การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8255
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1086 รหัสสำเนา 17846
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำถาม
เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืม องค์พระผู้อภิบาล ซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้า การใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์ สามารถฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺในใจตัวเองให้มีชีวิตชีวาได้

การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีมรรคผลมากมาย อาทิเช่น : 1-เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติอัลลอฮฺ, 2-เป็นการนอบน้อมถ่อมตน, 3- เป็นการแสดงความรักในการอิบาดะฮฺ,4- สร้างความสงบและความมั่นใจ, 5- เป็นการทำให้อัลลอฮฺสนใจปวงบ่าว, 6- เป็นการแสดงความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าว และ ...

คำตอบเชิงรายละเอียด

โองการอัลกุรอานบ่งชี้ให้เห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา, ผู้กระทำความผิด,ผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮฺ, คือผู้ที่หลงลืมการสร้างและวันฟื้นคืนชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วคือผู้หลงลืมอัลลอฮฺ (ซบ.)

อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : สูเจ้าจงอย่าเป็นเฉกเช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ (ซึ่งอัลลอฮฺก็จะลืมเขาโดยไม่ให้เขาได้รับความเมตตาจากพระองค์) เพราะอัลลอฮจะทรงให้พวกเขาลืมตัวเอง ชนเหล่านั้นคือผู้ฝ่าฝืน[1]

เช่นเดียวกันโองการอื่นได้กล่าวคำพูดของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่กล่าวว่า : "จะไม่มีชีวิตอื่นใดอีกดอก นอกจากการมีชีวิตของเราในโลกนี้ เราจะตายไปและเราจะมีชีวิตอยู่ และไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายเราให้พินาศได้ นอกจากกาลเวลาเท่านั้น พวกเขาไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดอก พวกเขาเพึยงแค่เดาเอาเอง[2]บุคคลเหล่านี้เขาได้ลืมอัลลอฮฺและมะอาดไปจนหมดสิ้น

อัลกุรอาน โองการอื่นกล่าวว่า : “(และจงกล่าวกับพวกเขาว่า) ดังนั้น พวกเจ้า (ชาวนรก) จงลิ้มรสเถิด เนื่องด้วยพวกเจ้าได้ลืมการชุมนุมกันในวันนี้ของพวกเจ้า, แท้จริง เราก็ลืมพวกเจ้าด้วย และพวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษอย่างตลอดกาลตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เถิด[3]

อัลกุรอานอีกโองการหนึ่งกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาว่า : “. และจะมีการกล่าวขึ้นว่า "วันนี้เราจะลืมพวกเจ้า เช่นที่พวกเจ้าได้ลืมการพบกันในวันนี้ของพวกเจ้า และนรกคือที่พำนักของพวกเจ้า และพวกเจ้าจะไร้ผู้ช่วยเหลือ"[4]

ประเด็นที่ได้รับจากโองการเหล่านี้คือ :

1- เมื่อพิจารณาคำว่า นิสยาน เข้าใจได้ว่า การรู้จักอัลลอฮฺคือธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีมาแต่ก่อนเก่า บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และผู้กระทำความผิดได้ลืมธรรมชาติดั้งเดิมของตนเอง เนื่องจากผลของความสกปรกโสมมจากการทำความผิด. อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงใช้คำว่า นิสยาน (หลงลืม) กับผู้ศรัทธาหรือชาวคัมภีร์แม้แต่ครั้งเดียว. แต่สำหรับผู้ที่ลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ, พระองค์จะใช้คำว่า นิสยาน กับพวกเขา พระองค์ตรัสว่า :เนื่องจากพวกเจาลืมอัลลอฮฺ และวันฟื้นคืนชีพ.

2- การหลงลืมอัลลอฮฺเท่ากับพวกเขาได้ลืมตัวเอง”,เหตุผลของประเด็นนี้ก็ชัดเจน, เนื่องจากด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องตกอยู่ในความต่ำทราม มีความเพลิดเพลินกับความสุขแห่งวัตถุ กิเลสตัณหาเยี่ยงเดรัจฉาน, และหลงลืมเป้าหมายการสร้างตนเอง และในที่สุดแล้วเท่ากับตนหลงลืมการสั่งเสบียงไว้สำหรับวันฟื้นคืนชีพ

อีกด้านหนึ่งการลืมอัลลอฮฺ เท่ากับได้ลืมคุณลักษณะที่ดีและสะอาดของพระองค์จนหมดสิ้น ซึ่งการมีอยู่ของพระองค์นั้นสัมบูรณ์ ทรงปรีชาญาณยิ่ง ทรงร่ำรวย และทรงเป็นองค์สุดท้าย ดังนั้นทุกสิ่งที่นอกเหนือไปจากพระองค์ต้องพึ่งพิงพระองค์ และขึ้นอยู่กับอาตมันสะอาดบริสุทธิ์ของพระองค์, ดังนั้น สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์คิดว่าตนเป็นเอกเทศ มีความร่ำรวยและไม่ต้องการพึ่งพิงพระองค์, ฉะนั้น ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ได้ลืมชะตาชีวิตของตนเอง มิใช่ลืมอัลลอฮฺ[5]

