การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
15183
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1343 รหัสสำเนา 16882
คำถามอย่างย่อ
เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
คำถาม
กรณีที่หากมีผู้รับอิสลาม ทราบมาว่าเขาจะต้องศรัทธาในพระเจ้าและนบี(ซ.ล.) อีกทั้งศรัทธาในห้าหลักการ และจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่ง ปัญหาอยู่ที่ว่า หากเขามีศรัทธาต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด แต่สมมติว่าเขาไม่นมาซ ถามว่าเขายังคงสภาพความเป็นมุสลิมอยู่หรือไม่? และเคยอ่านมาว่าประชากรมุสลิมทั่วโลกมีถึงหนึ่งพันสองร้อยล้านคน แต่บางคนเชื่อว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนัก เนื่องจากในจำนวนนี้มีผู้ที่มิได้เป็นมุสลิมในเชิงปฏิบัติมากมาย เนื่องจากเฉยเมยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามศาสนกิจอิสลาม ถามว่าคนเหล่านี้ยังนับว่าเป็นมุสลิมอยู่หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกัน ระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้น หมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า  اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันที อาทิเช่น ร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิส เขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้ สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภท ทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษ ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนา เช่นการนมาซ ถือศีลอด ชำระคุมุส จ่ายซะกาต ประกอบพิธีฮัจย์ ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัย ยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรก ตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูต เหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่าน

นอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้ว การหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี
ยิ่งไปกว่านั้น คำสอนของกุรอาน นบี(..)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่าน ย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮ์
นอกจากนี้ จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้ง เพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยาย และจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุก และต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ ฉะนั้น ประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคน แม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลาม โดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในเชิงคำศัพท์แล้ว อิสลามแปลว่าการยอมจำนนโดยดุษณี แต่สิ่งที่เป็นที่รับรู้ทั่วไปก็หมายถึง ศาสนาที่ท่านนบีมุฮัมมัด(..)นำเสนอจากพระผู้เป็นเจ้าในฐานะศาสนาอันถาวร(ไม่ถูกยกเลิกจวบจนวันโลกาวินาศ)และครอบคลุมทุกปัญหา
ปัจจัยสำคัญที่จำแนกอิสลามออกจากศาสนาอื่นก็คือ การศรัทธาต่อเตาฮี้ด(เอกานุภาพ)ของอัลลอฮ์ ภาวะศาสนทูตของนบี(..) และการยอมรับสารธรรมเตาฮี้ดอันบริสุทธิ
ความศรัทธาต่ออิสลามมีระดับขั้นที่แตกต่างกัน โดยขอนำเสนอดังต่อไปนี้
ก้าวแรกอันถือเป็นเงื่อนไขในการเข้าสู่อิสลามก็คือ การปฏิญาณตนยอมรับสองหลักการ(เตาฮี้ดและภาวะนบี) ประโยค لا اله الا الله เปรียบเสมือนแก่นของอิสลามที่เป็นศูนย์รวมทุกมิติเตาฮี้ด ส่วนการยอมรับภาวะศาสนทูตของท่านนบี(..)ก็คือการยอมรับในภาวะปัจฉิมศาสดาและปัจฉิมศาสนา รวมถึงเชื่อว่าแนวทางอื่นๆล้วนถูกยกเลิกไปแล้วทั้งสิ้น
ระดับที่สูงขึ้นอีกขั้นหนึ่งของอีหม่าน(ความศรัทธา)เริ่มตั้งแต่การจำนนต่อคำสอนสั่งของท่านนบี(..) โดยมีระดับขั้นที่สูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิญาณตนยอมรับในสองหลักการข้างต้นแล้วจะถือว่าหลุดพ้นสภาวะศาสนิกของศาสนาเก่า และเข้าร่วมในครอบครัวอิสลาม ซึ่งจะทำให้สิทธิหน้าที่บังเกิดแก่เขาในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง อาทิเช่น การที่สามารถแต่งงานได้ ทำธุรกรรมได้ การที่เนื้อตัวของเขาและลูกๆไม่เป็นนะญิส[1] นอกจากนี้ การดูแลรักษาทรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาก็เป็นหน้าเหนือรัฐบาลหรือสังคมอิสลาม นี่คืออีหม่านขั้นพื้นฐานที่ทำให้ไม่สามารถกล่าวหาเขาว่าเป็นกาเฟรมุชริกีนได้

