การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9218
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1019 รหัสสำเนา 12544
คำถามอย่างย่อ
ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
คำถาม
ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
คำตอบโดยสังเขป

ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอานอาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้า และการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิด ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกัน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้า และความเป็นเลิศของบุคคลและสังคม[i]

อีกนัยหนึ่ง คุณภาพของมนุษย์และสังคมอิสลามจากพระเจ้านั้น อยู่ในกรอบของคำสอนศาสนาซึ่งพระองค์ได้มอบไว้ในอำนาจของมนุษย์ ขณะที่ถ้าหากมนุษย์ได้นำเอาบทบัญญัติของอิสลาม วิชาการ และบทบัญญัติด้านคุณธรรม มาเป็นครรลองในการปฏิบัติในมุมมองต่างๆ ของชีวิตด้วยเจตคติเสรี พร้อมทั้งให้คำตอบให้กับความต้องการอันเป็นธรรมชาติของตัวเอง และก้าวไปถึงยังวัตถุประสงค์ที่เป็นเป้าหมายในการสร้างเขาขึ้นมา และเขาสามารถประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าเป็นเพราะความลุ่มหลงที่เขามีต่อโลก และทุกสิ่งที่มีอยู่ในนั้น ละเมิดทุกคำสั่งสอนของศาสนา หรือนำเอาสิ่งเหล่านั้นไว้ใต้ฝ่าเท้า หรือเลือกปฏิบัติบทบัญญัติบางประการ อันไม่ก่อผลเสียหายต่อผลประโยชน์ทางโลกของตน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเท่ากับเขาได้เลือกปฏิบัติตามความพอใจ หรือปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของตน ด้วยเหตุนี้ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัจจัยฉุดกระชากให้ตนเองและสังคมตกต่ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการโน้มนำสังคมและชุมชนไปสู่ความล้าหลังและความตกต่ำ อันดับแรกคือผู้ปกครองหลังจากนั้นบรรดาผู้รู้ (อุละมาอ์) และนักวิชาการศาสนา ซึ่งคนเหล่านี้ทราบและรับรู้ความจริง แต่เงียบและไม่สนใจที่จะแก้ไชปัญหา หลังจากนั้นก็เป็นประชาชนโดยทั่วไป



[i] อัลกุรอานบทอันนะฮฺลิ โองการ 36 กล่าวว่าและโดยแน่นอน เราได้ส่งร่อซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) พวกท่าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮฺ ทรงชี้นำทางและในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขา ฉะนั้น พวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด

นอกจากนี้อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 256, บทฏอฮา โองการ 123-124 ก็ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความก้าวหน้าและความตกต่ำของสังคม ปัจจัยสำคัญที่สุดคือผู้ปกครองสังคม ผู้ปกครองสังคมถ้าหากเป็นคนมีศาสนาหรือมีความเคร่งครัดในระเบียบคำสอนของศาสนาอย่างสมบูรณ์ หรือมีความมั่นคงต่อคำสอน และแพร่ขยายนำไปสู่การปฏิบัติด้วยความละเอียดอ่อนในสังคม บรรดาผู้รู้และผู้มีบทบาทในสังคมต่างได้รับการสนับสนุนกันอย่างถ้วนหน้า ประชาชนทั่วไปก็ถือปฏิบัติตามผู้รู้และผู้ปกครองสังคม ทำให้พวกเขาได้ออกห่างจากความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีทั้งหลาย  แต่ถ้าผู้ปกครองคนนั้นไม่มีความเคร่งครัดในศาสนา ลุ่มหลงโลกและทรัพย์สฤงคาร หวงแหนในลาภยศสรรเสริญ ไม่ว่าจะด้วยวิถีทางใดก็ตาม อีกทั้งจมปรักอยู่กับกิเลสและความต้องการ ไม่ให้เกียรติผู้รู้และนักปราชญ์หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดจากพวกเขา ไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาของสังคม หรือกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชน แน่นอน จิตใจของประชาชนย่อมฟุ้งซ่านและมีความกระวนกระวายใจ ดังนั้น ถ้าหากผู้ปกครองไม่ต้องการที่จะปรับปรุงสังคมให้เป็นไปในทางที่ดี ส่วนประชาชนก็ไม่ช่วยกันกำชับความดีงาม หรือห้ามปรามความชั่วร้าย ทั้งหมดยึดถือวัฒนธรรมความชั่วร้ายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งหมดลุ่มหลงและมีความยากได้ในทรัพย์ของคนอื่น แน่นอน ถ้าหากสังคมใดเป็นเช่นนี้พลเมืองของสังคมนั้นก็จะค่อยๆ ปนเปื้อนความสกปรกเหล่านั้นเหมือนกันทั้งหมด ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้นก็ตาม แน่นอน เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ ที่เขาต้องการจะปกป้องศาสนาของเขาให้รอดปลอดภัย 

