การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17570
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa974 รหัสสำเนา 15031
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
คำถาม
หากไม่มองว่าการขอบคุณต่อเนียะอฺมัตจะทำให้ได้รับเนียะอฺมัตเท่าทวีคูณ จะมีเหตุผลใดอีกที่อัลลอฮ์ทรงกำชับให้ต้องขอบคุณพระองค์?
คำตอบโดยสังเขป

“ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:
1.
ความจำเป็นที่จะต้องขอบคุณผู้ให้ปัจจัยแก่เรานั้น ถือเป็นสัญชาตญาณโดยปกติของมนุษย์ จิตใต้สำนึกของคนเรากำกับให้ต้องแสดงอาการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือหรือมอบปัจจัยให้ ฉะนั้นเมื่อคนเรารับรู้ได้ว่า มีผู้เปี่ยมด้วยพลานุภาพประทานลาภแก่เราเสมอไม่ว่าวัตถุปัจจัยหรือเนียะอฺมัตอันเป็นนามธรรม เราย่อมหาทางรู้จักผู้นั้นเพื่อแสดงการขอบคุณ ด้วยเหตุนี้เองที่การขอบคุณต่อเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์จึงมีที่มาทางสติปัญญามากกว่าจะเป็นข้อบังคับทางศาสนา
2. แม้ว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงต้องการคำขอบคุณใดๆจากมนุษย์ แต่ด้วยทรงตระหนักดีว่าการขอบคุณจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้าแก่เรา จึงได้กำชับให้เราขอบคุณต่อเนียะอฺมัตของพระองค์ อัลกุรอานระบุไว้ว่าผู้ขอบคุณจะได้รับเนียะอฺมัตเพิ่มขึ้น แต่ผู้เนรคุณจะถูกลงโทษอย่างสาสม
3. การขอบคุณถือเป็นกุญแจที่ไขสู่ความผาสุกทั้งปวง และเปรียบดั่งต้นสายปลายเหตุของบาเราะกัตจากพระองค์ ที่จะนำพาให้เราได้ใกล้ชิดความเมตตาของพระองค์ทีละก้าวด้วยความรักที่เรามี ด้วยเหตุนี้ แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณจากเรา แต่ด้วยความหวังดีต่อเรา พระองค์จึงกำชับให้เราต้องขอบคุณพระองค์
4. แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถขอบคุณเนียะอฺมัตของพระองค์ได้อย่างทั่วถึง ส่วนการขอบคุณที่ประเสริฐสุดก็คือ การสารภาพและขออภัยจากพระองค์เนื่องจากไม่สามารถขอบคุณอย่างครบถ้วน



[i] มุฟร่อด้าต รอฆิบ,หน้า 265,คำว่า ชุกร์.

คำตอบเชิงรายละเอียด

“ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[1] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:
1.
ความจำเป็นที่จะต้องขอบคุณผู้ให้ปัจจัยแก่เรานั้น ถือเป็นสัญชาตญาณโดยปกติของมนุษย์ จิตใต้สำนึกของคนเรากำกับให้ต้องแสดงอาการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือหรือมอบปัจจัยให้  เพราะผู้มีสามัญสำนึกทุกคนจะถือว่าผู้ที่เนรคุณผู้อื่นด้อยค่ากว่าสิงสาราสัตว์ เนื่องจากสัตว์บางประเภทยังแสดงความซื่อสัตย์ต่อผู้มีบุญคุณ ด้วยเหตุผลทางปัญญาดังกล่าว เมื่อทราบว่าพระองค์ทรงประทานเนียะอฺมัตอันยิ่งใหญ่และมากมายมหาศาลแก่เราไม่จะในด้านวัตถุปัจจัยหรือเนียะอฺมัตอันเป็นนามธรรม เราจึงไม่อาจจะนิ่งดูดายโดยไม่สนใจขอบคุณและให้เกียรติพระองค์เท่าที่จะกระทำได้ นั่นหมายความว่า สามัญสำนึกดังกล่าวที่มนุษย์ทุกคนมีนั้น จะผลักดันให้ต้องทำความรู้จักผู้มีพระคุณต่อเรา เนื่องจากก่อนที่เราจะขอบคุณใครสักคน เราจะต้องรู้จักเขาเสียก่อน[2].

