การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10000
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1293 รหัสสำเนา 16376
คำถามอย่างย่อ
มะลาอิกะฮ์แห่งความตายจะปลิดวิญญาณของสิ่งมีชีวิตทุกประเภทหรือไม่?
คำถาม
มะลาอิกะฮ์แห่งความตายจะปลิดวิญญาณของสิ่งมีชีวิตทุกประเภทหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

เมื่อพิจารณาถึงนัยยะที่ค่อนข้างกว้างของฮะดีษต่างๆ ทำให้เข้าใจได้ว่ามะลาอิกะฮ์แห่งความตาย(อิซรออีล)คือหัวหน้าของเหล่านักเก็บวิญญาณ ซึ่งจะเก็บวิญญาณของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
ที่สำคัญคือต้องทราบว่าอัลลอฮ์คือผู้บัญชาการเก็บวิญญาณทั้งหมด ซึ่งโดยจารีตของพระองค์แล้ว จะทรงกระทำผ่านสื่อกลาง ซึ่งอาจจะเป็นมะลาอิกะฮ์แห่งความตาย หรือมะลาอิกะฮ์อื่นๆ

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานกล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์จะทรงเก็บวิญญาณเมื่อความตายมาเยือน[1]
อัลลอฮ์ทรงระบุว่าพระองค์ทรงเก็บวิญญาณ และในทางไวยากรณ์อรับ การที่คำว่าอัลลอฮ์ขึ้นหน้าคำว่ายะตะวัฟฟา”(เก็บ)นั้น สื่อถึงการจำกัด หมายความว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่เป็นผู้เก็บวิญญาณ มิไช่ผู้อื่น[2]
ในขณะเดียวกัน โองการอื่นๆก็บ่งชี้ว่าอัลลอฮ์ทรงบริหารจัดการโลกนี้ผ่านมะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่ง ดังที่โองการที่5 ซูเราะฮ์ อันนาซิอ้าต กล่าวไว้ว่าขอสาบานต่อเหล่ามะลาอิกะฮ์ที่จัดการกิจการต่างๆ
จารีตของพระองค์ลิขิตว่ากิจการต่างๆจะต้องดำเนินไปตามกลไกเฉพาะตัว
ด้วยเหตุนี้เองที่มีมะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่งปฏิบัติภารกิจเก็บวิญญาณ[3] ซึ่งนำโดยมะลาอิกะฮ์แห่งความตาย(มะลิกุ้ลเมาต์)[4]
กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าจงกล่าวเถิด มะลิกุ้ลเมาต์ที่ได้รับหน้าที่เกี่ยวกับสูเจ้า จะเก็บชีวิตสูเจ้า...”[5] และและเมื่อความตายมาเยือนสูเจ้าสักคนหนึ่ง (ยม)ทูตของเราจะเก็บชีวิตเขา...”[6] หากนำสองโองการนี้มาประกอบกันจะทำให้เข้าใจได้ว่าการเก็บชีวิตเป็นกิจของอัลลอฮ์เท่านั้น มิไช่ผู้อื่น ซึ่งจะทรงบัญชาการผ่านมะลิกุ้ลเมาต์ และมะลิกุ้ลเมาต์ก็บัญชาเหล่ามะลาอิกะฮ์ทูตความตายอีกทอดหนึ่ง[7] สรุปคือ ทุกกิจการในโลกล้วนอยู่ในการควบคุมของพระองค์ โดยที่บรรดามะลาอิกะฮ์เป็นเพียงผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น

รายงานว่ามีผู้ถามอิมามศอดิก(.)ว่า จากการที่กุรอานกล่าวว่าอัลลอฮ์จะทรงเก็บวิญญาณเมื่อความตายมาเยือนอีกโองการกล่าวว่าจงกล่าวเถิด มะลิกุ้ลเมาต์ที่ได้รับหน้าที่เกี่ยวกับสูเจ้า จะเก็บชีวิตสูเจ้า...” และมีโองการหนึ่งกล่าวว่า“...ผู้ที่เหล่ามะลาอิกะฮ์เก็บวิญญาณของพวกเขา...)[8] และอีกโองการระบุว่า“(ยม)ทูตของเราจะเก็บชีวิตเขา...” และทั้งๆที่มีคนตายทั่วโลกนับหมื่นนับแสนคนในเวลาเดียวกัน จะเป็นไปได้อย่างไรที่มะลิกุ้ลเมาต์จะเก็บวิญญาณของผู้ตายพร้อมกันทั้งหมด?
ท่านอิมามตอบว่าอัลลอฮ์ได้กำหนดให้มีมะลาอิกะฮ์ภายใต้การบังคับบัญชาของมะลิกุ้ลเมาต์ ซึ่งรับคำสั่งจากเขาให้ปฏิบัติภารกิจทั่วทุกหนแห่ง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าทั้งมะลิกุ้ลเมาต์ และมะลาอิกะฮ์ต่างเป็นผู้เก็บวิญญาณทั้งสิ้น เมื่อนั้นพระองค์จึงรับมอบวิญญาณจากมะลิกุ้ลเมาต์อีกทอดหนึ่ง[9]

