การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8123
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/11
คำถามอย่างย่อ
โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
คำถาม
การแต่งงานหมายถึงความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย, ดังนั้น การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์คืออะไร? เพราะเหตุใดการกล่าวคำพูดเพียงสี่คำจึงเป็นมะฮฺรัมต่อกัน และการไม่กล่าวสี่คำนั้นจึงไม่อาจกระทำสิ่งใดได้?
คำตอบโดยสังเขป

ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น.

การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ.

การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ที่จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการแต่งงานนั้น ซึ่งเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ต้องวางอยู่บนข้อตกลงและความรับผิดชอบ เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ปวงปราชญ์ผู้มีสติปัญญาในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ เช่น การดำเนินธุรกิจการค้าจะใช้วิธีการ อ่านอักดฺ ซึ่งจะไม่ยุติเพียงแค่ความพอใจของสองฝ่าย และไม่ยอมรับการยินยอมของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้อสัญญา และความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผล ปวงปราชญ์เชื่อมั่นว่า ข้อสัญญาต่างๆ เหล่านั้นจะบรรลุข้อตกลง และสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบของการอ่านอักดฺเท่านั้น.

คำตอบเชิงรายละเอียด

เบื้องต้นจำเป็นต้องกล่าวถึงความสำคัญ และมรรคผลของการแต่งงานในทัศนะของอิสลามเสียก่อน:

ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น :เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, และปกป้องศาสนาของมนุษย์.

อัลกุรอาน, กล่าวถึงเรื่องแต่งงานว่า : และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครอง ให้แก่สูเจ้าจากตัวตนของสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้มีความสุขสำราญอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า แท้จริงในการนี้แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ[1].ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : โดยหลักการของอิสลามแล้ว ไม่มีรากฐานใดถูกจัดตั้งไว้เยี่ยงการแต่งงาน อันเป็นที่พึงพอพระทัยยิ่ง ณ อัลลอฮฺ[2]

การแต่งงานทั้งสองแบบ (ถาวรและมุตอะฮฺ) ต้องอ่านอักดฺทั้งสิ้น

คำว่า «عقد» ตามความหมายของคำ หมายถึง <ข้อผูกมัด> แต่ในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองคน หรือสองกลุ่มให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของข้อตกลงต่างๆ สำหรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งได้กำหนดให้เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองนั้น[3] อัลกุรอาน เช่น โองการที่กล่าวว่า (يـا اَيُّهـَا الَّذيـنَ امـَنـُوا اَوْفـُوا بـِالْعـُقـُودِ...) โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! จงรักษาบรรดาสัญญาให้ครบถ้วนเถิด[4] การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ถูกต้อง และสัญญามนุษย์ถือเป็น วาญิบ สำหรับปวงผู้มีศรัทธาทั้งหลาย.

วิธีการอ่าน อักดฺ แต่ละประเภทนั้นจะมีรูปแบบของคำพูด อันเป็นคำเฉพาะที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา เช่น

<อักดฺนิกาห์> หมายถึงการเสนอข้อสัญญาอยู่ร่วมกันระหว่าง ภรรยากับสามี ซึ่งสิ่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขนั้นไม่ว่าจะเป็น สิทธิ ข้องตกลง และความรับผิดชอบต่างๆ ของทั้งสองฝ่าย จะปรากฏตามมาด้วย

แต่การที่กล่าวว่า มีความจำเป็นอะไรที่ต้องอ่าน อักดฺ ด้วย จำเป็นต้องกล่าวว่า :

ปวงปราชญ์ผู้มีสติปัญญาในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ เช่น การดำเนินธุรกิจการค้าจะใช้วิธีการ อ่านอักดฺ ซึ่งจะไม่ยุติเพียงแค่ความพอใจของสองฝ่าย และไม่ยอมรับการยินยอมของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้อสัญญา และความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผล ปวงปราชญ์เชื่อมั่นว่า ข้อสัญญาต่างๆ เหล่านั้นจะบรรลุข้อตกลง และสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบของการอ่านอักดฺเท่านั้น.

ด้วยเหตุนี้เอง, จะเห็นว่าการแต่งงานเป็นภารกิจที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นการเสนอของสัญญาแน่นอนว่า ต้องวางอยู่บนกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ อันเฉพาะเจาะจงพิเศษ เช่น หนึ่งในเงื่อนไขพิเศษเหล่านั้นได้แก่ การอ่านอักดฺนิกาห์ ด้วยคำพูดอันเฉพาะที่กำหนดโดยอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งในฐานะของผู้วางกฎระเบียบชัรอียฺ (ซึ่งมีกล่าวอยู่ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ แล้ว)[5] การยินยอมของทั้งสองฝ่ายแม้ว่าจะเป็นเงื่อนไขจำเป็นก็ตาม แต่การยินยอมเพียงอย่างเดียวถือว่ายังไม่เพียงพอ ทว่าต้องมีเงื่อนไขอย่างอื่นประกอบด้วย

