การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7554
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa998 รหัสสำเนา 13577
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
คำถาม
เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
คำตอบโดยสังเขป

คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า

1) คำว่า อิซมัต เป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์ อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรม พฤติกรรมชั่วร้าย และความผิดต่างๆ โดยสิ้นเชิง อีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้น ให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และการหลงลืม โดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรี หรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์

2. ความเร้นลับแห่งความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาก็คือสติสัมปชัญญะ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาสมบูรณ์ และความรักที่มีต่ออาตมันบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ พร้อมกับการยึดมั่นอยู่กับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และคุณลักษณะอันสูงส่งและสง่างามของพระองค์ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการปกป้องบรรดาศาสดาให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย และอำนาจฝ่ายต่ำแห่งตัวตน

3. เหตุผลด้านสติปัญญาจำนวนมากที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่ว่า บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่

4. กรณีที่ถ้าเพื่อว่าโองการอัลกุรอานกับเหตุผลของสติปัญญาเกิดความขัดแย้งกันขึ้น จำเป็นต้องพิจารณาโองการอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็จะไม่มองข้ามความหมายภายนอกของโองการในตอนแรก

5. มีโองการจำนวนมากมายที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าคำว่า อิซมัต จะไม่ได้กล่าวไว้ในโองการเหล่านั้นก็ตาม เช่น

5.1- อัลกุรอาน มีหลายโองการที่ระบุว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย (.) ล้วนได้รับการทำให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วทั้งสิ้น เช่น โองการที่ 45 – 48 บทซ็อด กล่าวว่า ผู้ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ หมายถึงบุคคลที่จะไม่ถูชัยฏอนล่อลวงให้หลงทางได้อีก

5.2- โองการที่อธิบายถึงการมีอยู่ของ การชี้นำของพระเจ้า ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งโองการเหล่านี้มีจำนวนมากมาย เช่น โองการที่ 84 – 90 บทอันอาม กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับการชี้นำจากพระเจ้าแล้วการหลงทางและความหวาดกลัวไม่มีความหมายอันใดสำหรับพวกเขา

5.3 – อัลลอฮฺ (ซบ.) มีคำสั่งอยู่ในหลายโองการให้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาศาสดา โดยกำชับให้ประชาชนเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเหล่านั้นโดยปราศจากเงือนไข เช่น โองการที่ 31 , 32 บทอาลิอิมรอน, โองการที่ 80 บทนิซาอ์, โองการที่ 52 บทนูร เป็นที่ชัดเจนว่าการเชื่อฟังปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไขใดทั้งสิ้นจากบุคคลหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุผลที่บ่งชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ของบุคคลดังกล่าว

5.4- โองการที่ 26 – 28 บทญิน ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปกป้องท่านศาสดาในทุกๆ ด้าน

5.5- โองการตัฏฮีร (บทอะฮฺซาบ 33) บ่งไว้อย่างชัดเจนถึงความบริสุทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล )

6. โองการที่ไม่เข้ากันกับความบริสุทธิ์ บางทีมาในรูปของประโยคเงื่อนไข ซึ่งไม่ได้ระบุถึงการกระทำความผิดหรือบาปกรรม หรือบางทีระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่กำลังกล่าวถึงคือประชาชนผู้ศรัทธาโดยทั่วไป มิใช่บรรดาศาสดา

7. กรณีเกี่ยวกับศาสดาอาดัม (.) ซึ่งมีความคลางแคลงใจอย่างมากมายเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของท่าน ดังที่กล่าวว่า

ประการแรก การห้ามของโองการเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวถึง เป็นการห้ามกระทำสิ่งที่ดีกว่า หรือห้ามในเชิงแนะนำ มิใช่เป็นการห้ามแบบ เมาลาวีย์ หมายถึงปฏิเสธไม่ให้ทำโดยเด็ดขาด

ประการที่สอง แม้ว่าจะเป็นการห้ามแบบเมาลาวียฺ ก็มิได้เป็นการห้ามชนิดที่เป็นฮะรอม เพียงแค่เป็นการละเว้นสิ่งที่ดีกว่าเท่านั้น มิใช่ความผิดแต่อย่างใด