3- โองการเหล่านี้ได้ยืนยันให้เห็นว่า การหลงลืมอัลลอฮฺมิใช่เพียงแค่มีความเป็นไปได้เท่านั้น แต่น่าเสียดายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของบททดลองมนุษย์ทั้งหมด มิหนำซ้ำมุสลิมบางกลุ่มชนก็ทำตนเยี่ยงนั้นด้วยเช่นกัน กล่าวคืออยู่ในเงื่อนไขของการลืมเลือนอัลลอฮฺ. เพียงแต่ว่าบางครั้งการลืมเลือนนี้จะมีตลอดไป ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษในไฟนรกในปรโลก. ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า :อัลลอฮฺได้ทรงปิดผนึกหัวใจของพวกเขาและหูของพวกเขา และบนดวงตาของพวกเขานั้นก็มีเยื่อปกปิดอยู่ และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันมหันต์[6] แต่บางครั้งการหลงลืมก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งพอจะมีความหวังได้ว่าสักวันเขาคงกลับไปสู่สภาพเดิมของตัวเอง และฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺให้ตื่นในใจตัวเอง. อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แท้จริงบรรดาผู้ที่ยำเกรงนั้นเมื่อมีการยุยงใด  จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึกได้ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ ผลตอบแทน และการลงโทษ และในการรำลึกถึงพระองค์ทำให้เขาพบทางสว่าง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น[7]

สาเหตุของการลืมเลือนอัลลอฮฺ :

1- ชัยฏอนคือตัวการสำคัญที่มีอิทธิพลทำให้มนุษย์ลืมเลือนอัลลอฮฺ. เกี่ยวกับประเด็นนี้อัลกุรอานกล่าวว่า : “ชัยฏอนได้เข้าไปครอบงำพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้สูญเสีย[8]

ความพยายามทั้งหมดของชัยฏอนคือ การพยายามถอดถอนทุนของอัลลอฮฺออกไปจากมนุษย์ และบุคคลใดก็ตามที่ปล่อยทุนของอัลลอฮฺ ให้หลุดลอยมือไปเท่ากับเขาได้ลืมตัวเอง

2- การหลงโลกเป็นอีกตัวการหนึ่งที่สำคัญยิ่งในการทำให้มนุษย์ลืมอัลลอฮฺ, เนื่องจากความดึงดูดใจของโลก ปัจจัย และความซิวิไลซ์เป็นเหตุทำให้จิตใจของมนุษย์มืดบอด ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (.) จึงกล่าวว่าไม่อาจไปถึงยังความใกล้ชิดอัลลอฮฺได้ เว้นเสียแต่ว่าได้ตัดขาดจากโลก[9]

3- ความผิดและการฝ่าฝืนคำสั่งขององค์พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร เป็นเฉกเช่นม่านที่กั้นระหว่างอัลลอฮฺกับมนุษย์ และกลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ได้หลงลืมอัลลอฮฺ การสร้างตนเองไปจนหมดสิ้น ดังเช่นที่ได้กล่าวถึงคำกล่าวของท่านอิมามริฎอ (.) ที่ตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงอยู่ในม่านกั้น? กล่าวว่า เป็นเพราะว่ามนุษย์ได้กระทำความผิดจำนวนมากมายนั่นเอง[10]

ในทางตรงกันข้ามเราต่างมีหน้าที่สำคัญคือ การรำลึกถึงอัลลอฮฺในจิตใจตนเสมอ เพราะเป็นการรักษาพลเมืองในสังคมให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา. ดังเช่นที่อัลลอฮฺตรัสว่า :บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง[11] การฟื้นฟูการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ให้มีชีวิตชีวาเสมอนั้นให้กระทำเท่าที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องมีรูปแบบอันเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด, และด้วยการมีอยู่ตามคำสอนของศาสนา สำหรับการทำให้การรำลึกถึงอัลลอฮฺมีชีวิตชีวา จึงได้นำเสนอรูปแบบอันเฉพาะเอาไว้ เฉกเช่น :

1- นมาซ, ดังที่ อัลกุรอานกล่าวว่า :จงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน[12]

2- สร้างสัมพันธ์กับอัลกุรอาน, อัลลอฮฺ ตรัสว่า :สิ่งนั้นเราอ่านมันให้เจ้าฟัง อันได้แก่สัญลักษณ์ต่าง  (ที่บ่งบอกถึงความจริงของเจ้า) และเป็นคําเตือนรำลึกที่รัดกุมชัดเจน[13]

4-การใคร่ครวญในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน (สัญลักษณ์ของพระเจ้า) อัลกุรอานกล่าวว่า :พวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน (และกล่าวว่า) พระผู้อภิบาลของพวกข้าฯ พระองค์ไม่ได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ พระพิสุทธิคุณแห่งพระองค์ โปรดคุ้มครองพวกข้าฯให้พ้นจากการลงโทษแห่งเพลิงนรกด้วยเถิด"[14]

