การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14366
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2394 รหัสสำเนา 17839
คำถามอย่างย่อ
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำถาม
นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
คำตอบโดยสังเขป

นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่น

นมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ซึ่งจะคอยชำระล้างมนุษย์ให้มีความสะอาดบริสุทธิ์, แน่นอน ถ้าหากผู้นมาซไม่รู้สึกว่าตนได้รับความสะอาด หรือประกายแสงอันเจิดจรัสจากนมาซแล้วละก็ ต้องยอมรับโดยดุษณีว่าตนยังไม่ได้นมาซที่แท้จริง, บางครั้งนมาซอาจถูกปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักการ,แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ณ เอกองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากนมาซอันเป็นที่ยอมรับจะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์บังเกิดความสะอาด, ดังนั้น ขณะนมาซถ้าหากมนุษย์สามารถควบคุมจิตใจของตนให้อยู่กับร่องกับรอยได้ นอกเหนือเวลานมาซเขาก็สามารถควบคุมการมอง และการฟังของเขาได้เช่นกัน

นมาซคือ การเข้าพบและเข้าเยี่ยมผู้เป็นที่รักยิ่งของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระผู้อภิบาลพระผู้ทรงพลานุภาพยิ่ง. เป็นช่วงเวลาของการกระซิบกระซาบกันระหว่างคนรักกัน เป็นช่วงเวลาแห่งการสารภาพความจริงแด่พระเจ้าผู้ทรงเป็นเอกะ, นมาซได้เริ่มต้นด้วยเสียงตักบีร อัลลอฮุอักบัร และรอยยิ้มแห่งความรักและความปิติยินดี พร้อมกับสิ้นสุดลงด้วยการมีสมาธิและคำกล่าวว่า อัสลามุอะลัยกุม เป็นการยืนยันให้เห็นความจริงว่า ข้าพระองค์จะรอคอยการกลับมาอีกครั้งด้วยความรัก รอยยิ้ม และความปลาบปลื้ม ดังนั้น จงรู้คุณค่าของนมาซเถิด ตราบที่เรายังไม่รู้จักพระองค์ และตราบที่เรายังไม่ได้ให้ความสำคัญแก่คนอื่นจนหลงลืมพระองค์?

คำตอบเชิงรายละเอียด

โอ้ ใบไม้ผลิแห่งชีวิต โอ้ ชีวิตแห่งใบไม้ผลิ

พระองค์คือผู้ประทานมวลเมฆแห่งความโปรดปราน ทำให้เรามีชีวิตใหม่เสมอ

ขอพระองค์ อย่าทรงถอดถอนความสัมฤทธิผลไปจากเรา

ขอพระองค์ อย่าวางมือจากจิตใจของเรา

ขอพระองค์ อย่าทำให้การทดสอบเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้เรา

ขอพระองค์ โปรดนำทุกสิ่งมาให้เราตามพระประสงค์

ณ พระองค์คือทุ่งหญ้าอันเขียวขจีแห่งความการุณย์

ขอพระองค์ อย่าทรงขับเคลื่อนร่มเงาของพระองค์ไปจากเรา[1]

โอ้ อัลลอฮฺ ผู้ใดเล่าได้ดื่มด่ำความรักจากพระหัตถ์ของพระองค์ เขาจะกล้าสวมแหวนแห่งความเป็นบ่าวของคนอื่นได้อย่างไร? มะลิดอกไหนหรือ,เมื่อได้เปล่งบานออกจากแหล่งของพระองค์ แล้วจะไม่ส่งกลิ่นรัญจวนเวียนไปหาพระองค์อีก? โอ้ ที่รักทั้งหลายดอกบัวหลวงที่ได้เชิดชูดอกด้วยความรักในพระองค์ มันจะดึงดูดความเมตตาจากท่านให้เหลียวมอง และหลงใหลในความสวยงาม, คนรัก, มนุษย์คนใดหรือเมื่อได้แนบหน้าผากไว้บนดิน เนื่องด้วยการบริบาลของพระองค์ และได้ชิมรสชาติหวานชื่นของพระองค์ แล้วเขาจะหมายใจไปหาคนอื่นได้อย่างไร[2]

