การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7107
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/07
คำถามอย่างย่อ
อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
คำถาม
ท่านอิมามฮะซัน (อ.) หย่าภรรยาหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง

แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในความเสียหายที่สำคัญ และเป็นการทำลายล้างแนวคิด ซึ่งเสียดายว่าเป็นที่สนใจจากแหล่งที่มาของฮะดีซต่างๆ ในอิสลาม นั่นคือ การปลอมแปลงฮะดีซและการนำเข้าไปแทรกไว้ในฮะดีซที่ถูกต้อง อันเป็นแรงจูงใจทั้งจากทางการเมืองและศาสนา และ...ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามเป้าหมายของบุคคลที่น่ารังเกียจ และโสโครกจากเหล่าผู้นำทั้งวงศ์วานอะมะวีย และอับบาซซียฺ บางครั้งก็มีเป้าหมายเพื่อการทำลาย และสร้างความเสื่อมเสียแก่บุคคลที่มีคุณค่าทางสำคัญ ด้วยเหตุนี้เอง การจำแนกฮะดีซที่ถูกต้อง ออกจากฮะดีซที่อุปโลกน์และปลอมแปลงเข้ามานั้น เป็นภารกิจที่ยากและหนักหนาสาหัสมาก

ท่านอิมามฮะซันมุจญฺตะบา (อ.) คือบุคคลหนึ่งที่เป็นเป้าหมายของการการกรุฮะดีซปลอม และสร้างฮะดีซเท็จ แต่โชคดีที่ครั้งนี้ศัตรูที่โง่เขลาของท่าน ได้กล่าวหาและใส่ร้ายท่านเรื่องจำนวนการแต่งงาน และการหย่าร้างที่เกิดขึ้นหลายครั้ง คำใส่ร้ายและข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง ที่พวกเขาได้พาดพิงถึงท่านอิมามฮะซันมุจญฺตะบา (อ.) นั้นชัดเจนยิ่ง

ซึ่งรายงานบางบทกล่าวว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ปรึกษากับชายผู้เป็นบิดา ที่ท่านอิมามจะไปสู่ขอบุตรสาวของเขาให้แก่ ท่านอิมามฮะซัน อิมามฮุซัยนฺ และอับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร ท่านกล่าวกับเขาว่า : ท่านพึงรู้ไว้ด้วยว่า ฮะซัน นั้นมีภรรยามากและก็หย่าร้างหลายครั้งด้วย ดังนั้น จงให้บุตรสาวของท่านสมรสกับฮุซัยนฺ จะดีกว่าสำหรับบุตรสาวของท่าน”[1]

อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ฮะซัน บุตรของอะลี หย่าภรรยาถึง 50 คน จนกระทั่งว่าท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เรียกตัวท่านไปยังกูฟะฮฺ และกล่าวว่า : โอ้ ชาวกูฟะฮฺเอ๋ย จงอย่ายกบุตรสาวของท่านให้แก่ฮะซัน เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่หย่าภรรยามากที่สุด ขณะนั้นได้มีชายคนหนึ่งยืนขึ้น และกล่าวว่า : ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันจะทำเช่นนั้น เนื่องจากเขาเป็นบุตรของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และฟาฏิมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านเราะซูล ถ้าเขาต้องการเขาก็เก็บภรรยาไว้ ถ้าไม่ต้องการก็หย่าไป[2]

อีกรายงานหนึ่ง ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวแก่ชาวกูฟะฮฺวว่า : จงอย่ายกบุตรสาวให้แก่ฮะซัน เนื่องจากเขาเป็นผู้หย่าภรรยามากที่สุด[3]

