การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8083
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1000 รหัสสำเนา 15032
คำถามอย่างย่อ
จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
คำถาม
จะเชื่อว่าพระเจ้ามีเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีสิ่งเลวร้ายพอๆกับสิ่งดีๆ อย่างเช่นมีสัตว์ที่สวยงามและสัตว์เดรัจฉาน หากมีคนเชื่อว่าโลกนี้มีพระเจ้าสององค์ พระเจ้าแห่งสิ่งดีๆและพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้าย เราจะตอบเขาว่าอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุด อีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใด ส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิต ประทานศักยภาพในการดำรงชีวิต และมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตา
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น มีเหตุผลเฉพาะที่หากเราได้รับรู้ ก็จะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มิได้ขัดกับความเมตตาของพระองค์แต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

หากจะพูดถึงความเมตตา ความห่วงใยและคุณลักษณะอื่นๆของใครสักคน จำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบคุณลักษณะดังกล่าวกับฐานะภาพของคนๆนั้นเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ความห่วงใยของเด็กสักคนที่มีต่อทารกแบเบาะนั้น แสดงออกได้เพียงเฝ้าระวังมิให้ทารกน้อยหยิบจับของมีคม หรืออย่างมากก็แค่ป้อนขนมให้เท่านั้น.
แต่ความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อทารกสามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย ทั้งดูแลในลักษณะยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอ เฝ้าระวังโรคภัยไข้เจ็บ บางครั้งก็ตัดสินใจฉีดวัคซีนขนานแรงให้ลูก ทั้งที่รู้ว่าจะทำให้ทารกน้อยเจ็บปวดและป่วยไข้แรมสัปดาห์ แต่เพราะรักและรู้ว่า หากลูกน้อยไม่ทนเจ็บในวันนี้ ก็ไม่สามารถจะเผชิญกับโรคร้ายที่อาจจะคร่าชีวิตลูกในวันข้างหน้าได้ ฉะนั้น เป็นที่ทราบดีว่าความเจ็บปวดที่จะทำให้รอดพ้นจากโรคร้ายในอนาคตได้นั้น บ่งชี้ว่าพ่อแม่มีเมตตาแก่ลูกน้อย ในขณะที่หากพ่อแม่ตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีนให้ลูกเพราะไม่อยากให้ลูกเจ็บ กรณีนี้พ่อแม่จะถูกประณามว่าเป็นช่างเป็นพ่อแม่ที่ใจร้ายเสียนี่กระไร

พึงทราบว่าความรักที่อัลลอฮ์มีต่อปวงบ่าวที่พระองค์มอบชีวิตให้นั้น มีมากกว่าความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกน้อยกลอยใจ อย่างไรก็ดี หากเราจำกัดชีวิตมนุษย์ไว้เพียงแค่ชีวิตในโลกนี้ ก็คงจะพูดได้ว่าเคราะห์กรรมบางอย่างอาจจะขัดต่อความเมตตาที่พระองค์มีต่อมนุษย์ แต่หากจะมองในมุมกว้างว่าชีวิตมนุษย์มิได้จำกัดเพียงแค่โลกนี้ แต่รวมระยะเวลาก่อนถือกำเนิด ช่วงชีวิตในโลกนี้ ช่วงชีวิตหลังความตาย และช่วงชีวิตในโลกหน้าไม่ว่าในสวรรค์หรือนรก เมื่อนำช่วงเวลาทั้งหมดมาพิจารณาเปรียบเทียบกับความเมตตาของพระองค์ ก็จะทำให้ทราบว่าเหตุดีหรือเหตุร้ายทั้งหมดในชีวิตล้วนเกิดจากความเมตตาของพระองค์ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ได้ตระเตรียมปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทไว้แล้ว และสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรักความเมตตาที่พระองค์มีต่อสิ่งมีชีวิตที่พระองค์ทรงสร้าง
นอกจากนี้ ด้วยการที่พระองค์ทรงมีพลานุภาพและความรู้อันไร้ขอบเขต กอปรกับการที่ไม่มีเหตุจูงใจใดๆให้พระองค์ต้องระงับความเมตตาแก่มนุษย์ เพราะพระองค์ไม่จำเป็นต้องระแวงการสูญเสียอำนาจ อีกทั้งความรู้ของพระองค์ก็ไม่มีขอบเขตจำกัดแต่อย่างใด จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าพระองค์จะตระหนี่ถี่เหนียว และระงับความเมตตาแก่มนุษย์ที่พระองค์มอบชีวิตให้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสร้างโลกนี้ให้มีระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพด้วยกับความรู้และความเมตตาอันล้นเหลือของพระองค์ ระบบอันเปี่ยมประสิทธิภาพนี้แหล่ะที่มีแต่สิ่งดีๆ และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเมตตาและความหวังดีตามสถานะของพระองค์

