การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6923
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/07
คำถามอย่างย่อ
สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำถาม
สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร? กรุณาระบุซูเราะฮ์และโองการด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย
ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ
ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด
มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก”

คำตอบเชิงรายละเอียด

อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก[1] แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย[2]
ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ[3]
ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด เมื่อถึงจุดนี้ การล่อลวงใดๆก็ไม่สามารถทำอะไรเขาได้อีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่น

เราทุกคนรู้ดีว่าผู้ที่ตายไปแล้วย่อมจะไม่สามารถกระทำสิ่งใดได้เลย นี่คือสิ่งที่เรายอมรับด้วยเหตุและผล แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่หยั่งรากลึกในหัวใจ ด้วยเหตุนี้เองที่หลายคนยังกลัวผู้ตายโดยเฉพาะในยามค่ำคืน แต่สัปเหร่อที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับผู้ตายกลับไม่หวาดกลัวใดๆ[4] ด้วยเหตุนี้เอง หากมนุษย์บรรลุถึงระดับขั้นแห่ง“การประจักษ์”ก็จะทำให้มีจิตใจที่สงบมั่น ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)ศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพอย่างแรงกล้าและบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีความเคลือบแคลงใดๆ ทว่าท่านต้องการจะบรรลุถึงความสงบมั่นทางจิตใจ

มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจ แต่ทว่าขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ท่านอีก”[5]

ฮะดีษบางบทช่วยขจัดข้ออ้างที่ว่า ในเมื่อท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)เคยมีความเคลือบแคลงสงสัย หากเราจะสงสัยบ้างก็ไม่เห็นเป็นไร
มีฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งเขียนจดหมายถึงท่านอิมามมูซา กาซิม(อ.)ว่า กระผมมีความเคลือบแคลงในใจ และอยากให้ท่านแสดงอภินิหารให้ประจักษ์ ดังที่ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.เคยขอให้อัลลอฮ์แสดงกระบวนการคืนชีพซากศพ ท่านอิมาม(อ.)ตอบว่า “อันที่จริง นบีอิบรอฮีม(อ.)ศรัทธาอย่างแรงกล้า เพียงแต่ท่านประสงค์จะได้รับการเพิ่มพูนศรัทธา ส่วนเธอนั้นกำลังสงสัย และไม่มีข้อดีใดๆสำหรับผู้เคลือบแคลงสงสัยเลย”[6]

ฉะนั้น เราทุกคนจะต้องมีความมั่นใจในหลักศรัทธาทางศาสนาด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล อันจะทำไห้หลุดพ้นจากความเคลือบแคลงสงสัยทุกประการ และยังสามารถสอบถามผู้รู้ทางศาสนาเพื่อขจัดข้อครหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโองการกุรอานอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็จะทราบว่า วิธีที่จะช่วยขจัดความกระวนกระวายใจก็คือ จะต้องเพิ่มพูนศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงวิทยปัญญาและทรงดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม ตลอดจนเสริมศรัทธาเกี่ยวกับวันปรโลก นรกและสวรรค์ และหมั่นบำเพ็ญอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ เพื่อให้เข้าถึงความสงบมั่น

ตราบใดที่ผู้ศรัทธาสัมผัสถึงพระเมตตาและการสนับสนุนของพระองค์ ก็ย่อมไม่มีความประหวั่นพรั่นพรึงใดๆอีกต่อไป

 و لا تهنوا و لا تحزنوا و انتم الاعلون ان كنتم مؤمنین

(และจงอย่าอ่อนและหวั่นเกรงใดๆ เพราะสูเจ้าอยู่ในสถานะที่เหนือกว่า มาตรว่าสูเจ้ามีศรัทธา)[7]
ในโองการเหล่านี้ อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะสื่อว่า มาตรว่าสูเจ้าอยู่ฝ่ายพระองค์ สูเจ้าจะได้รับมอบเดชานุภาพของชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยพระองค์ทรงทราบดีถึงปัญหาและความยากลำบากของสูเจ้า และทราบดีถึงความอุตสาหะวิริยะของเจ้าในการทำอิบาดะฮ์ ด้วยกับความเชื่อมั่นต่อคำสัญญาเหล่านี้ของพระองค์ มีหรือที่มนุษย์จะไม่ได้รับความสงบมั่นในหัวใจ? แน่นอนว่าวิธีคิดและความเชื่อเหล่านี้จะช่วยขจัดความกระวนกระวายใจของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์