ประการที่สาม แหล่งกำเนิดหรือโลกที่อาดัม (.) พำนักอยู่ในนั้น มิใช่โลกแห่งการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ดังนั้น การปฏิบัติสิ่งขัดแย้งในโลกที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติ จึงไม่ถือว่ามีความผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

8. ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสรุนแรงกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย ก็เป็นเพราะว่าท่านเหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่ยังมีอารมณ์ธรรมชาติ มีความต้องการ มีความโกรธ และมีพลังอำนาจฝ่ายต่ำอยู่ในตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคำแนะนำจากพระเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปล่อยให้มนุษย์อยู่กับตัวเองเพียงชั่วเวลาอันเล็กน้อย เขาก็จะพบกัยความหายนะทันที

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวนี้ อันดับแรกสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือความหมายของคำว่า อิซมัต ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของเราจากคำว่า อิซมัต ก็คือสภาพหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของบรรดาผู้ที่เป็นมะอฺซูม ซึ่งสภาพดังกล่าวนั้นจะเป็นอุปสรรกีดขวางไม่ให้เขาประพฤติในภารกิจที่ไม่อนุญาต เช่น การทำความผิด หรือบาปกรรม เป็นต้น[1]

ฟาฎิล มิกดาร เป็นนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของฝ่ายชีอะฮฺ ได้อธิบายคำนี้ได้สมบูรณ์มากกว่า โดยกล่าวว่า อิซมัต คือความการุณย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกระทำแก่ปวงบ่าวคนหนึ่งในลักษณะที่ว่า การมีอิซมัตอยู่ในตัว ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีอำนาจในการกระทำความผิดอีกต่อไป ทว่าเขามีอำนาจในการควบคุมความผิด ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นความการุณย์ประกอบกับเป็นความเคยชินของบุคคลนั้น ที่จะคอยห้ามหรือยับยั้งไม่ให้เขากระทำความผิด นอกจากนี้ ผลบุญจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามและการลงโทษที่เกิดจากการฝ่าฝืนยังเป็นที่รับรู้อย่างชัดเจน และเขายังหวั่นเกรงในเรื่องการลงโทษกรณีที่ละเว้นสิ่งที่ดีกว่า หรือการกระทำที่เกิดจากการหลงลืม[2]

ประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในที่นี้คือ อิซมัต จะไม่บังคับให้บุคคลที่เป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) กระทำการเชื่อฟังปฏิบัติตาม หรือบังคับให้ละเว้นสิ่งที่เป็นบาปกรรมแต่อย่างใด มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะอฺซูม ไม่มีอำนาจที่จะกระทำความผิด หรือเจตนารมณ์เสรีได้ถูกปฏิเสธไปจากเขาโดยสิ้นเชิง ทว่าพลังศรัทธาสมบูรณ์ ความรู้ และความสำรวมตนของเขาอยู่ในระดับสูง ซึ่งกล่าวได้ว่าเขาผู้นี้ได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และเข้าใจอย่างลึกซึ่งในความสมบูรณ์ และความสูงส่งของพระองค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคกีดขวางมิให้เขาได้ล่วงละเมิดกระทำความผิด หรือละเว้นการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่เกี่ยวกับบรรดาศาสดา (.) หรือบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) มีรายงานจำนวนมากมายที่บ่งบอกว่าบรรดาท่านเหล่านั้นสนับสนุนส่งเสริมพระดำรัสของพระเจ้าเสมอ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวเรียกพวกเขาว่า รูฮุลกุดส์ หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์[3]

เหตุผลที่บ่งบอกว่าบรรดาศาสดาเป็นผู้บริสุทธิ์ : ก่อนที่เราจะเข้าไปในรายละเอียดของโองการ จำเป็นต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนกล่าวคือ ระหว่างสิตปัญญาและวะฮฺยูไม่มีความขัดแย้งกันแน่นอน ดังนั้น จำเป็นต้องตีความอัลกุรอานในลักษณะที่ว่า ความหมายของอัลกุรอานไม่ขัดแย้งกับสติปัญญา

เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา จะขอกล่าวเหตุผลในเชิงของสติปัญญาสักประการหนึ่ง กล่าวคือ เชคฏูซีย์ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ความบริสุทธิ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา เพื่อจะได้มั่นใจในตัวพวกเขาได้ อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่[4] ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นในการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาดาคือ เหตุผลที่บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของท่าน

บางคนกล่าวถึงเหตุผลแห่งการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาว่าเมื่อการมีอยู่ของพระเจ้า ประกอบไปด้วยคุณลักษณะอันสูงส่งมากมาย ได้พิสูจน์ไห้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีอยู่ของวะฮฺยู และสภาะการเป็นศาสดาโดยทั่วไป อีกประเด็นหนึ่งที่สติปัญญาได้ตัดสินเรื่องนี้ก็คือ ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นในการรับวะฮฺยู และการเผยแผ่ออกไปแก่ประชาชน กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานศาสดาลงมาเพื่อทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาศาสดาของพระองค์ต้องปราศจาการหลงลืม หรือพลั้งเผลอใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะนับประสาอะไรกับการทำความผิดบาป ซึ่งสิ่งนี้ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างทางธรรมชาติของมนุษย์ วิทยปัญญาในการเลือกสรรศาสดาคือ การชี้นำประชาชาติ สั่งสอนประชาชนและสิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมือผู้นำสาส์นของพระเจ้า ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่หลงลืม และมีความบริสุทธิ์ในการรับวะฮฺยูมาสั่งสอน

ซึ่งรากที่มาของคำพูดนี้อยู่ในคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ความรู้ อำนาจ และวิทยปัญญาในการสร้างสรรค์ของพระองค์ วิทยปัญญาในการวางกฎระเบียบ ซึ่งในที่สุดแล้วพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความไม่ดี ความไร้สาระ และการกดขี่ทั้งปวง ดังนั้น ถ้าหากเราะซูลที่รับวะฮฺยูและนำไปเผยแผ่แก่ประชาชนเป็นผู้มีความผิดพลาดแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้บริบาลก็เป็นผู้โง่เขลา เสียสติ ไม่มีความเหมาะสม ด้วยเช่นกัน หรือถ้าหากศาสดามิได้เป็นมะอฺซูม หรือมีความผิดพลาดในการชี้นำทางโดยตั้งใจ หรือพลั้งเผลอ อย่างน้อยที่สุดประชาชาติก็จะไม่มีความเชื่อมั่นต่อเขา ต่อคำสอนที่อ้างว่าเป็นของพระเจ้า ในส่วนแรกแสดงให้เห็นความโง่เขลาและการทำให้ประชาชนหลงทาง ส่วนในกรณีที่สอง ถือว่าการงานของศาสดาไร้ประโยชน์ แน่นอน พระผู้อภิบาลทรงบริสุทธิ์จากทั้งสองกรณี[5]

บัดนี้ เราได้รับทราบแล้วว่าอิซมัตหมายถึงอะไร และความเร้นลับของอิซมัตนั้นอยู่ตรงไหน บางคนได้พิสูจน์ความจำเป็นของอิซมัตด้วยเหตุผลของสติปัญญา แต่ในส่วนทีจะกล่าวต่อไปนี้จะกล่าวในมุมมองของอัลกรอาน ในส่วนแรกโองการต่างๆ ที่กล่าวเกี่ยวกับ อิซมัต ของบรรดาศาสดา ส่วนที่สอง จะกล่าวถึงโองการต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา และท้ายสุดจะกล่าวถึงคำตอบในเชิงสรุปที่ชัดแจ้งต่อไป