แง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่สามารถเนรมิตความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นระหว่างแม่และลูก ย่อมต้องมีความเมตตาในระดับที่สมบูรณ์กว่าอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะหลักอภิปรัชญาหนึ่งสอนไว้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้มอบความดีงามแก่ผู้อื่น จะปราศจากความดีงามนั้นเสียเอง[1]
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีดนาทาเร้น อุปสรรคและความยากลำบากประเภทต่างๆ ความเจ็บป่วยและความตาย ฯลฯ จะพบว่าสิ่งเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองประเภท:
1.
เหตุร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์บางจำพวก อาทิเช่น การรีดนาทาเร้น อาชญากรรม การจารกรรม ฯลฯ
2. เหตุร้ายที่เกิดจากภัยทางธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว โรคระบาด ฝนแล้ง ฯลฯ
เกี่ยวกับกรณีแรก ต้องคำนึงว่าในเมื่ออัลลอฮ์สร้างมนุษย์ให้มีอิสระในการเลือกระหว่างดีและชั่ว หากมนุษย์บางกลุ่มเลือกที่จะรักชั่ว ก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียในภาคสังคม แน่นอนว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ โดยความเลวร้ายกรณีดังกล่าวเกิดจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ ดังที่กุรอานกล่าวว่าความเสื่อมเสียปรากฏขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำเนื่องจากความประพฤติของมนุษย์เอง[2] อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีวันแห่งการพิพากษาเพื่อชำระสะสางการกระทำของมนุษย์ แน่นอนว่าความทุกข์ยากอันเกิดจากการกดขี่เหล่านี้ย่อมจะได้รับการชดเชย

ส่วนกรณีที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้น มีข้อคิดสำคัญดังต่อไปนี้:
1.
โลกนี้เป็นสนามทดสอบเพื่อจะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติโดดเด่น โดยที่ทั้งความราบรื่นและความขมขื่น ความมั่งคั่งและความยากจน ความสนุกและความโศกเศร้า ล้วนเป็นเครื่องทดสอบเพื่อคัดแยกคนดีออกจากคนชั่วทั้งสิ้น หากจะพิจารณาถึงผลตอบแทนอันมากมายมหาศาลที่ผู้อดทนจะได้รับแล้วล่ะก็ เราจะเห็นว่าความทุกข์ยากทั้งหมดเป็นภาพสะท้อนของความเมตตาของพระองค์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากยิ่งประสบความทุกข์ยากเพียงใด ผลตอบแทนในวันกิยามะฮ์ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวในหลายโองการด้วยกัน อาทิเช่นแน่แท้ เราจะทดสอบสูเจ้าด้วยความกลัว ความหิวกระหาย การสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตและผลผลิต และจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้อดทน[3]
2. ความทุกข์ยากในโลกนี้จะอบรมบ่มเพาะ และปลุกจิตสำนึกบุคคลหรือสังคมให้เกิดความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น[4] ทั้งนี้ก็เพราะความทุกข์ยากและอุปสรรคต่างๆล้วนสอดคล้องกับเป้าหมายของการสร้างโลกนี้ และหาได้ขัดต่อความเมตตาของพระองค์ ที่ต้องการจะเห็นมนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนไม่
3. อุปสรรคบางอย่างช่วยพัฒนาจิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้จากการที่บุคคลที่เติบโตท่ามกลางความยากจนและความลำบาก มักจะมีบทบาทในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่โลกต้องจารึกเสมอ
4. หากไม่นำความสวยงามมาเทียบกับความน่ารังเกียจแล้ว ทั้งความสวยงามและความน่ารังเกียจก็จะไม่เป็นที่ประจักษ์แก่มนุษย์ เนื่องจากหากทุกสิ่งสวยงามหมดจด ความสวยงามก็จะไร้ค่า จึงกล่าวได้ว่าแรงดึงดูดของสิ่งสวยงามมักต้องพึ่งพาแรงผลักไสของสิ่งน่ารังเกียจเสมอ[5]
5. สิ่งเลวร้ายมักจะตามมาด้วยสิ่งดีๆเสมอ เนื่องจากความสุขมักจะผุดขึ้นใจกลางความทุกข์ลำเค็ญ ดังที่อุปสรรคชีวิตก็มักจะปรากฏขึ้นท่ามกลางความสุขเสมอ และนี่ก็คือธรรมชาติของโลก[6]
เมื่อนำข้อคิดเหล่านี้มาพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่า สิ่งที่เราเคยเรียกว่าสิ่งเลวร้ายอัปมงคลนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางสู่ความสุขอันประเมินค่ามิได้ทั้งสิ้น

