การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
3463
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2562/06/12
คำถามอย่างย่อ
ปีจันทรคติมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
คำถาม
ปีฮิจเราะฮฺศักราชมีกี่วัน? จำนวนวันในหนึ่งปีจันทรคติ กับปีจันทรคติอื่นแตกต่างกันไหม? กรณีที่แตกต่างต้องทำอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป
จำนวนวันของปีจันทรคตินั้นเท่ากัน ซึ่งโดยละเอียดแล้วมีจำนวน 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือ 29/53059028 วัน
ทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ เท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ (เดือนที่คิดตามการคำนวณ และเดือนที่มองเห็นจันทร์เสี้ยว) แต่เนื่องจากจำนวนวันของเดือน และปี มิได้มีจำนวนเดียว และในทัศนะของนิติศาสตร์อิสลาม เดือนที่เกิดจากการคำนวณไม่เป็นที่เชื่อถือ, และถือเป็นธรรมชาติที่ว่าการมองเห็น และไม่เห็นเดือนเสี้ยวย่อมมีความขัดแย้งกัน นับตั้งแต่อดีตผ่านมา และจะถูกแก้ไขในเดือนต่อๆ ไป และในบางครั้งการมองเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนใหม่ ก็ได้รับการแก้ไขโดยฮากิมชัรอ์
คำตอบเชิงรายละเอียด
วันต่างๆ ของเดือนจันทรคติทั้งหมดจะมีจำนวนเท่ากันคือ 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที และ 3 วินาที หรือประมาณ 29/53059028 วัน หรือทำนองเดียวกันจำนวนวันของปี ฮิจญฺเราะฮฺ จะมีจำนวนเท่ากัน ซึ่งจำนวน 12 เดือน เท่ากับ 354/3670834 วัน แต่เพื่อง่ายต่อการคำนวณ ทุกๆ ปีของปีจันทรคติจะให้วันเพียง 354 วัน เนื่องจากในรอบ 1 ปี จะมีเดือนจำนวน 30 วันอยู่ 6 เดือน และ 29 วันอยู่ 6 เดือน
และจะมีการทดแทนเศษที่ขาดหายไป, ในรอบทุกๆ 3 ปี โดยจะเพิ่มจำนวนวันเข้าไป 1 วัน, หมายถึง ปีที่สามจะมีจำนวนวัน 355 วัน, เนื่องจากนำเอาจำวันเศษคูณกับจำนวน 3 ปี = 3x0/3670834=1/101 วัน
สิ่งสำคัญที่ได้รับจากการคำนวณดังกล่าว และต้องไม่ลืมคือ »กฎเกณฑ์ของหนึ่งในระหว่างนั้น« กล่าวคือ ปีทางจันทรคตินั้น เดือนต่างๆ จะมีจำนวนวันอยู่ระหว่าง 29 และ 30 วัน
ด้วยการคำนวณดังกล่าวนี้ บางครั้งก็เกิดความผิดพลาด หรือความขัดแย้งในการเริ่มต้นของเดือน หรือปีใหม่ ซึ่งปัจจัยสำคัญของความผิดพลาด หรือความขัดแย้งนั้นคือ การไม่ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ที่ว่า »หนึ่งในระหว่างนั้น«
แต่บรรดานักดาราศาสตร์ จำเป็นต้องกล่าวถึงจำนวนวันที่ถูกต้องของแต่ละเดือน (มิใช่เหลือเศษจากการคำนวณ) ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อคำนวณและการกำหนดปฏิทิน เพราะการกำหนดวันที่นั้นนักดาราศาสตร์ไม่สามารถ นำเอาเศษครึ่งวัน ของวันที่ 30 ของเดือนที่แล้ว หรือเอาครึ่งวันของวันที่ 30 ของเดือนนี้ไปสมทบกับเดือนหน้า, ดังนั้น เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเดือนจันทรคติอย่างน้อยต้องมี 29 วัน และอย่างมากมี 30 วัน ด้วยเหตุนี้เองนักดาราศาสตร์ จึงยอมรับการคำนวณเดือนจันทรคติในสองลักษณะดังนี้ กล่าวคือ
1.เดือนที่เกิดจากการคำนวณ
2. เดือนที่เกิดจากการมองเห็นจันทร์เสี้ยว
สำหรับการคำนวณเดือน, นักดาราศาสตร์จะสร้างตารางรายละเอียดขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนของดวงจันทร์ ตามกฎเกณฑ์ของดาราศาสตร์ ซึ่งจำนวนของเดือน และปีต่างๆ และการกำหนดต้นเดือนและต้นปี ทั้งหมดเป็นไปตามกฎการโคจรของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่างๆ เพื่อให้ได้รับกฎทั่วๆ ไปประการหนึ่ง แต่มิใช่เป็นไปตามการเคลื่อนของเวลาและแสงแดด แต่ถือเป็นกฎการขับเคลื่อนของดวงจันทร์กับแสงอาทิตย์ ดังนั้น ช่วงเวลาของการโคจรของดวงจันทร์ (นับจากเวลาที่ทั้งสองได้มารวมกัน จนกระทั่งมาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง) เป็นเวลา 29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที ซึ่งนักดาราศาสตร์ต่างยอมรับว่า ช่วงเวลาบรรจบกันระหว่างดวงจันทร์กับแสงแด จะไม่มีโอกาสมองเห็นจันทร์เสี้ยวเด็ดขาด ดังนั้น ผลของการคำนวณตามตารางของนักดาราศาสตร์ จะเป็นเช่นนี้
