การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6780
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/22
คำถามอย่างย่อ
ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
คำถาม
ท่านนบีกล่าวอะซานอย่างไร? ท่านกล่าวปฎิญาณถึงตำแหน่งนบีของตน และตำแหน่งผู้นำของท่านอลีหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็น เราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้
1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?
จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่า ท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆ นอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซาน ในทางตรงกันข้าม มีหลักฐานยืนยันมากมายว่า ท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.
2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?
ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าว นอกจากนี้ ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซาน ก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี เรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี()ต่อจากนามของท่านนบี(.)(โดยทั่วไป ไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่า สามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญ มิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซาน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่า ประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง.

คำตอบเชิงรายละเอียด

จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็น เราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้
1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?
จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่า ท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆ นอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซาน ในทางตรงกันข้าม มีหลักฐานยืนยันมากมายว่า ท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.
อิมามบากิรกล่าวว่าค่ำคืนเมี้ยะรอญ ท่านนบีเข้าสู่บัยตุลมะอ์มูรตรงกับช่วงเวลานมาซพอดี ญิบรออีลจึงกล่าวอะซานและอิกอมะฮ์ ท่านนบียืนนำนมาซ โดยที่แถวมลาอิกะฮ์มากมายนมาซตามท่านโดยพร้อมเพรียง ภายหลังมีผู้ถามท่านว่าญิบรออีลอะซานอย่างไร? ท่านตอบว่าอัลลอฮุอักบัร อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ อัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดัรร่อซูลุลลอฮ์ ...ฯลฯ[1]
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่ระบุชัดเจนกว่า โดยท่านอิมามฮุเซน()รายงานจากท่านอิมามอลี()ว่าอัลลอฮ์ได้ส่งมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งลงมาเพื่อพาท่านนบีขึ้นสู่เมี้ยะรอจ  ที่นั่น มะลาอิกะฮ์อีกองค์หนึ่งกำลังกล่าวอะซาน ซึ่งมะลาอิกะฮ์องค์นี้ปรากฏกายเฉพาะเหตุการณ์เมี้ยะรอจเท่านั้น ญิบรออีลกล่าวแก่ท่านนบีว่าขอให้ท่านจงกล่าวอะซานเช่นนี้ก่อนนมาซเถิด[2] ประโยคดังกล่าวระบุชัดเจนว่าท่านนบีเองก็ต้องกล่าวอะซานในลักษณะที่ไม่ต่างจากคนอื่นๆ

2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?
เราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าว แม้ว่าในหนังสือ...จะรายงานเหตุการณ์ที่ท่านซัลมาน ฟารซี ได้เพิ่มคำปฏิญาณถึงตำแหน่งวลียุลลอฮ์ของอิมามอลีในอะซาน ซึ่งเป็นเหตุให้ศ่อฮาบะฮ์บางส่วนไม่พอใจและฟ้องต่อท่านนบี(.) ทว่าท่านกลับเมินเฉยต่อคำทักท้วงดังกล่าว อันถือเป็นการอนุมัติให้สามารถกระทำได้ตามนั้น.
นอกจากนี้ยังมีอีกฮะดีษหนึ่งที่เล่าว่า หลังเหตุการณ์เฆาะดีร คุม ท่านอบูซัรได้อะซานโดยเปล่งคำปฏิญาณถึงฐานะภาพผู้นำของท่านอิมามอลี บุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำฟ้องท่านนบี ทว่าท่านนบีกล่าวว่าพวกท่านไม่ได้ยินคุฏบะฮ์(เทศนา)ของฉันในวันเฆาะดีร คุม ที่ได้มีการประกาศสถานะผู้นำของอลี()กระนั้นหรือ?” ท่านกล่าวเสริมว่าพวกท่านไม่เคยได้ยินคำพูดของฉันหรือ ที่ว่าใต้ผืนฟ้าและบนแผ่นดินไม่อาจพบผู้ใดที่มีสัจจะยิ่งไปกว่าอบูซัรหลังจากนั้น ท่านนบีจึงเปิดโปงโฉมหน้าของผู้ทักท้วงเหล่านั้นว่าพวกเจ้านี่แหล่ะ ที่จะผินหลังภายหลังจากฉัน![3]

