การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7801
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/02/06
 
รหัสในเว็บไซต์ fa26280 รหัสสำเนา 54904
หมวดหมู่ آراء شناسی|کلیات
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
คำถาม
เป็นเพราะสาเหตุอันใดที่ ปรัชญาดั้งเดิมของอิสลาม จึงไม่เหมือนกับ ฟิซีกส์ดั้งเดิมของอาริสโตเติล หรือนักเคมี หรือนักดาราศาสตร์และและคนอื่นๆ ซึ่งได้ยกทฤษฎีของตนให้กับนักฟิสิกซ์ยุคใหม่ เฉกเช่น นิวตัน หรือไอสไตน์ (นักเคมีสมัยใหม่) หรือนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ เช่น กาลิเลโอ และคนอื่นๆ ซึ่งอิสลามมิได้ยกทฤษฎีของตนให้กับ ปรัชญาตะวันตก พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน นั่นเป็นเพราะว่านักปรัชญาของอิสลาม ไม่รู้และไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับนักปรัชญา และปรัชญาตะวันตก ใช่หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป
การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
การวิพากวิจารณ์ทางวิชาการนั้น เป็นที่รู้กันว่าต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย กล่าวคือการยอมรับ หรือการหักล้างต่างๆ จำเป็นต้องมีหลักฐานที่มีเหตุผล และได้รับการพิสูจน์แล้ว ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่านักวิชาการคนดังกล่าวนั้น  ในการยอมรับหรือหักล้างข้อมูล จะไม่นำเสนอสมมติฐาน หรือทัศนะ หรือทฤษฎีใหม่โดยการลอกเรียนแบบ มาจากบุคคลอื่น ดังจะเห็นว่า บนพื้นฐานดังกล่าวนักวิชาการสามารถก้าวไปพร้อมกับ ความเจริญของสังคมส่วนใหญ่ได้อย่างไร้ปัญหา  ฉะนั้น ตรงนี้ ถ้าสมมติว่าทฤษฎีบางอย่างในอดีต ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกต้อง เราก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าความรู้ทั้งหมดที่มีมาแต่อดีต จะต้องเป็นโมฆะและถูกโยนทิ้งทั้งหมด ทว่าสามารถกล่าวได้ว่า วิชาการปัจจุบันนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของหลักคิด และทฤษฎีในอดีต แม้ว่าสมมติฐานในอดีตมากมาย ได้ยกทฤษฎีของตนให้กับความรู้สมัยใหม่ก้ตาม เช่น หนึ่งในตัวอย่างเหล่านั้นก็คือ วิชาการคำนวณ วิชาการสาขานี้วางอยู่บนหลักการของคณิตศาสตร์ และเรขาคณิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเรขาคณิตเกียวกับชั้นบรรยากาศ กล่าวคือพื้นฐานของวิชานี้จะคำนวณเกี่ยวกับ วงกลมและการโคจรรอบ ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึงวิถีการโคจร ระหว่างวงกลมกับขนาดของมัน ส่วนวิชาคำนวณสมัยใหม่ ภารกิจหนักของเขาก็คือสิ่งนี้เช่นเดียวกัน ทว่านักวิชาการสมัยก่อนนั้น เนื่องจากความแข็งแรงทางวิชาการ และความมั่นคงในวิชาเหล่านั้น พวกจึงได้ทำการพิสูจน์ความจริงต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เองก็ได้ศึกษาค้นคว้า ต่อจากการค้นคว้าของนักวิชาการในอดีต ซึ่งปัจจุบันเราก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาว่า ความพยายามอย่างกว้างขวางของมหาวิทยาลัย และศูนย์กลางการค้นคว้าและวิจัยของตะวันตก พยายามใขว่คว้าหาตำรับตำราของนักวิชาการอิสลาม เกี่ยวกับวิชาคำนวณและคณิตศาสตร์[1] ประเด็นที่หน้าสนใจอย่างยิ่งคือ อดีตสมมติฐานตามหลักทฤษฎีว่า โลกคือศูนย์กลางของการโคจร ในระบบสุริยะ แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า โลกคือส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ เท่ากับเป็นการปฏิเสธสมมตุฐานที่เกิดขึ้น
อายะตุลลอฮฺ ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี อธิบายประเด็นดังกล่าวว่า ตามหลักวิชาดาราศาสตร์ จุดประสงค์หลักของระบบสุริยะก็คือ การโคจรรอบเป็นวงรี แต่เพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในการศึกษา เมื่อกล่าวถึงตัวตนของระบบสุริยะ จึงหมายถึงท้องฟ้าชึ้นต่างๆ เพื่อให้มองเห็นเป็นรูปภาพ[2]
บรรดานักวิชาการ นั้นต้องการสร้างความง่ายดายต่อการเรียนรู้ จึงได้พาดพิงการโคจรของหมู่ดาวต่าๆ อยู่บนพื้นฐานของการระวัง จึงสร้างและวางระบบการโคจรให้มองเห็นเป็นรูปร่าง ซึ่งระบบที่จัดวางขึ้นมานั้น มิได้ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ทางปรัชญาแต่อย่างใด เช่น จะต้องไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า วิชาดาราศาสตร์พยายามทำให้มองเห็นภาพ ในระบบของการโคจร ซึ่งการมองเห็นภาพนั้น ในวิชาด้านนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว ต่อการไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น จึงวางให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการโคจร โดยมีดาวนพเคราะห์ดวงอื่นโดจรรอบดวงอาทิตย์ ใกล้ไกลห่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ประหนึ่งชั้นของหัวหอมที่ซ้อนกันโดยที่ไม่มีช่องว่างเกิดขั้น ระหว่างชั้นเหล่านั้น[3]
อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวมาแล้วว่า การหักล้างหรือการไม่ยอมรับปัญหาด้านวิชาการ ปัญหาใดปัญหาหนึ่งนั้น จำเป็นต้องวางอยู่บนหลักการและเหตุผล ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าวิชาปรัชญาอิสลาม นอกจากจะไม่ยอมรับ การโจมตีของปรัชญาตะวัน ด้วยเหตุที่แข็งแรงทางความเชื่อ ที่มีต่อเหตุผลเชิงตรรกะ และสติปัญญาแล้ว ยังสามารถหักล้างเหตุผลของปรัชญาตะวันตกได้อีกต่างหาก นอกจากนั้นนักปรัชญาอิสลามยังศึกษาปรัชญาตะวันตก วิเคราะห์ และหักล้างเหตุเหล่านั้น หนึ่งในตัวอย่างนั้นคือ “หนังสืออุซูลฟัลซะฟะฮ์ วะระเวช เรอาริซม์” เขียนโดย อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี อธิบายโดย อายะตุลลอฮฺ ชะฮีด มุเฏาะฮะรี และสิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านล่วงเลยไปแล้วครึ่งศตวรรษ นักปรัชญาตะวันตก หรือผู้ใฝ่ในปรัชญาตะวันตก ยังหลงไหลในเสน่ห์ของปรัชญาในประเทศเราอย่างไม่ส่างซา ที่สำคัญยังไม่มีนักปรัชญาคนใด ตอบหรือหักล้างในเชิงเหตุผลที่มีต่อหนังสือดังกล่าว การนิ่งเงียบนานเกินกว่า 60 ปี ของนักปรัชญาตะวันตกที่กล่าวอ้างตนเองมาโดยตลอดนั้น ถือเป็นการเพลี้ยงพล้ำอย่างหนักหนาสาหัสสำหรับพวกเขา
สรุปประเด็นสำคัญไว้ 2 ประเด็น
1.วัตถุประสงค์ของ ปรัชญาตะวันตก หมายถึงปรัชญาที่เจริญและครอบคลุมอยู่ในตะวันตก ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ก. มองว่าความจริงเป็นเพียงสัมผัสหนึ่ง ข. การรับรู้ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการสัมผัสเท่านั้น กล่าวคือ เฉพาะวิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่เชื่อถือได้และมีคุณค่าทางวทฤษฎีและวิชาการ ส่วนวิชาการด้านใดก็ตามที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยผัสสะแล้วละก็ จะถือว่าวิชาการเหล่านั้น เชื่อถือไม่ได้และไม่มีคุณค่าทางวิชาการแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ามุมมองหนึ่งที่เป็นปัญหาสำหรับปรัชญาตะวันตกคือ การอยู่ในความสงสัยตลอดเวลา อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า พวกเขาขุดรากถอนโคนวิชาการของตน ด้วยมือตนเองโดยไม่เจตนา[4]
2 .สามารถกล่าวได้ว่า ทุกทฤษฎีความรู้นั้น มีจุดบวกอันก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ ดังนั้น ปรัชญาตะวันตกเองก็มีประเด็นที่มีประโยชน์ไม่น้อย ด้วยตัวมันเอง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เหล่านั้น
 

[1] อายะตุลลอฮฺ ฮะซัน ซอเดะฮฺ ออมูลี ผู้เชี่ยวชาญวิชาคำนวณและคณิตศาสตร์โบราณ ในชั้นเรียนท่านได้กล่าวถึงความทรงจำอันมากมายที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงหลายแห่งในฝรั่งเศส เชิญท่านไปสอนและบรรยายพิเศษเกี่ยวกับวิชาการดังกล่าว  และสำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ตลอดจนความพยายามของมหาวิทยาลัก ที่จะสอนตำราเหล่านั้น ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ประเทศตะวันตกพยายามจะโฆษณาชวนเชื่อประชาชนของตนเอง เบื้องต้นพวกเขาพยายามบอกกับชาวมุสลิมว่า วิชาการเหล่านี้ล่มสลายและโมฆะไปหมดแล้ว หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนตำรับตำราเกี่ยวกับวิชาเหล่านั้น ออกนอกประเทศ ด้วยเลห์เพทุบายต่างๆด
[2] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน บทเรียนดาราศาสตร์ เล่ม 2หน้า 107 พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์ ดัฟตัรตับลีฆอต อิสลามี กุม 1375
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 744 - 747
[4] ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก มุเฏาะฮะรียฺ มุรตะฏอ อุซูลฟัลซะฟะฮฺ เล่ม 1 บทวิเคราะห์ที่ 1-4 ดัฟตัรตับลีฆอต อิสลามี กุม
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    5747 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • การที่กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงลืมปวงบ่าวบางคนของพระองค์หมายความว่าอย่างไร?