4-การใส่ใจในพระลักษณะของพระเจ้า, อัลลอฮฺตรัสว่า :บูรพาทิศและประจิมทิศเป็นของอัลลอฮฺ หนทางใดที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไปอัลลอฮฺก็ทรงอยู่ที่นั่น แท้จริงอัลลอฮฺคือพระผู้ทรงกว้างขวาง พระผู้ทรงรอบรู้[15] เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมีอยู่ทุกที่, ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะผินหน้าไปทางไหนก็ตาม, ก็จะเห็นพระองค์ทรงอยู่  ที่นั่น. ผลลัพธ์ก็คือเราต้องระมัดระวังตนเองเพื่อจะได้ไม่เผลอกระทำความผิด

การรำลึกถึงอัลลอฮฺ มีผลบุญและผลานิสงส์อันมากมาย อาทิเช่น :

1- เท่ากับเป็นการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ

2- เท่ากับเป็นการนอบน้อมถ่อมตนในการยอมรับความจริง เพราะโดยแก่นแล้วมนุษย์คือบ่าวผู้อ่อนแอ

3- แสดงให้เห็นถึงความรักที่มีต่อการอิบาดะฮฺ

4- สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ

5- ดึงดูดความรักและความเอาใจใส่ของอัลลอฮฺมายังตน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนคงจะได้รับประโยชน์จากความจำเริญในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทฮัชรฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า : "وَ لا تَکُونُوا کَالَّذینَ نَسُوا اللَّهَ فَأَنْساهُمْ أَنْفُسَهُمْ أُولئِکَ هُمُ الْفاسِقُونَ" และบทเตาบะฮฺ โองการ 67, บทยาซีน โองการ 78

[2] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 24 กล่าวว่า :

 "وَ قالُوا ما هِیَ إِلاَّ حَیاتُنَا الدُّنْیا نَمُوتُ وَ نَحْیا وَ ما یُهْلِکُنا إِلاَّ الدَّهْرُ وَ ما لَهُمْ بِذلِکَ مِنْ عِلْمٍ إِنْ هُمْ إِلاَّ یَظُنُّونَ

[3] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ โองการที่ 14,

[4] อัลกุรอาน บทญาซียะฮฺ โองการที่ 34.

[5] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 23, หน้า 541.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 7, กล่าวว่า : "خَتَمَ اللَّهُ عَلى‏ قُلُوبِهِمْ وَ عَلى‏ سَمْعِهِمْ وَ عَلى‏ أَبْصارِهِمْ غِشاوَةٌ وَ لَهُمْ عَذابٌ عَظیمٌ"

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ โองการที่ 201, และบทอาลิอิมรอน, โองการ 135 กล่าวว่า : 

" الَّذینَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّیْطانِ تَذَکَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُونَ".

[8] อัลกุรอาน บทมุญาดะละฮฺ โองการที่ 19 กล่าวว่า :

"اسْتَحْوَذَ عَلَیْهِمُ الشَّیْطانُ فَأَنْساهُمْ ذِکْرَ اللَّهِ أُولئِکَ حِزْبُ الشَّیْطانِ أَلا إِنَّ حِزْبَ الشَّیْطانِ هُمُ الْخاسِرُون".

[9] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 193, " وَ لَا یُنَالُ مَا عِنْدَهُ إِلَّا بِتَرْکِهَا".

[10] เชคซะดูก, อัตเตาฮีด, พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ ญามิอฺมุดัรริซีน กุม, ปี .. 1398, (1357) หน้า 252, จากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :

قال الرجل فلم احتجب فقال أبو الحسن ع إن الاحتجاب عن الخلق لکثرة ذنوبهم.

[11] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "الَّذینَ یَذْکُرُونَ اللَّهَ قِیاماً وَ قُعُوداً وَ عَلى‏ جُنُوبِهِمْ"

[12] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14 กล่าวว่า : "أَقِمِ الصَّلاةَ لِذِکْری".  

[13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 581 กล่าวว่า : "ذلِکَ نَتْلُوهُ عَلَیْکَ مِنَ الْآیاتِ وَ الذِّکْرِ الْحَکیمِ"

[14] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 191 กล่าวว่า : "یَتَفَکَّرُونَ فی‏ خَلْقِ السَّماواتِ وَ الْأَرْضِ رَبَّنا ما خَلَقْتَ هذا باطِلاً سُبْحانَکَ فَقِنا عَذابَ النَّارِ".

[15] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 115 กล่าวว่า : "وَ لِلَّهِ الْمَشْرِقُ وَ الْمَغْرِبُ فَأَیْنَما تُوَلُّوا فَثَمَّ وَجْهُ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ واسِعٌ عَلیمٌ".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14390 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8090 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9386 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11734 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6505 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    5602 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8285 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8369 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6512 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20441 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59308 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27491 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27172 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25139 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...