หนังสือประวัติศาสตร์ของฝ่ายซุนนียฺบางเล่ม เช่น อินซาบุลอัชรอก[4] กูวะตุลกุลูบ[5] อิฮฺยาอุลอุลูม[6] ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุ อบิลฮะดีด มุอฺตะซิลียฺ[7] ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ว่าจะกล่าวว่าสิ่งที่รายงานกำลังถึงเรื่องราวของท่านอิมามฮะซัน เป็นความเท็จ กระนั้นการยอมรับความเท็จก็เป็นเรื่องง่ายดายยิ่ง นอกจากนั้นผู้ปลอมแปลงฮะดีซบางคน ยังได้เติมจำนวนภรรยาที่ได้หย่าขาดจากท่านอิมามฮะซันไว้ด้วย ซึ่งบางท่านกล่าวว่ามีถึง 300 คน[8] แน่นอนว่าฮะดีซเหล่านี้คือ เหตุผลที่ไร้สาระ ไร้ค่า และห่างไกลจากตรรกะมาก

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อจำนวนมากมายที่มีอยู่ในมือ ทั้งหมดเหล่านั้นได้บ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องของฮะดีซดังกล่าว เช่น

1.ท่านอิมามฮะซันมุจญฺตะบาอฺ (อ.) ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 15 เดือนรอมฏอน ปี ฮ.ศ. ที่ 2 หรือ 3 และชะฮาดัตเมื่อวันที่ 28 เซาะฟัร ปี ฮ.ศ. 49 ท่านมีอายุประมาณ 46 หรือ 47 ปี ถ้าหากท่านอิมามสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี และเมื่อนับไปจนถึงวันชะฮาดัตของท่านอิมามอะลี (อ.) ปี ฮ.ศ. 40 จะเห็นว่ามีระยะห่างอยู่ประมาณ 17-18 ปี ซึ่งตามรายงานฮะดีซ ในช่วงระยะเพียง 17-18 ปี อิมามต้องสมรสและหย่าจำนวนมากมาย นอกจากนั้นช่วงระยะการปกครองของท่านอิมามอะลี (อ.) ประมาณ 5 ปีกว่า ท่านอิมามได้เข้าร่วมสงครามใหญ่ 3 ครั้งคือ นะฮฺระวอน ยะมัล และซิฟฟีน นอกจากนั้น ท่านอิมามฮะซันยังได้เดินเท้าเปล่าจากมะดีนะฮฺ เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญฺ ณ บัยตุลลอฮฺ ถึง 20 ครั้ง ติดต่อกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากเวลาแล้วจะเห็นว่าท่านอิมามมีเวลาพอที่จะกระทำสิ่งนั้น ฉะนั้น แน่นอนว่า การยอมรับฮะดีซลักษณะนี้ย่อมไม่เข้ากับสติปัญญา

2. รายงานส่วนใหญ่ที่กล่าวในหนังสือฮะดีซ จะระบุว่ารายงานมาจากท่านอิมามซอดิก (อ.) เสียเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงว่าเวลาได้ล่วงเลยผ่านยุคท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบาอฺ (อ.) ไปประมาณ 1 ศตวรรษ เนื่องจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ชะดาดัตในปี ฮ.ศ. 148 ขณะที่อิมามฮะซัน (อ.) ชะฮาดัตในปี ฮ.ศ. 48 ดังนั้น ถ้าหากรายงานเหล่านี้มาจากท่านอิมามซอดิก (อ.) จริง ท่านอิมาม (อ.) มีจุดประสงค์อันใดในการกล่าวถึงเรื่องนั้น ซึ่งเรื่องผ่านไปประมาณ 100 ปีแล้ว ท่านอิมามซอดิก (อ.) ต้องการที่จะแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นถึงวิกฤติที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของท่านอิมามฮะซัน (อ.) กระนั้นหรือ? แน่นอน ตรงนี้คือประเด็นที่ต้องใคร่ครวญ เนื่องจากว่าคำพูดเหล่านี้ ได้ถูกกล่าวถึงตั้งแต่แรกจากปากของ มันซูร ดะวอนนีกียฺ ผู้เป็นศัตรูตัวฉกาจกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มันซูรได้กล่าวคำพูดนี้ต่อหน้าชาว โคราซาน ว่า : “ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันมอบตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้แก่บุตรหลานของอบูฏอลิบ โดยที่พวกเราไม่เคยทักท้วงเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งว่า อะลี บุตรของอบูฏอลิบ ได้รับตำแหน่งไป แต่ในช่วงนั้นเขาไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องนำไปสู่การตัดสิน ทำให้ประชาชนต้องแตกแยก และมีคำพูดต่างๆ นานาเกิดขึ้น จนกระทั่งได้มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งโจมตีเขา และสังหารเขาในที่สุด หลังจากเขา ฮะซัน บุตรชายของเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งแทน แต่เขาเป็นชายคนหนึ่ง เมื่อได้มีการเสนอทรัพย์สินให้เขาไม่เคยปฏิเสธ มุอาวะยะฮฺ ได้ใช้เล่ห์กลลวงให้เขาเป็นเป็นตัวแทนสืบทอดบัลลังก์ แต่ต่อมาเขาก็ได้ถูกกำจัดให้พ้นทาง เขาจึงหันไปมั่วสตรีแทน และไม่มีวันใดเลยที่ฮะซันไม่ได้แต่งงาน หรือหย่าร้าง จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตบนเตียงนอน”[9]