เนื่องจากระยะเวลา 1 เดือน, จะมีเศษเวลา 12 ชั่วโมง 44 นาที ซึ่งมากกว่าจำนวน 29 วัน ดังนั้น จำนวนดังกล่าวนี้จะเห็นว่าเมื่อนับ 2 เดือนติดต่อกัน จะมีจำนวนเวลามากกว่า 1 วัน แต่จะนับเท่ากับ 1 วันเต็ม ดังนั้น 1 เดือนจึงมี 30 วันเต็ม ส่วนอีกเดือนจะถือว่าเป็นเดือนขาด ซึ่งมี 29 วัน เพื่อจะได้ไปทดแทนเดือนขาดก่อนหน้านี้ กล่าวคือตามความเป็นจริงแล้ว 12 ชั่วโมงของเดือนนี้ จะนำไปบวกกับ 12 ชั่วโมงของเดือนหน้า และนับเป็น 1 วันเต็ม บวกให้กับเดือนก่อนหน้า แต่เนื่องจากปีทางจันทรคติ เริ่มนับจากเดือนมุฮัรรอม ด้วยเหตุนี้เอง เดือนมุฮัรรัม จึงมี 30 วัน ส่วนเดือนซิลฮิจญฺจะมี 29 วัน
แต่จุดประสงค์ของเดือนที่เกิดจากการมองเห็นจันทร์เสี้ยว, หมายถึงเดือนที่เกิดจากการมองเห็นจันทร์เสี้ยวด้วยตา ซึ่งเดือนตามบทบัญญัติของอิสลามก็คำนวณเช่นนี้ บรรดานักปราชญ์อิสลาม (ฟุเกาะฮา) ผู้ยิ่งใหญ่จะถือว่าระยะเวลา 1 เดือน เกิดจากการมองเห็นดวงจันทร์ของเดือนนี้ จนกระทั่งเห็นดวงจันทร์อีกครั้งหนึ่งในเดือนต่อไป ซึ่งจะไม่เกิดจากการคำนวณนับวันตามตารางตามที่กล่าวมา ซึ่งอาจมี 29 หรือ 30 วัน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวว่าเดือนที่เกิดจากการมองเห็นดวงจันทร์นั้น, เป็นผลเกิดจากการขับเคลื่อนที่ผันผวนเล็กน้อยในเดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าช่วงสองสามเดือนติดต่อกัน (มากสุด 4 เดือน) จะมี 30 วัน และช่วง 3 เดือนติดต่อกันจะมีจำนวนวันเพียง 29 วัน
ดังนั้น บรรดาฟุเกาะฮาผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายชีอะฮฺ ไม่ยอมรับการคำนวณวันของนักดาราศาสตร์ด้วย 2 เหตุผลดังนี้ .
หนึ่ง : เนื่องจากโดยหลักการทางชัรอียฺแล้ว ไม่มีเหตุผลหน้าเชื่อถือเกี่ยวกับ ตารางดาราศาสตร์ ทว่าตามหลักชัรอียฺมีเหตุผลขัดแย้งกับสิ่งนั้น เช่น รายงานหนึ่งกล่าวว่า "صم للرؤیه و افطر للرؤیه" เมื่อเห็นดวงจันทร์เดือนรอมฎอน จงถือศีลอด แต่เมื่อเห็นดวงจันทร์เดือนชะอฺบาน จงอย่าถือศีลอด ทว่าจะละศีลอด”[1]
สอง : ปัญหาที่เกิดจากการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ของฝ่ายดาราศาสตร์ จะเกิดในปีอธิกสุรทิน (ปีกระโดด) เนื่องจากตามการคำนวณของฝ่ายดาราศาสตร์ ในทุกรอบ 30 ปี 11 ปี จะเป็นปีอธิกสุรทิน ดังนั้น จำเป็นต้องคำนวณให้เดือน ซุลฮิจญฺ ซึ่งตามการคำนวณของพวกเขามีจำนวน 29 วัน แต่ต้องให้ 30 วัน[2]
ด้วยเหตุนี้เอง เนื่องจากจำนวนวันต่างๆ เดือน และปีจึงมีจำนวนไม่แน่นอน ดังนั้น ตามทัศนะของฟิกฮฺ เดือนที่เกิดจากการคำนวณจึงไม่ถูกต้อง บรรดาฟุเกาะฮาจึงเชื่อถือเดือนตามการมองเห็นดวงจันทร์ แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ในการมองเห็นดวงจันทร์ ในทุกๆ ที่นั้นมีไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน และในบางครั้งการมองเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนใหม่ ก็ได้รับการแก้ไขโดยฮากิมชัรอ์
 
 

[1] ตะฮฺซีบุลอะฮฺกาม, เล่ม 4, หน้า 159, ฮะดีซที่ 17, 18.
[2] บทความของ ฮุจญฺตุลอิสลาม เรซา มะฮฺดะวียฺ, ไซต์กิตาบนิวซ์
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6017 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    6943 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    21574 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8637 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • แนวทางความคุ้นเคยกับอัลกุรอาน และความหลงใหลคืออะไร?
    7642 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากท่นได้อ่านอัลกุรอาน, เพียงแค่เนียตเพื่ออัลลอฮฺพร้อมกับใคร่ครวญและปฏิบัติตาม, เท่านี้ความรักในอัลกุรอานก็จะเกิดขึ้นโดยปริยายและจะทำให้มนุษย์มีความรักต่ออัลกุรอาน ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6218 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6539 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    6976 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9267 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5391 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...