มีชายหัวรั้นคนหนึ่งกล่าวตำหนิกุรอานต่อหน้าท่านอิมามอลี(.)ว่า กุรอานมีเนื้อหาที่ขัดกันเอง เนื่องจากโองการหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์เก็บวิญญาณ อีกโองการหนึ่งระบุว่ามะลิกุ้ลเมาต์ทำหน้าที่ดังกล่าว อีกโองการหนึ่งระบุว่ามะลาอิกะฮ์กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ท่านอิมามอลี(.)ตอบว่ามะลิกุ้ลเมาต์มีคณะมะลาอิกะฮ์แห่งเมตตาและการลงทัณฑ์เป็นผู้ช่วยเหลือ โดยทำหน้าที่อันนับได้ว่าเป็นผลงานของมะลิกุ้ลเมาต์ด้วย และภารกิจของมะลิกุ้ลเมาต์ก็ขึ้นตรงต่อพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์จะเก็บวิญญาณตามพระประสงค์ และดำเนินกิจต่างๆเช่นการประทาน การระงับ การตอบแทน การลงทัณฑ์ ผ่านสื่อกลางที่พระองค์ประสงค์ แน่นอนว่าการกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาย่อมนับเป็นการกระทำของพระองค์ได้เช่นกัน ดังที่พระองค์กล่าวว่า สูเจ้ามิอาจจะมีความจำนงใดเว้นแต่พระองค์ทรงประสงค์[10],[11]

กล่าวคือ แม้ในกรณีที่มะลิกุ้ลเมาต์มิได้เก็บวิญญาณเอง แต่ก็สามารถนับว่าเป็นผลงานของมะลิกุ้ลเมาต์และกิจของอัลลอฮ์ได้ เนื่องจากเหตุปัจจัยต่างๆในการนี้ล้วนได้รับอำนาจจากอัลลอฮ์และอยู่ภายใต้การบริหารของพระองค์ทั้งสิ้น และทุกเหตุปัจจัยที่นอกเหนือจากมะลิกุ้ลเมาต์ก็อยู่ภายใต้การบัญชาของมะลิกุ้ลเมาต์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะกล่าวได้ว่าเป็นผลงานของผู้ปฏิบัติการแล้ว ก็ยังสามารถถือเป็นผลงานของสื่อกลาง และผู้ออกคำสั่งสูงสุดได้อีกด้วย เช่นเดียวกับกรณีชัยชนะในสงคราม ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผลงานของพลทหาร ประชาชน ผู้บัญชาการระดับย่อย ตลอดจนผู้บัญชาการสูงสุดได้ทั้งสิ้น

ทีนี้เรามาดูกันว่า ผู้ใดทำหน้าที่ปลิดชีวิตสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ไม่ไช่มนุษย์?
ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน อลี(.) กล่าวไว้ว่า “...จงรู้เพียงว่า อัลลอฮ์เป็นผู้ให้ชีวิตและเก็บชีวิต พระองค์ทรงเรียกคืนชีวิตผ่านผู้ปฏิบัติการ ซึ่งอาจเป็นมะลาอิกะฮ์หรือไม่ก็ได้[12]
ฉะนั้น สำคัญที่จะต้องทราบว่าอัลลอฮ์กระทำการโดยผ่านผู้ปฏิบัติการที่อาจจะเป็นมะลาอิกะฮ์หรือผู้ปฏิบัติการประเภทอื่นๆ

ฮะดีษที่น่าสนใจอีกบทหนึ่งมีอยู่ว่า ขณะที่ท่านนบีอยู่ในช่วงอิสรออ์เมี้ยะอ์รอจ ท่านได้ถามมะลิกุ้ลเมาต์ว่าท่านเป็นผู้เก็บวิญญาณของผู้ตายทั้งอดีตและอนาคตกระนั้นหรือ?” มะลิกุ้ลเมาต์ตอบว่าใช่แล้ว... โลกทั้งโลก และทุกสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงมอบอำนาจแก่ฉันนั้น เปรียบเสมือนเหรียญที่พลิกไปมาในมือของฉัน และฉันจะตรวจดูทุกบ้านในโลกถึงห้าครั้งต่อวัน (เพื่อให้รู้ว่าผู้อาศัยในบ้านนมาซตรงเวลาหรือไม่)[13]
จากความหมายที่เปิดกว้างของฮะดีษข้างต้นทำให้สันนิษฐานได้ว่า มะลิกุ้ลเมาต์จะเก็บชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิตในโลก แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตที่มิไช่มนุษย์

ดัชนีที่เกี่ยวข้อง
คำถามที่, ดัชนี อายุขัยและความตายของมะลาอิกะฮ์
คำถามที่, การหลับและความตายของจิตมนุษย์
คำถามที่, ชัยฏอนและความตาย.

