การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8319
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1151 รหัสสำเนา 15746
คำถามอย่างย่อ
อิสลามมีบทบัญญัติอย่างไรเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง?
คำถาม
มีมัรญะอ์ท่านใดที่ฟัตวาอนุญาตให้โคลนนิ่ง อิสลามมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
คำตอบโดยสังเขป

การโคลนนิ่ง โดยเฉพาะการโคลนนิ่งมนุษย์ ถือเป็นประเด็นปัญหาใหม่ จึงไม่อาจจะพบโองการกุรอานหรือฮะดีษที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง อย่างไรก็ดี ผู้รู้และนักวิชาการชีอะฮ์ได้ใช้กระบวนการวินิจฉัยหลักฐานจากกุรอานและฮะดีษ ทำให้สามารถแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามทัศนะด้วยกัน
. มัรญะอ์บางท่านถือว่าหากไม่มีตัวแปรอื่นใด อนุมัติให้กระทำได้
. บางท่านอนุญาตในวงแคบ และตามเงื่อนไขที่จำกัด
. บางท่านถือว่ากระบวนการโคลนนิ่งเป็นฮะรอมโดยสิ้นเชิง

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อความกระจ่าง เราจะขอเกริ่นด้วยข้อมูลเบื้องต้นพอสังเขป
. กระบวนการโคลนนิ่ง: มีลำดับขั้นตอนต่างๆดังนี้
1. ดูดไข่ออกมาจากรังไข่
2. ดูดนิวเคลียสออกจากไข่ เพื่อใช้เป็นไซโตพลาสผู้รับ (ไข่ที่ปราศจากนิวเคลียสจะสูญเสียโครโมโซมทั้ง23ชนิดไป ซึ่งทำให้สูญเสียลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ยังมีเหลืออยู่บ้าง)
3. คัดเลือกเซลล์ร่างกายเพื่อเป็นเซลล์ต้นแบบ จากนั้นฉีดเข้าไปในไซโตพลาสผู้รับ(ไข่ที่ปราศจากนิวเคลียส) ทำให้ไข่มีโครโมโซมที่จำเป็น(46ชนิด)อย่างครบถ้วน
4.
กระตุ้นไข่ด้วยไฟฟ้าหรือสารเคมี เพื่อเชื่อมต่อไข่กับเซลล์และกระตุ้นการแบ่งเซลล์
5. หลังจากที่เซลล์แบ่งตัวตามต้องการแล้ว ย้ายตัวอ่อนไปฝากในครรภ์ผู้รับ
6. หลังจากระยะที่กำหนด ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตและคลอดออกมา ทารกที่เกิดจะคล้ายกับผู้ให้เซลล์ร่างกายถึง 97% (ยกเว้นอิทธิพลเล็กน้อยของดีเอ็นเอที่มีอยู่ในไมโตคอนเดรีย) และทารกจะมีเพศตรงกับผู้ให้เซลล์.[1]

. ประเภทการโคลนนิ่ง:
1.
โคลนนิ่งระหว่างสัตว์ ไม่ว่าจะสายพันธ์เดียวกันหรือไม่
2. ระหว่างพืชและสัตว์
3. ระหว่างสัตว์และมนุษย์
4. ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งมีหลายกรณี เช่น เป็นสามีภรรยากันหรือไม่ เจ้าของครรภ์สมรสแล้วหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งแต่ละกรณีก็มีบทบัญญัติศาสนาที่แตกต่างกัน[2]

ประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ผลกระทบต่างๆที่อาจจะเกิดจากการโคลนนิ่งมนุษย์ อาทิเช่น
1. ทำให้เชื้อสายมนุษย์คละกัน
2. ทำให้สับสนเกี่ยวกับสถานะในครอบครัว
3. ขาดผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ปกครอง
4. ทำให้สับสนในการแบ่งมรดกและค่าเลี้ยงดู
5. อาจทำให้มีทารกพิการ
6. อาจทำให้ทารกป่วยเป็นโรคแปลกประหลาด
7, ขัดต่อหลักความแตกต่างของบุคคล
8. ลดอัตราการแต่งงานและทำลายสถาบันครอบครัว
9. ทำลายสถานภาพความเป็นแม่
10. อาจส่งผลให้ผิดประเวณี
11. อาจส่งผลให้รักร่วมเพศระบาด
12. อาจตกเป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรม และข้อกังวลทางศาสนาอื่นๆ[3]