ฉะนั้น แม้บางสำนักคิดอย่างพวกค่อวาริจจะมองว่าผู้กระทำบาปใหญ่คือกาเฟรและสามารถหลั่งเลือดได้ หรือกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ที่มองว่าคนจำพวกนี้ไม่ไช่ทั้งมุอ์มินและกาเฟร หรือกรณีของกลุ่มวะฮาบีที่ถือว่าการสุญูดบนดินและจุมพิตเอาบะรอกัตจากดินสุสานอิมาม(.)ถือเป็นชิริก แนวคิดเหล่านี้ทั้งหมดถือเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ทัศนะของชีอะฮ์สิบสองอิมาม(ญะอ์ฟะรียะฮ์)ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกุรอานและฮะดีษจากบรรดาอิมาม(.) ถือว่าอีหม่านและอะมั้ลอิบาดะฮ์(การบำเพ็ญศาสนบัญญัติ)จะได้รับการยอมรับ  พระองค์ก็ต่อเมื่อเคียงข้างด้วยการยอมรับอิมามสิบสองท่านในฐานะผู้นำและตัวแทนนบี(..)เท่านั้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากภาระผูกพันของการยอมรับนบี(..)และกุรอานในฐานะที่เป็นวิวรณ์บริสุทธิจากพระองค์ก็คือ การปฏิบัติตามคำสอนของนบี(..)และกุรอานทุกกระเบียดนิ้ว และหนึ่งในคำสอนของท่านนบีก็คือการรณรงค์ให้ยึดเหนี่ยวและปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์(.) ซึ่งหากมองในมุมกลับ การเพิกเฉยต่ออะฮ์ลุลบัยต์ก็นับเป็นการเพิกเฉยต่อคำสั่งของอัลลอฮ์และนบี(..)ได้เช่นกัน ดังที่กุรอานระบุว่าระดับขั้นอีหม่านอยู่เหนือระดับขั้นการรับอิสลาม 

ระดับขั้นอีหม่านเองก็แบ่งออกเป็นหลายระดับด้วยกัน กุรอานได้แจกแจงมาตรวัดอีหม่านไว้ดังนี้ "ความดีงามคือการศรัทธาต่อพระเจ้า และวันพิพากษา และมลาอิกะฮ์ และคัมภีร์ และบรรดานบี"[2] โดยถือว่าการปฏิเสธ การเสแสร้ง และการตั้งภาคี ล้วนเป็นเหตุให้สิ้นสภาพมุสลิมและต้องทนทรมานในนรกชั่วกัปชั่วกัลป์[3] ฉะนั้น มุสลิมที่มีอีหม่านแนระดับที่ต่ำสุดต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้เป็นอย่างน้อย
1.ศรัทธาต่อเอกานุภาพทุกประเภทของพระองค์
2. ศรัทธาต่อสถานะศาสนทูตท่านสุดท้ายของนบีมุฮัมมัด(..)
3. เชื่อฟังคำสั่งนบี(..)อาทิเช่นคำสอนเกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์
4. ศรัทธาต่อชีวิตหลังความตาย ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยที่กุรอานและฮะดีษจากนบี(.(..)และอิมาม(.)ระบุไว้

