การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8057
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1420 รหัสสำเนา 18997
คำถามอย่างย่อ
การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
คำถาม
เนื่องจากการคลุมศีรษะไม่เรียบร้อยของบางจังหวัด เช่น เตหะรานเป็นต้น ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นชัวโมงไปจนถึงช่วงสุดท้ายของวัน เราต้องทำงานร่วมกับสตรีที่คลุมศีรไม่เรียบร้อยจำนวนมาก แล้วเช่นนี้จะถือว่าเป็นบาปด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป
คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮฺ ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานเกี่ยวกับการมองนามะฮฺรัมว่า :

«قل للمؤمنین یغضوا من ابصارهم»،

"จงบอกแก่บรรดาบุรุษผู้มีศรัทธา ให้พวกเขาลดสายตาของพวกเขาลงต่ำ"[1]

«و قل للمؤمنات یغضضن من ابصارهن»

"และจงบอกแก่บรรดาสตรีผู้มีศรัทธา ให้พวกนางลดสายตาของพวกนางลงต่ำ"[2]

ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า "การมองนามะฮฺรัม, เสมือนลูกศรอาบยาพิษของชัยฏอน และตั้งกี่มากน้อยแล้วการมองเพียงครั้งเดียว แต่ต้องเสียใจนานไปตลอดชีวิต[3]

การมองที่ฮะรอมตามหลักการอิสลามได้แก่ : ผู้ชายได้มองไปตามเรื่อนร่างหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม (นอกจากใบหน้า และฝ่ามือทั้งสองจนถึงข้อมือ), ไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาราคะหรือไม่ก็ตาม, เช่นกันถ้ามองใบหน้า มือทั้งสอโดยมีเจตนาในทางตัณหาราคะ หรือกลัวว่าจะนำไปสู่ฮะรอม ถือว่าฮะรอมเช่นกัน, ในทางกลับกันหญิงที่มองชายนามะฮฺรัม (ยกเว้นในหน้า,คอ มือสองข้าง และขาบางส่วน)[4] บางครั้งมีเจตนาในแง่ตัณหาราคะ หรือไม่มีก็ตาม ทำนองเดียวกันประเด็นที่ได้กล่าวถึงนี้ ถ้าหากมีเจตนาเพื่อตัณหาหรือกลัวว่าจะนำไปสู่ฮะรอม

สำหรับความชัดเจนในประเด็นนี้ จึงขอนำเสนอประเภทของการมองที่ไม่อนุญาตและฮะรอม ประกอบด้วย :

การมองที่ฮะรอมประกอบด้วย: 

1. การมองใบหน้าหญิงที่เสริมสวยแล้ว

 2. การมองไปที่เครื่องประดับของเธอ 

3. การมองภาพถ่ายของหญิงที่รู้จักซึ่งไม่ได้คุมศีรษะ

4.การมองด้วยความกลัว (กลัวว่าจะนำไปสู่ฮะรอม)

5.การมองร่างกายของชายที่เป็นนามะฮฺรัม (ยกเว้นใบหน้าและมือทั้งสอง) แต่ปัญหานี้ระหว่างมัรญิอฺตักลีดมีความเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งกล่าวไปแล้วในเชิงอรรถที่ 4

6. การมองทั่วร่างกายหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม (ยกเว้นใบหน้าและมือทั้งสองจนถึงข้อมือ)

7.การมองด้วยความปรารถนาในเชิงราคะ (แม้ว่าจะมองใบหน้า มือทั้งสอง เท้า และร่างกายของเพศเดียวกันก็ตาม)[5]

การพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้เพื่อประกอบความชัดเจนเรื่องการมอง ถือว่าสำคัญยิ่ง

คำถามที่ 1 : บุคคลหนึ่งมีเจตนาแต่งงาน, ดังนั้น เขามีสิทธิมองใบหน้าและผมของหญิงทั่วไปตามถนนหรือไม่ โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ เพื่อเลื่อกคนใดคนหนึ่งหลังจากพอใจแล้วจะได้ไปสู่ขอ?

คำตอบ : มัรญิอฺทั้งหมด : มีทัศนะตรงกันว่าการมองลักษณะนี้ถือว่าไม่อนุญาต[6]

หมายเหตุ : การมองเรือนร่างของสตรี,โดยมีเจตนาเพื่อแต่งงานกับเธอมีเงื่อนไขในการมอง แต่จะยังไม่กล่าวในที่นี้

คำถามที่ 2 : การมองไปที่รูปทรงโค้งเว้าของร่างกายหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม (เช่น อก ก้น หรือด้านหลัง) มองไปบนเสื้อ หรือผ้าคลุม ถือว่าอนุญาตหรือไม่?

คำตอบ : มัรญิอฺทั้งหมด : กล่าวว่าถ้ามีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ หรือเกรงว่าจะเป็นบาปแล้วละก็ การมองลักษณะนี้ไม่อนุญาต[7]

เมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยข้างต้นแล้วเข้าใจได้ว่า แม้ว่าจะมีเจตนาเพื่อแต่งงาน และไม่ได้มองด้วยความเสน่หาราคะ ก็ไม่อนุญาตให้มองใบหน้าและผมของหญิงตามถนนหนทาง และไม่อนุญาตให้มองรูปทรงส่วนโค้งเว้าของหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม (เช่น อก ก้น หรือด้านหลัง),แม้จะมองผ่านเสื้อผ้าหรือเสื้อคลุมยาวก็ตาม, การมองด้วยความเสน่หาราคะ หรือมีเจตนาเพื่อสนองตัญหาไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่อนุญาตให้มอง หรือไม่อนุญาตให้มองก็ตาม ถือว่าฮะรอมทั้งสิ้น.

