การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10353
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/02/12
คำถามอย่างย่อ
ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
คำถาม
อยากทราบว่า การรับเศาะดาเกาะฮฺจากผู้ให้โดยที่เขาต้องการให้สิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นกับเขา เช่น ผู้เดินทางต้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการบริจาคโดยเหนียตให้หายจากโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของผู้รับก็จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีนั้น ๆ ใช่หรือไม่ ?
คำตอบโดยสังเขป
“เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1]
นิยามของเศาะดะเกาะฮ์
เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2]
บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ
อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน
1.  เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า
خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ لَهُمْ وَ اللَّهُ سَمِیعٌ عَلِیمٌ[3]
เกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ สามารถศึกษาได้จากคำถามหมายเลข 2981 และ 4597
2. เศาะดะเกาะฮ์ภาคอาสา (มุสตะฮับ/สุนัต) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าเศาะดะเกาะฮ์  และเป็นความหมายที่ผู้ตั้งคำถามต้องการจะสื่อถึง (รายละเอียดเกี่ยวกับผลบุญของเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ และข้อจำแนกจากการกู้ยืม สามารถอ่านได้จากคำถามหมายเลข 13033)
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราขอเกริ่นนำเกี่ยวกับผลบุญและอานิสงส์ที่จะได้รับจากการเศาะดะเกาะฮ์โดยสังเขป
ฮะดีษกล่าวถึงประเด็นข้างต้นโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้ :
ส่วนแรก. อานิสงค์ในการดึงดูดความจำเริญและคุณานุประโยชน์ต่างๆมาสู่ผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ อาทิเช่น ทำให้ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) โปรยปรายลงมา, ช่วยเพิ่มทรัพย์สินและบะเราะกัต, การได้อยู่ภายใต้กรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า, ช่วยในการเยี่ยวยารักษาผู้ป่วย และช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่สอง. อานิสงส์ในการขจัดปัดเป่าภัยต่างๆให้พ้นจากผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ เป็นต้นว่า ระงับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้า ขจัดลางร้ายต่างๆ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ระงับอัคคีภัย ป้องกันการจมน้ำ ป้องกันการเสียสติ ป้องกันมรณกรรมในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยสำนวนฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “เศาะดะเกาะฮ์จะขจัดภัยกว่าเจ็ดสิบประการ”[4]
สำนวนของฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับส่วนที่สองนี้ มักจะใช้คำต่างๆที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “دفع” (ขจัดปัดเป่า) อาทิเช่นคำว่า یدفع،  تدفع،  ادفعوا  ฯลฯ ฉะนั้น หากต้องการจะตอบคำถามตามหัวข้อที่ตั้งไว้ ก็เห็นควรที่จะต้องไขความหมายของรากศัพท์ดังกล่าวให้ชัดเจนเสียก่อน
دفع (ดัฟอ์) แปลว่า “การสนับสนุนส่งเสริม”[5], “การขจัดด้วยกำลัง”[6] และ “การหักห้าม”[7] ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของการ “ดัฟอ์” ภยันตรายต่างๆด้วยเศาะดะเกาะฮ์ก็คือ “หากบุคคลบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ และหากพระองค์ทรงประสงค์ให้บังเกิดผล การบริจาคดังกล่าวสามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่างๆที่จะถาโถมมาสู่ผู้บริจาค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงประสงค์ที่จะปกป้องผู้บริจาคให้พ้นจากภยันตราย เพื่อเป็นการตอบแทนกรรมดี (การบริจาค) ของเขา”
 ตรรกะดังกล่าวนี้สามารถพบเห็นได้ในฮะดีษที่อบู วัลลาด รายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.)[8]
อนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมการลงทัณฑ์และภยันตรายต่างๆ กอปรกับการที่พระองค์ทรงมีสถานะเหนือกว่าทุกปัจจัย ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษหลายบทจึงใช้สำนวน “ภยันตรายที่ถาโถมลงมา” คำว่าฟากฟ้าที่ปรากฏในฮะดีษเหล่านี้ย่อมหมายถึงสถานะภาพที่สูงส่ง มิไช่ท้องฟ้าอันหมายถึงจักรวาลหรือระบบสุริยะ
โองการที่สามารถใช้พิสูจน์เนื้อหาข้างต้นได้ก็คือ “สูเจ้าแน่ใจหรือว่าจะปลอดภัยจากการสูบของธรณี หรือกรณีที่(พระองค์)ทรงส่งวาตภัยเหนือสูเจ้า”[9]
อีกโองการหนึ่งระบุว่า “สูเจ้าคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากคำสั่งจากพระผู้ทรงสถิต ณ ฟากฟ้า ที่ลิขิตให้ธรณีสูบสูเจ้า โดยที่มันจะสั่นสะเทือนต่อไป”[10]