2. การรับรู้คุณประโยชน์ของการขอบคุณจะทำให้เราเข้าใจความจำเป็นดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้ว หากรามีโอกาสได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เราก็มักจะคาดหวังให้ผู้อื่นกล่าวขอบคุณ แต่ในกรณีของอัลลอฮ์นั้น พระองค์ทรงไม่ต้องการคำขอบคุณใดๆจากมนุษย์ เพราะแม้มนุษย์ทั้งโลกแสดงท่าทีเนรคุณพระองค์ ก็มิได้ทำให้ความเกรียงไกรของพระองค์พร่องลงแต่อย่างใด ทั้งนี้แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณ แต่ก็ทรงกำชับให้มนุษย์แสดงการขอบคุณ เนื่องจากทรงทราบดีถึงผลประโยชน์ที่มนุษย์เองจะได้รับ ดังที่กุรอานกล่าวได้แจ้งข่าวดีแก่ผู้ที่กตัญญูรู้คุณพระองค์ ทว่าเมินเฉยต่อการเนรคุณ
: “ผู้ที่แสดงการขอบคุณ แท้จริงเขาเท่านั้นที่ได้รับคุณประโยชน์จากการขอบคุณ และผู้ใดที่เนรคุณ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด[3]” ยิ่งไปกว่านั้นยังกล่าวว่าการเนรคุณจะนำมาซึ่งไฟนรกอีกด้วย “...และหากสูเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงทัณฑ์ของข้ายิ่งใหญ่นัก”[4]

ในความเป็นจริงแล้ว อัลลลอฮ์ทรงยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะกลั่นแกล้งผู้ที่เนรคุณพระองค์ ทว่าการเนรคุณจะนำความอัปยศมาสู่มนุษย์โดยอัตโนมัติ อาทิเช่น การขาดแคลนลาภพร และการเลือนหายไปของการบำเพ็ญความดี การเสียสละ และความเอื้ออาทรจากสังคมมนุษย์ ส่วนการขอบคุณผู้ประทานลาภย่อมจะนำมาซึ่งฐานะภาพอันสูงส่งอันเหมาะสมสำหรับมนุษย์ที่แท้จริง
กล่าวคือ การกำชับให้มนุษย์แสดงการขอบคุณพระองค์ก็เพื่อให้ได้รับคุณประโยชน์แก่ตนเอง และหากพิจารณาให้ดีจะเข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องขอบคุณพระองค์ดังต่อไปนี้
:
. บุคคลหรือสังคมที่ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตพระองค์ด้วยกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดว่าบุคคลหรือสังคมดังกล่าวควรค่าแก่การได้รับเนียะอฺมัตต่อไป และจากการที่การงานของอัลลอฮ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งเหตุและผล ในลักษณะที่พระองค์จะไม่ทรงประทานหรือระงับลาภของผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร เมื่อพิจารณาในกุรอานจะพบว่า การขอบคุณต่อเนียะอฺมัตคือสาเหตุของการเพิ่มพูนเนียะอฺมัต มีฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.)ว่า“การใหลมาเทมาของเนียะอฺมัตเป็นผลจากการขอบคุณพระองค์”[5]
. เมื่อความกตัญญูรู้คุณแผ่ซ่านในจิตใจมนุษย์แล้ว การขอบคุณพระเจ้าจะนำพาสู่การขอบคุณเพื่อนมนุษย์ แน่นอนว่าการขอบคุณผู้อื่นที่ได้ให้การช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ ย่อมจะเป็นการส่งเสริมให้เขามีกำลังใจในการทำความดีต่อไป และจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคนในสังคมทั้งในแง่วัตถุและศีลธรรม
. การขอบคุณพระเจ้าจะนำพาสู่การรู้จักพระองค์ ส่งผลให้สามารถสานสัมพันธ์กับพระองค์ได้อย่างแนบแน่น ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้จักผู้ประทานลาภแล้ว ยังทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของลาภพรที่ได้รับอีกด้วย การตระหนักถึงคุณค่าของเนียะอฺมัตนี้เองที่จะเสริมสร้างความรักที่มีต่อพระองค์ให้เบ่งบานยิ่งขึ้น
3. แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถแสดงการขอบคุณพระองค์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า ปัจจัยทั้งหมดที่เราจะใช้ในการขอบคุณพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นความคิด ปัญญา ลิ้น สองมือ สองเท้า ฯลฯ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเนียะอฺมัตจากพระองค์ทั้งสิ้น นั่นหมายความว่าก่อนที่เราจะคนึงคิดหรือเอ่ยปากขอบคุณลาภอื่นๆของพระองค์ เราก็ต้องขอบคุณลาภแห่งการมีปัจจัยเหล่านี้เสียก่อนด้วย ด้วยเหตุนี้เองที่ฮะดีษต่างๆระบุว่า การขอบคุณพระองค์ที่ประเสริฐสุดก็คือ การขอขมาพระองค์เนื่องจากไม่สามารถขอบคุณพระองค์อย่างครบถ้วนตามรายการเนียะอฺมัตที่ทรงประทานได้  ทั้งนี้เพราะนอกจากวิธีนี้แล้ว ก็ไม่มีวิธีใดที่จะแสดงการขอบคุณที่สอดคล้องกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ได้เลย[6]

