การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6636
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1003 รหัสสำเนา 16980
คำถามอย่างย่อ
ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
คำถาม
คำถามของฉันเกี่ยวกับโองการวิลายะฮฺ หมายถึงโองการที่ 55 บทอัลมาอิดะฮฺ, โองการกล่าวว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) ขณะนมาซได้บริจาคซะกาต คำถามคือในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ยังมีชีวิตอยู่ ท่านถูกนับว่าเป็นคนจนคนหนึ่ง ขณะแต่งงานท่านได้มอบโล่เป็นมะฮัรให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) อีกทั้งซะกาตไม่วาญิบสำหรับคนจน ที่สำคัญต้อคนจนต้องไม่บริจาคซะกาต ฉะนั้น ซะกาตไม่วาญิบและไม่จำเป็นสำหรับท่าน แล้วทำไมท่านต้องทำเช่นนั้นเดียว?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามอะลี (.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใด แต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆ ได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมาย ซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึง

นอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ) ว่าเป็นซะกาตประเภทหนึ่งและบุคคลก็สามารถบริจาคได้ทั้งสิ้น

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประการแรก : ตามสิ่งที่ปรากฏอยู่ในชีวประวัติของท่านอิมามอะลี (.) ท่านอิมามมิเคยเป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด ทว่าท่านอิมามได้ทุ่มเทความพยายามอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้ทรัพย์สินมาเป็นจำนวนมากมาย แต่ท่านได้ใช้จ่ายทรัพย์เหล่านั้นไปในหนทางของพระเจ้าจนหมดสิ้น, โดยไม่เหลือสิ่งใดเป็นของตนเอง, เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการแบกถุงขนมปัง และอินทผลัมเพื่อไปแจกจ่ายให้เด็กกำพร้า และคนยากจนซึ่งเป็นเรื่องที่รับทราบกันเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่รับทราบกันเป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากนี้ ซึ่งเราต้องการกล่าวในที่นี้คือ ท่านอิมาม (.) จะใช้ทรัพย์สินของท่านซื้อทาสเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าท่านได้ปล่อยทาสให้เป็นอิสระถึง 1000 คน. นอกจากนั้นทรัพย์สินของท่านที่ได้รับจากทรัพย์สงครามก็มีจำนวนไม่น้อย แล้วยังจะมีซะกาตและรายได้จากเรือกสวนของท่านอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยืนยันให้เห็นว่าท่านอิมามมิได้เป็นผู้ยากจนค้นแค้นแต่อย่างใด[1]

ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงความยากจนของท่านอิมาม ก็เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่าท่านได้บริจาคทานเป็นจำนวนมากมายนั่นเอง บางครั้งก็มากเกินทรัพย์สินที่ท่านมีอยู่. ซึ่งสิ่งที่โองการกล่าวถึงการบริจาคทานของท่านนั้นจะเห็นว่า หนึ่งในประเด็นนี้ก็คือท่านได้บริจาคทานขณะรุกูอ์ให้แก่คนยากจนคนหนึ่ง

ประการที่สอง : อัลกุรอานหลายโองการถือว่าการซะดะเกาะฮฺที่เป็นมุซตะฮับเป็น ซะกาตด้วย เช่น อัลกุรอานที่ประทานลง  มักกะฮฺจะใช้คำว่าซะกาตซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือซะกาตมุสตะฮับนั่นเอง[2] เนื่องจากซะกาตวาญิบได้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไปยังมะดีนะฮฺ[3]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า :

ถ้าหากพิจารณาทุกวันนี้จะเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง ซะกาต ทุกคนจะเข้าใจว่าหมายถึง ซะกาตวาญิบ จะไม่มีผู้ใดคิดถึงเซาะดะเกาะฮฺ, แต่ก็มิได้เป็นเพราะสาเหตุที่ว่าภาษาอาหรับที่กล่าวว่า ซะดะเกาะฮฺ มิใช่ซะกาต ทว่าด้วยสาเหตุที่ว่าอายุขัยของอิสลามได้ผ่านพ้นมานับพันกว่าปีที่แล้ว ทั้งผู้วางบทบัญญัติและมุสลิมทั้งหลายต่างนำคำว่า ซะกาต ไปใช้ในวาญิบ, ทว่าในยุคแรกของอิสลามซะกาตได้ถูกใช้ตามความหมายในปทานุกรม ซึ่งครอบคลุมทั้งความหมายในเชิงภาษา และซะดะเกาะฮฺด้วย. ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ซะกาต ในความหมายเฉพาะจะถูกใช้ตรงข้ามกับนมาซ, หมายถึงการบริจาคทรัพย์ในหนทางของพระเจ้า,ดังเช่นเรื่องราวในอัลกุรอานที่ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเหล่าบรรดาศาสดา ซึ่งเข้าใจได้เป็นอย่างดี[4]

