การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5783
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1196 รหัสสำเนา 16377
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
คำถาม
เหตุใดเรายังต้องเคารพในศาสนา ทั้งๆที่ถูกสติปัญญาหักล้างอย่างหมดเปลือกแล้ว?
คำตอบโดยสังเขป

สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายใน ส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเอง

จากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่ง และการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัด ศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้ จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้น โดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด

สติปัญญาสามารถเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของระบบระเบียบหรือบทบัญญัติต่างๆได้ แต่กระนั้นก็ยังต้องพึ่งพาศาสนาอยู่บ้าง แต่ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยของวันปรโลก หรือหลักเกณฑ์ของศาสนบัญญัติต่างๆนั้น สติปัญญาไม่สามารถจะเข้าถึงได้เลยหากปราศจากคำบอกเล่าของศาสนา สภาวะเช่นนี้จึงไม่ก่อให้เกิดความผิดฝาผิดตัวระหว่างแนวคิดอิสลามและวิถีแห่งปัญญา
อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราสอดแทรกสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลง
อนึ่ง คงเป็นการดีหากคุณจะกรุณายกตัวอย่างสักประเด็นตามที่คุณกล่าวไว้

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักวิชาการนิยามสติปัญญาว่าเป็นเป็นอมฤตภาพเชิงเดียวที่ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อเท็จจริง สติปัญญาคือการรับรู้สัจธรรมและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพของจิตตรึกตรอง[1]
ส่วนในแง่ปรัชญา เราสามารถแบ่งสติปัญญาออกเป็น ปัญญาภาคทฤษฎี และปัญญาภาคปฏิบัติ ปัญญาภาคทฤษฎีมีหน้าที่รับรู้และจำแนกปรากฏการณ์ต่างๆ[2] ส่วนปัญญาภาคปฏิบัติก็คือปัจจัยที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์[3] จำแนกสิ่งที่ควรกระทำออกจากสิ่งที่มิชอบ กล่าวได้ว่าปัญญาประเภทนี้เป็นฐานรากสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้คนเนื่องจากเป็นตัวตัดสินใจกระทำหรืองดเว้นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง[4] ปัญญาภาคปฏิบัติตรงกับสิ่งที่ท่านอิมามศอดิก(.)อธิบายไว้ว่า العقل ما عبد به الرحمن و اکتسب به الجنان (ปัญญาคือสิ่งที่นำพาสู่การภักดีพระเจ้าและใช้ในการไขว่คว้าสรวงสวรรค์)[5]
สรุปเบื้องต้นว่า สติปัญญาที่กล่าวถึงในประเด็นนี้หมายถึงศักยภาพในการเข้าใจ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เข้าใจเชิงองค์รวม

สติปัญญามีสถานภาพสูงส่งในทัศนะอิสลาม ท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวไว้ในตัฟซี้รอัลมีซานว่าสติปัญญาคือพลังที่ประเสริฐสุด[6] อัลลอฮ์จึงทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานถึงสามร้อยโองการเพื่อรณรงค์ให้มนุษย์หมั่นใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากสติปัญญา[7] ท่านอัลลามะฮ์ฯเชื่อว่าอิสลามให้ความสำคัญต่อสติปัญญาเป็นพิเศษ ดังที่ไม่สามารถพบเห็นโองการใดในกุรอานเลยที่จะชักชวนให้มนุษย์คล้อยตามอย่างไม่ลืมหูลืมตา
[8]
ด้วยเหตุนี้เองที่ไม่อาจจะเชื่อได้ว่าอิสลามและวิถีแห่งปัญญาจะขัดแย้งกันเอง อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราเพิ่มปัจจัยภายนอกเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลงกว่าที่ควร

เมื่อพิจารณาถ้อยธรรมของท่านอิมามอลี(.)ในหนังสือนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ว่าด้วยเรื่องของภารกิจของบรรดานบี ท่านกล่าวว่า:
 
و یثیروا لهم دفائن العقول [9](บรรดานบีได้กระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของสติปัญญา) ทำให้ทราบได้ว่าสติปัญญาและศาสนกิจไม่เพียงแต่จะไม่ขัดกัน แต่ยังทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ท่านอิมามอลี(.)ถือว่าการปลุกจิตสำนึกและปัญญาของมนุษยชาติเป็นภารกิจสำคัญของบรรดานบี
สติปัญญาและจิตสำนึกมีลักษณะคล้ายหีบสมบัติที่บรรจุสัจธรรมและข้อเท็จจริงไว้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้บรรดานบีจึงพร่ำสอนในสิ่งที่สอดรับกับตรรกะและปัญญาธรรม ในวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮ์มีหลักการหนึ่งทีว่า
 
