การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7272
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/01
คำถามอย่างย่อ
ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
คำถาม
ก่อนหน้านี้สองสามวัน บุตรสาวของกระผมได้ถามผมว่า พระเจ้าคืออะไร เราสามารถเห็นพระองค์ได้ไหม? ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้แก่เด็กๆ เป็นสิ่งอ่อนไหวมาก, โปรดแนะนำด้วย.
คำตอบโดยสังเขป

ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามได้ให้ความสำคัญด้านการอบรมสั่งสอนแก่เด็กและเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง, ซึ่งเรามีรายงานเกินกว่า 1000 รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่กล่าวเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอน[1] เกี่ยวกับโปรแกรมอบรมสั่งสอนอิสลามแก่บรรดาลูกๆ ในครอบครัวนั้น ได้มีคำแนะนำเอาไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด

ซึ่งแน่นอนว่าความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับพระเจ้าและความเป็นเอกะของพระองค์ ได้ฝังอยู่ในสายเลือดนับตั้งแต่วันที่พวกเขาได้ลืมตาดูโลกแล้ว, ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า:  »เด็กทุกคนย่อมเกิดขึ้นมาบนธรรมชาติของอิสลาม, เว้นเสียแต่ว่าบิดามารดาของเขาจะทำให้เขาเป็นคริสต์หรือยะฮูดียฺ«[2] บิดามารดาของเด็กจะต้องมีศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง และจะต้องล่วงรู้ถึงความคิดและความต้องการของเด็ก ๆ เพื่อจะได้สามารถตอบข้อซักถาม หรือข้อสงสัยของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเท่ากับว่าเราได้ก้าวสู่การอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการที่ถูกด้วยเช่นกัน

แนวทางการอบรมสั่งสอนศาสนา:

1.การอบรมด้านความรู้ : บุคลิกภาพของบิดามารดาโดยตัวแล้วมีอิทธิพลต่ออุปนิสัยของเด็กๆ อย่างยิ่ง, ขณะที่อยู่ในบ้านหากผู้ปกครองเอาใจใส่ต่อหลักคำสอนของอิสลาม, เช่น นมาซตรงเวลาเสมอ, ให้ความสำคัญต่อศีลอด และวาญิบข้ออื่นๆ มุ่งมั่นปฏิบัติข้อบังคับเหล่านั้น, รำลึกถึงพระเจ้าเสมอ, เมื่อเริ่มรับประทานอาหารกล่าวบิสมิลลาฮฺ ก่อนเสมอ และเมื่อรับประทานเสร็จแล้ว กล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระเจ้า จำนวนมากมายที่มิอาจคำนวณนับได้อยู่เป็นเนืองนิจ และ...ทั้งหมดเหล่านี้จะกลายเป็นบทเรียนด้านการรู้จักพระเจ้าแก่เด็กๆ โดยอัตโนมัติ สมองของเด็กเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูป ซึ่งจะคอยบันทึกภาพทุกชนิดที่มองเห็น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นมุสตะฮับเมื่อเด็กๆ คลอดออกมาอันดับแรกให้กล่าว อะซาน ทางหูข้างขวา และกล่าวอิกอมะฮฺทางหูข้างซ้าย เพื่อให้เสียงพร่ำเรียก อัลลอฮุอักบัร บังเกิดผลสะท้อนกับเขานับตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นไป และจะทำให้เขามักคุ้นกับคำว่าพระเจ้าผู้ทรงเอกะมากขึ้น

เด็กๆ ก่อนที่จะได้ยินและจดจำนั้น เขาจะเรียนรู้พฤติกรรมของมารดาด้วยการมองดูก่อน ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่ามาตรฐานการจดจำของเด็กจะอยู่ในช่วงที่เขามองเห็นก่อน มารดาจึงอยู่ในเงื่อนไขที่ค่อนข้างลำบากสำหรับการกล่าวประโยคบางประโยค เช่น ตะวักกัลป์ต่ออัลลอฮฺ ซึ่งคงต้องใช้ความพยายามพอสมควรมากกว่าปกติ ที่จะอธิบายให้เด็กๆ ได้เข้าใจความหมายของการมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ ด้วยคำพูด

