การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5157
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10075 รหัสสำเนา 22473
คำถามอย่างย่อ
กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
คำถาม
สลามค่ะ ช่วยอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์ด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม
หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์
นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์:

وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ

และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน

وَ عِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ لا يَعْلَمُها إِلَّا هُوَ وَ يَعْلَمُ ما فِي الْبَرِّ وَ الْبَحْرِ وَ ما تَسْقُطُ مِنْ وَرَقَةٍ إِلَّا يَعْلَمُها وَ لا حَبَّةٍ فِي ظُلُماتِ الْأَرْضِ وَ لا رَطْبٍ وَ لا يابِسٍ إِلَّا فِي كِتابٍ مُبِينٍ

และให้กล่าวขณะกุนูตว่า

اللَّهُمَّ إِنِّي اسْأَلُكَ بِمَفاتِحِ الْغَيْبِ الَّتِى لا يَعْلَمُهَا الَّا انْتَ انْ تُصَلِّيَ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ وَ انْ تَفْعَلَ بِي كَذا وَ كَذا

โดยให้เอ่ยความประสงค์ของเราแทนคำว่า กะซา วะกะซา แล้วจึงอ่านดุอาต่อไปนี้

اللَّهُمَّ انْتَ وَلِىُّ نِعْمَتِى وَ الْقادِرُ عَلَى طَلِبَتِى تَعْلَمُ حاجَتِى فَأسْأَلُكَ بِحَقِّ مُحَمّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِ وَ عَلَيْهِمُ السَّلامُ لَمَّا قَضَيْتَهَا لِي[1]

สอง. ผลบุญของการนมาซฆุฟัยละฮ์
มีฮะดีษมากมายในสายชีอะฮ์ที่กล่าวถึงผลบุญอันมหาศาลของนมาซฆุฟัยละฮ์ ในที่นี้เราจะขอนำเสนอบางฮะดีษดังต่อไปนี้

1. นมาซที่ขั้นกลางระหว่างมัฆริบและอิชาอ์มีความประเสริฐอย่างยิ่ง ซึ่งก็คือนมาซของเหล่าผู้เตาบะฮ์ บางฮะดีษระบุว่าชื่อ “ฆุฟัยละฮ์” มีสองเราะกะอัต เราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการ وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِبا และเราะกะอัตที่สอง หลังฟาติฮะห์ให้อ่านโองการ وَ عِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ :ซึ่งในทัศนะของพระองค์ ผลบุญของนมาซประเภทนี้สูงส่งยิ่งกว่าการถือศีลอด[2]

2. อิมามศอดิก(อ.)รายงานจากบรรพบุรุษของท่านว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวว่า “ควรนมาซสุหนัตในช่วงเวลาแห่งการหลงลืม แม้จะเป็นการนมาซสองเราะกะอัตธรรมดาๆก็ตาม เพราะสองเราะกะอัตนี้จะนำพาสู่เกียรติยศและสรวงสวรรค์” มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านนบี ช่วงใดคือช่วงเวลาแห่งการหลงลืมขอรับ?” ท่านตอบว่า “ระหว่างมัฆริบและอิชาอ์” (นมาซฆุฟัยละฮ์)”[3]

3. ฮิชาม บิน ซาลิม รายงานจากท่านอิมามศอดิก(อ.)ว่า “ใครก็ตามที่ปฏิบัตินมาซนี้ระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ โดยขอรับบาเราะกัตด้วยดุอาดังกล่าว และเอ่ยความจำนงกับอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงสนองความประสงค์ของเขา และจะเทิดเกียรติเขาตามที่เขาต้องการ”[4]

 

 


[1] อิมามโคมัยนี,รูฮุลลอฮ์,ประมวลปัญหาศาสนา(พร้อมภาคผนวก),เล่ม 1,หน้า 430 ปัญหาที่ 775,สถาบันเผยแพร่อิสลาม ญะมาอัตมุดัรริซีน,พิมพ์ครั้งที่แปด,กุม,ฮ.ศ.1424

