การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8347
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1798 รหัสสำเนา 11567
คำถามอย่างย่อ
ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
คำถาม
ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
คำตอบโดยสังเขป

พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆ แล้ว จะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมา ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคน ตามความเชื่อ ความประพฤติ และการคุณธรรมของตัวเอง ทว่าสำหรับสวรรค์และนรกนั้นได้ถูกจินตนาการไปอีกอย่างหนึ่งว่า จะได้ประจักษ์บนโลกนี้และปรากฏองค์ชัดเจนในโลกบัรซัคเพื่อเป็นตัวอย่าง และเป็นสาเหตุสร้างความเบิกบานและความเจ็บช้ำให้แก่มนุษย์ แน่นอนเกี่ยวกับผลสะท้อนทางการกระทำ ความเชื่อ และความคิดของมนุษย์ในปรโลกของเขา และการอธิบายสวรรค์และนรกมีทัศนะแตกต่างกันมากมาย แต่ทั้งหมดสามารถกล่าวโดยรวมได้ว่า

1) สวรรค์ที่ท่านนบีอาดัม (.) และท่านหญิงฮะวาได้เข้าไปและออกมาสู่โลกนี้

2) สวรรค์และนรกของการกระทำครอบคลุมอยู่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย

3) สวรรค์และนรกบัรซัค คือภาพปรากฏและเป็นตัวอย่างของสวรรค์และนรกที่ได้ถูกสัญญาเอาไว้ ซึ่งสวรรค์และนรกนั้นมิใช่สิ่งที่มนุษย์สัญญาเอาไว้ ทว่าเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเจตจำนงเสรีและการกระทำของมนุษย์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความเชื่อเรื่องสวรรค์และนรกในฐานะที่เป็นสถานพำนักถาวรสำหรับมนุษย์ หลังจากวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ตลอดจนความเชื่อเรื่องการวิธีการสร้างหรือความสมบูรณ์ของทั้งสอง เป็นหนึ่งในหลักความเชื่อที่มีต่อความเร้นลับ ซึ่งความศรัทธาและความรู้ที่มีต่อทั้งสองถ้านอกจากโองการและรายงานแล้วไม่อาจเกิดขึ้นได้ ขณะเดียวกันตราบที่มนุษย์ยังมองไม่เห็นปรโลกหน้า เขาก็ไม่อาจสัมผัสได้ถึงความเร้นลับที่มีอยู่ในโลกนั้น ความคลุมเครือที่มีต่อทั้งสองก็จะไม่มีวันหมดไปได้ แต่การมีความคลุมเครืออยู่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนี้จะสามารถทำลายความเชื่อหลักที่มีต่อทั้งสอง วันแห่งการฟื้นคืนชีพ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันนั้นให้หมดไปได้ เช่น ความคลุมเครือที่มีต่อสวรรค์และนรกที่ว่า ปัจจุบันนรกและสวรรค์ถูกสร้างขึ้นแล้วหรือไม่ ? ถ้าหากสร้างขึ้นแล้วทั้งสองอยู่ที่ไหน ? และปัจจุบันมีสภาพเป็นอย่างไร พื้นผิวราบเรียบซึ่งมนุษย์จะถูกลงโทษในนั้น หรือว่าเป็นพื้นครึ่งหนึ่งส่วนอีกครึ่งมนุษย์คือผู้ทำให้สมบูรณ์ หรือว่านรกและสวรรค์นั้นถูกสร้างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งในวันปรโลกมนุษย์จะถูกนำเข้าไปสู่ หรือว่านรกและสวรรค์นั้นจะถูกสร้างขึ้นในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ? และ.....

สำหรับการอธิบายคำถามข้างต้นนี้จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ กล่าวคือ ...

. ผลแห่งการกระทำของมนุษย์คือการก่อให้เกิดปรโลกของเขา

. ประเภทของสวรรค์และนรก และทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

ทัศนะต่างๆ ที่ได้ถูกนำเสนอไปแล้วเดี่ยวกับผลแห่งการกระทำของมนุษย์ ที่ต่อรางวัลและการลงโทษในปรโลก

1. ผลรางวัลในปรโลกเป็นไปในลักษณะของข้อตกลง ตามการกระทำ เจตคติ และความคิดของมนุษย์ เช่น การลงโทษตามหลักการ หรือการปรับผู้ขับขี่ทีฝ่าฝืนกฎจลาจร ดังนั้น ระหว่างการกระทำบนโลกนี้กับเหตุการณ์ในปรโลก มิได้มีความสัมพันธ์ในเชิงของความแน่นอนตายตัว

