การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6281
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1637 รหัสสำเนา 19009
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
คำถาม
เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, และหลังจากปรากฏกายแล้ว สามารถให้การช่วยเหลือที่ลึกลับได้ แต่พระองค์มิทรงกระทำเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย ขณะเดียวกันก็ได้รับการช่วยเหลือลึกลับจากพระเจ้า และด้วยการช่วยเหลือของมลาอิกะฮฺท่านจะปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล และปัจจัยทั่วไป โดยปฏิบัติในสิ่งที่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ปกติทั่วไป มิเช่นนั้นแล้วในกรณีนี้ความพยายาม หน้าที่ การทดสอบ และเจตนารมณ์เสรีในโลกอื่นก็จะไม่มีความหมายแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึงในวิทยปัญญาของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือ การเตรียมพร้อมประชาชาติทั้งหมดเพื่อการจัดตั้งรัฐแห่งความยุติธรรม เพื่อยืนหยัดต่อสู้กับการกดขี่ข่มเหง ดังนั้นเพื่อไปให้ถึงยังเป้าหมายสำคัญที่ตั้งเอาไว้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องปกปักรักษาอิมามที่ถูกสัญญาไว้ โดยให้ปรากฏตัวล่าออกไป มนุษย์จะมีจิตใจใฝ่หารัฐบาลแห่งอัลลอฮฺก็ต่อเมื่อ พวกเขาผิดหวังต่อศาสนา การปกครอง และอุดมการณ์ทั้งหมดแล้วนั่นเอง และเข้าใจได้ว่าเหล่านั้นทั้งหมดไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ การปกครองเหล่านี้ทั้งหมดจำเป็นต้องอวดและทำการทดสอบตัวเอง เพื่อว่าประชาชนจะได้ยอมรับและเรียกร้องหารัฐบาลแห่งพระเจ้า ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตระหนักเป็นอย่างดีถึงประเด็นดังกล่าวนี้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อรอให้เวลาและวันดังกล่าวมาถึง พระองค์จึงปกป้องและสำรองอิมามท่านที่สิบสองด้วยความเมตตา และความการุณย์พิเศษของพระองค์ ในตรงนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ในอดีตที่ผ่านมาพระเจ้ามิทรงสามารถสร้างผู้ใดขึ้นมาเลยหรือ เพื่อว่าเขาจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งพระเจ้าขึ้นมา หรือภายหลังจากอิสลามได้ปรากฏตัวแล้ว พระองค์มิได้ทรงให้ความช่วยเหลือท่านอิมามที่ได้ถูกสัญญาไว้ดอกหรือ?

คำตอบ อัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นทรงสามารถเสมอ และทรงกระทำเช่นนั้นได้จริง, ทว่าแบบฉบับของพระเจ้าไม่ได้เป็นอะไรที่ขัดแย้งกับหลักการปกติทั่วไป หรือขัดแย้งกับธรรมชาติจนกระทั่งว่าสังคมได้สูญเสียหลักการไป [1]

แน่นอนการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ยังมีวิทยปัญญาอีกจำนวนมากมาย ซึ่งบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้อธิบายไว้แล้ว, หนึ่งในนั้นคือ การคัดกรองและทดสอบมนุษย์ผู้มีความบริสุทธิ์จาก ปวงบ่างที่ไม่บริสุทธิ์ ดังที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า : สำหรับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะมีการเร้นกายที่ยาวนาน ซึ่งในช่วงการเร้นกายนั้นบางคนจะหันหลังให้ศาสนา แต่บางคนยังคงยืนหยัดและธำรงมั่นอยู่บนศาสนาต่อไป, ดังนั้น บุคคลใดก็ตามได้อดทนในช่วงของการเร้นกาย และยืนหยัดต่อกับอุปสรรคปัญหาที่บรรดาศัตรูได้ก่อขึ้นอย่างองอาจ ซึ่งเขาจะได้รับผลรางวัลตอบแทนจากพระเจ้าประหนึ่งว่าเขาได้หยิบดาบต่อสู้กับศัตรู ชนิดเคียงบ่าเคียงไหล่พร้อมกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) [2] หรือคำกล่าวของท่านอิมามซอดิก (อ.) ที่ว่า : การเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือบททดสอบบรรดาชีอะฮฺของท่าน” [3]