กรณีคำถามส่วนที่สองที่เกี่ยวกับพระเจ้าแห่งสิ่งชั่วร้ายนั้น ต้องทราบว่าสิ่งเลวร้ายมิไช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้น ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่นความพิการ ซึ่งมิได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเอกเทศ แต่เป็นสภาวะที่เกิดจากการสูญเสียอวัยวะ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจะเชื่อเรื่องสองพระเจ้า หรือเชื่อว่าโลกนี้มีต้นกำเนิดสองขั้วได้ ทั้งนี้ก็เพราะการมีอยู่ของสิ่งต่างๆไม่อาจจะจำแนกออกเป็นสองส่วนได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีต้นกำเนิดสองขั้ว[7] และการมีอยู่นั้น โดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งดี ส่วนความว่างเปล่าโดยตัวของมันเองถือเป็นสิ่งเลวร้าย แน่นอนว่าสิ่งที่มีอยู่เท่านั้นที่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง เนื่องจากความว่างเปล่าไม่จำเป็นต้องมีผู้สร้าง
สรุปคือ โลกนี้มีผู้สร้างเพียงองค์เดียวเท่านั้น.



[1] บิดายะตุ้ลฮิกมะฮ์,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,หน้า 269. “معطی الکمال غیر فاقد

[2] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 41ظهر الفساد فی البر و البحر بما کسبت ایدی الناس

[3] อัลบะเกาะเราะฮ์, 155. แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี,

 و لنبلونکم بشیء من الخوف و الجوع و نقص من الاموال و الانفس و الثمرات و بشر الصابرین

[4] ความยุติธรรมของพระเจ้า,หน้า 156.

[5] อ้างแล้ว,หน้า 143.

[6] อ้างแล้ว,หน้า 149.

[7] ดู: อ้างแล้ว,หน้า 135.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    9647 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    6743 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5587 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    4959 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7687 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56144 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • ในกรณีที่เป็นไปได้โปรดอธิบายถึงรายชื่อของสตรีที่เป็นนายหญิงแห่งโลก และนักวิชาการแห่งศตวรรษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?
    6501 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    รายชื่อของสตรีบางคนในโลกนี้,ฟะกีฮฺ, มุฮัดดิซ, นักปรัชญา, และ ....นับตั้งแต่ศตวรรษในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น 1.ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) น้องสาวของท่านอิมามริฎอ (อ.) 2.ท่านอุมมุ กุลษูม โรฆันนี,แกซวีนียฺ เป็นมุจญฺตะฮิด และมุฮัดดิษ 3.เคาะดิญะฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,เป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยาเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นนักท่องจำ และเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน อีกด้วย 4.นักกิซ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,ป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยา ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงคำ โครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวลี ตรรกวิทยา ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5497 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    5922 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12195 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    58757 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56144 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41123 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37970 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37517 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33014 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27151 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26735 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26614 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24679 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...