แต่เนื่องจากอีหม่านที่แท้จริงย่อมมีผลพวงในแง่ศาสนบัญญัติ ฉะนั้น การกล่าวอ้างว่ารับอิสลามแต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์และนบี(..) ย่อมไม่ทำให้เขาพบกับทางนำและความผาสุก แม้จะทำให้เขาได้รับสิทธิทางสังคมในแง่กฏหมายอิสลามก็ตาม ดัวยเหตุนี้เองที่กุรอานถือว่าการบรรลุสู่ชีวิตอันผาสุกจำเป็นต้องมีอีหม่านและอะมั้ลอิบาดะฮ์เคียงคู่กันเสมอ[4]
ผู้ที่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อ้างอีหม่านโดยไม่ปฏิบัติศาสนกิจ หรือประพฤติดีแต่ไม่ศรัทธา เปรียบเสมือนนกที่มีปีกข้างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถที่จะโผบินสู่ความผาสุกได้เด็ดขาด เว้นแต่จะปรับปรุงตนเองโดยการเติมเต็มอีหม่านและอะมั้ลซอและฮ์ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ใกล้ชิด  พระองค์และได้รับสรวงสววรค์ ทั้งนี้เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับอิสลาม อีหม่าน ตลอดจนคำบัญชาของอัลลอฮ์และนบี(..)สูงขึ้น กอปรกับมีความบริสุทธิใจในการปฏิบัติศาสนกิจมากขึ้น ย่อมส่งผลให้อีหม่านของเขาได้รับการยกระดับให้สูงยิ่งขึ้นตามลำดับ

ในจุดนี้ขอเน้นบางประเด็นเป็นพิเศษ
1. อีหม่านและอะมั้ลซอและฮ์มีความเชื่อมโยงกันโดยตรง หากอีหม่านแข็งแกร่ง ปริมาณและประสิทธิผลของอะมั้ล ตลอดจนความสามารถในการหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามก็จะเพิ่มขึ้นโดยปริยาย ในทำนองเดียวกัน หากปฏิบัติอะมั้ลซอและฮ์และหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามเป็นนิจสิน อีหม่านก็จะหยั่งรากลึกในหัวใจมากยิ่งขึ้น กระทั่งทำให้มนุษย์บรรลุความผาสุกสูงสุดของความเป็นมนุษย์อย่างเต็มภาคภูมิ ในทางตรงกันข้าม การทำบาปบ่อยๆก็จะค่อยๆลบเลือนอีหม่านให้อันตรธานไปจากหัวใจ ซึ่งการกระทำบาปเป็นผลพวงมาจากอีหม่านที่อ่อนแอ

2. การศรัทธาต่อนบีท่านอื่นๆตลอดจนคัมภีร์ของพวกท่าน มิได้หมายความว่าเราจะต้องปฏิบัติตามศาสนกิจของท่านเหล่านั้น เนื่องจากศาสนกิจเหล่านี้บางข้อบังคับใช้ในกลุ่มชนบางกลุ่มเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะถูกยกเลิกเมื่อมีศาสนกิจใหม่มาแทนที่เสมือนกฏหมายที่หมดอายุความ ฉะนั้น การศรัทธาต่อบรรดานบีจึงหมายถึงการเชิดชูเกียรติภูมิในฐานะศาสนทูตที่ทุ่มเทและเสียสละเพื่ออัลลอฮ์ มิได้หมายรวมถึงการที่ต้องปฏิบัติตามศาสนบัญญัติในยุคของศาสดาเหล่านั้น

3. หลักปฏิบัติที่สำคัญๆ ซึ่งจำแนกมุสลิมออกจากต่างศาสนิกในภาคปฏิบัติ เราเรียกว่า"ฟุรูอุดดีน"  โดยผู้ที่มีเงื่อนไขทางศาสนาครบถ้วนจำเป็นต้องเรียนรู้และนำสู่การปฏิบัติ
และหากผู้ใดไม่ถึงขั้นปฏิเสธในหลักการแต่กลับดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติ ก็จะทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้เข้าสรวงสวรรค์ และหากไม่แก้ไขให้ดีขึ้นจนถึงบั้นปลายชีวิต ก็จะต้องถูกทรมานชั่วกัปชั่วกัลป์

4. อีหม่านจะต้องมีลักษณะครอบคลุม เพราะความศรัทธาไม่อาจเลือกได้ตามใจชอบ ฉะนั้น มุสลิมที่มีศรัทธาอย่างแท้จริงไม่ได้รับอนุมัติให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนศาสนาเฉพาะบางส่วน กุรอานให้เหตุผลว่าพฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการถือตามกิเลสของตนเอง และนับเป็นการปฏิเสธประเภทหนึ่ง หาไช่ความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ นบี และวันพิพากษาไม่[5]

