การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6890
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1315 รหัสสำเนา 17662
คำถามอย่างย่อ
ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
คำถาม
ได้ยินว่านมาซหรือดุอาบางประเภทมีผลบุญเทียบเท่าการเป็นชะฮีดก็ดี การทำฮัจย์ก็ดี หรือการปล่อยทาสก็ดี เหล่านี้สอดคล้องกับความยุติธรรมของพระองค์หรือไม่? และได้คำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการกระทำกับผลบุญบ้างหรือเปล่า?
คำตอบโดยสังเขป

การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมา มิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใด เพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสม ก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดี เนื่องจาก
. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึง มิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใด ซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วย เนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ ดังที่เรามักเปรียบเปรยสิ่งมีค่ากับทองคำ
. ฮะดีษเหล่านี้มิได้หมายรวมถึงภาวะที่ฮัจย์ หรือญิฮาด ฯลฯ เป็นวาญิบ
. ในการวัดความสำคัญ ไม่ควรใช้ปริมาณ หรือความยากง่ายในเชิงกายภาพเป็นมาตรฐานเสมอไป แต่ต้องคำนึงว่าเจตนา ระดับความนอบน้อม ขีดศรัทธาและความเชื่อ ล้วนมีผลต่อระดับผลบุญมากกว่าปัจจัยข้างต้นเสียอีก ฉะนั้น หากอิบาดะฮ์ใดมีคุณลักษณะเด่นดังกล่าวก็ย่อมสามารถนำมาเทียบผลบุญของพิธีฮัจย์หรือการเป็นชะฮีดได้
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงว่าดุอาหรือบทซิยารัตต่างๆนั้น อุดมไปด้วยสารธรรมคำสอนทางศาสนาซึ่งย่อมมีผลต่อความศรัทธาของผู้อ่าน จึงอาจมีคุณค่ามากกว่าการกระทำอื่นๆที่มิได้มีลักษณะเฉพาะดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับอารมณ์ไฝ่ต่ำและการลวงล่อของชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งอาจมีผลบุญมากกว่าคนทั่วไปที่ประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดเสียด้วยซ้ำ

แต่หากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ต้องเรียนว่าในประเด็นนี้ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้ใด เพราะแม้สมมุติว่าอัลลอฮ์ประทานผลบุญมากเกินไป นั่นก็ยังไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์คนใดอยู่ดี เนื่องจากการประทานผลบุญถือเป็นเมตตาธรรมของพระองค์ หาไช่สิทธิของบ่าวแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ก็จะทราบว่าผลบุญสอดคล้องกับการกระทำทุกประการ
1. ผลบุญจากอัลลอฮ์หาไช่เป็นสิทธิของบ่าวที่ต้องได้รับ แต่เป็นเมตตาธรรมที่พระองค์ประทานตามความเหมาะสมในแง่พฤติกรรมและศักยภาพที่มนุษย์มีในโลกดุนยา[1]
โดยปกติแล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิเรียกร้องผลบุญใดๆจากอัลลอฮ์(หากพระองค์ไม่ได้สัญญา) ทั้งนี้ก็เพราะทุกความดีที่มนุษย์ทำ ล้วนกระทำด้วยศักยภาพที่พระองค์ประทานให้ทั้งสิ้น แต่พระองค์เลือกที่จะสัญญาว่าจะประทานผลบุญแก่มนุษย์ก็เพราะทรงมีเมตตาธรรมและวิทยปัญญา ฉะนั้น เมตตาธรรมอันล้นพ้นของพระองค์ก็คือมาตรวัดพิกัดผลบุญสำหรับทุกความดีที่มนุษย์กระทำ หาไช่ความยากลำบาก หรือระยะเวลา หรือตัวแปรอื่นๆไม่ ด้วยเหตุนี้ ปริมาณเนี้ยะมัตและผลบุญต่างๆที่พระองค์จะทรงประทานให้ จึงมิได้ขัดต่อหลักความยุติธรรมของพระองค์แต่อย่างใด เนื่องจากพระองค์มิได้ละเมิดสิทธิของผู้ใด ซ้ำยังเป็นการประทานที่เกินสิทธิของมนุษย์อีกด้วย

2. การที่ดุอาหรือการซิยารัตจะมีผลบุญมากมายมหาศาลได้นั้น ต้องมีปัจจัยต่อไปนี้อย่างครบถ้วนเสียก่อน
. ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาครบถ้วนเสียก่อน: ฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดแต่กลับเลือกทำนมาซหรือดุอาแทนนั้น แทนที่จะได้รับผลบุญ เขากลับจะต้อง
ประสบกับการลงทัณฑ์อะซาบของพระองค์อีกด้วย
. มีสำนึกทางศาสนาและความบริสุทธิใจอย่างเต็มเปี่ยม: ดังที่มีฮะดีษมากมายระบุว่าเงื่อนไขของการได้รับผลบุญมหาศาลของซิยารัตบางบทคือการมีสำนึกทางศาสนา[2] ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า"มนุษย์จะฟื้นคืนชีพตามแต่เจตนาของแต่ละคน"[3] จากจุดนี้ทำให้ทราบว่าบรรทัดฐานของการตอบแทนผลบุญมิไช่ความยากง่ายของอิบาดะฮ์ แต่เป็น"เหนียต"หรือเจตนาเท่านั้นที่จะมีผลต่อผลบุญมากกว่าความยากง่ายและปริมาณของอิบาดะฮ์แต่ละประเภท

การเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ทางศาสนานั้น ยากลำบากไม่แพ้การต่อสู้ญิฮาด หรืออาจจะยากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้เองที่เราเห็นผู้คนมากมายเข้าร่วมต่อสู้ญิฮาดหรือร่วมประกอบพิธีฮัจย์ แต่น้อยคนนักที่จะพิชิตยอดเขาแห่งจิตสำนึกอันผ่องแผ้วทางศาสนาได้ มีฮะดีษหลายบทที่รณรงค์ให้สาวกของท่านซิยารัตบรรดาอิมาม โดยเฉพาะอิมามริฎอ(.)[4] ซึ่งเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้บอกแก่เราว่าการซิยารัตมีผลบุญสองประเภทโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการซิยารัต จึงเข้าใจได้ว่าผลบุญการซิยารัตของแต่ละคนมิได้เท่ากันเสมอไป ผลบุญที่ฮะดีษระบุไว้จึงเป็นการระบุถึงพิกัดสูงสุดของผลบุญ แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับแม้จะมีสภาพจิตใจที่แตกต่างกัน

3. บทดุอาและซิยารัตมากมายมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่สารธรรมคำสอนของอิสลาม: บรรดาอิมาม(.)เองก็ใช้ดุอาและซิยารัตในการนำเสนอหลักธรรมแก่สังคมเนื่องจากบางสถานการณ์ไม่อาจใช้วิธีอื่นได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การพิทักษ์รักษาดุอาและซิยารัตเหล่านี้ก็ถือเป็นการพิทักษ์รักษาหลักญิฮาด พิธีฮัจย์ ตลอดจนชะรีอัตและคำสอนอิสลามโดยรวม และหลักธรรม(ในดุอา)เหล่านี้แหล่ะ ที่ช่วยรณรงค์ให้ผู้คนเดินทางไปทำฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาด

4. โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับการลวงล่อของอารมณ์ไฝ่ต่ำและชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ดังที่ท่านนบี(..)กล่าวแก่เหล่าสาวกที่กลับจากสมรภูมิรบอันดุเดือดว่า"ขอชมเชยผู้ที่กลับจากญิฮาดเล็ก ซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่ญิฮาดใหญ่" เหล่าสาวกเอ่ยถามว่าญิฮาดใหญ่คืออะไร ท่านตอบว่า"การญิฮาดกับกิเลสตนเอง"[5]
เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่บรรดาอิมาม(.)เล่าถึงผลบุญมหาศาลของดุอา ซิยารัต หรือนมาซบางประเภทนั้น ก็เพื่อต้องการจะฟื้นฟูศีลธรรมภาคสังคมให้พ้นจากบ่วงกิเลสที่ทำให้มนุษย์เกลือกกลั้วในความต่ำทรามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และเพื่อส่งเสริมมนุษย์ให้โบยบินในท้องฟ้าแห่งศีลธรรมจรรยา

อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่ระบุผลบุญเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์บางประเภทเป็นพิเศษ หาได้มีจุดประสงค์จะลดทอนคุณค่าของญิฮาดหรือพิธีฮัจย์แต่อย่างใด ซ้ำยังสามารถกล่าวได้ว่าฮะดีษเหล่านี้กำลังส่งเสริมญิฮาดหรือพิธีฮัจย์ทางอ้อมอีกด้วย เนื่องจากได้ใช้ญิฮาดหรือฮัจย์เป็นมาตรวัดคุณค่าของอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ เสมือนที่เรามักจะเปรียบสิ่งมีค่ากับทองคำบริสุทธิ์



[1] ดู: ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า361

[2] มันลายะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 2,หน้า 583

[3] ตะฮ์ซีบุ้ลอะห์กาม,เล่ม 6,หน้า 135

[4] อัลกาฟีย์,เล่ม 4,หน้า 585

[5] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 161

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6325 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • คำอธิบายอัลกุรอาน บทอัฏฏีน จากตัฟซีรฟะรอต มีฮะดีซบทหนึ่งกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า ฏีน หมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) และวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน คืออิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ถามว่าฮะดีซเหล่านี้ และฮะดีซที่คล้ายคลึงกันเชื่อถือได้หรือไม่?
    10315 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    อัลกุรอาน นอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว,เป็นไปที่ว่าอาจมีความหมายภายในซ่อนเร้นอยู่อีก เช่น ความหมายภายนอกของคำว่า ฏีนและซัยตูน ซึ่งอัลลอฮฺ กล่าวไว้ในโองการที่ 1 และ 2 ของบท ฏีนว่า ขอสาบานด้วยพวกเขาว่า, สามารถกล่าวได้ว่าอาจหมายถึงผลมะกอก และมะเดื่อตามที่ประชาชนทั้งหลายเข้าใจ กล่าวคือ ผลมะกอกและมะเดื่อ ที่มาจากต้นมะกอกและต้นมะเดื่อ, แต่ขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวถึงความหมายด้านในของโองการได้ ซึ่งสองสิ่งที่ฮะดีซพาดพิงถึงคือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นผลไม้จากต้นวิลายะฮฺ[1] ทำนองเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่า โองการยังมีวัตถุประสงค์อื่นอีก, ดังที่รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้, ซึ่งวัตถุประสงค์จาก ฏีน หมายถึง เมืองแห่งเราะซูล ส่วนวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน หมายถึง บัยตุลมุก็อดดิส กิบละฮฺแห่งแรกของมวลมุสลิม[2] ตัฟซีรกุมมีกล่าวว่า ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5943 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8137 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6514 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6561 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7895 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8111 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6257 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • โปรดบอกวิธีการทำลายพระนามของอัลลอฮฺที่ปรากฏอยู่ตามจดหมายต่างๆ หรือตามกระดาษอื่นๆ
    5751 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    เป็นความจำเป็นและวาญิบต้องให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อพระนามของอัลลอฮฺการไม่ให้เกียรติหรือไม่แสดงความเคารพหรือดูถูกพระนามเหล่านั้นถือว่าฮะรอมดังนั้น

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...