2. สั่งสอนอัลกุรอาน: บรรดาผู้นำผู้บริสุทธิ์ได้แนะนำประชาชาติไว้ว่า จงสอนอัลกุรอานแก่บรรดาบุตรของตน, ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : »จงสอนบุตรของตนให้อ่านอัลกุรอานบทยาซีนเถิด, เนื่องจากอัลกุรอานบทนี้คือ ดอกไม้แห่งสวรรค์«[3] แน่นอนว่า จุดประสงค์ของการสอนมิได้จำกัดอยู่แค่การท่องจำหรือการอ่านเพียงอย่างเดียว, ทว่าครอบคลุมถึงการสอนความเข้าใจความหมายด้วย. ซึ่งตรงนี้เราสามารถสอนหลักความศรัทธาอีกมากมายให้แก่เด็กๆ ได้ในเวลาเดียวกัน

3.การนำเด็กๆ เข้าร่วมในงานส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ, เช่น พาไปมัสญิด, พิธีอ่านดุอาอฺ, เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มศาสนาที่หน้าเชื่อถือ และ ...เพื่อเขาจะได้เห็นสิ่งเหล่านั้นใกล้ๆ ด้วยตาตนเอง และจะได้รับคำตอบอันเกิดจากคำถามจำนวนมากมาย จากบุคคลที่รอบรู้และเชื่อมั่นได้

4. คำตอบต่างๆ ที่ถูกต้องง่ายต่อคำถามของเด็กๆ : เนื่องจากเด็กๆ เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น เมื่อเขาได้เห็นหรือได้ยินบางสิ่งบางอย่างก็จะเกิดข้อซักถามขึ้นมากมาย, คำถามด้านศาสนาของเด็กๆ ถือว่าเป็นก้าวเริ่มแรกของพวกเขาที่ก้าวไปสู่ความศรัทธาสมบูรณ์ ซึ่งผู้ปกครองจะต้องไม่มองข้ามคำถามเหล่านี้เด็ดขาด

พฤติกรรมของมารดาเมื่อเผชิญหน้ากับคำถามเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า:

ก. จำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านี้อย่างถูกต้อง ง่ายดาย และชัดเจน, ซึ่งตรงนี้มารดาสามารถอธิบายง่ายๆ โดยอาศัยความโปรดปรานต่างๆ ของอัลลอฮฺที่อยู่รายรอบตัวเราเป็นบรรทัดฐานในการตอบ, สามารถพิสูจน์อัลลอฮฺด้วยวิธีการที่ดีและง่ายที่สุด ด้วยคุณลักษณะบางประการของพระองค์ หรือด้วยกฎระเบียบของโลกที่มีอยู่และมองเห็นได้, ซึ่งทฤษฎีว่าด้วยความเป็นระเบียบของโลก เป็นทฤษฎีที่ง่ายที่สุดสำหรับการพิสูจน์พระเจ้า, ซึ่งทั้งอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจำนวนมากมายได้ให้ความสำคัญต่อทฤษฎีดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทฤษฎีดังกล่าวเป็นความรู้ประจักษ์ ปราศจากข้อพิสูจน์เชิงปรัชญาอันสลับซับซ้อน, ด้วยเหตุนี้เอง ทุกคนจึงสามารถใช้ทฤษฎีนี้พิสูจน์ความจริงได้

ข.การพึ่งพาธรรมชาติ : โดยบ่งชี้ให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ต่างๆ ของพระเจ้า ทำให้พวกเขาได้คุ้นเคยกับปาฏิหาริย์ต่างๆ ของพระองค์, แสดงให้เขาเห็นพลานุภาพของอัลลอฮฺในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งในฟากฟ้า แผ่นดิน และน่านน้ำ

โองการอัลกุรอาน จำนวนมากมาย เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญในธรรมชาติ, เช่น อัลกุรอานบางโองการกล่าวว่า : »และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงดลใจแก่ผึ้งว่า เจ้าจงทำรังตามภูเขาและตามต้นไม้ และตามที่พวกเขาทำร้านขึ้น แล้วเจ้าจงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้วจงดำเนินตามทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า โดยถ่อมตัว มีเครื่องดื่ม (น้ำผึ้ง) หลากสีออกมาจากท้องของผึ้ง ในนั้นมีสิ่งบำบัดแก่ปวงมนุษย์«[4] ทำนองเดียวกันอัลกุรอานเชิญชวนมนุษย์ให้พิจารณาการสร้างอูฐ ท้องฟ้าต่างๆ ภูเขาทั้งหลาย และแผ่นดิน และ ..โองการกล่าวว่า : »พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐดอกหรือว่า มันถูกบังเกิดมาอย่างไร ท้องฟ้ามันถูกยกให้สูงขึ้นอย่างไร ภูเขามันถูกปักตั้งไว้อย่างไร และแผ่นดินมันถูกแผ่ราบเรียบไว้อย่างไร«[5] ดังนั้น ความมหัศจรรย์ของสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า ถ้าหากได้อธิบายด้วยคำพูดง่ายๆ จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จักพระเจ้าได้ในระดับหนึ่ง

