การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6214
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/29
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10088 รหัสสำเนา 20236
คำถามอย่างย่อ
ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
คำถาม
ดังที่ทราบกันดีว่าอิมามฮุเซน (อ.) ต่อสู้กับทรราชย์ในยุคของท่านโดยพยายามเกลี้ยกล่อมให้ศัตรูยอมวางมือ แต่กรณีของอิมามอลี(อ.)นั้น แม้จะทราบว่าจะมีการลอบสังหารตนเอง แต่ท่านกลับเลือกที่จะเตรียมตัวเป็นชะฮีดตั้งแต่พลบค่ำและไปมัสญิดโดยปราศจากการอารักขา แน่นอนว่าท่านย่อมมีเหตุผลสำหรับเรื่องนี้ เพียงแต่เราอาจจะไม่ทราบ
คำตอบโดยสังเขป

เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:
1.
ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:
เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไป โดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริง เนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษ ย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้ เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ

2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบ ซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหาย เนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คน

สรุปคือ แม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไป แต่ทว่า ประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไป มิไช่ญาณวิเศษ ประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม) อยู่ในสภาวะที่กำลังถูกทดสอบ ซึ่งญาณวิเศษของอิมามจะต้องไม่ขัดขวางอิสรภาพการตัดสินใจของเขา เนื่องจากว่าถ้าหากท่านจะปกป้องตนเองตามญาณวิเศษก็ย่อมเป็นการปลดอิสรภาพของผู้อื่น และถือเป็นการทำลายกลไกการทดสอบสำหรับแต่ละคน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท่านอิมามเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาและกิจทั่วไปเสมือนบุคคลธรรมดา โดยจะไม่ปฏิบัติตามการรู้แจ้งเห็นจริง (ศาสตร์แห่งอิมามัต / ญาณวิเศษ) เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระบัญชาแก่มนุษย์ในลักษณะที่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ ท่านนบีจึงมิได้พิจารณาคดีความตามญาณวิเศษ แต่พิจารณาด้วยความรู้ปกติ ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า:
แท้จริงฉันพิจารณาคดีความต่างๆในหมู่พวกท่านด้วยพยานหลักฐาน ซึ่งบางคนอาจจะมีความชำนาญในการพิสูจน์ให้ชนะคดี ฉะนั้น หากฉันตัดสินให้ผู้ใดได้รับทรัพย์สินจากพี่น้องผู้ศรัทธา (โดยเขาไม่มีสิทธิพึงได้รับ) ก็ถือว่าเขาครอบครองไฟนรกอยู่[1]

ท่านนบีต้องการจะชี้ว่าหากผู้ใดมีพยานหลักฐาน หรือกล่าวสาบานประกอบคำร้อง ท่านก็จะพิพากษาไปตามนั้นไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ ซึ่งหากเป็นเท็จก็ย่อมต้องถูกลงทัณฑ์ในไฟนรก

ฉะนั้น แม้ว่าอิมามอลี(.)จะหยั่งรู้ถึงเวลาและสถานที่ๆท่านจะเป็นชะฮีด แต่ท่านมีหน้าที่ต้องทำตามบริบทของคนทั่วไป โดยไม่มีสิทธิจะทำตามญาณวิเศษ ทั้งนี้ก็เนื่องจากท่านเป็นแบบฉบับสำหรับสังคมมุสลิม จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนววิธีที่บุคคลทั่วไปเข้าใจและเข้าถึงได้ หากท่านทำตามญาณวิเศษก็ย่อมไม่สามารถเป็นแบบฉบับได้ เพราะบุคคลทั่วไปย่อมไม่มีญาณเช่นนี้ 

อีกด้านหนึ่ง หากอิมามจะกระทำสิ่งใดตามญาณวิเศษ ก็ย่อมเป็นการบ่อนทำลายกลไกทางสังคมทางอ้อม ด้วยเหตุนี้จึงพยายามกระทำตามความรู้เห็นระดับปกติ และมักจะหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามญาณวิเศษ

