การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8175
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/11
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตผีปีศาจ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น?
คำถาม
โองการที่101 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวว่า “และเหล่าภูตผีปีศาจได้สอนสิ่งที่สร้างความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา ซึ่งไม่สามารถทำอันตรายใดๆได้เว้นแต่ทรงประสงค์ สิ่งที่สอนสั่งนั้นล้วนแล้วแต่ให้โทษโดยปราศจากคุณประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น” เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตเหล่านี้ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น พระเจ้าประสาอะไรปล่อยให้ภูตปีศาจทำอันตรายผู้อื่น?
คำตอบโดยสังเขป

ญิน คือสิ่งมีชีวิตที่กุรอานกล่าวว่า “และเราได้สร้างญินจากไฟอันร้อนระอุก่อนการสรรสร้าง(อาดัม)” ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งต้องได้รับการชี้นำโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์ ญินจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์ ซึ่งอิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง
การทำอันตรายโดยการอนุมัติของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าทุกๆพลังอำนาจที่มีอยู่ในโลกล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่อานุภาพความร้อนและคมมีดก็ไม่อาจทำอะไรได้หากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะคานอำนาจของพระองค์ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้ กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยมนุษย์บางคนใช้ประโยชน์ในทางที่ดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

ภูตผีมีจริงหรือเพียงแค่ภาพหลอน?!
ในคติของคนทั่วไป ภูตผีปีศาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ อันมีความเกี่ยวโยงกับซาตาน แต่ถ้าหากกล่าวในเชิงนามเฉพาะก็จะหมายถึงอิบลีสนั่นเอง[1] ที่คุณเอ่ยคำว่าภูตปีศาจในคำถามนั้น ในคติของกุรอานเรียกว่า“ญิน” ความหมายทั่วไปของคำว่าญินก็คือ “สิ่งที่ซ่อนเร้น”[2] กุรอานกล่าวถึงการสร้างญินว่า “และเราได้สร้างญินจากเพลิงอันร้อนระอุก่อนสิ่งนั้น(การสร้างนบีอาดัม)[3] ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ที่ต้องได้รับการนำทางโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน[4] อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์[5] โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์[6] อิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง[7]

อย่างไรก็ดี บางครั้งบุคคลทั่วไปมักจะเรียกภาพเลือนลางในจินตนาการของตนว่า“ผี” แต่หากพิจารณาถึงโองการและฮะดีษของบรรดาอิมามที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะทราบว่าญินคือสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริง

โองการที่ 102 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์เล่าว่าชาวยิวได้เรียนรู้เวทมนตร์คาถาจากสองสำนัก
หนึ่ง. สำนักชัยฏอน ที่พยายามสอนคนทั่วไปให้เก่งกล้าคาถาอาคม เพื่อยุแหย่ให้กระทำบาปมากขึ้น
สอง. สำนักมะลาอิกะฮ์ มลาอิกะฮ์สององค์ลงมาสอนวิธีแก้คุณไสยแก่ประชาชน[8]

โองการดังกล่าวเล่าว่า อัลลอฮ์ได้ส่งมะลาอิกะฮ์สององค์[9]นามฮารู้ตและมารู้ตลงมา(ไม่ไช่ภูตปีศาจอย่างที่คุณเข้าใจ) ทั้งนี้ก็เพื่อสอนผู้คนให้แก้คาถาอาคมได้ด้วยตนเอง ทว่าผู้คนกลับเรียนเฉพาะสิ่งที่ทำให้เกิดความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา

ฉะนั้น ประเด็นแรกคือ ผู้คนมิได้เรียนคาถาอาคมจากภูตผีปีศาจอย่างที่คุณกล่าวมา แต่มีมลาอิกะฮ์สององค์ได้รับบัญชาให้สอนประชาชน ประเด็นที่สอง กุรอานไม่ได้กล่าวว่ามลาอิกะฮ์สององค์นี้สอนคาถาอาคมที่ทำให้ครอบครัวร้าวฉาน แต่กล่าวเพียงว่าผู้คนเลือกที่จะเรียนรู้คาถาดังกล่าวเอง[10]

เป็นที่ทราบกันดีว่าสองสำนวนข้างต้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บางครั้งอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อจะได้เจริญก้าวหน้าทางวิชาการ แต่นักศึกษากลับใช้ความรู้ดังกล่าวในทางเสื่อมเสีย บางครั้งเรียนรู้ทักษะบางประการที่เป็นดาบสองคม แต่นักศึกษาเลือกที่จะใช้ในด้านลบเพียงด้านเดียว วิทยาการที่ใช้สร้างระเบิดทำลายล้างชนิดต่างๆในยุคบุกเบิกก็มีลักษณะเช่นนี้เนื่องจากมนุษย์บางกลุ่มใช้ความก้าวหน้าทางวิชาการในแง่ลบ

