การค้นหาขั้นสูง

บรรดานบีและเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ (ซึ่งท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลประเภทนี้) ล้วนมีความโดดเด่นเป็นพิเศษเหนือชาวสวรรค์ท่านอื่นๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้ล้วนมีฐานะภาพเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป อย่างไรก็ดี บางครั้งคุณลักษณะบางประการของบุคคลเหล่านี้ทำให้บารมีดังกล่าวโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ

หากเราจะขนานนามท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ว่า "ประมุขหญิงแห่งอิสตรีชาวสวรรค์" หรือหากเราจะขนานนามอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)ว่า "ประมุขแห่งผู้ศิโรราบ"หรือ "ประมุขแห่งผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์" นั่นมิได้หมายความว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)ไม่มีบารมีเหนือบุรุษเพศ หรือท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)ไม่มีภาวะผู้นำเหนือผู้ที่ปล่อยปละละเลยอิบาดะฮ์ แต่ที่ขนานนามเช่นนั้นก็เพราะคุณสมบัติความเป็นสตรีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ตลอดจนการที่อิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)มีสมาธิขั้นสูงในการทำอิบาดะฮ์ ทำให้ทั้งสองท่านเหมาะสมที่จะได้รับฉายานามดังที่กล่าวมา

เมื่อทราบดังนี้ จึงไม่ควรจะคิดว่าท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) มีสถานภาพเหนือกว่าท่านนบี(ซ.ล.) อิมามอลี(อ.) และนักบำเพ็ญอิบาดะฮ์ขั้นสูงท่านอื่นๆ เพียงเพราะได้รับฉายานามว่าเป็นประมุขแห่งเหล่านักบำเพ็ญอิบาดะฮ์

ในกรณีของท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีสถานภาพเหนือกว่าหนุ่มสาวในสรวงสวรรค์ก็ชี้แจงได้ด้วยตรรกะเดียวกันนี้  เนื่องจากท่านทั้งสองถือกำเนิดในยุคแรกของอิสลาม วัยหนุ่มของทั้งสองท่านตรงกับยุคที่อิสลามเริ่มทอแสง และไม่ว่าจะในยุคของท่านนบี(ซ.ล.)หรือยุคต่อมาก็ตาม ไม่อาจจะหาวัยรุ่นคนใดมาเทียบเคียงท่านทั้งสองได้ ท่านทั้งสองมีความยำเกรงเหนือเด็กหนุ่มทุกคน ณ เวลานั้น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายานามว่าประมุขแห่งเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์  เพราะโดยปกติ ท่านก็เป็นทั้งประมุขของเด็กหนุ่มในสรวงสวรรค์ และเป็นประมุขของผู้มีอายุท่านอื่นๆในโลกดุนยาอยู่แล้ว

ขอให้ลองพิจารณาฮะดีษสองบทต่อไปนี้

  1. . قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ ع زُورُوا قَبْرَ الْحُسَيْنِ ع وَ لَا تَجْفُوهُ فَإِنَّهُ سَيِّدُ شَبَابِ أَهْلِ الْجَنَّةِ مِنَ الْخَلْقِ وَ سَيِّدُ شَبَابِ الشُّهَدَاء

อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "พวกท่านจงไปเยี่ยมเยียนสุสานของอิมามฮุเซน(อ.)เถิด และระวังอย่าละเมิดสิทธิของท่าน เพราะท่านคือประมุขของหนุ่มสาวชาวสวรรค์ และเป็นประมุขของชายหนุ่มที่เป็นชะฮีด"[1]
หากพิจารณาฮะดีษดังกล่าวให้ดีจะพบว่า นอกจากท่านอิมามฮุเซนจะได้รับการขนานนามว่า ซัยยิดุชชุฮะดาอ์ (ประมุขของเหล่าชะฮีด) และแม้ว่าท่านจะเสียชีวิตขณะอยู่ในวัยกลางคนก็ตาม แต่กลับได้รับฉายานามว่า "ประมุขของชายหนุ่มชะฮีด" เพิ่มมาด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นการชี้ให้เห็นถึงสถานภาพอันสูงส่งของบรรดาชะฮีดที่เป็นยุวชน ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของท่านอิมามฮุเซน(อ.)

2 ฮะดีษที่ว่า

عن علي ع قال قال رسول الله ص أتاني ملك فقال يا محمد إن الله تعالى يقول لك إني قد أمرت شجرة طوبى أن تحمل الدر و الياقوت و المرجان و أن تنثره على من قضى عقد نكاح فاطمة من الملائكة و الحور العين و قد سر بذلك سائر أهل السماوات و إنه سيولد بينهما ولدان سيدان في الدنيا و سيسودان على كهول أهل الجنة و شبابها و قد تزين أهل الجنة لذلك فاقرر عينا يا محمد فإنك سيد الأولين و الآخرين[2]

ท่านอิมามอลี(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า ท่านเคยกล่าวว่า "มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งมาพบฉันและเล่าว่า โอ้มุฮัมมัด ... และหลานทั้งสองของท่านคือผู้มีเกียรติในโลกดุนยา และในไม่ช้าก็จะได้เป็นประมุขของชายหนุ่มและคนชราในสรวงสวรรค์ และ..."

