การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6251
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1077 รหัสสำเนา 15399
คำถามอย่างย่อ
เป็นไปได้อย่างไรที่คนเราจะรักและกลัวอัลลอฮ์ในขณะเดียวกัน?
คำถาม
เป็นไปได้อย่างไรที่คนเราจะรักและกลัวอัลลอฮ์ในขณะเดียวกัน? อิสลามสอนให้มีทั้งความหวังและความกริ่งเกรงซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกันเอง อย่างน้อยบรรดามะอ์ศูมีนก็ไม่น่าจะต้องกลัวพระองค์ เพราะถ้าหากบุคคลเหล่านี้ยังต้องกลัวอัลลอฮ์ แล้วพวกเราจะเหลืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ความหวัง ความรัก และความกริ่งเกรงที่มีต่ออัลลอฮ์ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด เพราะความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นในชีวิตของเราทุกคนเป็นปกติ เพียงแต่เราอาจจะเคยชินเสียจนไม่รู้ตัว แม้แต่การเดินเหินตามปกติของเราก็เกิดจากปัจจัยทั้งสามประการดังกล่าว เนื่องจากหากไม่มีความหวัง เราก็จะไม่ก้าวเท้าเดิน และหากไม่ก้าวเท้าเดิน ก็จะไม่มีวันถึงจุดหมาย และหากไม่มีความกลัว เราก็จะไม่ระวังตัว จนอาจประสบอุบัติเหตุได้ ซึ่งก็จะทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนอีกประการก็คือ การใช้สอยเครื่องอำนวยความสะดวกเช่น ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก๊ส ฯลฯ เรามีความสุขและรักที่จะใช้สอยสิ่งเหล่านี้ แต่หากเราใช้สอยโดยไม่ระมัดระวังและไม่เกรงภัยที่อาจเกิดขึ้น เครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ก็อาจเป็นอันตรายแก่เราได้ทุกเมื่อ
ด้วยเหตุนี้เอง การผนวกความรัก ความกลัว และความหวังเข้าด้วยกัน จึงไม่ไช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด
ในกรณีของอัลลอฮ์ก็เช่นกัน ควรต้องกริ่งเกรง รักและคาดหวังในพระองค์ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากความรักและความหลงใหลในพระองค์จะสร้างแรงบันดาลใจให้มนุษย์เคลื่อนไหวสู่การปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พึงพอพระทัย เพื่อให้ได้รับความการุณย์และลาภเนียะมัตต่างๆทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนความกริ่งเกรงก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องนอบน้อมยอมสยบต่อคำบัญชาของพระองค์ และพยายามหลีกห่างกิเลสตัณหาและปัจจัยต่างๆที่จุดเพลิงพิโรธของพระองค์
การจับคู่กันระหว่างความหวังและความกลัวนี้ จะทำให้บุคคลทั่วไปได้อยู่เย็นเป็นสุข และปราศจากความหวาดผวาในโลกหน้า เนื่องจากโลกนี้คือสถานที่หว่านเมล็ดพันธุ์ เมล็ดที่หว่านไปต้องได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามเพื่อรอให้ถึงวันเก็บเกี่ยวผลผลิต และในวันเก็บเกี่ยวผลผลิต ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการปกป้องใดๆอีกต่อไป
โดยลำพังแล้ว ความกลัวจะนำมาซึ่งความท้อแท้ ความเบื่อหน่าย และความเครียด ส่วนความหวังและความรักนั้น หากไม่กำกับไว้ด้วยความกลัว ก็จะนำพาสู่ความลำพองตน ความดื้อรั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติที่ไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น

 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความรัก ความหวัง และความกลัวนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบและเข้าใจกันดีอยู่แล้ว มนุษย์เราเมื่อเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง อาจจะเกิดความกลัวเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้:
. รู้สึกถึงอันตรายที่จะคุกคามชีวิต ทรัพย์สิน เกียรติยศ
. รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่หรือความสำคัญของสิ่งนั้นๆ
. ไม่ทราบว่าสิ่งนั้นจะมีผลลัพท์อย่างไร
อย่างไรก็ดี ในบางกรณี สาเหตุเหล่านี้อาจเกิดขึ้นพร้อมๆกัน