3. ถ้าหากสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้เป็นเรื่องจริง แน่นอนศัตรูหัวโจกจะต้องหาข้ออ้างต่างๆ มาทำลายอิมามแม้แต่เรื่องเล็กน้อยที่สุด เช่น สีของเสื้อผ้า พวกเขาจะต้องทักท้วง ซึ่งในสมัยที่ท่านอิมามฮะซัน (อ.) ยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาจะต้องจัดการโดยละเอียดไปแล้ว และข้อทักท้วงก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างมากมาย ถ้าหากคำกล่าวอ้างทางประวัติศาสตร์เป็นความจริง จะถือว่านี่เป็นประเด็นอ่อนแอที่ใหญ่โตมาก และพวกเขาจะไม่ละเว้นเด็ดขาด แต่เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์อย่างละเอียด กับไม่มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเลย

4. จำนวนภรรยา บุตร และเขยและสะใภ้ของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ ไม่ตรงและไม่เข้ากันกับจำนวนที่รายงานฮะดีซกล่าวถึง จำนวนบุตรของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ที่กล่าวไว้มากที่สุดคือ  22 คน และน้อยที่สุดคือ 12 คน และมีสตรี 13 คนที่ถูกเอ่ยนามในฐานะภรรยาของท่านอิมาม ขณะที่ภรรยา 3 คนของท่าน มิได้มีรายงานกล่าวถึงรายละเอียดแต่อย่างใด นอกจากนั้นประวัติศาสตร์ยังได้บันทึกไว้ว่าท่านอิมามฮะซัน มีบุตรเขยเพียง 3 คน[10]

5.รายงานจำนวนมากที่บ่งบอกถึงการหย่าร้างของท่านอิมาม ซึ่งรายงานเหล่านั้นได้มีกล่าวไว้ในหนังสือทั้งฝ่ายซุนนียฺ และชีอะฮฺ ท่านเราะซูล (อ.) กล่าวว่า “สิ่งฮะลาลที่อัลลอฮฺ ทรงรังเกลียดที่สุดคือ การหย่าภรรยา”[11] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า จงแต่งงานแต่จงอย่าร้าง เนื่องจากการหย่าร้างจำทำให้บัลลังก์ของอัลลอฮฺ สั่นสะเทือน[12] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวโดยรายงานมาจากบิดาของท่านว่า “อัลลอฮฺ ทรงเกลียดชังผู้ชายที่นิยมการหย่าร้าง เพื่อเสวยสุขตัณหา”[13]

เมื่อถึงตรงนี้ ท่านสามารถกล่าวได้หรือไม่ว่า อิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กระทำสิ่งนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วบิดาของท่านก็มิเคยห้ามปรามสิ่งเหล่านี้เลยกระนั้นหรือ

6. ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นบุคคลที่เคร่งครัดเรื่องอิบาดะฮฺ เป็นผู้มีความสำรวมตนสูงสุดในสมัยของท่าน[14] ท่านจะใช้เวลาส่วนใหญ่ดุอาอฺ และสรรเสริญอัลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า “ฉันรู้สึกละอายต่อพระผู้อภิบาลของฉัน ที่ว่าฉันจะได้พบพระองค์ โดยที่ฉันไม่เคยเดินเท้าเปล่าไปพบพระองค์ ณ บัยตุลลอฮฺ”[15] ซึ่งท่านอิมามได้เดินจากมะดีนะฮฺไปฮัจญฺถึง 20 ครั้งด้วยกัน ดังนั้น ท่านอิมามจะมีเวลากระทำสิ่งที่ฮะดีซเหล่านั้นกรุขึ้นได้อย่างไร

7.คุณสมบัติของผู้ทำการหย่า “การหย่าร้าง” เป็นสิ่งที่ได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงในยุคญาฮิลียะฮฺ ดังนั้น เมื่อท่านหญิงคอดิญะฮฺ (อ.) ได้ปรึกษากับ วะเราะเกาะฮฺ บุตรชายของลุง ถึงชายที่ได้มาสู่ขอท่านแต่งงาน  ท่านได้ถามเขาว่าฉันควรจะตอบรับใครดีกว่ากัน เขากล่าวว่า ชัยบะฮฺ เป็นคนที่ชอบพูดจาในแง่ร้าย อุกบะฮฺก็แก่เกินไป อบูญะฮัล เป็นคนขี้เหนียวและจองหอง ซัลบฺ เป็นชายที่ชอบหย่าภรรยา เวลานั้น ท่านหญิงคอดิญะฮฺ ได้ขอให้พระเจ้าสาปแช่งคนเหล่านั้น และท่านได้กล่าวว่า ยังมีชายอีกคนหนึ่งได้มาสู่ขอฉันเช่นกัน

ตรงนี้สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาคือ คุณลักษณะบางประการที่ได้รับการประณามและการตำหนิในหมู่ญาเฮลลียะฮฺ และประชาชนส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะยกบุตรสาวให้แต่งงานกับเขาคือ ชายผู้หย่าร้างภรรยา แล้วเวลานั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้มีความสำรวมตนอย่างสูง มีศรัทธาเข้มแข็งจะยอมปล่อยให้บุตรชายของท่านประพฤติเช่นนั้นหรือ แล้วบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์จะเปรอะเปื้อนกับคุณสมบัติที่อัลลอฮฺ ทรงเกลียดชัง และทรงกริ้วโกรธ

เหล่านี้บางส่วนก็เป็นเหตุผลที่ยืนยันให้เห็นถึง การโกหกและการกรุความเท็จอย่างไร้สาระที่สุด

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถยอมรับข้ออ้าง คำพูดที่ไม่มีเหตุผล และไม่มีความเป็นธรรมเหล่านี้ว่า บุคลิกของท่านอิมามได้ เนื่องจากรายงานจำนวนมากมายจากท่านเราะซูล (อ.) ได้ยกย่องสรรเสริญท่านอิมามฮะซัน (อ.) ไว้[16]

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก :

1.ฮะยาต อัลอิมาม อัลฮะซัน (อ.) บากิร ชรีฟ อัลกุเรชชี, เล่ม 2, หน้า 457, 472, (ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ)

2.เนซอม ฮุกูก ซัน ดัร อิสลาม, ชะฮีด มุเฏาะฮะรียฺ, หน้า 306*309, (อินเตชารอต ซ็อดรอ)

3.ซินเดกี อิมามฮะซัน (อ.) มะฮฺดี พีชวออียฺ, หน้า 31-39, (อินเตชารอต นัซล์ ญะวอน)

4.อัลอิมามุล มุจญฺตะบาอฺ (อ.) ฮะซัน อัลมุซเฏาะฟะวียฺ, หน้า 228, 234, (สำนักพิมพ์ อัลมุซเฏาะฟะวียฺ)

5.อัซกูเชะวะเกนอร ตารีค, ซัยยิดอะลี ชะฟีอียฺ, หน้า 88, (กิตาบคอเนะ ซ็อดรฺ)

6.ซินเดกียฺ อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ซัยยิด ฮาชิม เราะซูลลียฺ มะฮัลลอตียฺ, หน้า 469-484, (ตัฟตัร นัชรฺ ฟังฮังก์ อิสลามี)

7.ฮะกออิก เพนฮอนนี, อะฮฺมัด ซะมอนนียฺ, หน้า 331, 354, (เอนเตชารอต ดัฟตัร ตับลีฆอต อิสลามี)

 


[1] อัลบัรกี มะฮาซิน, เล่ม 2, หน้า 601

[2] อัลกาฟียฺ, เล่ม 6, หน้า 56, ฮะดีซที่ 4, 5.