เกี่ยวกับความสำคัญของการใช้คำอ่านอักดฺนิกาห์ จำเป็นต้องกล่าวว่า : หลังจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนด อักดฺนิกาหฺ ด้วยคำพูดอันเฉพาะเจาะจง (เสนอและตอบรับ) เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงานแล้ว ตามความเป็นจริงด้วยการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมกับการกล่าวคำพูดอันเฉพาะ ซึ่งจะเปลี่ยนคำพูดที่แห้งแล้งและไร้จิตวิญญาณ ให้กลายเป็นความน่าเชื่อถือและมีคุณค่าขึ้นมาทันที และกลายเป็นสาเหตุศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสร้างความเป็นสามีภรรยา ระหว่างมนุษย์สองคน (ชายกับหญิง) ซึ่งเดิมเป็นคนแปลกหน้าและเป็นนามะฮฺรัมกัน. ฉะนั้น การอ่านอักดฺนิกาห์ ด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะ (ความประสงค์ในการแต่งงาน, ความจริงใจ และ ...) ซึ่งอนิจสงค์และมรรคผลอันจำเริญยิ่งที่จะติดตามมา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดเพียงสี่คำเท่านั้น เพื่อว่าจะได้มีบุคคลกล่าวได้ว่า คำพูดสี่คำนั้นมีมรรคผลอะไร, ทว่าการกล่าวคำอ่านอักดฺ เป็นส่วนหนึ่งของการอ่านอักดฺนิกาห์, การยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย, ถ้าปราศจากการอ่านอักดฺ, หรือการแต่งงานที่ปราศจากการอ่านอักดฺ, อ่านเป็นประโยคที่เขียนไว้ หรือสัญลักษณ์ ถือว่าไม่เพียงพอ. ยกเว้นคนใบ้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมอบตัวแทนในการอ่านอักดฺนิกาห์ ดังนั้น ในกรณีนี้เพียงแค่ใช้สัญลักษณ์ หรือเขียนประโยคอักดฺนิกาห์ แทนคำพูดในการอ่านอักดฺ ถือว่าใช้ได้[6]

 


[1] (وَ مـِنْ آيـاتـِهِ اَنْ خـَلَقَ لَكـُمْ مـِنْ اَنـْفـُسـِكـُمْ اَزْواجـاً لِتـَسـْكـُنـُوا اِلَيـْهـا وَ جـَعـَلَ بـَيْنَكُمْ مَوَدَّةًوَ رَحْمَةً)บทโรม, โองการ 21.

[2] (ما بُنِىَ بِناءٌ فِى الاْسْلامِ اَحَبَّ اِلَى اللّهِ عَزَّوَجَلَّ مِنَ التَّزْويجِ)วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 20, หน้า 14

[3] ฟังฮังก์ มะอาริฟอิสลามมี, มุฟเราะดอต อัลฟาซ กุรอาน, หมวดคำว่า (عقد)

[4] บทมาอิดะฮฺ, โองการ 1.

[5] โปรดดูจากคำถามข้อที่ 1238 (ไซต์ : 1225) (เงื่อนไขการแต่งงานชั่วคราว)