นมาซคือ บุรอกและรัฟรัฟ พาหะนะของนักจาริกจิตและผู้ถวิลการขัดเกลา,บุคคลใดก็ตามที่เป็นนักขัดเกลาจิตวิญญาณไปสู่อัลลอฮฺ นมาซคือหนทางอันเฉพาะสำหรับเขา และเขาจะได้รับการอำนวยจากนมาซ และเมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนมาซ กล่าวว่า “และจงดํารงไว้ซึ่งการนมาซ เพื่อรำลึกถึงฉัน"[3] และข้าจะรำลึกถึงเจ้าด้วยนมาซ ถ้าหารการรำลึกถึงอัลลอฮฺผ่านการนมาซแล้วละก็ เวลานั้นดวงจิตของเขาจะบังเกิดความมั่นใจ.อีกด้านหนึ่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ทำให้บังเกิดความั่นใจ[4] ดังนั้น จิตใจของมนุษย์ผู้ดำรงนมาซ จะมีความสงบมั่นใจเสมอ. และจะไม่เกรงกลัวผู้อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ. จะไม่มีศัตรูคนใดทั้งจากภายในและภายนอกสร้างความเสียหายแก่เขาได้ เนื่องจาก ผู้ดำรงนมาซจะรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ, และการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอนั้นคือปัจจัยสร้างความมั่นใจและความสงบ. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลมะริจญ์ เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของนมาซได้ว่า : แน่นอน มนุษย์ถูกบังเกิดขึ้นมาให้เป็นคนหวั่นไหวไร้ความอดทน ที่จริงแล้วธรรมชาติของมนุษย์วางอยู่บนเตาฮีดและธรรมชาติ แต่จิตของเขาก็จะนำไปสู่ความต่ำทรามอยู่ร่ำไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์บรรดาศาสดาได้มาปลูกให้ตื่น และธรรมชาติมิได้เป็นอะไรมากไปจาก สิ่งสกปรกโสโครก อลกุรอาน กล่าว่าเมื่อความทุกข์มาประสบ เขาจะไม่แสดงความสุขุมคัมภีร์ภาพ แต่เมื่อคุณความดีประสบเขาจะหวงแหน (แสดงความตระหนี่โดยไม่แบ่งปันให้ผู้ใด) ยกเว้นบรรดาผู้ดำรงนมาซ พวกเขาจะดำรงมั่นอยู่ในนมาซของตนสมอ”[5]

บรรดาผู้ดำรงนมาซทั้งหลาย, เขาได้ทำลายธรรมชาติ และฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ความพิเศษของนมาซคือ การฟื้นฟูสัญชาติญาณ. ผู้ดำรงนมาซคือบุคคลที่ควบคุมและทำลายธรรมชาติแห่งตัวตน หรือทำให้สงบ.เขาจะไม่ทำให้การมีชีวิตของตนต้องอ่อนแอด้วยทุนแห่งความสงบ ที่เขาได้สรรหามาได้วิถีของนมาซ และจะไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความยากลำบากที่ถาถมเข้ามาอย่างบ้าคลั่ง. ถ้าหากมีความดีงามหนึ่งมาถึงเขาสิ่งนั้นก็จะไม่กลายอุปสรรคปัญหา และเขาจะไม่หันเหออกจากคนอื่น[6] ท่านอิมามบากิริลอุลูม (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เมื่อบ่าวผู้ศรัทธาได้ยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺ ผู้ทรงเกรียงไกรมองเขาจนกว่าเขาจะนมาซเสร็จ และเบื้องบนศีรษะจนถึงเส้นขอบฟ้าเขาจะอยู่ภายใต้เส้นแห่งความเมตตาของพระเจ้า บรรดามวลมลาอิกะฮฺจะห้อมล้อมเขาเอาไว้ และอัลลอฮฺจะทรงมอบให้มลาอิกะฮฺรับผิดชอบ กล่าวกับเขาว่า : โอ้ ผู้นมาซเอ๋ย, ถ้าท่านรู้ว่าผู้กำลังมองเจ้าอยู่ และกำลังรอคอยการวิงวอนจากท่าน แน่นอนท่านจะไม่มีวันสนใจคนอื่นใดอีก และจะไม่ถอนตัวออกจากสถานที่นมาซของท่านแน่นอน”[7] แทนที่ด้วยดำรัสแห่งพระเจ้า ใบหน้าอันงดงามของยูซุฟใบจำกัดลิ้นมิให้เอื้อนเอ่ย.แล้วจะเป็นเฉกเช่นไรกับความงามบริสุทธิ์, ซึ่งทุกความงามล้วนอยู่ใต้ความงามของพระองค์ทั้งสิ้น? ดังนั้น ความเฉพาะของผู้จาริกจิตจะอยู่ในสภาพของการจมปรัก เมื่อได้รำลึกและได้อิบาดะฮฺ[8]