 

 


[1] อิบนิมันซู้ร,มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม,ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 13,หน้า 21,สำนักพิมพ์ดารุ้ศศอดิร,เบรุต,ครั้งที่สาม,ฮ.ศ.1414 الإِيمان: بمعنى التصديق، ضدُّه التكذيب

[2] กุลัยนี,กาฟี,เล่ม 2,หน้า 27,ฮะดีษที่ 1,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี,1365 อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า الْإِيمَانُ هُوَ الْإِقْرَارُ بِاللِّسَانِ وَ عَقْدٌ فِي الْقَلْبِ وَ عَمَلٌ بِالْأَرْكَانِ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยกวับความหมายของอีหม่านและข้อแตกต่างจากอิสลามและความรู้ได้ที่ระเบียน “เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่าน คำถามที่1311 (ลำดับในเว็บไซต์1343) และ “ข้อแตกต่างระหว่างอีหม่านและความรู้ คำถามที่ 5382 (ลำดับในเว็บไซต์ 5651)

[3] รอฆิบ อิศฟะฮานี,ฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด,แปลและค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับ มุฟเราะด้าต อัลฟ้าซ อัลกุรอาน,โคสโรวี, กุลามริฎอ,สำนักพิมพ์มุรตะเฎาะวี,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สอง,ปี1375

[4] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 304,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1374

[5] อะรูซี ฮุวัยซี,อับดุอลี บิน ญุมอะฮ์,นูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม1,หน้า 330,สำนักพิมพ์อัตตารีคุลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1412

[6] เพิ่งอ้าง,เล่ม1,หน้า 336

[7] อาลิอิมรอน,139

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6635 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38924 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9561 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • มนุษย์นั้นมีสิทธิที่จะพูดจาจาบจ้วงพี่น้องในศาสนาของตนได้ไหม – เนื่องจากการทะเลาะวิวาทหรือความขัดแย้งระหว่างพวกเขา- อันเป็นสาเหตุของการกลั่นแกล้งและทำให้การโกรธเกลียดกัน, ทั้งๆ ที่เขาได้กล่าวขออภัยแล้ว?
    6172 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/20
    การอภัยและการยกโทษเป็นคุณสมบัติพิเศษของบุรุษผู้มีความยิ่งใหญ่และยังเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่แห่งจิตวิญญาณของเขาอีกด้วย, ตามคำสอนของอิสลามคุณลักษณะเหล่านี้ถือว่าเป็นความประเสริฐด้านคุณธรรมและจริยธรรม, ศาสนาซึ่งท่านศาสดาประจำศาสนาได้ถูกคัดเลือกขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และความประเสริฐของจริยธรรม
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7789 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • เหตุใดอิสลามต้องบริหารโดยบรรดาฟุกอฮาอ์?
    5961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/11
    อิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายบทบัญญัติต่างๆของอิสลามล้วนมีลักษณะถาวรและดังที่อิสลามสามารถตอบโจทก์ได้ในอดีตก็ย่อมจะต้องตอบทุกโจทก์ในอนาคตได้เช่นกัน อีกด้านหนึ่งนับวันก็ยิ่งจะมีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นรายวันซึ่งล้วนไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อต้องพิจารณาปัญหาใหม่ๆโดยอ้างอิงหลักการที่เปรียบเสมือนกฏหมายแม่อิสลามจึงกำหนดวิธีการเฉพาะกิจโดยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญปัญหาศาสนาที่รู้ทันสถานการณ์โลกทำการค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆโดยจะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและความจำเป็นต่างๆของสังคมและประชาคมโลกเพื่อให้ได้มาซึ่งปรัชญา
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8776 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    7109 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    6105 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8581 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60101 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57504 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42175 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39309 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38924 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27997 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27924 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27758 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25757 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...