2. รางวัลและผลบุญในโลกหน้าเป็นการเปลี่ยนค่าพลังงานให้เป็นวัตถุ หมายถึงพลังงานที่มนุษย์ได้ใช้ไปบนโลกนี้ ในการกระทำความดีหรือบาปกรรม ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพพลังงานเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นวัตถุ กลายเป็นสาเหตุของการสรรเสริญหรือสาปแช่งตัวเอง

3. การกระทำ ความคิด และสถานภาพของมนุษย์มีทั้งภายนอกและภายใน บนโลกนี้มนุษย์จะได้สัมผัสเฉพาะภายนอกของการกระทำเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้ผลภายในของการกระทำเป็นอย่างไร จนกระทั่งว่าผลของการกระทำเหล่านั้นหลังจากเสียชีวิตไปแล้วจะปรากฏให้เห็นในโลก บัรซัต และจะปรากฏชัดเจนในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และผลภายในของการกระทำนั้นเอง ที่เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ได้รับผลรางวัลตอบแทนหรือการลงโทษ

4. การกระทำ ความคิด และสภาพของมนุษย์ที่เกิดจากอวัยวะต่างๆ บนร่างกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อวิถีด้านในของมนุษย์ และจะก่อให้เกิดรูปลักษณะขึ้น ถึงแม้ว่ามนุษย์จะไม่ทราบหรือไม่เคยรับรู้ถึงผลด้านในของการกระทำของตนมาก่อนก็ตาม ซึ่งบนโลกนี้จะเห็นเป็นรูปร่างหน้าตาโดยทั่วไปของมนุษย์ ส่วนในปรโลกเขาจะได้เห็นภาพภายในอันแท้จริงของเขา บนโลกถ้ามนุษย์ได้ประกอบกิจด้วยความรู้แจ้ง ภายในของเขาก็จะมีแต่ความสะอาด ซึ่งภาพที่จะปรากฏในวันนั้นก็จะเป็นไปตามกรรม อันเป็นเหตุทำให้พวกเขาได้รับการสรรเสริญ หรือกล่าวประณาม.

ในทัศนะแรกนั้นจะเห็นว่าไม่เข้ากันกับโองการและรายงาน และไม่สามารถอธิบายถึงการลงโทษ และความโปรดปรานในปรโลกได้ เพียงแค่อธิบายถึงสภาพบางสภาพที่อาจเกิดขึ้นในโลกบัรซัค และวันแห่งการฟื้นชีพ (สวรรค์และนรก) ไม่ใช่ทั้งหมด

) ทัศนะที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับสวรรค์และนรก

1. สัญญาและคำตักเตือน บ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพของสวรรค์และนรก เป็นเพียงมิติของการอบรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสวรรค์หรือนรกอยู่จริงก็ได้ เพียงแค่มนุษย์มีความหวังในสวรรค์และเกรงกลัวนรก เท่านั้นก็จะทำให้เขาเป็นผู้มีความบริสุทธิ์แล้ว และได้ออกห่างจากความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีทั้งหลาย การได้ไปถึงสวรรค์หรือออกห่างจากนรก จุดประสงค์ของพระเจ้า เพียงแค่ต้องการชี้นำและปรับปรุงมนุษย์ให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง

2. สวรรค์ก็คือสังคมหนึ่งที่ไม่มีระดับชั้นของเตาฮีด ส่วนนรกนั้นคล้ายกับระบบทุนนิยม ซึ่งไม่มีสิ่งใดเกินเลยไปจากนี้ ดังนั้น ผู้ที่มีความมุ่งหวังในสวรรค์ จำเป็นต้องสร้างระบบแรงงานเพื่อให้ไปถึงสวรรค์บนโลกนี้ และจะได้ออกห่างจากระบบทุนนิยม

3. สวรรค์ในอีกมิติหนึ่งก็คือ โลกนี้นั่นเอง ด้วยความสมบูรณ์และการวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี สามารถเปลี่ยนแปลงให้ดีได้ และสามารถปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากนรกบนพื้นดินได้

4. สวรรค์ หมายถึงการมีคุณสมบัติของความดีงาม ส่วนนรกหมายถึง การมีคุณสมบัติของความชั่วร้าย ดังนั้น ผู้ที่เรียกร้องสวรรค์และต้องการปลดปล่อยตัวเองให้รอดพ้นจากความชั่ว สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการทำลายความชั่วร้ายให้หมดไปและแทนทีสิ่งนั้นด้วยความดี

