การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6362
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10060 รหัสสำเนา 20976
คำถามอย่างย่อ
มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
คำถาม
กรุณาวิจารณ์สายรายงานฮะดีษต่อไปนี้: ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า ว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 20,231,232)
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงาน แต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือ ความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)เท่านั้น ที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิง ทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่าง แต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

มีฮะดีษปรากฏในบิฮารุลอันว้ารดังนี้:
بِإِسْنَادِ التَّمِیمِیِّ عَنِ الرِّضَا عَنْ آبَائِهِ ع قَالَ قَالَ النَّبِیُّ ص إِنَّ فَاطِمَةَ أَحْصَنَتْ فَرْجَهَا فَحَرَّمَ اللَّهُ ذُرِّیَّتَهَا عَلَى النَّار
ท่านนบี(..)กล่าวว่าอัลลอฮ์ทรงสมนาคุณความรักนวลสงวนตัวของฟาฏิมะฮ์ด้วยการบันดาลให้บุตรของเธอพ้นจากไฟนรก[1]

ฮะดีษดังกล่าวมีอยู่ในหนังสืออุยูน อัคบาริรริฏอ(.) ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงของบิฮารุลอันว้ารในลักษณะสายรายงานเดียวกันนี้[2]

ฮะดีษนี้ได้รับการรายงานโดยนักรายงานฮะดีษและตำรับตำรามากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ และมีการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาอย่างแพร่หลาย อันแสดงว่าไม่มีข้อโต้แย้งในแง่ความน่าเชื่อถือของตัวบทฮะดีษ[3]
นักเขียนชาวซุนหนี่ในศตวรรษที่สิบท่านหนึ่งกล่าวถึงฮะดีษบทนี้ว่า ข้อสรุปที่ถูกต้องก็คือ สายรายงานของฮะดีษนี้ค่อนข้างดี และดังที่ฉันอธิบายไว้อย่างละเอียดในหนังสืออีกเล่มหนึ่งว่า ไม่ถูกต้องนักหากจะถือว่าฮะดีษนี้ถูกกุขึ้น[4]

แต่ประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็คือ นัยยะของฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? จำกัดเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม หรือหมายรวมถึงลูกหลานทั้งหมดของท่านหญิง?
จากรายงานของฝ่ายชีอะฮ์ทำให้ทราบว่า มีลูกหลานนบีบางคนที่มองว่าฮะดีษนี้เปรียบเสมือนใบรับรองจากอัลลอฮ์ที่ว่า ความผิดทุกประการของพวกเขาจะได้รับอภัยโทษและจะไม่ถูกลงทัณฑ์ไม่ว่ากรณีใดๆ

บรรดาอิมาม(.)พยายามคัดค้านแนวคิดนี้ โดยถือว่าฮะดีษดังกล่าวไม่ควรเป็นเหตุให้บุคคลบางกลุ่มฉวยโอกาส ดังฮะดีษต่อไปนี้:
1. ฮะซัน บินมูซา เล่าว่าเขามีโอกาสเข้าพบอิมามริฎอ ซึ่งขณะนั้นมีเซด บิน มูซา น้องชายของท่านนั่งอยู่ด้วย เซดรวบรวมผู้คนมานั่งล้อมวงแล้วพยายามคุยโม้โอ้อวดว่าเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านอิมามริฎอ(.)ได้ยินคำพูดของน้อยชายจึงพูดขึ้นว่าฮะดีษที่ว่าไฟนรกจะไม่ประสบแก่บุตรของฟาฏิมะฮ์เนื่องจากการสงวนตนของนาง ทำให้เจ้าเหิมเกริมกระนั้นหรือ? ขอสาบานต่อพระองค์ กรอบความหมายของฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะอิมามฮะซัน(.) อิมามฮุเซน(.) และลูกๆในชั้นแรกของท่านหญิงเท่านั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่พ่อของเรา มูซา บิน ญะฟัร(.)ที่เคารพภักดีต่อพระองค์ด้วยการถือศีลอดยามกลางวันและอิบาดัตยามค่ำคืน จะมีสถานะเท่ากับเจ้าในวันกิยามะฮ์หากเจ้าทำบาปกรรม?! หากเป็นเช่นนั้นจริงแสดงว่าเจ้ามีสถานะสูงกว่าพ่อ (เพราะทั้งที่ทำบาป แต่มีสถานะเท่ากับผู้ที่เคารพภักดีอัลลอฮ์) อิมามซัยนุลอาบิดีนเคยกล่าวไว้ว่า ลูกหลานนบีที่ประพฤติดีจะได้ผลบุญสองเท่า แต่หากประพฤติชั่วจะถูกลงทัณฑ์สองเท่าเช่นกัน[5]
ฮะดีษคล้ายกันนี้ก็ปรากฏในตำราเล่มอื่นๆเช่นกัน[6]

2. ฮัมม้าด บิน อุษมานเล่าว่า ฉันได้ขอให้ท่านอิมามมูซา กาซิม(.)อธิบายฮะดีษนบีเกี่ยวกับการที่บุตรของฟาฏิมะฮ์จะรอดพ้นจากไฟนรก ท่านกล่าวว่า ฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของนาง ซึ่งก็คือท่านอิมามฮะซัน(.)และอิมามฮุเซน(.) ท่านหญิงซัยนับ และอุมมุกุลษูมเท่านั้น[7]