โอ้ พระผู้อภิบาล โปรดอย่าได้ปฏิเสธหรือวางความรักไว้ใต้สุญญากาศ

โปรดรินหลั่งการรู้จักแก่ย่างก้าวของเรา

โปรดสำเหนียกเสียงตักบีรที่เรากล่าว

พระองค์ทรงมองเห็นทุกสิ่ง

โปรดเติมเวลาแด่การโค้งคาราวะของเราให้ยาวนานขึ้น

โปรดยกฐานันดรของเราในการกราบกรานให้สูงส่ง

ขณะกุนูตอย่าให้เราได้ปล่อยเวลาอย่างไร้ค่า

ข้อความและความสุขของเราที่ออกจากริมฝีปากของเราคือสาร

โปรดให้เราได้เพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งการเป็นชะฮีด

โปรดเจียระไนเราเมื่อสิ้นสุดสลามของเรา[9]

ซัยยิดชุฮะดา (อ.) ได้กล่าวกับอบัลฟัฎล์ (อ.) เมื่อตอนบ่ายตาซูอาว่า : จงบอกกับหมู่ชนพวกนี้ว่า, คืนนี้คือค่ำอาชูรอ โปรดให้เวลาแก่ฉัน. เนื่องจากอัลลอฮฺผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่งทรงทราบเป็นอย่างดีว่า นมาซ คือสิ่งที่ฉันรักที่สุด[10]

แน่นอน ระหว่างบุคคลที่กล่าวว่า : ฉันนมาซ กับประโยคที่ท่านอิมามกล่าวว่า: ฉันรักนมาซ และนมาซเป็นที่รักของฉัน มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย.บุตรของท่านอิมามซัจญาด และอิมามบากิร และมะอฺซูมท่านอื่น (อ.) ต่างมีสภาพดังกล่าวเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดพยายามจะเล่นเมื่อบิดาของท่านนมาซ เพราะทั้งหมดทราบดีว่าเมื่อบิดาของพวกท่าน เริ่มนมาซจะไม่สนใจพวกเขา พวกเขาจะเริ่มเล่นตามใจต้องการ ไม่ว่าพวกเราจะส่งเสียงดังเพียงใดก็ตาม[11]วันหนึ่งในสถานที่แห่งหนึ่งใกล้กับอิมาม, ขณะนั้นอิมามกำลังนมาซ เผอิญได้เกิดไฟไหม้ประชาชนต่างส่งเสียงดังไปทั่วและช่วยกันดับไฟ หลังจากอิมามนมาซเสร็จแล้ว มีผู้ไปบอกท่านอิมามว่าบริเวณใกล้อิมามไฟไหม้ ผู้คนส่งเสียงดังไปทั่วท่านไม่ได้ยินหรอกหรือ? อิมาม (อ.) กล่าวว่า : ไม่ ฉันไม่ได้ยิน เขาได้ถามว่าเป็นไปได้อย่างไร? ท่านอิมามกล่าวว่า : เพราะฉันกำลังดับไฟอีกอย่างหนึ่ง, ฉันกำลังดับไฟอีกโลกหนึ่ง[12]

ใช่แล้ว วัตถุประสงค์ของนมาซ, คือการที่จิตใจมีสมาธิสมบูรณ์ และได้พลีตัวตนของผู้นมาซ ในการแสดงความเคารพภักดี เพื่อความสำเร็จในการที่จะได้พบกับความจริงขั้นสูงสุด แต่สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่เพื่อจะไปถึงยังตำแหน่งดังกล่าว, จำเป็นต้องฝึกฝนและใช้ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวด ซึ่งถ้าระยะเวลาหนึ่งตนไม่รู้จักจัดการกับจิตใจตัวเอง,ก็จะไม่มีวันรู้จักรหัสของนมาซอย่างเด็ดขาด แต่โดยทั่วไปแล้ว,ผู้ปราชญ์ผู้อาวุโสได้อธิบายรหัสของนมาซไว้ 6 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ :

หนึ่ง.การตั้งจิตใจให้มั่น,กล่าวคือขณะนมาซจะต้องไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านคิดถึงสิ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น

สอง. ต้องทำความเข้าใจความหมายของคำอ่าน สิ่งที่กล่าว และตัสบีฮฺของนมาซ,ในลักษณะที่ว่าเมื่อปากได้กล่าวคำพูด ใจก็เข้าใจในความหมายไปพร้อมกัน