อย่างไรก็ตาม ฮะดีษเหล่านี้ไม่ระบุสายรายงาน และไม่ปรากฏในตำราฮะดีษก่อนศตวรรษที่ 7 (.) จึงไม่สามารถจะนำมาพิจารณาสายรายงานได้
นอกจากนี้ ฮะดีษจากบรรดาอะฮ์ลุลบัยตี่แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับท่อนต่างๆในอะซาน ก็มิได้เอ่ยถึงคำปฏิญาณที่สามนี้แต่อย่างใด ซึ่งก็ทำให้ทราบถึงอะซานในยุคของท่านนบี(.)ได้เป็นอย่างดี.

อย่างไรก็ดี ยังมีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลสำหรับการกล่าวปฏิญาณที่สามاشهد ان علی ولی اللهต่อจากปฏิญาณต่อเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และต่อตำแหน่งศาสนทูตของท่านนบี(.) ซึ่งเราจะขอหยิบยกมาโดยสังเขปดังนี้
มีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก()กล่าวว่า หลังจากสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินแล้ว อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้มีสุรเสียงปฏิญาณสามประการดังกล่าว[4]
อีกฮะดีษหนึ่งจากท่านอิมามศอดิกเช่นกันอัลลอฮ์ทรงสร้างบัลลังก์อะร็อชและ.... แล้วจึงทรงจารึกไว้ว่า
لا اله الا الله محمد رسول الله علی امیرالمؤمنین
แล้วท่านอิมามศอดิกก็กล่าวต่อไปว่าเมื่อพวกท่านกล่าว  لا اله الا الله محمد رسول اللهจึงควรกล่าว علی امیرالمؤمنین ولی الله ด้วย[5]

เนื้อหาของบางฮะดีษระบุว่า การเอ่ยถึงท่านอิมามอลีต่อจากอัลลอฮ์และท่านเราะซูล ไม่ว่าจะในหรือนอกอะซาน ล้วนเป็นที่อนุมัติและเป็นที่โปรดปรานของพระองค์[6]

แต่อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่การปฏิญาณที่สามมีข้อสันนิษฐานว่าอาจไม่ไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่อะซานถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง จึงทำให้ผู้รู้ทางฝ่ายชีอะฮ์เห็นพ้องกันว่า วลีดังกล่าวมิไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน แต่อนุญาตให้กล่าวด้วยเหนียตแสวงผลบุญ มิไช่เหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานที่ต้องกล่าว.[7]



[1] เชคฏูซี,ตะฮ์ซีบุล อะห์กาม,ดารุล อัฎวาอ์,เบรุต, เล่ม 2, หน้า 60, ฮะดีษ 3.

[2] กอฎี นุอ์มาน ตะมีมี, ดะอาอิมุลอิสลาม, ดารุลมะอาริฟ, เล่ม 1, หน้า 142.

[3] ดู: เชคอับดุลลอฮ์ มะรอฆี,อัสสะลาฟะฮ์ ฟี อัมริลคิลาฟะฮ์,(ท่านเป็นผู้รู้ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ศตวรรษที่เจ็ด หนังสือของท่านเป็นหนังสือเขียนมือที่ยังอยู่ในห้องสมุอซอฮิรียะฮ์ ดามัสกัส.)

[4] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 37,หน้า.ฮะดีษ 295. บท 54./ เชคศ่อดู้ก,อะมาลี,มัจลิสที่ 88. (ดูเหมือนว่าสุรเสียงนี้จะเป็นการขานตอบผู้ที่อยู่ในยุคแห่งอาลัม ซัร. ท่านอิมามบากิร()กล่าวว่า
: ان الله اخذ من بنی آدم من ظهورهم ذریتهم فقال الست ربکم و محمد رسولی و علی امیرالمؤمنین قالو بلی”) อิบนุฏอวู้ส,อัลยะกีน, หน้า 50,55,88.