โองการที่ 55 บทอัลมาอิดะฮฺ ตามคำกล่าวของนักตัฟซีรส่วนใหญ่ว่า[5] หมายถึงเรื่องราวการบริจาคของท่านอิมามอะลี (.),ซึ่งขณะรุกูอฺท่านได้บริจาคแหวนให้แก่คนยากจน

ดังนั้น สมมุติว่าซะกาตวาญิบ ไม่วาญิบสำหรับท่านอิมามอะลี (.) ฉะนั้น การบริจาคแหวนให้แก่คนยากจนจึงถือว่าเป็นหนึ่งในการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ



[1] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 429

[2] โองการที่ 3 บทนัมลุ และโองการ 39 บทโรม และโองการ 4 บทลูกมาน และโองการ 7 บทฟุซซิลัตและโองการอื่นนอกเหนือจากนี้

[3] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 430

[4] แปลตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 6, หน้า 11.

[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 424

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8386 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • ใบหน้าของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่?
    13727 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/20
    ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ถือกำเนิดในปีฮ.ศ.255 หากเทียบกับปีนี้ซึ่งเป็นปีฮ.ศ.1432 ก็จะทราบว่าอายุของท่านเมื่อถึงวันที่15 ชะอ์บานในปีนี้ก็คือ 1177  ปี ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้เผยกายเพื่อทำพิธีนมาซมัยยิตให้บิดาหลังจากที่ถูกวางยาพิษ ผู้คนต่างได้ยลโฉมท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)โดยสาธยายว่าท่านเป็นเด็กหนุ่มที่มีผิวสีน้ำผึ้ง มีผมหยักโศก และมีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างฟันหน้า[1]มีฮะดีษสองประเภทที่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของท่านก. กลุ่มฮะดีษที่ไม่ระบุอายุขัยของท่าน โดยกล่าวเพียงว่าท่านยังแลดูหนุ่ม1. شابٌ بعد کبر السن ท่านยังหนุ่มแม้จะสูงอายุ[2]2. رجوعه من غیبته بشرخ الشباب ท่านจะปรากฏกายในรูปของคนหนุ่มที่อ่อนกว่าวัย
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    5789 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • เพราะสาเหตุอันใด อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัรจึงไม่ได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาพร้อมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
    5897 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ประเด็นที่ว่าอับดุลลอฮฺบินญะอฺฟัรไม่ได้เข้าร่วมขบวนการไปกับท่านอิมามฮุซัยนฺ
  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    9990 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    11377 วิทยาการกุรอาน 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    19722 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • เหตุใดโองการที่สาม ซูเราะฮ์อัลอินซานที่ว่า اما شاکرا و اما کفورا กล่าวถึงการขอบคุณในรูปของอิสมุ้ลฟาอิ้ล แต่ในส่วนของการปฏิเสธกลับใช้ในรูปของศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์
    9779 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    คำว่า “ชากิร” เป็นอิสมุ้ลฟาอิ้ลจากรากศัพท์ “ชุกร์” และ กะฟู้ร เป็นศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์จากรากศัพท์ “กุฟร์” เหตุที่คำหนึ่งใช้ในรูปอิสมุ้ลฟาอิ้ล และอีกคำหนึ่งใช้ในรูปศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์นั้น นักอรรถาธิบายให้ทัศนะไว้ว่า เนื่องจากจำนวนของชากิร (ผู้ขอบคุณ) มีน้อยกว่าผู้ลำเลิกบุญคุณ จึงใช้อิสมุ้ลฟาอิ้ลกับการขอบคุณ และใช้ศีเฆาะฮ์มุบาละเฆาะฮ์กับการลำเลิก[1]ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ...
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12348 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5342 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59308 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41584 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27490 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27171 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25139 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...