 

ส่วนความรักก็อาจจะเกิดจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้:
. ความรักที่เกิดจากการรับรู้จุดเด่นหรือแรงดึงดูดของบุคคลอื่น ทำให้มีคำกล่าวที่ว่าความรักทำให้คนตาบอด อย่างไรก็ดี คำพูดนี้จะถูกต้องก็ต่อเมื่อจุดเด่นเหล่านี้เป็นความสวยงามผิวเผินไม่ยั่งยืน  แต่หากความสวยงามเหล่านี้เกิดจากกริยามารยาทที่งดงาม หรือความโดดเด่นอันเป็นเอกหลักษณ์ นอกจากจะไม่ทำให้ตาบอดแล้ว ยังทำให้เข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริง
. ความรักที่เกิดจากการต้องพึ่งพาผู้อื่นเพื่อช่วยให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย ในกรณีนี้เป็นการรักตนเองมากกว่าที่จะเป็นการรักผู้อื่น
. ความรักที่เกิดจากความทราบซึ้งในบุญคุณเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณผู้เป็นที่รัก
. ผู้เป็นที่รักปรารถนาจะรับความรักจากผู้มีความรัก เพราะหวังดีและต้องการให้ผู้มีความรักได้ประสบความเจริญก้าวหน้า
ทั้งนี้ เหตุปัจจัยแห่งความรักทั้งหมดที่กล่าวมา อาจเกิดขึ้นประการเดียวหรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายประการสำหรับแต่ละกรณี

 

หากจะพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า ทั้งความรัก ความหวัง และความกลัว ล้วนแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลุ่มปัจจัยดังกล่าวจะอยู่รวมกันเสมอ แม้ในบางกรณีอาจจะมีอิทธิพลไม่เท่ากัน  คนทั่วไปมักจะมองข้ามปัจจัยเหล่านี้เนื่องจากความเคยชิน โดยไม่รู้ว่าปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเราอย่างยิ่ง ความหวังและความปรารถนาสร้างแรงจูงใจให้คนเราประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือแม้แต่ยอมเสี่ยงกระทำในสิ่งอันตราย ขณะเดียวกันความกลัวก็จะทำให้มีความระมัดระวังและความรอบคอบมากขึ้น ทั้งนี้ ถ้าหากมนุษย์เรามีเพียงความหวังและความปรารถนา ก็มักจะมองโลกในแง่ดีโดยไม่ระมัดระวัง อันเป็นเหตุให้ประสบเหตุร้ายในชีวิต แต่ถ้ามนุษย์มีเพียงความกลัว ก็จะระแวงทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งข้าวปลาอาหาร เพราะมัวแต่ระแวงว่าอาจจะสำลักอาหารจนถึงแก่ชีวิตได้ เช่นนี้ก็มี

 