และนี่คือ 4 ข้อกล่าวอ้างที่บรรดาวัตถุนิยมและพวกสังคมนิยมได้นำเสนอ แน่นอนว่าสิ่งนี้ขัดแย้งกับโองการ และรายงานต่างๆ นอกจากนั้นยังแย้งกับเป้าหมายของบรรดาศาสดาที่ถูกส่งลงมาประกาศสั่งสอน เนื่องจากสวรรค์และนรกที่อัลกุรอานกล่าวถึงภายหลังจากความตายจะถูกนำเสนอแก่มนุษย์ในวันแห่งการตัดสิน เป็นสถานพำนักถาวรสำหรับตนมีความเป็นนิรันดร ไม่เหมือนกับโลกนี้

5. สวรรค์ที่ท่านศาสดาอาดัม (.) และทานหญิงฮะวา หลังจากถูกสร้างแล้วได้ถูกนำตัวไปไว้ในนั่น และเมื่อระยะเวลาได้ผ่านพ้นไปช่วงหนึ่งท่านก็ออกจากที่นั่นมา และลงสู่พื้นโลก ซึ่งสวรรค์ตรงนั้นคือขั้นหนึ่งของโลกนี้ มิเช่นนั้นแล้วท่านอาดัม (.) จะไม่ออกมาจากที่นั้นอย่างแน่นอน

6. สวรรค์หรือนรกแห่งโลกบัรซัค คือสถานที่แสดงภาพด้านในของการกระทำของมนุษย์ หลังจากมนุษย์ได้จากโลกนี้ไปแล้วดวงวิญญาณจะถูกนำไปพำนักไว้ที่นั่น พวกเขาจะได้พบกับเนื้อแท้แห่งการกระทำของตน พวกเขาจะได้เห็นด้านที่แท้จริงของการกระทำ ซึ่งบางคนอาจได้รับความสุข และบางคนก็อาจถูกลงโทษในที่นั่นก่อนที่วันแห่งการฟื้นคืนชีพจะมาถึง

และนี่คือสวรรค์และนรกก่อนวันแห่งการฟื้นคืนชีพ เป็นระดับหนึ่งของโลก บนโลกนี้ทุกคนจะมีสถานภาพของตัวเอง โดยเฉพาะหมู่มวลมิตรของอัลลฮฺ (ซบ.) ทัศนะดังกล่าวนี้กับแนวคิดที่ 3 และ 4 ที่ว่าผลของการกระทำของมนุษย์คือที่มาของการตอบแทนหรือการลงโทษเข้ากันได้เป็นอย่างดี[1]

7. สวรรค์และนรกในปรโลก สามารถเข้าใจได้จากโองการและรายงานว่า สวรรค์และนรกดังกล่าวนั้นปัจจุบันมีอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งของสวรรค์และนรกนั้น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ได้เห็นขณะขึ้นมิอ์รอจญ์[2] ในลักษณะที่ว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สำหรับเขาแล้วมีอยู่ 2 สถานที่ได้ถูกตระเตรียมไว้แล้วกล่าวคือ สวรรค์ และนรก ดังนั้น ถ้าเขาจากโลกนี้ไปด้วยการประพฤติดี และมีศรัทธามั่นคงเขาก็จะได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ มิเช่นนั้นแล้วเขาจะถูกส่งไปสู่นรก แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์จะได้เข้าสู่สวรรค์อันบรมสุขหรือไม่ หรือว่าเขาจะถูกลงโทษในนรกทั้งหมดขึ้นอยู่กับกระทำของตนบนโลกนี้

