การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8714
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/03
คำถามอย่างย่อ
ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
คำถาม
ผมได้ยินมาจากหลายคนว่าฮาดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือนัก หรืออาจไม่ไช่ฮะดีษด้วยซ้ำ“ทุกวันคืออาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” จากการค้นคว้าทางอินเตอร์เนต พบว่ามีการอ้างอิงว่าฮะดีษดังกล่าวจากท่านอิมามศอดิก (อ.) กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว และหากประโยคนี้เป็นฮาดีษจริง กรุณาระบุว่ามีหลักฐานและความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีน อย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลาและแนวทางอิมามัตไว้อย่างถูกต้อง อีกทั้งแฝงไว้ด้วยบทเรียนและคำสอนอันทรงคุณค่า เพราะแม้ว่าจะไม่มีวันใดเสมอเหมือนกับวันอาชูรออีกแล้ว แต่การกดขี่ผู้อ่อนแอโดยผู้อธรรมก็ยังคงมีอยู่จวบจนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งจะจัดการถอนรากถอนโคนการกดขี่ให้หมดสิ้น  ทั้งนี้ วัฒนธรรมของอาชูรอจะยังคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์ และกัรบะลาก็ยังคงเป็นเครื่องหมายของการทุ่มเทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และการต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อไป ผู้นำทางศาสนาของเราได้สอนเราเช่นนี้ว่า จะต้องต่อสู้กับการกดขี่ของผู้อธรรม และท่านเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์เสมอ ด้วยเหตุนี้ อาชูรอจึงมิได้จำกัดอยู่ในกรอบแห่งกาลเวลาหรือสถานที่

คำตอบเชิงรายละเอียด

จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆ[1]ที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีน[2]อย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลาและแนวทางอิมามัตไว้อย่างถูกต้อง อีกทั้งแฝงไว้ด้วยบทเรียนและคำสอนอันทรงคุณค่า เพราะแม้ว่าจะไม่มีวันใดเสมอเหมือนกับวันอาชูรออีกแล้ว แต่การกดขี่ผู้อ่อนแอโดยผู้อธรรมก็ยังคงมีอยู่จวบจนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งจะจัดการถอนรากถอนโคนการกดขี่ให้หมดสิ้น  ทั้งนี้ วัฒนธรรมของอาชูรอจะยังคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์ และกัรบะลาก็ยังคงเป็นเครื่องหมายของการทุ่มเทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และการต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อไป ผู้นำทางศาสนาของเราได้สอนเราเช่นนี้ว่า จะต้องต่อสู้กับการกดขี่ของผู้อธรรม และท่านเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์เสมอ ด้วยเหตุนี้ อาชูรอจึงมิได้จำกัดอยู่ในกรอบแห่งกาลเวลาหรือสถานที่

ประโยค “กุลลุเยาวมินอาชูรอ กุลลุอัรฎินกัรบะลา” แสดงให้เห็นว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างสัจธรรมและอธรรมยังคงมีอยู่ในทุกยุคสมัย อาชูรอและกัรบะลาเปรียบเสมือนโซ่ข้อสำคัญในกระบวนการเผชิญหน้าดังกล่าว สัจธรรมและความอธรรมจะเผชิญหน้ากันเสมอ โดยที่อิสรชนต่างมีหน้าที่ต้องปกป้องสัจธรรมและกำราบอธรรม การวางเฉยต่อการเผชิญหน้าดังกล่าวย่อมจะถือเป็นพฤติกรรมของคนที่ไม่ใส่ใจต่อศาสนา

อิมามโคมัยนี ซึ่งเป็นผู้เจริญรอยตามอิมามฮุเซน(อ.) และเป็นผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม อีกทั้งเป็นผู้ที่ต่อกรกับทรราชย์ในยุคสมัยของท่าน ท่านเชื่อว่าประโยคนี้คือ “วาทะอันยิ่งใหญ่” และว่าจะต้องปกป้องนัยยะของอาชูรอ และจะต้องประยุกต์ใช้บทเรียนของกัรบลาให้ได้  ท่านกล่าวว่า“ประโยคนี้ (กุลลุเยามินอาชูรอ กุลลุอัรฏินกัรบะลา)ถือเป็นวาทะอันยิ่งใหญ่  ประชาชาติของเราจะต้องคำนึงถึงความหมายนี้ทุกๆวันว่า วันนี้แหล่ะคืออาชูรอที่เราจะต้องต่อสู้กับการกดขี่ และสถานที่แห่งนี้แหล่ะคือกัรบะลาที่เราจะต้องแสดงบทบาทเฉกเช่นผู้ที่อยู่ในกัรบะลา สิ่งนี้หาได้จำกัดเฉพาะพื้นที่เดียวไม่  หาได้เจาะจงบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ เหตุการณ์กัรบะลาไม่ได้เจาะจงไว้สำหรับกลุ่มบุคคลเจ็ดสิบกว่าคน เพราะทุกจุดภูมิศาสตร์ในโลกจะต้องมีบทบาทนี้”[3]

อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการปฏิวัติและการพลีชีพของท่านอิมามฮุเซน(อ.) ควรเป็นบรรทัดฐานสำหรับจารีตทางสังคมของมุสลิม พื้นฐานความเชื่อดังกล่าวช่วยให้ท่านสามารถขับเคลื่อนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน  ท่านกล่าวว่า การกระทำของอิมามฮุเซน(อ.) วิสัยทัศน์ แนวทางของท่าน และชัยชนะที่ตัวท่านเองและอิสลามได้มาด้วยการพลีชะฮีดนั้น(ล้วนประยุกต์ใช้ได้)  ส่วนประโยคอันแฝงด้วยบทเรียน(กุลลุเยาม์ฯ)นั้น ก่อให้เกิดหน้าที่และนิมิตหมายที่ดี หน้าที่ก็คือ ทำให้ทราบว่า แม้ผู้ที่อยู่ภายใต้การกดขี่จะมีกำลังพลอันน้อยนิด แต่ก็มีหน้าที่ลุกขึ้นต่อต้านผู้อธรรมที่มีแสนยานุภาพเยี่ยงซาตาน ดังที่อิมามฮุเซน(อ.)ได้ยืนหยัดมาแล้ว  ส่วนที่ว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ก็เนื่องจากว่า บรรดาชะฮีดของพวกเราได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของชะฮีดแห่งกัรบะลาเช่นกัน”

ท่านยังได้กล่าวในช่วงสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรักว่า “แม้สมรภูมิอาชูรอจะเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในแง่กาลเวลา(ครึ่งวัน) แต่ในแง่ของความต่อเนื่อง สงครามนี้เป็นสงครามที่มีการเผชิญหน้ากับความยุติธรรมที่ยาวนานที่สุด และตราบใดที่ยังมีผู้ไฝ่ฝันอยากเป็นชะฮีดเพื่อช่วยเหลืออิมามฮุเซน ณ กัรบะลาดังประโยคที่ว่า
 یا لیتنا کنا معکم‏ فنفوز فوزا عظیما[4] เมื่อนั้นสมรภูมิแห่งกัรบะลาก็ยังคงร้อนระอุเสมอ[5]

กล่าวคือ ดังที่อิมามฮุเซน (อ.)เป็นผู้สืบเจตนารมณ์ของท่านนบีอาดัม(อ.) นบีอิบรอฮีม(อ.) นบีนูฮ์(อ.) นบีมูซา(อ.) นบีอีซา(อ.) และนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ฉันใด เหล่าบรรดาสาวกอาชูรอก็เป็นผู้สืบเจตนารมณ์ญิฮาดและการพลีชะฮีดฉันนั้น และพวกเขาไม่มีวันที่จะทิ้งธงชัยแห่งกัรบะลา เหล่านี้คือแก่นแท้ทางการเมืองการปกครองของชีอะฮ์ ดังที่อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวไว้ว่า “فلکم فیّ اسوة  วิถีของฉันคือแบบฉบับสำหรับพวกท่าน”[6]

แนวคิดนี้หักล้างความเชื่อที่ว่า กัรบะลาและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นหน้าที่เฉพาะสำหรับอิมามผู้เดียวเท่านั้น โดยผู้อื่นไม่อาจจะปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้

ชีอะฮ์คือผู้พร้อมทะยานมุ่ง
เมื่อเมฆหมอกเคลื่อนออกจากดวงตะวัน
ชีอะฮ์คือผู้กระหายการทดสอบ
ชีอะฮ์คือมหากาพย์การต่อสู้ ณ กัรบะลา
ชีอะฮ์คือแสงสะท้อนจากฟากฟ้า
สู่รุ้งงามที่โค้งผ่านปลายหอก
ขอสดับฟังเสียงท่านจากยอดคม
ถ้อยคารมที่ว่า
ฉันไม่เห็นความตายนอกจากความผาสุก[7]

นักเขียนผู้หนึ่งได้บันทึกไว้ว่า “เราเชื่อมั่นว่า หากอิมามฮุเซน (อ.) อยู่ในยุคสมัยของเรา ท่านจะสร้างกัรบะลาคำรบสองในพื้นที่อัลกุดส์,ตอนใต้ของเลบานอนและพื้นที่ส่วนใหญ่ของมุสลิมอย่างแน่นอน และท่านจะยังคงรักษาจุดยืนเดิมเช่นที่เคยเผชิญหน้ามุอาวียะฮ์และยะซีด”[8]



[1] บ้างเชื่อว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)แต่มิได้อ้างหลักฐานใดๆประกอบ ดู: สาส์นอาชูรอ,อับบาส อะซีซี,หน้า 28 และ ปทานุกรมอาชูรอ,ญะวาด มุฮัดดิซี,หน้า 371.

[2] บ้างกล่าวถึงเบาะแสที่ว่าประโยคดังกล่าวมิไช่ฮะดีษจากมะอ์ศูม ดู: นิตยสารอุลูมุลฮะดีษ,ฉบับที่ 26.

[3] ศ่อฮีฟะฮ์ นู้ร,เล่ม 9,หน้า 202.

[4] ซิยารัตอาชูรอ.

[5] ศ่อฮีฟะฮ์ นู้ร,เล่ม 20,หน้า 195.

[6] ตารีคฏอบะรี,เล่ม 4,หน้า 304.

[7] แปลจากบทกวีจดหมายเหตุชีอะฮ์,มุฮัมมัดริฎอ ออฆอซี(นสพ.เคย์ฮอน ฉบับ12/6/71)

[8] อัลอินติฟาฎอตุชชีอียะฮ์,ฮาชิม มะอ์รูฟ อัลฮะซะนี,หน้า 387.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5820 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6918 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    10017 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7588 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    7981 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
    12626 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิดการถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง
  • เรื่องอุปโลกน์“เฆาะรอนี้ก”มีที่มาที่ไปอย่างไร?
    6710 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/08/03
    เรื่องเล่า“เฆาะรอนี้ก”อุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดีซึ่งหวังจะลดทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและท่านนบี(ซ.ล.)ลง
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5980 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    8453 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10285 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38419 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...