[6] ตะฮฺรีรุลวะซีลอะฮฺ, หน้า 246, (บุคคลที่เป็นใบ้ จะปฏิบัติการอ่านอักดฺแต่งงานด้วยการใช้สัญลักษณ์)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ตะวัสสุ้ลทำให้หลงทางหรือไม่ เราพิสูจน์หลักการนี้ด้วยเหตุผลใด?
    7578 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    การตะวัสสุ้ลไม่ไช่ความหลงผิด ในทางตรงกันข้ามยังถือเป็นวิธีแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์อีกด้วย ส่วนการที่ท่านอิมามริฎอ(อ.)ช่วยให้คนป่วยหายดีนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุผลหลักในการยืนยันความถูกต้อง หากแต่เป็นเหตุผลรองที่สนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทศาสนา ทั้งนี้ กลไกของโลกเป็นกลไกแห่งเหตุแลผล บุคคลคนจะต้องขวนขวายหามูลเหตุหรือวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ในทางจิตวิญญาณก็มีกลไกคล้ายกันนี้ ดังที่กุรอานปรารภแก่เหล่าผู้ศรัทธาว่า “จงยำเกรงต่อคำบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาหนทางสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์” ...
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6133 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5503 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7248 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • ฮะดีษว่าด้วยการต่อสู่ในยุคสุดท้ายที่เริ่มจากอิหร่านเชื่อถือได้เพียงใด?
    16783 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ตำราทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่รายงานพ้องกันว่าจะมีขบวนการต่อสู้ครั้งสำคัญเกิดขึ้นเพื่อเป็นการปูทางสู่การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยเหล่าผู้ถือธงดำในขบวนการนี้จะเป็นผู้เตรียมความพร้อมก่อนที่อิมามมะฮ์ดีจะขึ้นปกครองโลกทั้งผอง[1]รัฐบาลตระเตรียมการของชาวอิหร่านเพื่อปูทางสู่รัฐของอิมามมะฮ์ดีมีสองระยะด้วยกัน:หนึ่ง. เริ่มต่อสู้โดยการชี้นำของบุรุษชาวเมืองกุมซึ่งเป็นไปได้ว่าขบวนการของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของการปรากฏกายของอิมามเนื่องจากมีฮะดีษระบุว่าขบวนการของอิมามจะเริ่มจากทางทิศตะวันออก.[2]สอง. การเรืองอำนาจโดยซัยยิดโครอซอนีโดยการสนับสนุนของผู้บัญชาการทัพชื่อชุอัยบ์บินศอลิห์[3]ดังที่กล่าวไปแล้วฮะดีษที่เกี่ยวกับการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีบทหนึ่งระบุว่า:....عَنْ عَلِیِّ بْنِ عِیسَى عَنْ أَیُّوبَ بْنِ یَحْیَى الْجَنْدَلِ عَنْ أَبِی الْحَسَنِ الْأَوَّلِ ع قَالَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ قُمَّ یَدْعُو النَّاسَ إِلَى الْحَقِّ یَجْتَمِعُ مَعَهُ ...
  • มีบทบัญญัติทางฟิกเกาะฮ์ในสวรรค์หรือไม่?
    6687 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    ก่อนอื่นต้องคำนึงเสมอว่าเราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะของปรโลกและสวรรค์-นรกได้นอกจากจะศึกษาจากวะฮยู (กุรอาน)และคำบอกเล่าของเหล่าผู้นำศาสนาที่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือเสียก่อน.แม้ตำราทางศาสนาจะไม่ได้ระบุคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามดังกล่าวแต่จากการพิจารณาถึงข้อคิดที่ระบุไว้ในตำราทางศาสนาก็สามารถกล่าวได้ว่าในสวรรค์ไม่มีบทบัญญัติและกฏเกณฑ์จำเพาะใดๆอีกต่อไปหรือหากมีก็ย่อมแตกต่างจากข้อบังคับต่างๆในโลกนี้ทั้งนี้ก็เพราะการบังคับใช้บทบัญญัติของพระเจ้าในสังคมมนุษย์มีไว้เพื่อสร้างเสริมให้มนุษย์บรรลุถึงความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุดซึ่งก็เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในโลกนี้นั่นเอง
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6686 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8423 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำต่างศาสนิก) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
    22593 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/02
    อิสลามเป็นศาสนาระดับโลกสำหรับสาธารณชน และเป็นศาสนาสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกชาติพันธุ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม วิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้อื่นรู้จักศาสนาแห่งมนุษยธรรมดังกล่าวก็คือ การเผยแพร่ข้อเท็จจริง บทบัญญัติ คำแนะนำและขนบมารยาทของอิสลามให้เป็นที่รู้จัก คัมภีร์กุรอานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ไว้ในหลายโองการด้วยกัน ดังโองการที่ว่า “จะมีใครมีวาจาที่ประเสริฐไปกว่าผู้ที่เชื้อเชิญสู่อัลลอฮ์และความประพฤติอันงดงาม โดยกล่าวว่าฉันคือหนึ่งในมวลมุสลิม”[1] อีกโองการหนึ่งระบุว่า “และจะต้องมีคณะหนึ่งจากสูเจ้าที่เชื้อเชิญสู่ความประเสริฐ กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว บุคคลเหล่านี้แหล่ะคือผู้ได้รับชัยชนะ”[2] แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาจะมิได้เป็นภาระหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่กุรอานได้กำชับให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธาออกไปศึกษาวิชาการอิสลามเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนา โองการกล่าวว่า “มิบังควรที่เหล่าผู้ศรัทธาจะกรีฑาทัพ(สู่สมรภูมิ)ทุกคน เหตุใดจึงไม่กรีฑาทัพไปเพียงคณะหนึ่งจากแต่ละกลุ่ม (และเหลือบุคคลที่ยังอยู่ในมะดีนะฮ์)เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา(สารธรรมและบทบัญญัติอิสลาม)อย่างลึกซึ้ง และจะได้กำชับสอนสั่งกลุ่มชนของตนเมื่อพวกเขากลับ(จากสมรภูมิ) เพื่อหวังว่าพวกเขาจะยำเกรง”[3] โองการดังกล่าวสื่อว่า จำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพด้านวิชาการในการเผยแพร่ศาสนา โดยแต่ละคนมีหน้าที่ในการเผยแพร่ตามความรู้ที่ตนมี ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่รายงานฮะดีษของเราจำนวนมาก อันจะสามารถทำให้จิตใจของชีอะฮ์ของเรามั่นคง บุคคลผู้นี้ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งพันคน”[4] การช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ การตอบปัญหาและการปกป้องความเชื่ออันบริสุทธิของชีอะฮ์ให้พ้นจากเหล่าผู้ใส่ไคล้ ผู้ที่หวงแหนศาสนาย่อมจะต้องพร้อมด้วยการศึกษาวิชาการศาสนา เพื่อที่จะสนองความต้องการทางวิชาการและการเผยแพร่ศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การเผยแพร่มิได้จำกัดอยู่เพียงการกล่าวเทศนาหรือการเขียนตำรา ...
  • ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
    3459 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41666 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33445 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...