کل ما حکم به العقل حکم به الشرع ทุกมติที่สติปัญญาบังคับใช้ ศาสนาก็บังคับใช้เช่นกัน[10] ในทางตรงกันข้ามก็ถูกต้อง นั่นก็คือ ทุกมติที่ศาสนาบังคับใช้ สติปัญญาก็บังคับใช้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ปัญญาจึงกลายเป็นหนึ่งในรากฐานของศาสนบัญญัติ

สรุปคือศาสนบัญญัติทั้งหมดไม่ขัดต่อสติปัญญา อันที่จริงคำสอนของบรรดานบีก็คือปัญญาธรรมที่มนุษย์หลงลืมเนื่องจากการลวงล่อของชัยฏอน บรรดานบีมีหน้าที่เผยปัญญาธรรมของมนุษยชาติให้เป็นที่ประจักษ์
จะว่าไปแล้ว วิธีที่บรรดานบีเชิญชวนผู้คนสู่สัจธรรมก็มิได้แตกต่างไปจากวิธีที่มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมด้วยกระบวนการที่ถูกต้องทางปัญญาเท่าใดนัก จะต่างกันก็ตรงที่บรรดานบีได้รับสัจธรรมจากต้นกำเนิดอันบริสุทธิ์แห่งวะฮีย์ แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้จะมีความเชื่อมโยงกับโลกุตรธรรม แต่ก็ถ่อมตนแสดงเทศนาตามระดับความคิดของผู้คนทั่วไป บรรดานบีรณรงค์ให้มนุษยชาติกระตุ้นศักยภาพของสามัญสำนึกที่มีอยู่ เพื่อการไตร่ตรองด้วยเหตุผลอันแข็งแกร่ง ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าบรรดานบีย่อมไม่ไช่บุคคลที่จะบีบบังคับให้ประชาชนคล้อยตามอย่างหูหนวกตาบอดและปราศจากวิจารณญาณ กุรอานกล่าวว่าจงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) นี่คือแนวทางของฉัน ฉันและผู้เจริญรอยตามฉันเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ด้วยวิจารณญาณ(บะศีเราะฮ์)”[11]

ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างศาสนาและสติปัญญา เนื่องจากทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในแง่ต้นกำเนิด จุดประสงค์ และวิธีการ ศาสนาที่แท้จริงจะเชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศรัทธาต่อโลกุตรธรรม สติปัญญาและฮะดีษเชื่อมโยงกันในลักษณะลูกโซ่ สติปัญญาคือเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในมนุษย์ ส่วนชะรีอัตศาสนาก็เป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ซึ่งทั้งสองทำงานสอดประสานกัน นำพาให้มนุษย์พ้นจากวังวนแห่งกิเลศตัณหาเพื่อทะยานสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ ดังที่ท่านอิมามกาซิม(.)กล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์ได้ประทานเครื่องพิสูจน์สัจธรรมแก่มนุษย์ทั้งจากภายในและภายนอก เครื่องพิสูจน์จากภายนอกก็คือบรรดานบีและอิมาม ส่วนเครื่องพิสูจน์จากภายในก็คือสติปัญญา[12]
ฉะนั้นจึงไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างเครื่องพิสูจน์สัจธรรมภายในและภายนอกเด็ดขาด ฮุจญะฮ์(เครื่องพิสูจน์)ในที่นี้หมายถึงการนำทาง และโดยทั่วไป ผู้นำทางคือผู้ที่เชี่ยวชาญเส้นทางที่ทอดสู่จุดหมายปลายทาง ท่านอิมามกาซิม(.)ต้องการสื่อว่าการจาริกสู่อัลลอฮ์ต้องมีผู้นำทางสองแบบ ผู้นำทางภายในและผู้นำทางภายนอก อย่างไรก็ดี สองผู้นำทางนี้ยังต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่ และมนุษย์จะถึงจุดหมายได้ด้วยการนำทางที่สอดประสานกันเท่านั้น
ซึ่งก็เป็นไปตามวจนะของท่านอิมามฮุเซน(.)ที่ว่าจุดสูงสุดของสติปัญญาอยู่ที่การปฏิบัติตามสัจธรรม[13] และดังที่กุรอานกล่าวว่าอัลลอฮ์คือสัจธรรม[14] และสัจธรรมมาจากพระองค์[15] ในเมื่อการปฏิบัติตามสัจธรรมคือจุดอิ่มตัวของปัญญา อัลลอฮ์ผู้เป็นสัจธรรมได้บัญชาให้เราปฏิบัติตามเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ดังที่ทรงตรัสว่า จงภักดีต่ออัลลอฮ์และจงภักดีต่อศาสนทูตและผู้ครองสิทธิ(ผู้เป็นตัวแทนศาสนทูต)ในหมู่สูเจ้า [16]

