูรีย์, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, คำถามที่ 565, ฟาฏิล, ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1,หน้า 1718, คอเมเนอีย์, อัจญฺวะบะตุลอิสติฟตาอาต, คำถามที่ 1145, อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 3, ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด

[2]ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด

[3] อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2,อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 39 และ 41.

[4] อ้างแล้ว, ข้อที่ 31, 39, ฟาฏิล ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1, คำถามที่ 1720, คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 782.

[5] คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 779, 651, และตัฟตัรทั้งหมด.

[6] อิมาม,อิสติฟตาอาต, เล่ม 3, คำถามต่างๆ, คำถามที่ 127, และตัฟตัรทั้งหมด.

[7] สรุปย่อมาจากหนังสือ ริซาละฮฺ ดอเนชญู, ดัฟตัร 16, หน้า 191, 195, สรุปมาจากคำถามที่ 1222 (แชดระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6417 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12076 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • อุมัรได้ทำทานบนหรือลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺหรือไม่ ในฐานะที่อุปโลกน์ฮะดีซขึ้นมา?
    7027 ริญาลุลฮะดีซ 2555/04/07
    บุคอรียฺ,มุสลิม,ซะฮะบียฺ, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, มุตตะกียฺ ฮินดียฺ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่ 2 ได้ลงโทษเฆี่ยนตีอบูฮุร็อยเราะฮฺอย่างหนักจนสิ้นยุคการปกครองของเขา เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปลอมแปลงฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวนมากและกล่าวพาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ฯ) สามารถกล่าวได้ว่า สาเหตุที่อุมัรคิดไม่ดีต่ออบูฮุร็อยเราะฮฺ อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ หนึ่ง เขาชอบนั่งประชุมเสวนากับ กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดียฺคนหนึ่ง และรายงานฮะดีซจากเขา สอง เขาได้รายงานฮะดีซโดยไม่มีรากที่มา ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับฮะดีซที่อุปโลกน์ขึ้นมา และในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดนอกจากการอุปโลกน์ สาม รายงานฮะดีซที่ขัดแย้งกับฮะดีซที่เล่าโดยเซาะฮาบะฮฺ สี่ เซาะฮาบะฮฺ บางคนเช่นอบูบักร์ และอิมามอะลี (อ.) จะขัดแย้งกับเขาเสมอ ...
  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6117 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6513 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    10463 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6660 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6908 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5781 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    7543 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...