การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16064
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1128 รหัสสำเนา 16249
คำถามอย่างย่อ
การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
คำถาม
การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่? ถ้าหากผิดหลักศาสนา แล้วทำไมสัตว์น้ำเหล่านี้ยังมีจำหน่ายกันในประเทศอิหร่าน?
คำตอบโดยสังเขป

การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนา ดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทาน เห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บก สัตว์น้ำ และสำหรับสัตว์ปีก ฯลฯ มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือ จะต้องมีเกล็ดเท่านั้น

ในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า มุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (.) ว่ามีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผม อิมามได้กล่าวว่าจงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้ม และชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน[1] เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ด ดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่าง  [2]

บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ
โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆ ระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้น

แต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าว มีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่าการรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอม และกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง[3]

ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไป กุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ด แต่ในแง่บทบัญญัติแล้ว กุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้ กล่าวคือ แม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ด แต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะ แม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]

ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอม ก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่าการทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]

ดังนั้น ล็อบสเตอร์, ปลาหมึก ฯลฯ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้

อนึ่ง แม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไป เนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกัน บางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทาน แต่สามารถซื้อขายได้ อย่างเช่นเลือด ซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอม แต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วย จึงสามารถซื้อขายได้ ดังนั้น การซื้อขายล็อบสเตอร์, หอย ฯลฯ ในตลาด หากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทาน แต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกัน ก็สามารถกระทำได้ เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่น  อีกมากมายก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติมที่คำถามที่ 744

 



[1] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี, เล่มที่ 16, หน้าที่ 397-398, ริวายะฮ์ที่ 1, บาบที่ 8,

[2] - ริวายะฮ์ที่ 3 และ 7

[3] วะซาอิลุชชีอะฮ์, หน้าที่ 408, ริวายะฮ์ที่ 5 และ 12

[4] เชิงอรรถ วะซาอิลุชชีอะฮ์, หน้าที่ 408

[5] วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่มที่ 24, หน้าที่ 146, บทว่าด้วยอาหารและเครื่องดื่ม, หมวดที่16, เล่มที่1

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    10960 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • ระบบการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาในอิหร่านเป็นอย่างไร?
    9297 ประวัติหลักกฎหมาย 2555/08/22
    ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ ...
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    6505 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    7185 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
    8797 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/04
    บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง “ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ...
  • ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
    10998 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/12/20
    บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้ามการทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม,
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11315 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • โองการกุรอานกล่าวถึงประวัติและความสำคัญของประวัติศาสตร์นิพนธ์ไว้หรือไม่?
    6028 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ก็คือ “การเล่าความหลัง” ซึ่งกุรอานได้ใช้สิ่งนี้ในการนำเสนอหลักคำสอนในโอกาสต่างๆ เรื่องราวที่กุรอานเน้นเป็นพิเศษก็คือเรื่องราวของบรรดาศาสนทูต ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. نَقُصُّ عَلَيْكَ مِنْ أَنْباءِ الرُّسُل เราจะเล่าเรื่องราวของเหล่าศาสนทูตให้เจ้าฟัง[i] 2. وَ لَقَدْ أَرْسَلْنا رُسُلاً مِنْ قَبْلِكَ مِنْهُمْ مَنْ قَصَصْنا عَلَيْكَ وَ مِنْهُمْ مَنْ لَمْ نَقْصُصْ عَلَيْك เราได้ส่งศาสนทูตก่อนหน้าเจ้า ได้เล่าเรื่องราวของพวกเขาบางคน และมิได้เล่าเรื่องราวของบางคน[ii] 3. وَ رُسُلاً قَدْ قَصَصْناهُمْ عَلَيْكَ ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    7854 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    5243 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57927 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55426 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37597 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36545 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32645 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26838 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26399 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26175 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24303 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...