รายงานที่เชื่อถือได้จากท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า อัลลอฮฺ ไม่ทรงสร้างผู้ใดขึ้นมา เว้นเสียแต่ว่าพระองค์ได้สร้างสถานพำนักในสวรรค์และนรกให้แก่เขาด้วย ดังนั้น หากเป็นชาวสวรรค์เขาก็จะได้เข้าสู่สวรรค์ แต่ถ้าเป็นชาวนรกเขาก็จะถูกส่งตัวไปนรก จะมีผู้ส่งเสียงเรียกเขาว่า โอ้ ชาวสวรรค์เอ๋ย สูเจ้าจงมองดูชาวนรกซิ พวกเขาจะมาแล้วจ้องมองไปที่ชาวนรก และสถานพำนักของเขาที่ได้ถูกตระเตรียมเอาไว้ ซึ่งสถานที่พำนักเหล่านั้นถ้าหากได้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า เขาก็จะได้เข้าไปในสถานพำนักเหล่านั้น แต่ถ้ามนุษย์ได้สร้างความดีงามและช่วยให้ตัวเองรอดพ้นจากไฟนรกได้ เขาก็จะได้พำนักในสวรรค์ หลังจากนั้นผู้ร้องเรียกได้เรียกให้ชาวนรกเงยหน้ามองไปยังด้านบน พวกเขาก็จะเห็นบ้านที่สร้างเตรียมไว้ให้เขาในสวรรค์ และความโปรดปรานต่างๆ มากมายที่ได้ถูกเตรียมเอาไว้ ได้มีคำกล่าวแก่เขาว่า ถ้าหากเจ้าได้เคารพภักดีต่อพระเจ้า เจ้าก็จะได้ครอบครองสถานที่นั้น หลังจากนั้นได้ทำให้เขาสำนึกว่าถ้าเขาตายในสภาพที่เศร้าเสียใจ เขาก็จะได้พำนักอยู่ในนรก ฉะนั้น สถานพำนักของชาวนรกที่ถูกเตรียมไว้ให้ในสวรรค์ จะถูกมอบแก่ผู้กระทำความดีงาม ส่วนสถานพำนักของชาวสวรรค์ ที่ถูกสร้างไว้ในนรกจะถูกมอบแก่ผู้ประกอบกรรมชั่วทั้งหลาย และนี่คือการตีความโองการที่อัลลอฮฺ ตรัสแก่ชาวสวรรค์ทั้งหลายว่า พวกเธอได้รับมรดกตกทอดของพวกเธอแล้ว และพวกเธอจะพำนักในนั้นตลอดไป[3] อัลกุรอานกล่าวว่าพวกเขาจะได้รับมรดกสวนสวรรค์ชั้นฟริเดาส์ และพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุแท้ของดิน[4]

ด้วยเหตุนี้ สวรรค์และนรกในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ คือสถานที่พำนักถาวรสำหรับมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันมีอยุ่แล้วแต่จะสมบูรณ์ด้วยความคิด เนียต และการกระทำของมนุษย์ แต่จะไม่ปรากฏออกมาก่อนตราบจนกว่าจะถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ซึ่งไม่มีผู้ใดได้เห็นนอกจากท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งท่านได้เห็นขณะขึ้นมิอ์รอจญ์ ดังนั้น

1.สวรรค์ของท่านศาสดาอาดัม (.) และท่านหญิงฮะวา

2. สวรรค์และนรกซึ่งก่อนที่จะตายได้เคยเห็นขณะฝันหรือตื่นก็ตาม หรือเห็นขณะที่กำลังจะจากโลกไป หรือหลังจากตายจากโลกไปแล้วและอยู่ในโลกบัรซัค อันเป็นหลุมฝังศพสำหรับมนุษย์ สวรรค์และนรกในบัรซัคเป็นภาพหนึ่งของสวรรค์และนรกในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ มิใช่สวรรค์และนรกดังกล่าวนั้น

แหล่งอ้างอิง

1. ฮุซัยนฺ เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยน์ มะอาดชะนอซีย์

2. มุฮัดดิซ กุมมี เชคอับบาซ มะนาซิลอุครอ หน้า 81-170

3. ชีรระวอนนีย์ อะลี แปลการรู้จักมะอาด ญะอฺฟัรซุบฮานีย์

4. กุรบานนีย์ ซัยนุลอาบิดีน เบะซูเยะญะฮอน อะบะดีย์

5. เราะฮีมพูร ฟุรูฆ อัซซาดาต มะอาดจากมุมมองของท่านอิมามโคมัยนี

6. เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ ชีวิตหลังความตาย

7. เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ วิเคราะห์ปัญหาอิสลาม หน้า 354, 382



[1] ฮุซัยนี เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ มะอาดชะนอซีย์ เล่ม 2 หน้า 157 และ 192

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 290,320 ตัฟซีรต่างๆ ตอนอธิบายโองการที่ 1 บทอัลอิสรอ

[3]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 8 หน้า 125,287 คัดลอกมาจาก เชคอับบาสกุมมี มะนาซิลุลอาคิเราะฮฺ หน้า 129, 130

[4] อัลกุรอาน บทอัลมุอ์มินูน 10-11

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7986 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ความเชื่อคืออะไร
    17266 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6346 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    8434 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ในเดือนใดมากที่สุด?
    7120 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้ 1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1] 2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา 3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี) หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้ หนึ่ง. يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ ...
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    6689 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    9749 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6533 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5721 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56816 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38384 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...