สาม .ยกย่องความยิ่งใหญ่, กล่าวคือขณะนมาซต้องยกย่องผู้ที่เราแสดงความเคารพ และเป้าหมายของผู้สร้างในอยู่ในความทรงจำเสมอ

สี่. แสดงความเกรงกลัว,กล่าวคือจงแสดงความเกรงกลัวในความยิ่งใหญ่ที่สุดของอัลลอฮฺ ซึ่งจะต้องไม่ปล่อยให้การอิบาดะฮฺนั้นมีความบกพร่อง

ห้า.มีความหวัง,ในฐานะอันมีเกียรติยิ่งแห่งการมีอยู่ของพระองค์ เพราะพระองค์คือผู้ทรงมีเกียรติเป็นที่สุด ซึ่งเป็นที่รับรู้เป็นอย่างดีสำหรับพวกเราถึงความเมตตาของพระองค์,แน่นอน พวกเราจะไม่ผิดหวังในความเมตตา และพระองค์จะทรงอภัยในความผิดของเรา

หก.มีความละอาย,กล่าวคือต้องเจียมตัวเองและอิบาดะฮฺของตนและสำนึกเสมอว่า สิ่งที่กำลังทำเล็กเพียงนิดเดียว ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ อิบาดะฮฺของตนคือการแสดงความอับอายที่สุด และตนต้องแสดงความเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยออกมา[13]

โอ้ ท่านที่รักทั้งหลาย, และนี่คือขั้นสุดท้ายของการจาริกจิต ของผู้แสวงการขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งปราศจากสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮฺ ประโยคอันจำเริญหนึ่งกล่าวว่า (เพียงเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมัสการและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ) ซึ่งเรามักกล่าวประโยคนี้ซ้ำอยู่เสมอ

โอ้ อัลลอฮฺ, แม้คำพรรณนาเสียงสรรเสริญที่กึกก้องเทียมท้องฟ้า ก็มิอาจพรรณนาถึงพระองค์ได้ สติปัญญาแม้จะโบยบินไปสู่ความสง่างามของพระองค์ แต่ก็มิอาจไปถึงได้, โอ้ อัลลอฮฺ ความเข้าใจเพียงน้อยนิดของพวกเรา เมื่อไหร่จะเข้าใจและรับรู้ถึงพระองค์ได้ มันสมองที่ชาญฉลาดของเรา เมื่อไหร่จะสามารถบรรจุความสง่างามของพระองค์เอาไว้ได้? โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้เราเป็นเช่นต้นไม้ที่ขึ้นชูช่อและกิ่งก้านอยู่ในสวน รากของมันได้ชยชอนไชเพื่อแสวงหาอาหาร ประกายแห่งความรักของพระองค์ได้จุดสว่างอยู่ในหัวใจของพวกเขา และความสง่างามของพระองค์ได้เติบโตอยู่ในความคิดของพวกเขาเสมอ พวกเขาอยู่ในเรือกสวนที่ใกล้ชิดกับพระองค์ ทุ่งหญ้าอันเขียวขจีได้ขึ้นบานพร้อมสะพรั่ง พวกเขาได้ดื่มด่ำความรักด้วยถ้วยแก้วแห่งพระเมตตาของพระองค์ บรรดาพวกที่ได้เลือกสถานที่พักพิงเป็นเพื่อนบ้านของท่าน เขาต่างได้ดื่มน้ำฝนแห่งเมตตาของพระองค์ และสวมใส่อาภรณ์อันเป็นความการุณย์ของพระองค์[14]

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า : “โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ข้าพระองค์ได้ลิ้มรสความหวานชื่นในการรำลึกถึงพระองค์”[15]

เนื่องจากพวกเรายังมิเคยได้รับความหวานชื่นอันนั้น.นมาซสำหรับเราจึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุด. ทั้งที่เรานมาซ แต่เรายังไม่เคยรู้สึกว่าได้รับรัศมีอันเจิดจรัสของนมาซแม้แต่นิดเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เรายังไม่เคยนมาซด้วยมารยาท ด้วยการรับรู้ และด้วยความรักที่มีต่อความเร้นลับของนมาซ[16]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ โดยรายงานมาจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า ท่านได้กล่าวว่า : ฉันรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับบุคคลที่ภายในบ้านของเขามีตาน้ำ และเขาได้ชำระล้างตนในตาน้ำนั้น วันหนึ่ง 5 ครั้ง แต่เขาก็ยังสกปรกเหมือนเดิม. เนื่องจากนมาซนั้นประหนึ่งตาน้ำที่ใสสะอาด ซึ่งมนุษย์จะชำระล้างตนเองในตาน้ำวันหนึ่ง 5 ครั้ง”[17]