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ฉงนใจว่าความหวังและความกลัวอัลลอฮ์จะรวมกันได้อย่างไรต่างหากที่ต้องกลับไปเรียนรู้ธรรมชาติมนุษย์ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
กล่าวคือ ระดับของความรัก ความหวัง และความกริ่งเกรงพระองค์ที่มีในใจผู้ศรัทธานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
. บุคคลคนนั้นรู้จักอัลลอฮ์ รู้จักคุณลักษณะเชิงวิจิตร และคุณลักษณะเชิงบริสุทธิของพระองค์เพียงใด
. บุคคลคนนั้นมีประวัติอย่างไร
. บุคคลคนนั้นมั่นใจอนาคตของตนเพียงใด
ผู้ที่ยึดมั่นคุณลักษณะเชิงบริสุทธิของพระองค์เป็นหลัก หรือเคยมีประวัติด่างพร้อยในอดีต ระดับความกลัวของเขามักจะสูงกว่าความหวัง และในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ยึดมั่นในคุณลักษณะเชิงวิจิตรเป็นหลัก และเคยได้สัมผัสความเมตตาของพระองค์ ตลอดจนมีประวัติที่ใสสะอาด หรือเคยเตาบะฮ์จากบาปมาแล้ว บุคคลประเภทนี้มักจะมีระดับความหวังที่สูงกว่าความกลัว ส่วนบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติกลางๆ ในลักษณะที่ไม่มั่นใจว่าความดีของตนจะเพียงพอหรือไม่ อีกทั้งไม่มั่นใจว่าจะรอดพ้นไฟนรกหรือเปล่า แต่ยังหวังว่าพระองค์จะอภัยโทษให้ในวันพิพากษา บุคคลประเภทนี้สามารถรักษาสมดุลย์ระหว่างปัจจัยทั้งสามได้
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ความรักและความกลัวของคนส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความโลภและผลประโยชน์ กล่าวคือ คนส่วนใหญ่รักอัลลอฮ์เพราะหวังจะได้รับลาภต่างๆในสรวงสวรรค์ หรือไม่ก็เพราะเกรงกลัวการลงโทษในนรก แต่ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่หลงใหลความวิจิตร ความบริสุทธิ เกียรติยศและความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ ซึ่งนอกจากบรรดาศาสดาและเหล่าตัวแทนศาสดาแล้ว น้อยนักที่จะมีผู้บรรลุสถานะเช่นนี้
ท่านอิมามอลี(.)ได้จำแนกบุคคลทั้งสามกลุ่มดังกล่าวไว้ว่ากลุ่มหนึ่งภักดีต่ออัลลอฮ์เพื่อหวังลาภยศในสวรรค์ นี่คือการภักดีวิถีพ่อค้า ส่วนอีกกลุ่มภักดีต่อพระองค์เพียงเพราะกลัวไฟนรก ซึ่งก็เป็นการภักดีวิถีทาส กลุ่มสุดท้ายภักดีต่ออัลลอฮ์เพราะเหตุผลที่พระองค์ควรค่าแก่การภักดี นี่แหล่ะคือการภักดีวิถีอิสรชน[1] (อิสระจากความต้องการส่วนตัว)
ด้วยเหตุนี้เองที่ครูบาอาจารย์ด้านจริยธรรมกล่าวกันว่า ความรักคือหนึ่งในฐานรากสำคัญของการอบรมวิถีอิสลาม อัลกุรอานในฐานะคัมภีร์ด้านจริยธรรมก็ถือว่าความรักเป็นแกนหลักของความดีงามทั้งปวง ท่านอิมามศอดิก(.) ก็เคยกล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์ทรงบ่มเพาะกริยามารยาทของท่านนบี(..)ด้วยความรัก[2]

 

กุรอานและฮะดีษอุดมไปด้วยปัจจัยการทำให้กลัว(แจ้งข่าวร้าย) และสร้างความหวัง (แจ้งข่าวดี) ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวนับเป็นเป้าหมายหลักสำหรับผู้มีศรัทธาในระดับพื้นฐาน และเป็นตัวจุดประกายและสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้ที่มีศรัทธาในระดับปกติ ซึ่งจะทำให้มนุษย์ค่อยๆเกิดแรงจูงใจด้วยการกำชับและสนับสนุน แล้วจึงใช้ความรักเป็นแรงบันดาลใจต่อไป[3] ฉะนั้น จึงไม่ไช่เรื่องแปลกประหลาดที่ความรักความหวัง และความกริ่งเกรงอัลลอฮ์จะมีปฏิกริยาสอดประสานกัน เพราะปฏิกริยาเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอบรมจริยธรรมมนุษย์ เนื่องจากด้วยกับปัจจัยความกลัวเท่านั้นที่มนุษย์จะออกห่างจากกิเลสตัณหาอันเป็นต้นเหตุของความพิโรธของพระองค์ ส่งผลให้มีความนอบน้อมยอมสยบต่อพระองค์มากขึ้น และด้วยกับปัจจัยความรักและความหวังเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ปรารถนาที่จะปฏิบัติศาสนกิจและกุศลกรรมทุกประเภทที่ทำให้ใกล้ชิดพระองค์