อย่างไรก็ดี หากศึกษาเหตุของการประทานโองการข้างต้นก็จะทำให้เข้าใจประเด็นดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เรื่องราวก็คือ มลาอิกะฮ์สององค์นี้รับบัญชาให้ลงมาสอนวิธีแก้ไสยศาสตร์และคาถาอาคมแก่ประชาชน โดยได้เน้นย้ำชัดเจนว่าเราสององค์เป็นการทดสอบของพระองค์ ฉะนั้นจึงอย่ากลายเป็นผู้ปฏิเสธ (และจงใช้วิชาตามจุดประสงค์ที่ถูกต้อง)[11]

ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเหตุแห่งการประทานโองการนี้ พร้อมกับเรื่องราวของฮารู้ตและมารู้ตได้จากคำถามที่ 4970 (ลำดับในเว็บไซต์ 5247)

ไขข้อข้องใจที่ว่าอัลลอฮ์ทรงปล่อยให้มีการทำรายผู้คนกระนั้นหรือ?”
หากพิจารณากันให้ดีถึงเนื้อหาของโองการดังกล่าวก็จะทราบว่า โองการนี้ต้องการชี้แจงข้อสงสัยข้างต้น โดยหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสว่าผู้คนเลือกที่จะเรียนคาถาอาคมที่ทำให้ครอบครัวร้าวฉาน จุดนี้อาจเกิดข้อสงสัยที่ว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงว่ามนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของโลกและทำทุกอย่างตามอำเภอใจโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจของพระเจ้าได้กระนั้นหรือ? พระองค์ทรงชี้แจงว่า แม้จะใช้วิชาอาคมทำร้ายผู้อื่นได้ แต่ก็ยังอยู่ในระบบที่พระองค์ทรงวางไว้อยู่ดี...[12]

คำอธิบายเพิ่มเติม
โองการดังกล่าวต้องการจะตีแผ่แกนหลักที่สำคัญของเตาฮี้ดที่ว่า ทุกอำนาจที่มีในสากลโลกล้วนถ่ายทอดมาจากเดชานุภาพของพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่ความร้อนและคมหอกคมดาบก็ไม่มีอานุภาพใดๆหากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะต้านทานอำนาจของพระองค์ได้ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้เลย กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยบางคนใช้ประโยชน์ในทางดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย ทั้งนี้ อิสระและเสรีภาพที่พระองค์มอบให้มนุษย์นั้น ถือเป็นสิ่งทดสอบสำหรับพัฒนาตนเอง[13]

แม้เราจะทราบดีว่าอานุภาพของทุกสิ่งล้วนขึ้นตรงต่อพระองค์ แต่ก็มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงประสงค์จะให้มนุษย์ได้รับอันตรายจากคาถาอาคม ทั้งนี้ ที่คาถาอาคมมีอานุภาพได้ก็เพราะเป็นอีกระบบหนึ่งที่พระองค์ทรงสร้างไว้นั่นเอง ดังกรณีที่มีดสามารถเฉือนวัตถุเนื้ออ่อนได้ โดยมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากกฏเกณฑ์ดังกล่าวมาโดยตลอด แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้บริสุทธิ์ถูกแทงด้วยมีดจนเสียชีวิต ในมุมหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นจากกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติอันเป็นพระประสงค์พื้นฐานของพระองค์ แต่ย่อมมิได้หมายความว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้อาชญากรใช้มีดแทงผู้บริสุทธิ์เป็นการเฉพาะ เนื่องจากพระองค์ทรงห้ามปรามไว้ในหลายโองการมิให้สังหารหรือลิดรอนสิทธิผู้บริสุทธิ์ โดยทรงสัญญาว่าจะลงโทษผู้อธรรมอย่างสาสม[14]

ระเบียนที่เกี่ยวข้อง
หนึ่ง. คำถามที่ 4960 (ลำดับในเว็บไซต์ 5247) ฮารู้ตและมารู้ต
สอง. คำถามที่ 2992 (ลำดับในเว็บไซต์ 3237) ความชั่วร้ายสืบเนื่องถึงพระองค์อย่างไร
 

 


[1] มุอีน,มุฮัมมัด,พจนานุกรมมุอีน,หน้า 457,สำนักพิมพ์เบะฮ์ซ้อด,เตหราน,ปี1386

[2] รอฆิบ อิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 203

[3] อัลฮิจร์,27

[4] อัลอันอาม,130 (จะมีสุรเสียงจากพระองค์ในวันกิยามะฮ์ว่า) โอ้กลุ่มญินและมนุษย์เอ๋ย ไม่มีศาสนทูตจากสูเจ้ามาดอกหรือ เพื่อนำเสนอโองการของเราแก่สูเจ้า และเตือนสูเจ้าเกี่ยวกับการพบปะในวันนี้? พวกเขาตอบว่า เราขอสารภาพผิด(มีศาสนทูตมาเตือนแล้ว) ทว่าชีวิตในดุนยาได้หลอกลวงเรา (ด้วยเหตุนี้)จึงสารภาพมัดตัวตนเองว่าเคยเป็นผู้ปฏิเสธ”

