การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6177
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa12294 รหัสสำเนา 21187
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
คำถาม
ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด? คุฏบะฮ์นี้เป็นที่รู้จักกันในนามใด?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามอลี(.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สาม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามคุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์
คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์ และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าว อีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่าน ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์ และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าว แล้วจึงกล่าวถึงการที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่าน

ในคุฏบะฮ์นี้ ท่านกล่าวไว้ว่าขอสาบานต่อพระองค์ เขา(อบูบักร)ได้สวมตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ประหนึ่งผ้าคลุม ทั้งที่เขาทราบดีว่าฉันมีสถานะต่อตำแหน่งดังกล่าวประหนึ่งแกนของหินโม่แป้ง (ซึ่งไม่สามารถหมุนได้โดยปราศจากแกน) (เขาทราบดีว่า) กระแสน้ำอันเชี่ยวกรากและตาน้ำ (แห่งวิทยปัญญา) ไหลเชี่ยวมาจากขุนเขาแห่งฉัน โดยที่วิหก(แห่งวิสัยทัศน์) มิอาจเหิรบินถึงความคิดของฉัน ทว่าฉันปล่อยผ้าคลุมดังกล่าวและถอยห่างจากมัน โดยครุ่นคิดว่าจะลุกขึ้นยืนด้วยมือเปล่า (ปราศจากผู้ช่วยเหลือเพื่อทวงสิทธิอันชอบธรรมแก่ประชาชน) หรือจะอดทนต่อสภาพแวดล้อมอันมืดมน สภาพแวดล้อมที่ทำให้คนชราอ่อนเปลี้ย และทำให้เด็กหนุ่มแก่ชรา ผู้ศรัทธาจะต้องทนทุกข์ทรมานจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ (ในที่สุด)ฉันจึงเห็นว่าการอดทนสอดคล้องกับปัญญามากกว่า จึงได้อดทนทั้งที่เสมือนมีหนามทิ่มตา และมีเศษกระดูกขวางคอ เห็นต่อหน้าต่อตาว่ามรดกถูกชิงไป กระทั่งรายแรกจากไป เขาได้ฝากฝังไว้ให้อีกราย ( จุดนี้ ท่านได้ยกบทกวีของอะอ์ชาที่มีเนื้อหาว่า) กาลเวลาของฉันกับการเวลาของเขาหาเสมอเหมือนกันไม่

น่าฉงนใจยิ่ง เขาซึ่งพร่ำขอโทษขอโพยประชาชนต่อความผิดพลาดต่างๆ (ทั้งที่ยังมีคนอย่างฉันอยู่) และพยายามปลีกตนจากตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ ทว่าก่อนตายได้มอบตำแหน่งดังกล่าวแก่ผู้อื่นเสมือนยกเจ้าสาวให้ เขาสองคนสลับกันเชยชมมัน เขาได้ส่งมอบมันแก่อู่แห่งความกระด้างและการขอโทษขอโพย จ้าวแห่งคิลาฟะฮ์เสมือนอูฐพยศ ที่หากดึงแรงก็จะทำให้บังเหียนขาด และหากปล่อยไปก็จะดิ่งสู่ก้นเหว

ขอสาบานว่าประชาชนประสบกับความทุกข์ระทมอย่างประหลาด ฉันเองก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการอดทนต่อช่วงเวลาแห่งความทุกข์ขื่นอันยาวนาน ในที่สุดวันเวลาของเขาก็ผ่านไป โดยได้ฝากฝัง(ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์)ไว้กับที่ประชุม เขาคิดว่าฉันมีสถานะเท่าเทียมพวกนั้น ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากที่ประชุมดังกล่าว ถูกไหมที่จะเปรียบฉันกับคนแรกของพวกเขา ที่บัดนี้จะนำฉันไปเปรียบกับคณะบุคคลเหล่านี้ (สมาชิกที่ประชุมชูรอ) แต่ฉันก็จำต้องยอมประสานและเข้าร่วมกับพวกเขา (เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์โดยรวมของมุสลิม) บางคนตีห่างจากฉันด้วยความพยาบาท บางคนยกเครือญาติมาก่อน (สัจธรรม) และมีจุดประสงค์บางประการที่ฉันไม่ประสงค์จะกล่าวถึง ในที่สุดคนที่สามก็ยืนขึ้น เขาเปรียบดังอูฐที่มุ่งแต่จะกินอาหารในคอก ญาติฝ่ายพ่อของเขาให้การสนับสนุนเขา คนเหล่านี้สวาปามทรัพย์สินของอัลลอฮ์เปรียบเสมือนอูฐหิวโซรุมสวาปามหญ้าอ่อนในฤดูใบไม้ผลิ แต่ในที่สุด สิ่งที่ขวนขวายมา (เพื่อเสริมฐานอำนาจ) ก็สูญสลายไป พฤติกรรมของเขาได้ปลิดชีพเขาเอง และการมุ่งสวาปามได้ทำลายเขาชั่วนิรันดร์

ทันใดนั้น ฝูงชนเบียดเสียดกันเสมือนขนแผงคอของหมาไฮยีน่ากดดันให้ฉันรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ พวกเขารุมล้อมฉันจากทุกทาง ฮะซันและฮุเซนเกือบจะถูกเหยียบ เบียดสีข้างของฉันจนผ้าคลุมขาดวิ่น ฝูงชนแห่แหนเข้าล้อมฉันเสมือนฝูงแกะ (ที่หนีหมาป่าเข้ามาเบียดเสียดกัน) แต่เมื่อฉันลุกขึ้นจับบังเหียนแห่งคิลาฟะฮ์...”[1]

 



[1] มะการิม ชีรอซี, นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ฉบับแปลพร้อมกับคำอธิบาย, เล่ม 1,หน้า 65-66,สำนักพิมพ์ฮะดัฟ,พิมพ์ครั้งแรก,กุม

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...