การค้นหาขั้นสูง
ไม่พบรายการ

คำถามสุ่ม

  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    4805 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • จงอธิบายทฤษฎีของพหุนิยมทางศาสนาและการตีความที่แตกต่างกันของศาสนา และระบุความแตกต่างของพวกเขา?
    16829 เทววิทยาใหม่ 2555/04/07
    1.พหุนิยมหมายถึง ความมากมายในหลายชนิด ทั้งในทางปรัชญาของศาสนา, ปรัชญาจริยธรรม, กฎหมาย และการเมืองและว่า ... ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรู้ทั้งหมดเหล่านี้อย่างเป็นทางการในนามของการรู้จักในความหลากหลาย ในทางตรงกันข้ามกับความเป็นหนึ่งเดียว หรือความจำกัดในความเป็นหนึ่งเดียว พหุนิยมทางศาสนา หมายถึงการไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้ในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเฉพาะพิเศษ การได้รับผลประโยชน์ของทุกศาสนาจากความจริงและการช่วยเหลือให้รอด 2. พหุนิยม อาจได้รับการพิจารณาในหมู่ศาสนาต่างๆ หรือระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาที่มีอยู่ก็ได้ 3. ในความคิดของเราชาวมุสลิมทั้งหลาย พหุนิยมถูกปฏิเสธก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในศาสนาอิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุความถูกต้องของศาสนาอิสลาม ในลักษณะที่ว่าในศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องพอเหมือนกับศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ คัมภีร์แห่งฟากฟ้า (อัลกุรอาน) ยังไม่มีการบิดเบือนหรือสังคายนาใดๆ ทั้งสิ้น และความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามก็เท่ากับว่าได้ยกเลิกคำสอนของศาสนาอื่นไปโดยปริยาย 4. การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งในหลักการพื้นฐานของสิ่งนั้นคือ อรรถปริวรรตศาสตร์ และอีกประการหนึ่งคือการรู้จักต่างๆ ในศาสนาและการวิจัย ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    7922 ประเภทของปลา 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    5108 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • สามารถกุรบานสัตว์ (เชือดพลี) ในพิธีฮัจญฺ นอกเขตมุนาได้หรือไม่?
    4670 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาฟาฎิลลันกะรอนียฺ :ตอบว่า, ไม่อนุญาตเนื่องจากการเชือดพลีแกะเป็นวาญิบประการหนึ่งของพิธีฮัจญฺซึ่งต้องทำให้มุนาหรือสถานที่ปัจจุบันได้กระทำกันอยู่และต้องเชือดพลีในช่วงเทศกาลฮัจญฺเท่านั้นท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมามะการิมชีรอซียฺ :ตอบว่า, ก่อนหน้านี้ได้ออกคำวินิจฉัยประเด็นนี้ไปแล้วว่าฮุจญาตสามาถเลือกได้ว่าจะเชือดพลีในมักกะฮฺหรือที่เมืองของตนแต่ต้องพิจารณาและเอาใจใส่เงื่อนไขต่างๆของการกุรบานอย่างสมบูรณ์ ...
  • จะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานรักการอิบาดะฮฺ?
    5498 بندگی و تسبیح 2555/08/22
    สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ... เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน) ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น : 1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี" 2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    5168 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    7959 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    6719 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    8252 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57356 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55096 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40362 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36079 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32387 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26679 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26126 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25956 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24130 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...