 

สรุปคือ ความหวังและความกลัวจะกระตุ้นให้มนุษย์ประดับประดาตนเองด้วยการกระทำความดี และปลดเปลื้องกิเลสตัณหาและบาปกรรมทุกประการ
และนี่ก็คือสภาวะในอุดมคติที่อัลลอฮ์ทรงตระเตรียมไว้สำหรับมนุษย์ ส่งผลให้ซึมซับศีลธรรมจากอัลลอฮ์ และก้าวสู่สถานะความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของพระองค์ อันจะส่งผลให้ได้รับความปลอดภัยและความสุขสบายในโลกหน้า ดังที่โองการกุรอานกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง อาทิเช่นผู้ที่มีศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปรโลก และปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม ผลรางวัลของพวกเขาจะสถิตอยู่  พระองค์อัลลอฮ์ และไม่เหลือความกลัวและความโศกเศร้าที่จะคุกคามพวกเขาอีกต่อไป[4]
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ความกลัวที่ปราศจากความหวัง จะทำให้หัวใจตายด้าน ซึมเศร้า สิ้นหวัง ละทิ้งเตาบะฮ์ และทำให้จมปลักอยู่ในวังวนแห่งบาป สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับโทษทัณฑ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนความหวังที่ปราศจากความกลัว ก็จะทำให้เกิดความลำพองตนและผัดผ่อนการเตาบะฮ์โดยหวังจะกระทำในบั้นปลายชีวิต ทำให้คาดหวังผิดๆว่าจะได้รับความเมตตาจากพระองค์แน่นอน ที่ว่าผิดก็เพราะว่าหากไม่พยายามแสวงหาด้วยการกระทำก็ไม่ควรคาดหวังความเมตตาใดๆจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านอิมามฮุเซน(.)กล่าวในดุอาอะเราะฟะฮ์ว่ามืดบอดเถิด สองตาที่ไม่เห็นว่าพระองค์เฝ้าดูการกระทำ และผู้ที่พระองค์มิได้ประทานความรักให้ ย่อมเป็นผู้ขาดทุนฉะนั้น ทุกคนจะได้เห็นผลกรรมของความกลัวและความหวังในโลกหน้า จำพวกหนึ่งถูกลงโทษเนื่องจากใช้ประโยชน์จากลาภของพระองค์ในทางที่มิชอบ หรือมีอาการสิ้นหวังในพระองค์จึงหันไปทำบาปจนหนำใจ หรือถูกหลอกให้เริงโลกย์จนลืมเก็บเกี่ยวกุศลกรรม  อีกจำพวกหนึ่งได้รับลาภบริสุทธิ์ โดยไม่ต้องกลัวเกรงสิ่งใด พวกเขาคือผู้ที่ได้รักษาสมดุลย์ระหว่างความกลัวและความหวัง ทำให้สามารถเป็นแนวหน้าในการงดเว้นบาปและตักตวงบุญ

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจากหมวดความกลัวและความหวังหรือความรักหรือการอุปถัมภ์ในหนังสือจริยธรรมอิสลามทั่วไป อาทิเช่น
1. ระดับจริยธรรมในกุรอาน,อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี,หน้า
อธิบายสี่สิบฮะดีษ, อิมามโคมัยนี,หน้า
จริยศาสตร์ในกุรอาน, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,หมวดความกลัวและความหวัง.

 

 

[1] คำแปลนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,.มุฮัมมัด ดัชที, ฮิกมะฮ์ที่237,หน้า678

[2] บิฮ้ารฯ,เล่ม17,หน้า3.

[3] ระดับจริยธรรมในกุรอาน,อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี,หน้า330-332

[4] ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์,62 และอัลมาอิดะฮ์,65 สรุปเนื้อหาจากคำถามที่ 64

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    9501 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    8696 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    8155 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8359 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    7054 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    9530 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    7668 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    8158 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6664 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6939 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60546 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58139 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40047 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39291 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34407 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28471 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28395 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28322 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26246 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...