3. มีผู้ถามอิมามศอดิก(.)ว่า ฮะดีษนี้จะไม่ถือเป็นใบเบิกทางสำหรับลูกหลานท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ทุกคนดอกหรือ? ท่านตอบว่า เธอไม่รู้หรืออย่างไรว่า ฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะฮะซันและฮุเซนเท่าผู้เป็นส่วนหนึ่งของอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น แต่กรณีของคนอื่นๆจะต้องทราบว่า หากความประพฤติที่ไม่เหมาะสมได้ดึงบุคลิกภาพของเขาลงต่ำ  เลือดเนื้อเชื้อไขของผู้ประพฤติดีก็ยกระดับเขาไม่ได้[8]

อย่างไรก็ดี ยังมีฮะดีษบางบทที่อาจทำให้เข้าใจสวนทางกับที่อธิบายมา[9] แต่เมื่อคำนึงถึงหลักคำสอนของอิสลามและกุรอานแล้ว แม้บุคคลบางกลุ่มอาจได้รับเกียรติยศบางกรณี แต่การที่จะเชื่อว่าบุคคลเหล่านี้จะรอดพ้นการลงทัณฑ์แม้จะประพฤติชั่วนั้น ย่อมขัดต่อหลักคำสอนของศาสนา ส่วนเอกสิทธิ์การรอดพ้นไฟนรกที่บุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้รับนั้น ก็เนื่องมาจากวิสัยทัศน์ที่สูงส่งที่อัลลอฮ์ประทานให้บุตรของนางเป็นการสมนาคุณแก่ท่านหญิงที่ได้สงวนตนมาตลอด วิสัยทัศน์นี้เองที่ทำให้พวกเขาหลีกห่างจากการทำบาป



[1] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้ 20,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต,..1404

[2] เชคเศาะดู้ก,อุยูน อัคบาริร ริฎอ(.),เล่ม 2,หน้า 63,ฮะดีษที่ 264,สำนักพิมพ์ญะฮอน,เตหราน,..1378

[3] อิบนิชะฮ์รอชู้บ,มะนากิ๊บ อาลิอบีฏอลิบ,เล่ม 3,หน้า 325,สำนักพิมพ์อัลลามะฮ์,กุม,..1379 และ มักรีซี,ตะกียุดดีน,อัมตาอุ้ลอัสมาอ์,เล่ม 4,หน้า 196,เบรุต,ดารุลกุตุบิ้ลอิลมียะฮ์,..1420

[4] ศอลิฮี ชามี,สุบุลุ้ลฮุดา วัรเราะช้าด ฟี ซีเราะติค็อยริ้ลอิบ้าด,เล่ม 11,หน้ 50,ดารุลกุตุบิ้ลอิลมียะฮ์,เบรุต,..1414

[5] เชคเศาะดู้ก,อุยูน อัคบาริร ริฎอ(.),เล่ม 2,หน้า 232,ฮะดีษที่ 1

[6] อิรบิลี,อลี บิน อีซา,กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์,เล่ม 2,หน้า 310,หอสมุดบนีฮาชิมี,ตับรี้ซ,..1381

[7] เชคเศาะดู้ก,มะอานิ้ลอัคบ้าร,หน้า 106,ฮะดีษที่ 3,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์มุดัรริซีนกุม, (ฮะดีษก่อนหน้านี้ก็เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกัน)

[8] อิบนิ อบิ้ลฮะดี้ด,ชัรฮ์ นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 18,หน้า 252,หอสมุดอายะตุ้ลลอฮ์มัรอะชี,กุม,..1404

[9] รอวันดี้,กุฏบุดดีน,อัลเคาะรออิจ วัลญะรออิห์,เล่ม 1,หน้า 281,สถาบันอิมามมะฮ์ดี(.),กุม,..1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    5545 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7372 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8681 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6213 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11010 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7926 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    5863 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • ผมทำงานอยู่ในร้านค้าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเจ้าของร้านตัดสินใจไล่ผมออกจากงาน แต่ไม่ได้จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้ผม อนุญาตหรือไม่ที่จะหยิบฉวยของในร้านหรือทรัพย์สินของเขาทดแทนค่าจ้างที่เขายังไม่ได้จ่ายให้ผม ?
    5749 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
    คำถามของคุณได้ถูกส่งไปยังสำนักงานมัรญะอ์ตักลีดหลายท่านแล้วและได้คำตอบมาดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอี“การกระทำในลักษณะตอบโต้ลูกหนี้จะเป็นที่อนุมัติก็ต่อเมื่อลูกหนี้อ้างโดยมิชอบว่าตนไม่ได้เป็นหนี้หรือขัดขืนไม่ยอมจ่ายหนี้โดยไม่มีทางอื่นที่จะทวงหนี้ได้นอกจากวิธีนี้แต่หากนอกเหนือจากนี้แล้วการที่จะยึดและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมาซีซตานี“หากเขาเป็นหนี้เราและไม่ยอมจ่ายหนี้ในกรณีที่เขายอมรับว่าเขาเป็นหนี้เราสามารถชดเชยสิ่งนี้ด้วยการริบทรัพย์สินของเขาที่พบเห็น”ท่านอายาตุลลอฮ์อัลอุซมามะการิมชีรอซี“เราไม่ทราบถึงเรื่องส่วนตัวดังกล่าวแต่โดยทั่วไปแล้วหากผู้ใดลิดรอนสิทธิผู้อื่น
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6551 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59392 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38419 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...