เมื่อพิจารณาสองโองการข้างต้นประกอบกับโองการต่างๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ ทำให้ทราบว่า ภยันตราย (บะลา) นั้น เกิดขึ้นทั้งจากฟากฟ้าและแผ่นดินได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อาณัติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักจะใช้สำนวนที่ว่า “การลงบะลา” (ภยันตราย)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ดัฟอ์” ทั้งความหมายในพจนานุกรมและความหมายที่แพร่หลาย ก็จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์มีผลระงับภยันตรายต่างๆมิให้ถูกลิขิตลงมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นจึงไม่เหลือภยันตรายใดๆที่จะถูกโอนถ่ายไปสู่ผู้รับเศาะดะเกาะฮ์อีกต่อไป และนี่ก็คือความหมายของการระงับภยันตรายโดยการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์นั่นเอง
และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า คำว่าดัฟอ์หมายถึงการที่พระองค์ทรงปกปักษ์รักษาผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ให้พ้นจากภยันตราย มิไช่การโยกย้ายถ่ายโอนภยันตรายจากผู้บริจาคไปสู่ผู้อื่น
จึงไม่มีเหตุผลที่จะเข้าใจว่าภยันตรายต่างๆจะโอนถ่ายไปสู่ผู้รับบริจาคอีกต่อไป.
 

[1] ริฏอ มะฮ์ยอร,พจนานุกรมอรับ ฟารซี,หน้า 551, คำว่า “صدق
[2] ฮะซัน มุศเฏาะฟะวี, อัตตะห์กีก ฟี กะลิมาติลกุรอานิลกะรีม, เล่ม 6,หน้า 217, เล่ม 12,หน้า 59, โบนเฆาะเฮ ทัรโญเมะฮ์ วะ นัชเร เคทอบ, เตหราน, อิหร่านศักราช 1360.
[3] “จงรับเศาะดะเกาะฮ์ (ในรูปซะกาต) จากทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อเป็นการชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์สะอาด และ (ขณะรับซะกาต) จงขอพรแด่พวกเขา แน่แท้ การขอพรของเจ้าจะนำมาซึ่งความสงบแก่พวกเขา และพระองค์ทรงได้ยินและทรงรอบรู้” อัตเตาบะฮ์, 103.
[4] กุลัยนี, มุฮัมมัด ยะอ์กูบ บิน อิสฮ้าก, อัลกาฟี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย อลีอักบัร ฆอฟฟารี และมุฮัมมัด ออคูนดี, เล่ม 4 หน้า 3-10, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งที่สี่, ฮศ1407
[5] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศ็อฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 316, ดารุลอิลม์ อัดดารุช ชามียะฮ์, ดามัสกัส, เบรุต, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ.1412
[6] อิบนิ มันซูร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม, ลิซานุลอรับ, เล่ม 8, หน้า 87, ดาร ศอดิร, เบรุต, ฮศ.1414
[7] เคาะลีล บิน อะห์มัด ฟะรอฮีดี, กิตาบุลอัยน์, เล่ม 2, หน้า 45, สำนักพิมพ์ฮิจรัต, กุม, พิมพ์ครั้งที่สอง, ฮศ.1410
[8] อัลกาฟี, เล่ม 4,หน้า 5
[9] فَأَمِنْتُمْ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمْ جانِبَ الْبَرِّ أَوْ یُرْسِلَ عَلَیْکُمْ حاصِباً...  ซูเราะฮ์อัลอิสรอ, 68
[10] أَ أَمِنْتُمْ مَنْ فِی السَّماءِ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمُ الْأَرْضَ فَإِذا هِیَ تَمُورُ  ซูเราะฮ์อัลมุลก์, 16
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18277 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6973 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]
  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    7230 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7088 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    6857 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    7951 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6096 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6683 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5627 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
    12335 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/12/22
    การที่จะรู้ถึงความแตกต่างและความไม่แตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นตัวเองกับการไว้วางใจหรือมอบหมายขึ้นอยู่กับการได้รับความเข้าใจของทั้งสองคำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตนเอง, สามารถอธิบายได้ 2 ความหมายกล่าวคือ :1. การรู้จักศักยภาพความสามารถการพึ่งพาและการได้รับเพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของความปรารถนาและสติปัญญาที่แท้จริงการเก็บเกี่ยวจะไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจเลยแม้แต่น้อย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56835 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41664 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38413 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38413 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27125 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25200 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...