[2] ดัยละมี,ฮะซัน,อิรชาดุ้ลกุลู้บ อิลัศเศาะว้าบ,ซิลกี นะฮอวันดี,อลี,เล่ม 1หน้า 232,สำนักพิมพ์นาศิร,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1376

[3] เศาะดู้ก,ษะวาบุ้ลอะอ์ม้าล วะอิกอบุ้ลอะอ์ม้าล,ฮะซันซอเดะฮ์,ศอดิก,หน้า 115,ฮะดีษที่1,สำนักพิมพ์อัรมะฆอเนฏูบา,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1382

[4] บะฮาอี,มินฮาญุนนะญ้าฮ์ ฟีตัรญิมะติ มิฟตาฮิลฟะล้าฮ์,บัสฏอมี,อลี บิน ฏ็อยฟู้ร,หน้า 309,ฮิกมัต,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่หก,ปี 1384

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    5683 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    5720 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    5627 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • อะไรคือสัญญาณของพระเจ้า ที่อยู่ในท้องฟ้าและแผ่นดิน?
    10355 آسمان و زمین 2555/08/22
    ท้องฟ้าและแผ่นดิน และทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในนั้น ทว่าทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดเป็นสัญญาณ ที่บ่งบอกให้เห็นพลานุภาพของพระเจ้า สัญญาณต่างๆ นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถคำนวณนับได้หมดสิ้น อัลกุรอาน ได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การเรียนรู้จักสัญญาณเหล่านั้น ทั้งความกว้างไพศาล จำนวนกาแลคซี่ต่างๆ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์, หมู่ดวงดาวต่างๆ และสิ่งมหัศจรรย์อีกจำนวนมากในนั้น การประสานกันของมวลเมฆ การเกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และฟ้าแลบ พร้อมประโยชน์มหาศาลของมัน การสร้างมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ ที่สลับซับซ้อนที่สุด ในขบวนการสร้างของพระองค์ การดำรงชีพและวัฎจักรชีวิตของผึ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งสัญญาณของพระองค์ ที่บ่งบอกให้เห็นความรู้ วิทยญาณ และความปรีชาญาณของพระองค์ ...
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    8668 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    5489 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    9651 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?
    7821 ปรัชญาของศาสนา 2554/07/16
    ผู้ที่คิดว่าศาสนาและวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะปรับเข้าหากันได้แสดงว่าไม่เข้าใจธรรมชาติของศาสนาเทวนิยมโดยเฉพาะศาสนาอิสลามอีกทั้งไม่เข้าใจว่าพื้นที่คำสอนของศาสนาและพื้นที่ความรู้ของวิทยาศาสตร์ก็แยกออกเป็นเอกเทศ เมื่อพื้นที่ต่างกันก็ย่อมไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นคำสอนของศาสนามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในสามพื้นที่ด้วยกันนั่นคือความสัมพันธ์กับตนเองความสัมพันธ์กับผู้อื่น(สังคมและสิ่งแวดล้อม) และความสัมพันธ์กับพระเจ้า และในฐานะที่อิสลามถือเป็นศาสนาที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดได้สนองตอบความต้องการของมนุษย์ทุกยุคสมัยด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อิจญ์ติฮาด”ซึ่งได้รับการวางรากฐานโดยวงศ์วานศาสดามุฮัมมัดส่วนเทคโนโลยีนั้นมีอิทธิพลเพียงในพื้นที่แห่งประสาทสัมผัสและมีไว้เพื่อค้นพบศักยภาพของโลกและจักรวาลที่ซ่อนอยู่ตลอดจนเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือในการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากเนียะอฺมัตของอัลลอฮ์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยแผ่ขยายพื้นที่ในการตรากฏเกณฑ์ศาสนาให้กว้างยิ่งขึ้นเพราะในทัศนะอิสลามแล้วสามารถจะวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆได้โดยใช้กระบวนการอิจญ์ติฮาดและอ้างอิงขุมความรู้ทางฟิกเกาะฮ์. ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    6475 ازدواج، خانواده، طلاق و 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    5581 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57332 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55083 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40349 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37410 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36060 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32378 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26675 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26115 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25943 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24125 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...