ส่วนที่หนึ่ง โองการต่างๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ (อิซมัต) ของบรรดาศาสดา ซึ่งมีโองการจำนวนมากมายที่กล่าวถึงความเคยชินของจิตใจในนามว่า อิซมัต ที่มีอยู่ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้ว่าคำว่า อิซมัต มิได้ปรากฏอยู่ในตัวของพวกท่าน ทว่าความหมายและความเข้าใจ หรือความจำเป็นของความเคยชินนั้น สามารถเข้าใจได้จากโองการต่างๆ เหล่านั้น และเราสามารถแบ่งออกการออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 โองการที่ยกย่องว่าเหล่าบรรดาศาสดาล้วนเป็นผู้ถูกทำให้บริสุทธิ์ คำว่ามุคละซีน หมายถึงกลุ่มชนที่ซาตานมารร้ายไม่อาจลวงล่อพวกเขาได้ ฉะนั้น ในบทสรุปบุคคลที่มิได้อยู่ในบ่วงกรรมของชัยฎอน เขาจึงมีความบริสุทธิ์หรือเรียกว่า มะอฺซูม นั่นเอง

อัลกุรอาน บทซ็อด กล่าวว่าและจงรำลึกถึงปวงบ่าวของเรา อิบรอฮีม อิสหาก และยะอฺกูบ ผู้ที่เข้มแข็งและสายตาไกล (ในเรื่องศาสนา) เราได้เลือกพวกเขาโดยเฉพาะเพื่อเตือนให้รำลึกถึงปรโลก แท้จริงในทัศนะของเรา พวกเขาอยู่ในหมู่ผู้ได้รับเลือกเพราะพวกเขาเป็นคนดี และจงรำลึกถึงอิสมาอีล และอัลยะซะอฺ และซุลกิฟลิ และทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ[6]

โองการข้างต้นได้เอ่ยนามของบรรดาศาสดาบางท่านว่าเป็น มุลละซีน และเป็นผู้มีสายตายาวไกล ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งมุคลิซีน คือบุคคลที่มิได้ถูกชัยฎอนหลอกลวง ดังที่อัลกุรอาน ได้กล่าวอ้างถึงคำพูดของชัยฏอนว่าดังนั้น (ขอสาบาน) ด้วยพระอำนาจของพระองค์ แน่นอนข้าฯจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น[7] หรืออีกโองการหนึ่งกล่าวว่าเว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขา ที่ได้รับการคัดสรรเท่านั้น[8]

กลุ่มที่ 2 โองการที่อธิบายว่า การชี้นำของพระเจ้า อยู่ในบรรดาศาสดา เช่น โองการที่กล่าวว่าและแก่เขา เราได้ให้อิสฮากและยะอฺกูบ ทั้งหมดนั้นเราได้นำทางแล้ว และนูฮฺเราก็ได้นำทางแล้วก่อนหน้านั้น และจากลูกหลานของเขานั้น คือ ดาวูด และสุลัยมาน 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
    12167 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/31
    เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใดศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกันเหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดแน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตรเพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะและแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม ...
  • ศาสดาอาดัม (อ.) และฮะวามีบุตรกี่คน?
    12614 تاريخ بزرگان 2554/06/22
    เกี่ยวกับจำนวนบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และท่านหญิงฮะวามีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นหมายถึงไม่มีทัศนะที่จำกัดที่ตายตัวแน่นอนว่าต้องเป็นเช่นนั้นเพียงประการเดียวเนื่องจากตำราที่เชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์มีความขัดแย้งกันในเรื่องชื่อและจำนวนบุตรของท่านศาสดาการที่เป็นที่เช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาที่ยาวนานของพวกเขากับช่วงเวลาการบันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรืออาจเป็นเพราะชื่อไม่มีความสำคัญสำหรับพวกเขาก็เป็นได้และฯลฯกอฎีนาซิรุดดีนบัยฏอวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านเกี่ยวกับจำนวนบุตรของท่านศาสดาอาดัม (อ.) กับท่านหญิงฮะวากล่าวว่า:ทุกครั้งที่ท่านหญิงฮะวาตั้งครรภ์จะได้ลูกเป็นแฝดหญิงชายเสมอเขาได้เขียนไว้ว่าท่านหญิงฮะวาได้ตั้งครรภ์ถึง 120
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    6910 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8161 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6145 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    5901 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5836 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8140 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    19807 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    6937 ازدواج، خانواده، طلاق و 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59021 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56439 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41342 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38126 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37874 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33197 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27301 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26917 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26792 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24875 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...