ค. คำตอบจำนวนมากมายต่อคำถามทั้งหลายของเด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้จากอัลกุรอาน เช่น ถ้าหากลูกของท่านถามว่า พระเจ้าเป็นใคร ท่านสามารถตอบข้อสงสัยของเขาได้ด้วยโองการนี้ว่า : »อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และทรงให้น้ำลงมาจากชั้นฟ้า และทรงให้พืชผลงอกเงยออกมาโดยนัยนั้น[6]« จงกล่าวแก่พวกเขาว่า »พระองค์ทรงเมตตายิ่งในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย«[7] และพยายามอธิบายให้มองเห็นภาพความเมตตาปรานีของพระเจ้า

ง.จงอธิบายแก่พวกเขาให้รู้ว่า ยังมีสรรพสิ่งอีกจำนวนมากมายที่มีอยู่บนโลกนี้ แต่ตาเรามองไม่เห็น, เช่น อากาศ สติปัญญา, ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นได้, แน่นอน อัลลอฮฺ ทรงมีอยู่, แต่สายตามนุษย์ไม่อาจมองเห็นพระองค์ได้ : »สายตาทั้งหลายมองไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นสายตาเหล่านั้น«[8]

จ. อธิบายเรื่องเล่าต่างๆ ที่เหมาะสมในศาสนา : เนื่องจากเด็กๆ นั้นชอบเรื่องเล่าต่างๆ เป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งผู้ปกครองสามารถนำเรื่องเล่าในอัลกุรอาน และสาส์นต่างๆ ของศาสนา ถ่ายทอดแก่พวกเขาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น เรื่องราวของศาสดาอิบรอฮีม ช่วงที่ท่านวิภาษกับบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเทียม ซึ่งท่านศาสดาได้ใช้เหตุผลง่ายๆ ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ฉ. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็กๆ เอง : สำหรับการกำหนดความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา และความต้องการของเราที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น สามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็กๆ ได้ เช่น ตั้งคำถามจากโปรแกรมประจำสัปดาห์ เพื่อสร้างให้เด็กๆ เข้าใกล้จุดประสงค์มากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นค่อยหาบทสรุป แล้วนำเสนอโปรแกรมที่อัลลอฮฺทรงประทานผ่านบรรดาศาสดา ในนามของศาสนาแก่พวกเขา

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ :

1.โคดาเชนอซี กุรอานนี กูเดกอน, ฆุล่ามเรซอ ฮัยดะรียฺ อับฮะรียฺ.

2. คอนนะวอเดะฮฺ ดัร อิสลาม, ฮุซัยนฺ มะซอเฮรียฺ

3. ดะฮ์ ดัรซ์ โคดาเชนอซี บะรอเยะ ญะวอนอน, นอซิร มะการิม ชีรอซี

 


[1] ครอบครัวในอิสลาม, ฮุซัยนฺ มะซอเฮรี, หน้า 121.

[2] สะฟีนะตุลบิฮาร, เล่ม 2, หน้า 372.

[3] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 4, หน้า 325.

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ, 68,69.

[5] فَلَا يَنظُرُونَ إِلىَ الْابِلِ كَيْفَ خُلِقَتْ* وَ إِلىَ السَّمَاءِ كَيْفَ رُفِعَتْ* وَ إِلىَ الجِْبَالِ كَيْفَ نُصِبَتْ* وَ إِلىَ الْأَرْضِ كَيْفَ سُطِحَتْอัลกุรอาน บทฆอชิยะฮฺ, 17-20.

[6] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, 32.

[7] อัลกุรอาน บทยุซุฟ, 64.

[8] อัลกุรอาน บทอันอาม, 103.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
    9123 รหัสยปฏิบัติ 2553/10/21
    ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่นประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6157 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20504 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7246 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    7509 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    21269 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6558 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
    6304 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/20
    มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนักได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)ฉะนั้น
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10030 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
    6364 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกันกล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมาซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมายและรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรมความสงบสุข

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38430 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27239 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27137 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...