5. อีหม่านและอะมั้ลที่ซอและฮ์มีหลายระดับขั้น ผู้ศรัทธาที่บำเพ็ญความดีมิได้มีสถานภาพที่เท่ากันเสมอไป ระดับขั้นบนสรวงสวรรค์ของแต่ละคนก็แตกต่างกัน  พระองค์ ฉะนั้นจึงจะต้องยกระดับอะมั้ลอิบาดะฮ์ไม่ว่าในแง่ปริมาณและคุณภาพด้วยการเรียนรู้ ระมัดระวัง และมุ่งมั่นปฏิบัติตามคำสอนอิสลาม เพื่อจะได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก[6]

6. การปฏิเสธหลักศรัทธาอิสลาม ตลอดจนการปฏิเสธข้อบังคับทางศาสนาที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งให้กระทำหรือคำสั่งห้ามมิให้กระทำ เท่ากับการปฏิเสธหลักเบื้องต้นของศาสนา และหากตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะทำให้พ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม หรือที่เรียกว่าตกมุรตัด

สรุปคือ ระหว่างการรับอิสลามกับการศรัทธาในอิสลามมีความแตกต่างกัน และดังที่ได้นำเสนอไปแล้วว่าอิสลามและอีหม่านมีหลายระดับขั้นด้วยกัน และประชากรมุสลิมกว่าพันสองร้อยล้านคนที่ปฏิญาณตนด้วยกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์ ทั้งหมดล้วนถือเป็นมุสลิมและได้รับสิทธิหน้าที่ในฐานะมุสลิม แม้ว่าจะมีระดับขั้นในแง่อิสลามค่อนข้างต่ำก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาสนาบางข้อ มิได้ทำให้บุคคลพ้นจากสภาพความเป็นมุสลิม

เพื่อศึกษาเพิ่งเติม กุรณาอ่านคำตอบต่อไปนี้
1. รู้จักผู้ศรัทธาที่แท้จริง,คำถามที่ 863
2.
ความไม่ตรงกันระหว่างคำสอนอิสลามและพฤติกรรมมุสลิม,คำถามที่ 798
3.
กุรอานและการนิยามอิสลามและมุสลิมีน,คำถามที่ 829

หนังสืออ้างอิง
อัลมิลัลวันนิฮัล,.ญะอ์ฟัร ซุบฮานี,เล่ม2 หน้า 53
มิลัลวันนิฮัล,อับดุลกะรีน ชะฮ์ริสตานี,สนพ.อัลอันญะโล อิยิปต์,เล่ม 1,2 หน้า 46
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม,เล่ม 1 หน้า161-163 เล่ม 2 ,หน้า 135
กัชฟุ้ลมุร้อด,คอญะฮ์นะศีรุดดีน ฏูซี, หน้า 454
บทเรียนหลักศรัทธา,มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,เล่ม3 หน้า 126-163,บทที่ 54-58
อัคล้ากในกุรอาน,มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี,เล่ม1 หน้า 122-145



[1] ทว่าอุละมาอ์อาจมีความเห็นแตกต่างกันเล็กน้อยในกรณีความเป็นนะญิสของร่างกายต่างศาสนิก(ไม่ว่าเป็นชาวคัมภีร์หรือไม่ก็ตาม) โปรดอ่านหนังสือประมวลศาสนบัญญัติของแต่ละท่าน

[2] อัลบะเกาะเราะฮ์,177,285 และ อันนิซาอ์,136

[3] อันนิซาอ์, 140,145

[4] อันนะฮ์ลิ, 97 และอัลบะเกาะเราะฮ์, 103 อันนิซาอ์, 57,122

[5] อัลบะเกาะเราะฮ์, 85 อันนิซาอ์, 150,151

[6] ย่อความจากคำถามที่ 888(ความเชื่อเบื้องต้นของมุสลิม)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9127 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7387 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    5938 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6748 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
    6872 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้วจะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับโดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอนอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7940 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6885 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5909 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6121 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6477 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59365 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41643 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27109 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...