ฮะดีษนี้ระบุว่ามีทั้งวัยรุ่นและคนชราในสวรรค์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาว่าในสรวงสวรรค์ไม่มีภาวะชราภาพ จึงสามารถสรุปได้ว่าหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)ทั้งสองท่านนี้ เป็นผู้นำของชาวสวรรค์โดยรวมก็จริง แต่ทว่าสถานะความเป็นประมุขที่มีต่อของชาวสวรรค์ที่ชะฮีดหรือเสียชีวิตปกติในวัยหนุ่มสาวนั้น เข้มข้นกว่า สำนวนเช่นนี้ย่อมไม่ขัดต่อความเชื่อที่ว่าชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวทั้งหมด เพราะคนชราชาวสวรรค์ในที่นี้หมายถึงผู้ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยชรานั่นเอง

อีกคำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับบางท่านก็คือ ฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆหรือไม่? ตอบโดยสรุปได้ว่า โดยปกติแล้ว สำนวนทุกสำนวนย่อมมีข้อยกเว้น ซึ่งบางสำนวนระบุข้อยกเว้นไว้อย่างชัดเจน แต่บางสำนวน เนื่องจากผู้พูดถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอธิบายมากนัก ผู้ฟังจึงต้องพิจารณาเบาะแสและพยานแวดล้อมเอง
เพราะฉะนั้น เนื้อหาโดยสรุปของฮะดีษก็คือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)มีสถานะเป็นประมุขเหนือชาวสวรรค์ทั่วไป แต่ไม่รวมถึงชาวสวรรค์ระดับพิเศษอย่างท่านนบี(ซ.ล.), ท่านอิมามอลี(อ.),ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.) ...ฯลฯ

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ลองพิจารณาฮะดีษต่อไปนี้
มีชายคนหนึ่งซักถามท่านอิมามศอดิก(อ.)ว่า "ท่านนบี(ซ.ล.)มิได้กล่าวดอกหรือว่าท่านอบูซัรคือผู้มีสัจจะที่สุด?" ท่านอิมามตอบว่า "ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้เช่นนั้นจริง" เขาจึงแย้งว่า "หากเป็นเช่นนั้น แล้วท่านนบี(ซ.ล.)และอิมามอลี(อ.)เล่า? อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน(อ.)เล่า?" (ท่านอบูซัรมีสัจจะกว่าบุคคลเหล่านี้กระนั้นหรือ?) ท่านอิมามตอบว่า "อะฮ์ลุลบัยต์อย่างพวกอยู่นอกการเปรียบเทียบดังกล่าว"[3]

นั่นหมายความว่า เมื่อพิจารณาถึงเบาะแสและพยานแวดล้อม จะเข้าใจได้ว่ามีการเปรียบสัจจะวาจาของท่านอบูซัรกับบุคคลทั่วไป ไม่ได้หมายรวมถึงบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) แม้ตัวบทฮะดีษจะมิได้ระบุอย่างชัดเจนก็ตาม

 

 


[1] เชคศ่อดู้ก,ษะวาบุ้ลอะอ์ม้าล,หน้า 97,สำนักพิมพ์ ชะรีฟ เราะฎี,กุม

[2] เศาะฮีฟะตุรริฎอ(อ.),หน้า 94,ฮะดีษที่ 30,การประชุมนานาชาติอิมามริฎอ(อ.),ฮ.ศ.1406

[3] เชคศ่อดู้ก,มะอานิ้ลอัคบ้าร,เล่ม 1,หน้า 179,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,กุม

คำถามสุ่ม

  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6649 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    10982 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5295 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
    3464 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะฝันเห็นท่านเราะซูล(ซ.ล.)
    11271 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(เล่มสมบูรณ์)มีซิเกรและอะมั้ลที่ทำให้สามารถฝันเห็นเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ได้อย่างไรก็ดีวิธีเหล่านี้ไม่อาจจะเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ที่ทำให้สามารถฝันเห็นบุคคลที่เราต้องการเสมอไปกล่าวคือไม่ไช่ว่าทุกคนจะสามารถฝันเห็นท่านศาสดาด้วยอะมั้ลเหล่านี้ได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องควบคู่กับการหยุดทำบาปและปฏิบัติศาสนกิจภาคบังคับอย่างเคร่งครัดตลอดจนต้องมีจิตใจอันบริสุทธิเพียงพอเสียก่อน. ...
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8407 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7112 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • ผมทำงานอยู่ในร้านค้าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเจ้าของร้านตัดสินใจไล่ผมออกจากงาน แต่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้ผม อนุญาตหรือไม่ที่จะหยิบฉวยของในร้านหรือทรัพย์สินของเขาทดแทนค่าจ้างที่เขายังไม่ได้จ่ายให้ผม ?
    5750 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
    คำถามของคุณได้ถูกส่งไปยังสำนักงานมัรญะอ์ตักลีดหลายท่านแล้วและได้คำตอบมาดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอี“การกระทำในลักษณะตอบโต้ลูกหนี้จะเป็นที่อนุมัติก็ต่อเมื่อลูกหนี้อ้างโดยมิชอบว่าตนไม่ได้เป็นหนี้หรือขัดขืนไม่ยอมจ่ายหนี้โดยไม่มีทางอื่นที่จะทวงหนี้ได้นอกจากวิธีนี้แต่หากนอกเหนือจากนี้แล้วการที่จะยึดและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาซีซตานี“หากเขาเป็นหนี้เราและไม่ยอมจ่ายหนี้ในกรณีที่เขายอมรับว่าเขาเป็นหนี้เราสามารถชดเชยสิ่งนี้ด้วยการริบทรัพย์สินของเขาที่พบเห็น”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมามะการิมชีรอซี“เราไม่ทราบถึงเรื่องส่วนตัวดังกล่าวแต่โดยทั่วไปแล้วหากผู้ใดลิดรอนสิทธิผู้อื่น
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6166 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5787 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38431 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27542 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27137 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...