[5] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, หน้า 1, บท 1.

[6] อ้างแล้ว, เล่ม 38, หน้า 318-319 ฮะดีษ 27 บทที่ 67 และเล่ม 27, หน้า 8, และเล่ม 16, บทที่ 10, 1.

[7] ประมวลฟัตวา(รวมภาคผนวก) เล่ม 1, ปัญหาที่ 919 หน้า 519 ระบุว่า اشْهَدُ انَّ عَلِیّاً وَلِیُّ اللَّهِมิไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน แต่เหมาะที่จะกล่าวหลัง  اشْهَدُ انَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّهِด้วยเหนียตแสวงผลบุญ
อายะตุลลอฮ์ ซันญอนี: แน่นอนว่าวิลายะฮ์ของอมีรุ้ลมุอ์มินีนและวงศ์วานถือเป็นส่วนสำคัญของอีหม่าน และอิสลามที่ปราศจากสิ่งดังกล่าวย่อมไม่ต่างจากเปลือกที่ไร้เนื้อหา จึงเป็นการดีที่จะเอ่ยถึงวิลายะฮ์ของท่านและตำแหน่งอิมามที่เชื่อมต่อยังนบีของท่าน และวิลายะฮ์ของบรรดามะอ์ศูมีน ด้วยเจตนาแสวงบาเราะกัตและผลบุญจากพระองค์ โดยพยายามเลี่ยงอย่าให้คล้ายกับประโยคหลักของอะซาน.
อายะฯ มะการิมฯ ให้กล่าวด้วยเหนียตแสวงบาเราะกัตจากอัลลอฮ์ แต่ควรเป็นลักษณะที่ฟังแล้วทราบว่าไม่ไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7048 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    5414 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    8093 شرایط انتقال به تیمم 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6273 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    6834 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    5201 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    5758 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • มะลาอิกะฮ์แห่งความตายจะปลิดวิญญาณของสิ่งมีชีวิตทุกประเภทหรือไม่?
    10092 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    เมื่อพิจารณาถึงนัยยะที่ค่อนข้างกว้างของฮะดีษต่างๆทำให้เข้าใจได้ว่ามะลาอิกะฮ์แห่งความตาย(อิซรออีล)คือหัวหน้าของเหล่านักเก็บวิญญาณซึ่งจะเก็บวิญญาณของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่สำคัญคือต้องทราบว่าอัลลอฮ์คือผู้บัญชาการเก็บวิญญาณทั้งหมดซึ่งโดยจารีตของพระองค์แล้วจะทรงกระทำผ่านสื่อกลางซึ่งอาจจะเป็นมะลาอิกะฮ์แห่งความตายหรือมะลาอิกะฮ์อื่นๆ ...
  • เกิดอะไรขึ้นกับม้าของอิมามฮุเซน (อ.) ที่กัรบะลา
    7177 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    สายรายงานไม่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของม้าของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่มีนามว่า "ซุลญะนาฮ" อย่างละเอียดนักแต่สายรายงานที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่ระบุว่าหลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้วม้าตัวนี้ได้เกลือกกลั้วขนแผงคอกับเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านแล้วมุ่งหน้าไปยังกระโจมและส่งเสียงร้องโหยหวนบรรดาผู้ที่อยู่ในกระโจมเมื่อได้ยินเสียงของซุลญะนาฮก็รีบวิ่งออกมาจากกระโจมจึงได้รับรู้ว่าอิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้ว[1]แต่ทว่าสายรายงานและหนังสือบางเล่มที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่เช่นหนังสือนาซิคุตตะวารีคได้กล่าวถึงเหตุการณ์อื่นๆนอกเหนือจากนี้เช่นกล่าวไว้ว่าม้าตัวนั้นได้โขกหัวกับพื้นบริเวณหน้ากระโจมจนตายหรือควบตะบึงไปยังแม่น้ำฟูรอตและกระโดดลงในแม่น้ำ[2][1]ซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57936 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55432 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40680 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37600 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36548 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26843 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26408 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26182 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24308 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...