แต่บนเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ตามท้องถนน หรือสถานที่ทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องพบเจอกับเพศตรงข้าม และหรือหญิงมีฮิญาบไม่เรียบร้อย ตามหลักการอิสลามแล้วการมองผ่านทั่วไปไม่ถือว่าเป็นบาป, แต่ถ้ามองจนเหลียวหลังหรือจนกระทั่งลับสายตาถือว่า เป็นบาป

ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่าแม้ว่าในความเป็นไปได้ของการมอง หรือไม่มีความจำเป็นต้องมอง เช่น ขณะเดินกลับบ้าน หรือขณะข้ามถนนหนทาง ซึ่งการมองเหล่านี้เป็นพื้นฐานนำไปสู่ฮะรอมแล้วละก็ ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงการมองนั้นเสีย



[1] อัลกุรอาน นูร, 30.

[2] อัลกุรอาน นูร, 31.

[3] บิฮารุลอันวาร เล่ม 101, หน้า 40

[4] ประเด็นนี้ระหว่างมัรญิอฺตักลีดมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน, ดังนั้น โปรดศึกษาจากคำถามและคำวินิจฉัน ด้านล่างนี้

คำถาม : กฎการมองของหญิงไปต้นแขนของฝ่ายชายนามะฮฺรัมเป็นอย่างไรบ้าง?

อิมาม, คอเมเนอี, ซอฟีย์ : ไม่อนุญาต

บะฮฺญัติ : อิฮฺติยาฏวาญิบไม่อนุญาต

ตับรีซียฺ, ซิตตานียฺ, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ, มะการิม, นูรีย และวะฮีด : ถ้าหากไม่มีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ หรือไม่ได้เกรงว่าจะเป็นบาปกรรม ไม่เป็นไร, (ริซาละฮฺ ดดนิชญู, กฎการมอง, หน้า 202)

[5] ริซาละฮฺ ดดนิชญู, กฎการมอง, หน้า 197

[6] มะการิม, ตะอฺลีกอต อะลัลอุรวะฮฺ, ข้อที่ 26, อิสติฟตาอาต, เล่ม 1, คำถามที่ 816, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ, ตะอฺลีกอต อะลัลอุรวะฮฺ, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อ 26, ซอฟียฺ, ฮิดายะตุลอบาด, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อ 28, อิมาม, ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อ 28, ซิตตานียฺ, มินฮาจ อัซซอลิฮีน, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อ 28, ตับรีซียฺ, ซิรอฏุน นิญอต, เล่ม 6, ข้อ 948, ดัฟตัร , วะฮีด, ริซาละฮฺ ดอนิชญู, อะฮฺกามการมอง, หน้า 201.

[7] อิมาม,อิสติฟตาอาต, เล่ม 3 (อะฮฺกามฮิญาบ), คำถามที่ 27, ซิตตานียฺ, sistano.org، (ฮิญาบ) คำถามที่ 5, ฟาฏิล, ญิมิอุล มะซาอิล, เล่ม 1 คำถามที่ 708, มะการิม, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, คำถามที่ 153, และ 1023, นูรีย์, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, หน้า 679, ตัฟรีซียฺ, ซิรอฏุน นิญาต, เล่ม 1, คำถามที่ 907, ซอฟียฺ, ญามิอุลอะฮฺกาม, เล่ม 2, คำถามที่ 1694, และ 1729, คอเมเนอี, อิสติฟตาฮฺ, คำถามที่ 618, และ 559, อัลอุรวะตุลวุซกอ, เล่ม 1 ข้อ 16, และตัฟตัร, วะฮีด, บะฮฺญัต, ริซาละฮฺดดเนชญู, อะฮฺกามการมอง, หน้า 202

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    5665 شخصیت های شیعی 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    6729 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    7169 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...
  • ฟิรอูนถูกลงโทษต่อพฤติกรรมที่เป็นบททดสอบของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
    9327 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    หนึ่งในจารีตของพระองค์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “การทดสอบปวงบ่าว” ซึ่งกระทำผ่านเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ บางครั้งพระองค์ใช้ผู้กดขี่เป็นบททดสอบทั้งๆที่ตัวผู้กดขี่เองไม่ทราบว่าตนเองเป็นบททดสอบ กรณีเช่นนี้จึงหาได้ลดทอนความน่ารังเกียจของพฤติกรรมของพวกเขาไม่ และไม่ทำให้สมควรได้รับการลดหย่อนโทษแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าพระองค์ไม่ได้สั่งให้เขาเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น ทว่าพระองค์ทรงตระเตรียมการในลักษณะที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กดขี่แสดงพฤติกรรมกดขี่ด้วยการตัดสินใจของตนเอง การกดขี่ดังกล่าว (ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระองค์) ก็จะกลายเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น และเนื่องจากการกดขี่ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเจตนาของผู้กดขี่เอง จึงสมควรได้รับบทลงโทษ ...
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    7908 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    4777 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5274 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    8724 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    16309 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7289 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57203 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    54898 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40291 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37385 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    35947 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32342 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26653 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26005 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25835 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24107 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...