ผลกระทบเหล่านี้สร้างความลำบากใจแก่แวดวงนักการศาสนาของคริสเตียนและพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อย่างยิ่ง กระทั่งขนานนามว่าเป็นปัญหาแห่งศตวรรษ พระสันตปาปาได้ออกแถลงการณ์ห้ามโคลนนิ่งเนื่องจากขัดต่อเกียรติของมนุษย์ ส่วนพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ก็จัดประชุมระดมความคิดกว่าสิบครั้ง ซึ่งมติที่ประชุมเกือบจะเอกฉันท์เห็นว่าเป็นฮะรอม[4] มีเพียงดร.มะห์รู้ส นักวิชาการมัซฮับฮะนะฟีจากอิรักเท่านั้นที่ถือว่าอนุมัติ [5]

ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์บางท่านได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยไม่ถือว่าผลกระทบข้างต้นจะทำให้กระบวนการโคลนนิ่งกลายเป็นฮะรอม[6]
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สามารถจำแนกทัศนะของมัรญะอ์ชีอะฮ์ได้ดังนี้
1. อนุญาต(หากไม่มีตัวแปรอื่น) 2. อนุญาตในวงจำกัด 3. ฮะรอมโดยสิ้นเชิง[7]

1. อนุญาต(หากไม่มีตัวแปรอื่น)
มัรญะอ์บางท่านถือเหตุผลที่ว่า ในเมื่อไม่มีหลักฐานศาสนาใดๆที่ระบุว่าห้ามโคลนนิ่งมนุษย์ จึงอาศัยกฏแห่งฮิ้ลล์”(ทุกสิ่งเป็นที่อนุมัตินอกจากจะมีคำสั่งห้าม) และกฏแห่งอิบาฮะฮ์ในการวินิจฉัยอนุมัติ
บรรดาผู้รู้เช่น อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ซีสตานี, มูซาวี อัรดะบีลี, ฟาฎิ้ล ลังกะรอนี, ฟัฎลุลลอฮ์, มุฮัมมัด มุอ์มิน ฯลฯ ได้ตอบข้อซักถามที่ว่าการให้กำเนิดมนุษย์ในห้องทดลองด้วยกรรมวิธีโคลนนิ่งอันทันสมัย เป็นที่อนุมัติหรือไม่?” โดยตอบว่าโดยตัวของมันเองไม่มีปัญหาอะไร[8]
ผู้รู้บางท่าน[9]นอกจากจะตอบว่าอนุมัติแล้ว ยังชี้แจงถึงเหตุผลที่ทำให้ผู้อื่นฟัตวาห้ามอีกด้วย[10]
แต่ผู้รู้บางส่วนก็เห็นว่า ในกรณีที่การโคลนนิ่งจะบังเกิดผลเสียที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ก็ให้ถือว่าเป็นฮะรอมในลักษณะซานะวีย์ (ฮะรอมเนื่องจากตัวแปร) อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ซัยยิด กาซิม ฮาอิรี และ อายะตุ้ลลอฮ์ฯ มะการิม ชีรอซี ถือทัศนะนี้[11]

2. อนุญาตในวงจำกัด
บางท่านถือว่าการโคลนนิ่งเป็นที่อนุมัติในเบื้องต้นตามหลักฐานและหลักการในภาพรวม แต่ก็เชื่อว่าการโคลนนิ่งในวงกว้างจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ซึ่งเชคฮะซัน ญะวาฮิรี ถือตามทัศนะนี้ ไม่เพียงแต่ท่านจะถือว่าการโคลนนิ่งในระดับปัจเจกบุคคลเป็นที่อนุมัติ แต่ยังได้ฟัตวาห้ามผู้ใดกล่าวอ้างว่าการโคลนนิ่งเป็นฮะรอมอีกด้วย เนื่องจากท่านเชื่อว่าเป็นการวินิจฉัยที่ไร้เหตุผลรองรับ[12]