อีกหนึ่งจากวิทยปัญญาและปรัชญาของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือการอธรรมกดขี่ของมนุษย์ เกี่ยวกับประเด็นนี้ท่านอิมามอมีรุลมุอฺมินีน (อ.) กล่าวว่า : แผ่นดินจะไม่มีวันปราศจากข้อพิสูจน์ของพระเจ้าเด็ดขาด, แต่ด้วยเหตุผลที่ว่ามนุษย์เป็นพวกอธรรมกดขี่ สร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน และสร้างความหายนะให้เกิดแก่มนุษย์ด้วยกันเอง พระองค์จึงทรงปกป้องข้อพิสูจน์ของพระองค์เอาไว้ [4] ด้วยเหตุนี้เอง ตามคำกล่าวของรายงานที่กล่าวถึงจะเห็นว่า หนึ่งในเหตุผลของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ก็คืออำนาจฝ่ายต่ำอันชั่วร้ายของมนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น ถ้าปราศจากความพร้อมของมนุษย์ และการไม่รู้สึกถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีผู้มาปรับปรุงแก้ไขโลก การปรากกฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ก็จะไม่มีขึ้นแต่อย่างใด. เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ก็คือ ให้มนุษย์สร้างรากฐานของความยุติธรรมและดุลยภาพในสังคม [5] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ในการช่วยเหลือของอัลลฮฺ ที่มีไปยังประชาชาติ ถ้ามาตรว่าพระองค์ทรงช่วยเหลือพวกเขาด้วยอำนาจที่ลึกลับของพระองค์ ก็จะถือว่าเป้าหมายของพระองค์บกพร่อง และยังได้กระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติและเงื่อนไขปกติทางสังคมมนุษย์ ซึ่งพระองค์ได้สร้างช่องว่างของการที่จะไปถึงยังเป้าหมายสุดท้าย [6]

เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โปรดกลับไปศึกษาได้จากหัวข้อ วิทยปัญญาการมีอายุขัยยืนยาวนานของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) คำถามที่ 19002, (18429).



[1] ออฟตอบ วิลายะฮฺ,อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัดตะกียฺ มิซบาฮฺ ยัซดี., หน้า 204 – 206.

[2] บิฮารุลอันวาร, อัลลามะฮฺมัจญฺลิสซียฺ,เล่ม 51, หน้า 133.

[3] อุซูลกาฟียฺ, เชคกุลัยนียฺ, เล่ม 1, หน้า 337.

[4]  อัลฆัยบะฮฺ,นุอฺมานี, หน้า 141.

[5] อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 135 กล่าวว่า

یا أَیُّهَا الَّذینَ آمَنُوا کُونُوا قَوَّامینَ بِالْقِسْطِ شُهَداءَ لِلَّهِ وَ لَوْ عَلى‏ أَنْفُسِکُمْ أَوِ الْوالِدَیْنِ وَ الْأَقْرَبینَ إِنْ یَکُنْ غَنِیًّا أَوْ فَقیراً فَاللَّهُ أَوْلى‏ بِهِما فَلا تَتَّبِعُوا الْهَوى‏ أَنْ تَعْدِلُوا وَ إِنْ تَلْوُوا أَوْ تُعْرِضُوا فَإِنَّ اللَّهَ کانَ بِما تَعْمَلُونَ

“โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ และแม้ว่าจะเป็นอันตรายแก่ตัวของสูเจ้าเองหรือบิดามารดาทั้งสอง และญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม หากเขาจะเป็นคนมั่งมีหรือคนยากจน อัลลอฮฺก็สมควรยิ่งกว่าเขาทั้งสอง ดังนั้นจงอย่าปฏิบัติตามตัณหา ในการที่สูเจ้าจะมีความยุติธรรม และหากสูเจ้าบิดเบือนหรือผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่สูเจ้ากระทำกัน

[6] อะมีนนียฺ, อิบรอฮีม, การพิพากษาโลก, หน้า 148 – 149.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60118 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57542 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42200 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39349 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38938 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33993 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28010 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27952 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27782 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25784 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...