ด้วยเหตุนี้ จุดกำเนิดของความชั่วร้ายในสังคมเกิดจาก เริ่มจากความลุ่มหลงต่อโลก หลงตัวเอง หลงตำแหน่ง ทะเยอทะยานใฝ่สูงในยศถาบรรดาศักดิ์ ต้องการมีอิทธิพลต่อฝ่ายปกครอง ฉะนั้น ความเสื่อมศรัทธาในผู้ปกครองก็เกิดจากชนเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน และถ้าหากประชาชนนิ่งเฉยต่อการกระทำของพวกเขาก็ต้องพลอยรับกรรมตามไปด้วย

ตัวอย่าง เมื่อคนเฉกเช่นยะซีดได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองสังคมอิสลาม ซึ่งเป้าหมายมิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากความภาคภูมิใจและความใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้ปกครอง, การแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง ทรัพย์สิน ชื่อเสียง กิเลส อำนาจใฝ่ต่ำ และการจมปรักอยู่กับความลุ่มหลงทางโลก นำเอาบุคคลที่เฉกเช่น นักรายงานฮะดีซผู้เผยแผ่ศาสนา ให้มารับผิดชอบเรื่องการปกครอง หรือนำเอาบุคคลอื่นเนื่องจากหวาดกลัว หรือห่วงในทรัพย์สินจึงได้นิ่งเงียบปล่อยทุกอย่างไปตามยะถากรรม และเนื่องจากเขาได้ทำลายประวัติศาสตร์และต้องการพลิกผันประวัติศาสตร์ให้เป็นอย่างอื่น จึงได้แนะนำผู้ปกครองว่าเป็นนักปราชญ์ทางศาสนา เขาได้วินิจฉัยผิดพลาดและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตน เขาจึงผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดของเขาได้สร้างบาปกรรมแก่ครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ) อย่างสาหัสที่สุด พวกเขาได้ถูกกดขี่ทรมาน แต่หลังจากนั้นผู้กระทำผิดได้แสร้งกลับตัวกลับใจ ลุแก่โทษต่อพระเจ้า ฉะนั้น ทุกคนจำเป็นต้องให้เกียรติเขา ไม่มีผู้ใดมีสิทธิที่จะแสดงความรังเกลียดเดียดฉันพวกเขา มิเช่นนั้นจะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เมื่อประชาชนได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านี้โดยไม่กลั่นกรองให้ดี แต่กลับนำเอาคำพูดไร้แก่นสารบรรจุไว้ในโสตปราสาทของตน ดังนั้น เขาจะไม่มีวันทำลายความเสื่อมทรามทางสังคมให้หมดสิ้นไปได้ หรือจะมีความคาดหวังว่าสังคมจะก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างแน่นอน

ฉะนั้น จะเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้สังคมตกต่ำคือ การมีแนวคิดแบบฎอฆูต (ผู้อธรรมหรือละเมิด) และการละทิ้งศาสนาของพระเจ้า ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1) การปฏิเสธไม่ยอมรับบรรดาศาสดา (.) หรือการนำเอาโองการของพระเจ้าไว้ใต้ฝ่าเท้าของตน หรือการปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้นอย่างไม่สมบูรณ์ ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าและหากว่าชาวเมืองนั้นได้มีศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราก็คงเปิดวามจำเริญจากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้[1]

2) สังคมไร้ซึ่งความยุติธรรม ประกอบกับการมีผู้ปกครองที่เลวร้าย[2]

3) การความแตกแยก บ่อนทำลาย และสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน[3]

4) การละทิ้งการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว การละทิ้งความอดทน การละเลยความดีให้ความสำคัญต่อความชั่ว หรือสนับสนุนส่งเสริมสิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายทั้งปวง[4] หรือไม่ใส่ใจสิ่งใดทั้งสิ้น

5) ไม่บริจาค ไม่เสียสละทรัพย์สินและชีวิตเพื่อรับใช้หรือปกป้องอิสลาม มีความลุ่มหลงในทรัพย์สินสฤงคาร และหลงใหลในกิเลสตัณหา[5] 