[5] อัซซาริยาต,57

[6] อัลอะห์ก้อฟ,29 โองการนี้กล่าวถึงการรับอิสลามของญินกลุ่มหนึ่ง โดยโองการอื่นๆมีการกล่าวถึงกลุ่มญินผู้ปฏิเสธ ดู: ฟุศศิลัต,29  อะอ์ร้อฟ,38  อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 295

[7] อัลกะฮ์ฟิ,50 “และ(จงรำลึกเถิด)เมื่อครั้งที่เราได้ตรัสแก่มลาอิกะฮ์ว่า จงสุญูดแก่อาดัม พลันพร้อมใจกันสุญูดยกเว้นอิบลีสซึ่งมาจาก(เผ่าพันธุ์)ญิน (เนื่องจากมลาอิกะฮ์ย่อมไม่ฝ่าฝืนพระองค์) และได้ผันตนออกจากคำสั่งของพระผู้อภิบาลของตน”

[8] เหตุผลที่สามารถเรียนรู้ไสยศาสตร์ได้ อาทิเช่น เพื่อแก้มนตร์ดำ หรือเพื่อต่อกรกับเหล่าจอมขมังเวทย์ ดู: ญะฟะรี,ยะอ์กู้บ,ตัฟซี้รเกาษัร,เล่ม,หน้า

[9] عن الرضا(ع):وَ أَمَّا هَارُوتُ وَ مَارُوتُ فَكَانَا مَلَكَيْنِ عَلَّمَا النَّاسَ السِّحْرَ لِيَحْتَرِزُوا بِهِ سِحْرَ السَّحَرَةِ وَ يُبْطِلُوا بِهِ كَيْدَهُم ดู: วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 17,หน้า 147,หมวดห้ามเรียนรู้เวทมนตร์คาถาและห้ามใช้ทำมาหากิน

[10] กรุณาสังเกตุความหมายของโองการ: “และ(ชาวยิว)ต่างคล้อยตามสิ่งที่ชัยฏอนนำมาสอนในยุคของสุลัยมาน(อ.) สุลัยมานไม่เคย(แตะต้องวิชาอาคมเหล่านี้)และมิได้เป็นกาฟิร ทว่าชัยฏอนต่างพากันปฏิเสธและสอนมนตร์ดำแก่ผู้คน และ(ชาวยิวบางส่วน)เชื่อฟังในสิ่งที่มลาอิกะฮ์สององค์นามฮารู้ตและมารู้ตได้นำมาสอน (โดยได้สอนให้รู้จักวิธีทำคุณไสยเพื่อให้ทราบวิธีแก้มนตร์ดำ) และมิได้สอนผู้ใดเว้นเสียแต่จะเตือนเสมอว่าเราเป็นเครื่องทดสอบ จงอย่าเป็นผู้ปฏิเสธ (ด้วยการนำไปใช้ในแง่ลบ) ทว่าพวกเขาเรียนรู้เฉพาะสิ่งที่จะทำให้เกิดความร้าวฉานระหว่างสามีภรรยา แต่พวกเขาไม่สามารถจะทำอันตรายผู้ใดได้เว้นแต่พระองค์ทรงอนุญาต พวกเขาเรียนรู้ในสิ่งที่มีอันตรายต่อตนเองโดยไม่อาจจะให้ประโยชน์ใดๆ และแน่นอนว่าผู้ใดก็ตามที่แสวงหาสิ่งเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ใดๆในอาคิเราะฮ์ สิ่งที่พวกเขาแสวงหามานั้นช่างน่ารังเกียจเสียนี่กระไร หากพวกเขาทราบ”

[11] อัลบะเกาะเราะฮ์,102

[12] อิงเนื้อหาจากตัฟซี้รอัลมีซาน,เล่ม 1,หน้า 355

[13] มะการิม ชีอรซี,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 1,หน้า 377

[14] อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า “และจงอย่าสังหารผู้ที่พระองค์ทรงพิทักษ์โลหิตของเขาเว้นแต่จะมีสิทธิอันชอบธรรม และหากผู้ใดถูกสังหารในฐานะผู้ถูกกดขี่ เราได้กำหนดให้ผู้รับผิดชอบเขามีอำนาจชอบธรรม(ในการกิศอศ) ทว่าอย่าสุรุ่ยสุร่ายในการสังหาร แท้จริงเขาได้รับการช่วยเหลือ”,อิสรออ์,33

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    8835 امام علی ع و خلفا 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • ระบบการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาในอิหร่านเป็นอย่างไร?
    9316 ประวัติหลักกฎหมาย 2555/08/22
    ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ ...
  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    5777 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
    11800 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/31
    เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใดศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกันเหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดแน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตรเพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะและแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6099 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    7409 اختلاف روش ها 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    7131 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    5724 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    9630 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    8223 ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงและครอบครัว 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57983 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55458 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40702 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37611 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36594 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32664 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26857 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26428 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26207 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24320 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...