พึงสังเกตุว่าประเด็นทางศาสนาขั้นสูงบางข้ออาจไม่สอดคล้องกับแนวคิดสหชาตปัญญาตามนิยามของเดการ์ต หรืออาจไม่ตรงกับปัญญาตามนิยามของสำนักคิดปฏิบัตินิยม(Pragmatism) หรืออาจขัดกับปัญญาเชิงทฤษฎีในนิยามของค้านท์ (เดการ์ตไม่เชื่อเกี่ยวกับปัญญาเชิงองค์รวม และพูดถึงสหชาตปัญญาหรือความคิดเชิงย่อยที่มีมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น ส่วนพวกปฏิบัตินิยมเชื่อว่าปัญญาที่มีประโยชน์คือปัญญาที่ไขปัญหาเชิงประสบการณ์เชิงผัสสะนิยมได้เท่านั้น และค้านท์เชื่อว่าปัญญาภาคทฤษฎีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และมติของสติปัญญาไม่มีคุณค่าใดๆในเชิงวิชาการ)

แน่นอนว่าคุณธรรมอิสลามอย่างเช่นการเสียสละ การพลีชีพ การบริจาค การศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัย และอื่นๆอีกมากมาย ย่อมไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดสหชาตปัญญาเชิงย่อยของเดการ์ต นอกจากนี้ เรายังจะต้องจำแนกปัญญาออกจากการคาดเดาที่อาจเข้าแทนที่ปัญญา ซึ่งจะทำให้หลงคิดไปว่าสิ่งนั้นเป็นสัจธรรม ดังที่กุรอานกล่าวว่า و هم یحسبون اَنهم یحسنون صنعاً؛ (และพวกเขาคิดว่าตนเองกำลังประกอบคุณความดีอยู่)[17] ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงความคิดเพ้อฝันที่เป็นโมฆะ

ดังที่ได้พิสูจน์แล้วว่าศาสนาและสติปัญญาทำงานสอดประสานกัน และได้ปฏิเสธว่าอิสลามมิได้ขัดแย้งกับกระบวนการทางปัญญาเนื่องจากมีจุดเริ่มต้น จุดประสงค์ และเป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น หากพบกรณีความขัดแย้งระหว่างศาสนาและสติปัญญา จะต้องตรวจสอบว่ามติของปัญญานั้นๆตรงกับมาตรฐานที่ถูกต้องในกระบวนความคิดแล้วหรือไม่ หรือเป็นไปได้ว่าเราอาจนึกว่าทัศนะของตนคือคำสอนของศาสนาที่ขัดกับสติปัญญา
อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงเสมอว่าความเชื่อทางศาสนาและศาสนกิจบางประการอาจจะพ้นญาณวิสัย ซึ่งแม้สติปัญญาจะไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่สามารถบรรลุถึงแก่นความเข้าใจต่อสิ่งเหล่านี้ได้ อาทิเช่น ความเชื่อปลีกย่อยเกี่ยวกับปรโลก และหลักเกณฑ์ของศาสนกิจบางประการ 

ขอย้ำอีกครั้งว่า มีสองปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสติปัญญากับศาสนกิจบางประการ
1. การที่ศีลธรรมพื้นฐานของอิสลามมากมายอยู่พ้นญาณวิสัยของสหชาตปัญญาที่เข้าใจเพียงประเด็นปลีกย่อย
2. การที่ทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานบางประการถูกแอบอ้างว่าเป็นการชี้ขาดของสติปัญญา จึงต้องแยกให้ชัดเจน
และด้วยการที่สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ ฉะนั้น ผู้ใดที่ศึกษาคัมภีร์ศาสนาด้วยต้นทุนทางสติปัญญา เขาจะได้รับชุดความรู้อันบริสุทธิ์ไม่ว่าจากตัวบทศาสนาหรือหลักคิดทางปัญญา แต่หากผู้ใดศึกษาคัมภีร์บนพื้นฐานของกระบวนการทางความคิดที่อ่อนเปลี้ย ก็เปรียบเสมือนฝุ่นผงที่กลบความเข้าใจในคัมภีร์เสียหมด