 



[1] ซูเราะฮ์อัซซุมัร, 42 : اللَّهُ یَتَوَفىَّ الْأَنفُسَ حِینَ مَوْتِهَا

[2] ตัฟซี้รอัลมีซานฉบับแปล,มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี,เล่ม 17,หน้า 407

[3] ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,นาศิร มะการิม ชีรอซี, เล่ม 17,หน้า 140

[4] เนื่องจากระดับขั้นของมะลาอิกะฮ์แตกต่างกัน ซึ่งมะลิกุ้ลเมาต์(อิซรออีล)มีฐานะภาพเหนือกว่ามะลาอิกะฮ์ทั่วไปที่ทำหน้าที่เก็บวิญญาณ

[5] ซูเราะฮ์อัสสะญะดะฮ์, 11

[6] อัลอันอาม, 61

[7] ตัฟซี้รอัลมีซานฉบับแปล,มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี,เล่ม 17,หน้า 407

[8] อันนะห์ลิ, 32

[9] มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์,เชคศ่อดู้ก,เล่ม 1,หน้า 136

[10] อัลอินซาน, 20 และ อัตตักวี้ร, 29

[11] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 6,หน้า 140,ฮะดีษที่ 1

[12] อ้างแล้ว, หน้า 143,ฮะดีษที่ 6

[13] อ้างแล้ว,หน้า 141,ฮะดีษที่ 6

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    5569 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    6109 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • คำว่าศ็อฟในโองการ جَاء رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفّاً صَفّاً หมายความว่าอย่างไร?
    5449 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    คำดังกล่าวและคำอื่นๆที่มีรากศัพท์เดียวกันปรากฏอยู่ในหลายโองการ[1] คำว่า “ศ็อฟ” หมายถึงการเรียงสิ่งต่างๆให้เป็นเส้นตรง อาทิเช่นการยืนต่อแถว หรือแถวของต้นไม้[2] “ศ็อฟฟัน” ในโองการดังกล่าวมีสถานะเป็น ฮาล (ลักษณะกริยา)ของมะลาอิกะฮ์ ซึ่งนักอรรถาธิบายกุรอานได้ให้ความหมายไว้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้ หนึ่ง. มวลมะลาอิกะฮ์จะมาเป็นแถวที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกตามฐานันดรศักดิ์ของแต่ละองค์[3] สอง. หมายถึงการลงมาของมะลาอิกะฮ์แต่ละชั้นฟ้า โดยจะมาทีละแถว ห้อมล้อมบรรดาญินและมนุษย์[4] สาม. บางท่านเปรียบกับแถวนมาซญะมาอะฮ์ โดยมะลาอิกะฮ์จะมาทีละแถวจากแถวแรก แถวที่สอง ฯลฯ ตามลำดับ[5]
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    9312 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    7960 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    7802 นมาซ 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    9310 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    6588 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • เหตุใดจึงไม่ควรครุ่นคิดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของการสรรสร้าง?
    5606 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/19
    ประเด็นหนึ่งที่กุรอานและฮะดีษเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษก็คือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ[1] ทว่าควรหลีกเลี่ยงการไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอ์ ดังฮะดีษนบี(ซ.ล.)ที่ว่า จงครุ่นคิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่อัลลอฮ์สร้างเถิด แต่ในกรณีของอาตมันของพระองค์นั้น ไม่บังควรอย่างยิ่ง”[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบีระบุถึงสาเหตุที่ห้ามมิให้ไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอฮ์ว่า “เนื่องจากพวกท่านไม่อาจจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เด็ดขาด”[3] ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะไม่มีการห้ามครุ่นคิดเกี่ยวกับการสรรสร้างของพระองค์แล้ว ...
  • ใบหน้าของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่?
    13044 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/20
    ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ถือกำเนิดในปีฮ.ศ.255 หากเทียบกับปีนี้ซึ่งเป็นปีฮ.ศ.1432 ก็จะทราบว่าอายุของท่านเมื่อถึงวันที่15 ชะอ์บานในปีนี้ก็คือ 1177  ปี ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้เผยกายเพื่อทำพิธีนมาซมัยยิตให้บิดาหลังจากที่ถูกวางยาพิษ ผู้คนต่างได้ยลโฉมท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)โดยสาธยายว่าท่านเป็นเด็กหนุ่มที่มีผิวสีน้ำผึ้ง มีผมหยักโศก และมีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างฟันหน้า[1]มีฮะดีษสองประเภทที่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของท่านก. กลุ่มฮะดีษที่ไม่ระบุอายุขัยของท่าน โดยกล่าวเพียงว่าท่านยังแลดูหนุ่ม1. شابٌ بعد کبر السن ท่านยังหนุ่มแม้จะสูงอายุ[2]2. رجوعه من غیبته بشرخ الشباب ท่านจะปรากฏกายในรูปของคนหนุ่มที่อ่อนกว่าวัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57371 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55108 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40377 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37426 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36092 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32398 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26681 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26138 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25966 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24137 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...