นมาซคือ เกาซัร ซึ่งจะทำความสะอาดมนุษย์ให้สะอาดอยู่เสมอ แต่ถ้าเขายังไม่รู้สึกถึงความสะอาดนั้น พึงรู้ไว้เถิดว่า ตนยังมิได้นมาซที่แท้จริง เป็นไปได้ว่านมาซนั้นถูกต้องทุกประการ แต่ไม่เป็นทียอมรับ ณ อัลลอฮฺ, เนื่องจากนมาซที่ถูกยอมรับคือ นมาซที่ทำความสะอาดจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สะอาดหมดจด.เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์สามารถควบคุมจิตใจตนขณะนมาซให้มีสมาธิได้ เขาก็จะสามารถควบคุมสายตาและหูนอกเวลานมาซให้มีสมาธิได้เช่นกัน[18]

โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั้งหลาย, จงมอบเรือนร่างแก่โลก และหัวใจแก่เมาลา,เพื่อเราจะได้รู้จักพระองค์, และสาส์นของพระองค์จะได้ให้ความสงบมั่นแก่จิตใจ. เพื่อหัวใจของผู้มีความรักจะได้เข้ากันได้กับสาส์น และจะได้พบกับความจริง และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าระว่างจิตใจและเจ้าของจิตใจนั้นไม่มีม่านกีดขวาง จงพยายามขวนขวายเพื่อว่าในทุกภาวะกาลหัวใจของเราจะได้อยู่กับผู้ที่เรารัก มิใช่เร่ร่อนอยู่ตามตรอกซอกซอย หรือตามตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานมาซ เนื่องจาก “ผู้นมาซทุกคนในเวลานมาซเขาจะวิงวอน สารภาพ และเผยความในใจกับพระผู้อภิบาลของตน”[19]

สรุปสิ่งที่กล่าวมา นมาซ คือ : การพบปะกันระหว่างคนรัก, การปลีกเวลาเพื่ออยู่กับพระองค์, สิ้นสุดของการเดินทาง, ช่วงเวลาแห่งการสร้างความสัมพันธ์, การมีสมาธิ ณ เบื้องพระพักตร์ของจอมราชันย์แห่งโลกและจักรวาล, บางครั้งลิ้นได้สรรเสริญและพรรณนาถึงพระองค์, ช่วงเวลาแห่งการเปิดเผยความไร้สามารถ, การอนุญาตให้เข้าพบเพื่อสารภาพและแจ้งความต้องการ, เพื่อพบความเปล่งบานและความสง่างามของพระองค์, แบกความต้อยต่ำของตนไปยังความสงบมั่น, เป็นช่วงโอกาสทอง, การรำลึกถึงความสง่างามและความยิ่งใหญ่ของพระองค์, เนื่องจากเรามิได้ไปหาพระองค์ด้วยความวิสาสะ ทว่าเป็นการเชิญของพระองค์, เป็นการรักษามารยาทและสมาธิ, การเข้าไปใกล้เพื่อกระซิบกระซาบกับคนรัก, เป็นการแสดงให้เห็นถึงความดีและบ่าวที่เป็นกัลป์ญาณชน, ความเป็นกันเอง,การเอื้อนเอยพระนามอันไพรจิตของพระองค์ด้วยลิ้น, และ ....การจากคนรักด้วยความเศร้าสลดและสิ้นสุดเวลาเยี่ยมเพื่อเตรียมพบในโอกาสต่อไป, ได้กล่าวสลามแด่พระองค์เพื่อยืนยันการพบกันในครั้งต่อไป, ขณะที่ลิ้นได้เอ่ยนามอันจำเริญของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า,ด้วยหัวใจและด้วยชีวิต, ด้วยการรำลึกถึงพระองค์เราจึงดำรงชีวิตอยู่ต่อไป

ดังนั้น โอ้ ท่านผู้เป็นที่รักทั่งหลาย,การที่เราไม่รู้จักคนรัก,ไม่รู้จักพระลักษณะอันสง่างาม,การไม่มอบหัวใจแด่พระองค์,การไม่ได้ยินเสียงร้องเรียกของพระองค์, การนอนหลับ ความขี้เกลียด ความอิ่มแป้ และหัวใจที่มกมุ่นกับภารกิจทางโลก และการไม่อุทิศความสามารถเพื่อพระองค์, ฉะนั้น สภาพเช่นนี้เราจะเข้าพระองค์ได้อย่างไร? การไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า การไม่หวาดกลัว หรือจะรอจนหน้าเปลี่ยนสี และเท้าสั่นเทาเสียก่อน? ตราบที่ตนยังมกมุ่นอยู่ และเท้ายังก้าวเดินอยู่ภายนอก เมื่อไหร่เราจะประสบความสำเร็จได้พบพระองค์?