นอกจากนี้ ต้องทราบว่าโลกนี้ดำเนินไปตามระบบแห่งการทดสอบ ดังที่กุรอานกล่าวว่ามนุษย์คิดหรือว่าเพียงแค่เอ่ยว่าเราศรัทธาแล้ว จะทำให้เขารอดจากการถูกทดสอบ?”[2] อีกโองการกล่าวว่าพระองค์คือผู้ทรงสร้างความตายและชีวิตขึ้นเพื่อเป็นการทดสอบว่าสูเจ้าคนใดจะมีความประพฤติดีกว่ากัน พระองค์คือผู้ทรงเกริกเกียรติและให้อภัยเสมอ[3] การที่จะทดสอบผู้ใดย่อมต้องมอบอิสระให้เขาสามารถเลือกระหว่างดีชั่วได้ตามสภาวะปกติ แล้วจึงจะให้รางวัลหรือลงโทษไปตามนั้น ทั้งนี้ การทำตามญาณวิเศษย่อมจะบ่อนทำลายระบบดังกล่าว เนื่องจากจะทำลายสภาวะปกติของผู้คนทั่วไป

แม้จะทราบกันดีว่าอิมามอลีก็มีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไป แต่ทว่า ประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไป มิไช่ญาณวิเศษ ประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม) อยู่ในสภาวะที่กำลังถูกทดสอบ ซึ่งญาณวิเศษของอิมามจะต้องไม่ขัดขวางอิสรภาพการตัดสินใจของเขา เนื่องจากว่าถ้าหากท่านจะปกป้องตนเองตามญาณวิเศษก็ย่อมเป็นการปลดอิสรภาพ และถือเป็นการทำลายกลไกการทดสอบสำหรับเขา ภาวะเช่นนี้ย่อมขัดต่อจารีตของพระองค์ที่ทรงสิทธิ์ในการทดสอบปวงบ่าว ในขณะที่ทุกจารีตของพระองค์ย่อมเป็นนิรันดร์ กุรอานกล่าวถึงจารีตของพระองค์ว่าเจ้าจะไม่มีวันเห็นว่าจารีตของอัลลอฮ์ถูกเปลี่ยนแปลง เจ้าจะไม่มีทางเห็นว่าจารีตของพระองค์ถูกแก้ไข[4] ฉะนั้น เนื่องจากการปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมขัดต่อจารีตของพระองค์ในการทดสอบปวงบ่าว อิมามจึงไม่ควรกระทำเช่นนั้น



[1] อัลกาฟี,เล่ม 7,หน้า 414 หมวดการกระทำขึ้นอยู่กับศรัทธาและเจตนา, ฮะดีษที่หนึ่ง قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص إِنَّمَا أَقْضِی بَیْنَکُمْ بِالْبَیِّنَاتِ وَ الْأَیْمَانِ وَ بَعْضُکُمْ أَلْحَنُ بِحُجَّتِهِ مِنْ بَعْضٍ فَأَیُّمَا رَجُلٍ قَطَعْتُ لَهُ مِنْ مَالِ أَخِیهِ شَیْئاً فَإِنَّمَا قَطَعْتُ لَهُ بِهِ قِطْعَةً مِنَ النَّارِ

[2] อังกะบูต, 2 أَ حَسِبَ النَّاسُ أَنْ یُتْرَکُوا أَنْ یَقُولُوا آمَنَّا وَ هُمْ لا یُفْتَنُون‏

[3] อัลมุ้ลก์, 2 الَّذی خَلَقَ الْمَوْتَ وَ الْحَیاةَ لِیَبْلُوَکُمْ أَیُّکُمْ أَحْسَنُ عَمَلاً وَ هُوَ الْعَزیزُ الْغَفُو

[4] ฟาฏิร, 43 فَلَنْ تَجِدَ لِسُنَّتِ اللَّهِ تَبْدیلاً وَ لَنْ تَجِدَ لِسُنَّتِ اللَّهِ تَحْویلاً

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38429 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27238 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...