การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5626
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1076 รหัสสำเนา 15748
คำถามอย่างย่อ
จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
คำถาม
จะต้องงดเว้นบาปและพฤติกรรมมิชอบนานเท่าใด จึงจะเป็นระยะปลอดภัยไม่ให้ย้อนทำบาปอีก จริงหรือไม่ที่บางคนบอกว่าหากงดเว้นการทำบาปได้ 21 หรือ 40 วัน จะเกิดภูมิคุ้มกันไม่ให้ย้อนทำบาป? กุรอานหรือฮะดีษกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง มีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่าผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวัน อัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา
อย่างไรก็ดี ควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้
1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอ จึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป
2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์ คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใด แต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอ จึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้คำตอบที่กระจ่าง ควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้
1. เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง แต่มีฮะดีษมากมายที่กล่าวถึงจำนวนสี่สิบ ซึ่งขอหยิบยกมาเฉพาะที่เห็นว่าน่าจะเกี่ยวกับเรื่องนี้
. “บ่าวคนใดที่ตั้งมั่นศรัทธาหรือรำลึกถึงพระองค์เป็นเวลาสี่สิบวัน พระองค์จะทรงทำให้เขาก้าวข้ามกิเลส และเข้าใจภัยคุกคามของดุนยาและวิธีแก้ และทรงบันดาลให้วิทยปัญญาสถิตในใจและพรั่งพรูจากปลายลิ้นของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย[i]
. “ผู้ที่เลือกรับประทานเฉพาะอาหารฮะล้าล(และได้มาอย่างสุจริต)เป็นเวลาสี่สิบวัน จิตใจของเขาจะส่องสว่าง[ii]
. “นบีอาดัมเตาบะฮ์สี่สิบวันสี่สิบคืนหลังจากถูกเนรเทศจากสวรรค์ และนบีดาวู้ดก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้หลังจากที่ถูกอัลลอฮ์ทดสอบ[iii]
และฮะดีษอื่นๆอีกมากมายซึ่งทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า ระยะเวลาสี่สิบวันมีอานุภาพในการปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมมนุษย์อย่างยิ่ง

2. เป็นที่ทราบกันดีว่าการย้ำทำสิ่งใดซ้ำๆกันจะทำให้จิตใจซึมซับพฤติกรรมนั้น ครูบาทางด้านจริยธรรมอิสลามก็สอนว่า การย้ำทำจะส่งผลให้เกิดความเคยชินและสร้างเป็นลักษณะนิสัย ในทำนองเดียวกัน การงดเว้นพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์บางอย่างในระยะยาว ก็สามารถขจัดรอยด่างพร้อยที่ฝังลึกในจิตใจได้เช่นกัน อันจะทำให้ลืมความเอร็ดอร่อยของบาปกรรม ส่งผลให้เป็นเรื่องยากที่จะย้อนกลับไปกระทำบาปอีก

3. คำนึงเสมอว่า ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังคงอยู่[iv]
กุรอานกล่าวว่าแน่แท้ จิตใจจะคาดคั้นบงการให้กระทำชั่ว เว้นแต่จิตนั้นจะได้รับความเมตตาจากพระผู้อภิบาล...”[v] ด้วยเหตุนี้เองที่ปูชณียบุคคลอย่างบรรดาอิมาม (.) ยังต้องวอนขอต่อพระองค์ว่าโอ้องค์สักการะของข้าฯ โปรดอย่าปล่อยให้ข้าฯอยู่ตามยถากรรมแม้ชั่วขณะจิต[vi]
ฉะนั้น จึงไม่อาจจะเพ้อฝันว่าตนเองคลาดแคล้วจากภัยบาปแล้ว

4. อย่าสิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮ์เด็ดขาด
คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใด แต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอ จึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา[vii]



[i] عَنْ أَبِی جَعْفَرٍ ع قَالَ مَا أَخْلَصَ الْعَبْدُ الْإِیمَانَ بِاللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِینَ یَوْماً أَوْ قَالَ مَا أَجْمَلَ عَبْدٌ ذِکْرَ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ أَرْبَعِینَ یَوْماً إِلَّا زَهَّدَهُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ فِی الدُّنْیَا وَ بَصَّرَهُ دَاءَهَا وَ دَوَاءَهَا فَأَثْبَتَ الْحِکْمَةَ فِی قَلْبِهِ وَ أَنْطَقَ بِهَا لِسَانَه  อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 16.

[ii] อัญมณีแห่งความผาสุก,เล่ม 1,หน้า 367

[iii] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 5,หน้า 43

[iv] ชิฮาบุลอัคบ้าร,กุฎออี,ฮะดีษที่ 709

[v] وَ ما أُبَرِّئُ نَفْسی إِنَّ النَّفْسَ لَأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ إِلاَّ ما رَحِمَ رَبِّی إِنَّ رَبِّی غَفُورٌ رَحیم ซูเราะฮ์ยูซุฟ,53

[vi] อัลกาฟีย์,เล่ม 2,หน้า 524

[vii] لا تَیْأَسُوا مِنْ رَوْحِ اللَّهِ إِنَّهُ لا یَیْأَسُ مِنْ رَوْحِ اللَّهِ إِلاَّ الْقَوْمُ الْکافِرُون ซูเราะฮ์ยูซุฟ, 87

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12460 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6488 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8878 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4139 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    6937 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7387 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
    13420 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    “เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำและแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ...
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    7969 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7895 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...