ต้องไม่ลืมว่าการเติบโตและความสำเร็จของเยาวชน ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของครอบครัว, ครอบครัวคือเคหสถาน คือสวนแห่งไม้พันธ์ที่ส่งกลิ่นหอมรัญจวน ถ้าหากบรรยากาศกลายเป็นความเศร้า,แล้วเราจะอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นได้อย่างไร



[1] ฟัยฎ์กาชานี,มุลลามุฮฺซิน,ดีวอน ชะเอร

[2] ชุญาอัต,ซัยยิดมะฮฺดี, ดัสต์ดุอาอฺจิชอุมีดมะนาญาตคอมซะตะ อะชะเราะ, มะนาญาตที่ 6, หน้า 81

[3] อัลกุรอาน บทฏอฮา โองการที่ 14

[4] อัลกุรอาน บทอัรเราะอฺดุ 28.

[5] อัลกุรอาน บทมะอาริจญ์, 19 - 23

[6] ญะวาดี ออมูลี,อับดุลลอฮฺ, ฮิกมะฮฺอิบาดะฮฺ, หน้า 95

[7] มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 1, หน้า 210, ฮะดีซที่ 636.

[8]ซับซะวารีย์, มุลลาฮาดี,อัสรอรุลฮะกัม,หน้า 528

[9] เฟฎ กาชานีย์, ดีวอนเชรอ์

[10] มักตัลฮุเซน (.) มุก็อรริม, หน้า 232.

[11] อันวารุลบะฮียะฮฺ, หน้า 49

[12] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 46,หน้า 78.

[13] มิกดาร เอซฟาฮาน, อะลี, เนะชอนอัซบีเนะชอนฮอ, เล่ม 1, หน้า 325.

[14] ชุญออัต, ดัสต์ ดุอาอฺ จิชอุมีด, มะนาญาตบทที่ 12.

[15] มะฟาตีฮุลญินาน,มะนาญาตบทที่ 15.

[16] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 105.

[17] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 199.

[18] ญะวาดี ออมูลี, ฮิกมัตอิบาดาต, หน้า 115, 116.

[19] ฮะซัน ซอเดะฮฺ ออมูลี, ตอซิยอเนะ ซุลูก, หน้า 12.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
    7150 เทววิทยาใหม่ 2554/03/08
    คำว่าความรู้นั้นมี 3 ความหมายกับ 2 นิยามกล่าวคือ :บางครั้งคำว่าอิลม์หมายถึงความรู้บางครั้งหมายถึงวิทยาการและบางครั้งก็หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกรู้แล้ว
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8352 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
    5779 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้ ...
  • ผลงานประพันธ์ของชะฮีดดัสท์เฆ้บน่าเชื่อถือหรือไม่?
    5897 تاريخ بزرگان 2554/07/03
    ชะฮีดอายะตุลลอฮ์ฮัจยีอับดุลฮุเซนดัสท์เฆ้บชีรอซีนับเป็นอุละมาระดับนักวินิจฉัย(มุจตะฮิด)ท่านหนึ่งซึ่งนอกจากจะมีวุฒิภาวะขั้นสูงแล้วท่านยังเป็นนักจาริกทางจิตวิญญาณที่หลุดพ้นจากบ่วงกิเลสอีกทั้งเชี่ยวชาญด้านวิชาฟิกเกาะฮ์เทววิทยาอิสลามจริยศาสตร์รหัสยนิยมอิสลามฯลฯงานประพันธ์ของท่านล้วนน่าเชื่อถือและทรงคุณค่าทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีผลงานของผู้ที่มิไช่มะอ์ศูม(ผู้ผ่องแผ้วจากบาป)ล้วนสามารถนำมาวิจารณ์ทางวิชาการได้ซึ่งผลงานของชะฮีดดัสท์เฆ้บก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ ...
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    6743 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10099 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11730 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    7913 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    8874 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6860 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59306 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41583 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38323 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33393 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27490 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27170 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27059 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25137 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...