3. ฮะรอมโดยสิ้นเชิง
ผู้ที่ถือตามทัศนะนี้มี อายะตุ้ลลอฮ์ฯ ตั้บรีซี และ อัลลามะฮ์ มุฮัมมัดมะฮ์ดี ชัมซุดดีน ชาวเลบานอน ซึ่งไม่เพียงแต่ห้ามการโคลนนิ่งมนุษย์ แต่ยังห้ามรวมไปถึงการโคลนนิ่งสัตว์ด้วย[13]



[1] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 6

[2] อัลอิสตินซ้าค บัยนัตตักนียะฮ์ วัตตัชรี้อ์, ซัยยิดอลี มูซา ซับซะวอรี,หน้า 43

[3] คัดจากนิตยสารอุฟุกเฮาซะฮ์, และ การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์

[4] อ้างแล้ว

[5] อ้างแล้ว

[6] ดู: การโคลนนิ่งมนุษย์และชุดฟัตวาการแพทย์,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮะกีม

[7] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 32

[8] อ้างแล้ว

[9] อายะตุ้ลลอฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด สะอี้ด ฮะกีม

[10] เจาะลึกฟิกเกาะฮ์: การโคลนนิ่งมนุษย์จากมุมมองผู้รู้ชีอะฮ์,สำนักงานกิจการเผยแพร่อิสลาม,หน้า 32

[11] อ้างแล้ว

[12] อ้างแล้ว

[13] อ้างแล้ว

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จริงหรือไม่ที่ทุกคนมีญินเป็นคู่กำเนิด?
    13734 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    มีฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคู่กำเนิดบางบทระบุว่าอัลลอฮ์ทรงมีดำรัสแก่อิบลีสว่า “ข้าจะไม่ประทานบุตรแก่มนุษย์คนใดเว้นแต่จะประทานบุตรแก่เจ้าเช่นกัน” ฉะนั้นมนุษย์แต่ละคนย่อมมีคู่กำเนิดเป็นญิน[1]ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวว่า “พูดได้ว่าทุกคนต่างก็มีคู่กำเนิดเป็นญินด้วยกันทั้งสิ้น” สาวกถามว่าโอ้ศาสนทูตของพระองค์ท่านเองก็มีญินคู่กำเนิดด้วยหรือ? ท่านตอบว่า “มีสิแต่พระองค์ทรงทำให้เขายอมสยบต่อฉันโดยที่เขาไม่ทำอะไรนอกจากกำชับให้ทำความดี”[2]จากฮะดีษข้างต้นท่านนบี(ซ.ล.)ต้องการจะกำชับให้เราป้องกันและระวังภัยจากญินคู่กำเนิดที่จะล่อลวงเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดเราดังนั้นเมื่อคำนึงถึงการที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งศาสดาเพื่อชี้นำมนุษยชาติและอีกด้านหนึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าชัยฏอนและพงศ์พันธุ์ของมันจ้องจะหลอกลวงให้มนุษย์หลงทางตลอดเวลาแน่นอนว่าบุคคลที่หลงลืมอัลลอฮ์เท่านั้นที่ชัยฏอนจะสามารถกุมบังเหียนได้ดังที่พระองค์ทรงตรัสในกุรอานว่า “และผู้ใดที่เพิกเฉยต่อการรำลึกถึงเราเราจะส่งชัยฏอนยังเขาเพื่อให้เป็นคู่สหาย”[3][1]มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8359 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7372 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    14709 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    17835 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7388 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8152 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • ความเชื่อคืออะไร
    17282 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41674 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25209 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...