หนทางบำบัดรักษา : แนวทางในการบำบัดรักษาดังที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดมากเกินเลยไปกว่าการมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และการละเว้นความเป็นฏอฆูตในแง่มุมของชีวิต โดยผ่านสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง นักปราชญ์ผู้รู้ หรือแม้แต่สามัญชนคนธรรมดาในระดับต่างๆ ของสังคม ถ้าหากมนุษย์คิดถึงความสูญสิ้นของโลกที่มีอายุขัยสั้นเพียงเล็กน้อยนี้ แน่นอน เขาก็จะมีชัยชนะเหนืออำนาจฝ่ายต่ำของตน เหนือกิเลสและความต้องการทางกามรมย์ของตน และจะไม่ลุ่มหลงหรือเคารพบูชาโลกเด็ดขาด ไม่หลงระเริงกับวัตถุปัจจัย แน่นอน เขาจะคำนึงถึงแต่ปรโลกที่มีความยืนยาวนาน และเป็นอมตะนิรันดร และพึงรู้ไว้ว่า มีผู้มองดูเราอยู่ตลอดเวลา มีผู้คอยเป็นห่วงสภาพเราเสมอ อีกทั้งคอยจดบันทึกการงานและความคิดของเขาตลอดเวลา ยังมีโลกอีกโลกหนึ่งหลังจากนี้ซึ่งในโลกนั้นเราจะต้องคอยคอบข้อซักถาม เกี่ยวกับการงานและความประพฤติของเราบนโลกนี้ โลกที่มีความอตมตะไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งไม่มีหนทางเลือกสรรหรือการทดแทนอีกแล้ว อีกนัยหนึ่งหนึ่ง ถ้าหากมนุษย์เลือกปฏิบัติตามธรรมชาติสมบูรณ์และสติปัญญาของตน ไม่ยึดถือปฏิบัติตามความพอใจหรืออำนาจฝ่ายต่ำอันเป็นพลังของเดรัจฉานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ยอมจำนนต่อความจริงและหลีกห่างความชั่วโดยแท้จริง ซึ่งสิ่งนี้ในความเป็นจริงหมายถึงการละเว้นความชั่วร้ายและความต่ำทรามบนหน้าแผ่นดิน เท่ากับตนได้เข้าใกล้ความเจริญผาสุก และความรุ่งเรืองทั้งโลกนี้และปรโลกหน้า

แน่นอน ในสังคมบางสังคมจะยึดถือเอาความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดี เป็นมาตรฐานสำหรับวัดความเป็นมนุษย์ อารยธรรมและวัฒนธรรม หรือมาตรวัดการดำรงอยู่หรือแยกตัวไปจากศาสนา ความศรัทธาและการปฏิบัติคุณความดีกลับกลายเป็นปัญหาของสังคม เมื่อถึงเวลานั้นเราควรจะทำอย่างไร ? ถ้าหากบุคคลนั้นมีความสามารถและมีบทบาทต่อสังคม หรือเป็นผู้ปกครองคนอื่นอีกมากมายหลายคน ดังนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงที่เขาจะต้องให้การชี้นำและเปลี่ยนแปลงสังคมเท่าที่สามารถทำได้ มิเช่นนั้นแล้วความอดทนและความอดกลั้นก็จะไร้ซึ่งความหมาย ต้องหลีกเลี่ยงคำด่าประจารเพื่อปกป้องศาสนาของตน ที่สำคัญต้องมีความหลงใหลในการปกป้องศาสนา และต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาหมู่มวลมิตรของพระองค์ เพื่อให้ตนมีความมั่นคงในการยืนหยัดต่อสู้เพื่อศาสนาตลอดไป หรือทำการชี้นำบุคลลอื่นเท่าที่สามารถทำได้เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลงทาง อินชาอัลลอฮฺ ในไม่ช้านี้เราจะได้พบกับการปรากฏกายของผู้ให้ความช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ มะฮฺดียฺ (.) ผู้จะมาปลดปล่อยและสร้างความยุติธรรมบนหน้าแผ่นดิน

แหล่งอ้างอิง :

1. อัลกุรอานกะรีม

2. ตัฟซีรเนะฮฺมูเนะฮฺ ตัฟซีรมีซาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าวซึ่งปรากฏในเชิงอรรถ

3. เฏาะบาเฏาะบาอีย์ มุฮัมมัดฮุเซน วิเคราะห์อิสลาม สำนักพิมพ์ ฮิจญ์รัต กุม หน้า 158 และ 97

4. มุเฏาะฮะรียฺ มุรตะฏอ ญามิอ์และตารีค สำนักพิมพ์ อินติชารอตอิสลาม กุม



[1] อัลกุรอาน บทอะอ์รอฟ โองการที่ 96

[2] อัลกุรอาน บทอัลเกาะซ็อซ โองการที่ 2

[3] อัลกุรอาน บท อันอาม 65,53, อันฟาล 46

[4] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน 104,113,110, บทมาอิดะฮฺ 79

[5] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 33

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    7600 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    5662 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    5549 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    10946 تبری و لعن 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26139 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    5741 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5411 ปัจจัยที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9218 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    17318 کلیات 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    10728 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57887 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40652 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37586 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36480 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32631 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26820 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26375 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26139 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24286 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...