หากถามว่าสามารถปกป้องคำสอนหลักและปลีกย่อยของศาสนาด้วยกระบวนการทางสติปัญญาได้ทั้งหมดหรือไม่? ตอบว่าสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าใจศาสนา แต่ไม่ไช่ปัจจัยที่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถจะใช้กระบวนการทางสติปัญญาพิสูจน์ศาสนกิจปลีกย่อยได้ เพราะสิ่งปลีกย่อยอยู่นอกญาณวิสัยของสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็นข้อปลีกย่อยทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติก็ตาม กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการก็ดี ประสบการณ์ก็ดี สิ่งจริงแท้หรือสมมติขึ้นก็ดี หากเป็นข้อปลีกย่อย ก็อยู่นอกเขตการพิสูจน์โดยสติปัญญาทั้งสิ้น  และสิ่งที่อยู่นอกเขตของสติปัญญาย่อมไม่อาจพิสูจน์ด้วยสติปัญญาได้  แต่สามารถพิสูจน์หรือตีความเชิงองค์รวมได้ ไม่ว่าจะทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติ

สรุปคือ จากการที่สติปัญญาไม่สามารถเข้าถึงประเด็นบางประเด็นได้ ทำให้ต้องพึ่งพาการชี้นำจากศาสนา ฉะนั้น ตรรกะของสติปัญญาก็คือ ฉันเข้าใจว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ฉันไม่เข้าใจและยังต้องพึ่งพาศาสนา[18]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
1. การครุ่นคิดในกุรอาน,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี
2. ฮิกมะฮ์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,.ญะวาดี ออโมลี
3. ชะรีอัตจากมุมแห่งสารธรรม,. ญะวาดี ออโมลี,หน้า 199-224
4.
ศาสนศึกษา, .ญะวาดี ออโมลี,หน้า 170-174
5.
ความเชื่อและคำถามต่างๆ,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 51-58
6.
พื้นฐานทางเทววิทยาของอิจติฮ้าด,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 280-284
7.
นิตยสารโพ้รเซมอน,ฉบับพิเศษที่ ,เดือนโมรด้อด, ปี (..สุริยุคติ) บทความ: อิสลามและปัญญา สอดคล้องหรือขัดแย้ง,ฮะมี้ดริฎอ ริฎอนิยอ



[1] ศัพท์แวดวงปรัชญา,อลี คะระญี,หน้า 171,172

[2] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[3] ร่อฮี้กิมมัคตูม,.ญะวาดี ออโมลี,เล่ม,หน้า 153

[4] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[5] อุศูลุลกาฟี,กุลัยนี,เล่ม 1,หน้า 11,ฮะดีษที่ 3

[6] อัลมีซาน,มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี,เล่ม 3,หน้า 57

[7] อ้างแล้ว,เล่ม 5,หน้า 255

[8] ปัญญานิยมในตัฟซี้รศตวรรษที่สิบสี่,ชอดี นะฟีซี,หน้า 194,195

[9] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,คุฏบะฮ์ที่ 1

[10] ตะฮ์ซีบุ้ลอุศู้ล,ซัยยิดอับดุลอะอ์ลา ซับซะวอรี,เล่ม 1,หน้า 145และ อุศูลุลฟิกฮ์,มุฮัมมัดริฎอ มุซ็อฟฟัร,เล่ม 1,หน้า 217

[11] ซูเราะฮ์ยูซุฟ, 108

[12] ดู: มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ฉบับย่อ,มุอัมมัด เรย์ชะฮ์รี,หน้า 358,ฮะดีษที่ 4387

[13] อ้างแล้ว,หน้า 395,ฮะดีษที่ 4407

[14] ซูเราะฮ์ลุกมาน, 30

[15] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน, 60

[16] ซูเราะฮ์นิซาอ์, 59

[17] อัลกะฮ์ฟิ, 104

[18] ศาสนศึกษา(บทเรียนปรัชญาศาสนา),.ญะวาดี ออโมลี,หน้า 127-174

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะอะไรจึงเรียกชาวยะฮูดียฺทั้งหลายว่า ยะฮูด?
    11292 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    เกี่ยวกับสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่ชน อิสราเอล ว่ายะฮูด, มีความเห็นแตกต่างกัน, บางคนกล่าวว่า “ยะฮูด” หมายถึงผู้ที่ได้รับการชี้นำทางแล้ว ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ การกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮฺ) ของหมู่ชนมูชา (อ.) จากการเคารพสักการลูกวัว[1] บางคนกล่าวว่าสาเหตุของการเรียกหมู่ชนอิสราเอลว่า “ยะฮูด” ก็เนื่องจากบุตรคนที่ 4 ของศาสดายะอฺกูบ ซึ่งมีชื่อว่า “ยะฮูดา” ซึ่งคำว่า “ยะฮูด” ได้ผันมาจากคำว่า “ยะฮูซ” จุดบนตัว ซาล ได้ตัดขาดหายไป[2] [1] ฏอละกอนียฺ, ...
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    6079 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    17114 کلیات 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5261 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    6121 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    8568 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    8250 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    9674 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    6694 عجله 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    11722 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57339 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55087 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36065 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32378 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26676 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26119 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25950 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24125 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...