    5910 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอาน, ถึง 4 ครั้งด้วยกันเกี่ยวกับการลืมของปวงบ่าว โดยสัมพันธ์ไปยังพระองค์ ดังเช่น โองการหนึ่งกล่าวว่า : วันนี้เราได้ลืมพวกเขา ดังที่พวกเขาได้ลืมการพบกันในวันนี้” โองการข้างต้นและโองการที่คล้ายคลึงกันนี้สนับสนุนประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดีว่า ในปรโลก (หรือแม้แต่โลกนี้) จะมีชนกลุ่มหนึ่งถูกอัลลอฮฺ ลืมเลือนพวกเขา, แต่จุดประสงค์ของการหลงลืมนั้นหมายถึงอะไร?การพิสูจน์ในเชิงสติปัญญา และเทววิทยาที่มีอยู่ในปัจจุบันในตำราของอิสลามกล่าวว่า การหลงลืมหมายถึงการไม่ครอบคลุมทั่วถึงเหนือสภาพของสิ่งถูกสร้าง แน่นอน สิ่งนี้อยู่นอกเหนืออาตมันสมบูรณ์ของอัลลอฮฺ ดังเช่นพระดำรัสของพระองค์ตรัสว่า “องค์พระผู้อภิบาลมิใช่ผู้หลงลืมการงาน”จากคำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้ประจักษ์ชัดเจนว่า จุดประสงค์ของการหลงลืมของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้หมายถึงการลืมเลือน การไม่มีภูมิความรู้ และการไม่รู้แต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ...
  • อะไรคือสัญญาณของพระเจ้า ที่อยู่ในท้องฟ้าและแผ่นดิน?
    10502 آسمان و زمین 2555/08/22
    ท้องฟ้าและแผ่นดิน และทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในนั้น ทว่าทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดเป็นสัญญาณ ที่บ่งบอกให้เห็นพลานุภาพของพระเจ้า สัญญาณต่างๆ นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถคำนวณนับได้หมดสิ้น อัลกุรอาน ได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเรียนรู้จักสัญญาณเหล่านั้น ทั้งความกว้างไพศาล จำนวนกาแลคซี่ต่างๆ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์, หมู่ดวงดาวต่างๆ และสิ่งมหัศจรรย์อีกจำนวนมากในนั้น การประสานกันของมวลเมฆ การเกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และฟ้าแลบ พร้อมประโยชน์มหาศาลของมัน การสร้างมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ที่สลับซับซ้อนที่สุด ในขบวนการสร้างของพระองค์ การดำรงชีพและวัฎจักรชีวิตของผึ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งสัญญาณของพระองค์ ที่บ่งบอกให้เห็นความรู้ วิทยญาณ และความปรีชาญาณของพระองค์ ...
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5311 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    7738 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • บรรดามลาอิกะฮฺมีอายุขัยนานเท่าใด ?มลาอิกะฮฺชั้นใกล้ชิดต้องตายด้วยหรือไม่? เป็นอย่างไร?
    13840 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ตามรายงานกล่าวว่ามวลมลาอิกะฮฺถูกสร้างหลังจากการสร้างรูฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) พวกเขาทั้งหมดแม้แต่ญิบรออีล,
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    23727 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
    2908 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) ...
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    7842 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    8996 ฮิญาบ 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57936 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55432 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40680 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37600 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36548 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26843 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26408 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26182 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24308 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...