[3] ดะอาอิม อัลอิสลาม, เล่ม 2, หน้า 257, ฮะดีซที่ 980

[4] อินซาบุลอัชรอก, เล่ม 3, หน้า 25

[5] กูวะตุลกุลูบ, เล่ม 2, หน้า 246.

[6] มะฮัจญฺตุลบัยฎอ, เล่ม 3, หน้า 69.

[7] ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ , เล่ม 4, หน้า 8, (ชุด 4 เล่ม)

[8] กูวะตุลกุลูบ อบูฏอลิบ มักกีย์

[9] มุรูจญุล ซะฮับ, เล่ม 3, หน้า 300.

[10] ฮะยาต อัลอิมามอัลฮะซัน (อ.) เล่ม 2, หน้า 463-469-457.

[11] สุนัน อบีดาวูด, เล่ม 2, หน้า 632, ฮะดีซที่ 2178

[12] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 268, มะการิมุลอัคลาก, หน้า 225, « تزوّجوا و لا تطلقوا فان الطلاق يهتزّ منه العرش».

[13] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 267, ฮะดีซที่ 3 « ان اللّه‏ عز و جل يبغض کل مطلاق و ذوّاق ».

[14] ฟะรออิด อัซซิมฏัยนฺ, เล่ม 2, หน้า 68, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 16, หน้า 60.

[15] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 43, หน้า 399, « ني لأستحيي من ربي ان القاه و لم امش الي بيته» فمشي عشرين مرة من المدينة علي رجليه.».

[16] บางเนื้อหาคัดลอกมาจาก บทความชื่อว่า ตะอัมมุลี ดัร อะฮาดีซ กิษรัต เฏาะลาก ของมะฮฺดี มะฮฺรีซี, วารสาร พัยยอมซัน, เดือนตีร ปี 77, ฉบับที่ 76, โดยมีการปรับเปลี่ยนคำพูดเล็กน้อย

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13455 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8128 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    13701 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • เคยได้ยินฮะดีษที่ว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้บั่นศีรษะชัยฏอนไปแล้ว, ฮะดีษนี้เชื่อถือได้เพียงใด? แล้วการล่อลวงของชัยฏอนจะตีความอย่างไร?
    9388 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฮะดีษที่ดังกล่าวมีอยู่จริงในขุมตำราฮะดีษของเรา อย่างไรก็ดี ฮะดีษดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับ“เยามิล วักติล มะอ์ลูม”(วันเวลาที่กำหนดไว้)ดังคำบอกเล่าของกุรอาน อิบลีสถูกเนรเทศออกไปจาก ณ พระองค์ แต่มันได้ขอให้ทรงประวิงเวลา อัลลอฮ์ตัดสินคาดโทษอิบลีสจนถึง“เยามิล วักติล มะอ์ลูม” ฮะดีษที่ถามมาต้องการจะเฉลยปริศนาเกี่ยวกับวันเวลาดังกล่าว โดยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในยุคแห่งร็อจอะฮ์(ยุคต่อจากกาลสมัยของอิมามมะฮ์ดี ที่บรรดาอิมามในอดีตจะหวลกลับมาบริหารรัฐอิสลามโลก) หาไช่วันสิ้นโลกหรือวันกิยามะฮ์ไม่.
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    9944 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    6714 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • ภาพรวม, คำสอนหลักของอัลกุรอาน บทบนีอิสราเอลคืออะไร?
    8512 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ : 1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) 2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ .. 3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท 4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7954 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    7663 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59394 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38427 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33453 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27237 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25213 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...