สรุปคือ การขอบคุณพระองค์ไม่เพียงแต่มีสาเหตุมาจากสามัญสำนึกของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นมูลเหตุที่ทำให้ได้รับความผาสุกและความจำเริญจากพระองค์ทุกประการ ส่งผลให้มนุษย์สามารถใกล้ชิดความรักที่มีต่อพระเจ้าทีละระดับ นอกจากนี้ยังเอื้ออำนวยให้มนุษย์เกิดความยำเกรง และส่องสว่างให้พบเส้นทางแห่งการเป็นบ่าวที่ทอดยาวสู่ความผาสุกอันยั่งยืน ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง แม้พระองค์จะไม่ต้องการคำขอบคุณใดๆจากเรา ทว่าด้วยตระหนักถึงคุณประโยชน์ดังที่กล่าวมา พระองค์จึงกำชับให้เราแสดงการขอบคุณพระองค์.



[1] มุฟร่อด้าต รอฆิบ,หน้า 265,คำว่า ชุกร์.

[2] เตาฮีดจากปริทรรศน์ปัญญาและฮะดีษ,ญะอ์ฟัร กะรีมี,กุดเราะตุลลอฮ์ ฟุรกอนี,บทเกี่ยวกับความจำเป็นต้องรู้จักพระเจ้า.(เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)

[3] ซูเราะฮ์ลุกมาน, 12, «وَ مَنْ یَشْکُرْ فَاِنَّما یَشْکُرُ لِنَفْسِهِ وَ مَنْ کَفَرَ فَاِنَّ اللّهَ غَنِىُّ حَمیدٌ».

[4] ซูเราะฮ์อิบรอฮีม, 7, لَئِنْ شَکَرْتُمْ لَأَزیدَنَّکُمْ وَ لَئِنْ کَفَرْتُمْ إِنَّ عَذابی‏ لَشَدیدٌ.

[5] ฆุร่อรุ้ลฮิกัม ฉบับฟารซี,เล่ม 3,หน้า 328, ثمَرَةُ الشُّکْرِ زِیادَةُ النِّعَمِ.

[6] อัคล้ากในกุรอาน,อ.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 3,หน้า 80,81.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5236 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
    7143 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (อ.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    9996 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    9974 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6511 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9066 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    12658 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    6396 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    5920 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...