การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6709
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18013 รหัสสำเนา 21851
คำถามอย่างย่อ
โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
คำถาม
โองการ وَ یُطْعِمُونَ الطَّعامَ عَلى‏ حُبِّهِ مِسْکیناً وَ یَتیماً وَ أَسیراً ประทานลงมาในช่วงเวลาใด?
คำตอบโดยสังเขป

นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อขอให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย
อิบนิ อับบาสเล่าว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า เราก็ขอกระทำดังที่พ่อลั่นวาจาไว้เช่นกัน
เมื่ออัลลอฮ์ทรงรักษาอาการของฮะซันและฮุเซน ครอบครัวนี้ก็พร้อมใจกันแก้นะซัรด้วยการถือศีลอดสามวัน เมื่อจะละศีลอดในวันแรก พวกเขาก็บริจาคขนมปังที่เตรียมไว้ละศีลอดให้แก่ยาจกคนหนึ่งที่เคาะประตูและร้องขออาหาร และเช่นเดียวกัน วันที่สองและวันที่สามก็ได้ให้อาหารแก่เด็กกำพร้าและเชลยศึกตามลำดับ ในระหว่างนี้พวกเขาละศีลอดและเตรียมถือศีลอดด้วยน้ำเปล่าถึงสามวัน กระทั่งโองการนี้ประทานลงมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอานจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่[1]ต่างเห็นพ้องกันว่า บางโองการของซูเราะฮ์ อัลอินซาน อาทิเช่น وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... ประทานลงมาเกี่ยวกับวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย

มีฮะดีษสองประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับการนะซัรและการบริจาคอาหารของอะฮ์ลุลบัยต์แก่ยาจก เด็กกำพร้า และเชลยศึก

หนึ่ง. เนื้อหาที่แพร่หลาย
อิบนิอับบาสเล่าเกี่ยวกับโองการ
وَ یطْعِمُونَ الطَّعامَ... [2]ว่า ฮะซันและฮุเซนล้มป่วยอย่างหนัก ถึงขั้นที่เหล่าเศาะฮาบะฮ์หมุนเวียนกันมาเยี่ยมไข้ ในจำนวนนั้นก็มีอบูบักร์ และอุมัรด้วย พวกเขา(เศาะฮาบะฮ์) กล่าวแก่อลีว่า โอ้บิดาของฮะซัน คงจะดีหากท่านจะกระทำนะซัร (บนบานกับอัลลอฮ์) อลีตอบว่า “ฉันนะซัรว่าหากอัลลอฮ์ทรงรักษาหลานท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล.)จนหายไข้ จะถือศีลอดเป็นเวลาสามวัน” ฟาฏิมะฮ์ได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า ฉันก็ขอรับภาระดังที่ท่านลั่นวาจาไว้เพื่อพระองค์ ฮะซันและฮุเซนเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า เราก็ขอกระทำดังที่พ่อลั่นวาจาไว้เช่นกัน แล้วอัลลอฮ์ก็ทรงรักษาให้หายขาด พวกเขาจึงถือศีลอด[3]

เมื่ออัลลอฮ์ทรงรักษาอาการของฮะซันและฮุเซน อลีได้ไปพบชาวยิวนามชัมอูนที่เป็นเพื่อนบ้านของท่าน ชัมอูนมอบขนสัตว์จำนวนหนึ่งเพื่อให้ท่านนำไปปั่นด้าย โดยให้ค่าแรงเป็นข้าวบาเล่ย์สามส่วน ฟาฏิมะฮ์นำข้าวบาเล่ย์ที่ได้มาโม่เป็นแป้ง และอบขนมปังห้าชิ้นสำหรับห้าคน[4] เมื่อท่านอิมามอลีกลับจากนมาซมัฆรับ ก่อนที่ท่านจะหยิบขนมปัง เสียงเคาะประตูก็ดังขึ้นพร้อมกับมีผู้ร้องขอว่า ฉันเป็นยาจกมุสลิมคนหนึ่ง กรุณาให้อาหารฉันด้วย ขอให้อัลลอฮ์ทรงประทานอาหารสวรรค์แก่พวกท่าน

อลีมอบขนมปังของตนให้แก่ยาจกคนนั้น ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน ฮุเซน(อ.) และฟิฎเฎาะฮ์ (สาวใช้)ก็ให้ขนมปังตามท่าน โดยยอมละศีลอดด้วยน้ำเปล่าแทน ในวันที่สอง ครอบครัวนี้ก็ถือศีลอดอีก ฟาฏิมะฮ์ก็อบขนมปังห้าชิ้นเช่นเคย แต่ขณะที่จะละศีลอดก็มีเสียงร้องเรียกว่า السّلام علیکم یا اهل بیت النبوة و معدن الرسالة ฉันเป็นลูกกำพร้ามุสลิมคนหนึ่ง โปรดให้อาหารฉันเถิด คืนนั้นทุกคนก็มอบอาหารให้เช่นเคย วันที่สามก็ถือศีลอดกันอีก ยามที่จะละศีลอดก็มีเสียงเรียกจากหน้าประตูว่า ฉันเป็นเชลยศึก ฉันหิวเหลือเกิน กรุณาเลี้ยงอาหารฉันเถิด[5] ทั้งหาคนก็มอบอาหารเช่นเคย และยอมอดทนหิวต่อไป

ในวันที่สี่ อิมามอลีจูงมือฮะซันและฮูเซนมาพบท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยร่างกายที่อ่อนแอและสั่นเทา เมื่อท่านนบีเห็นเช่นนั้นจึงรู้สึกรันทดใจอย่างยิ่ง จึงชวนกันมาเยี่ยมฟาฏิมะฮ์ เมื่อเข้ามาในห้องก็พบว่าฟาฏิมะฮ์กำลังทำอิบาดัตอยู่ โดยมีสภาพอิดโรย สั่นเทา ตากลวง และท้องยุบลงแนบแผ่นหลังเพราะความหิวโหย เมื่อท่านนบีเห็นลูกหลานตนในสภาพเช่นนี้จึงยกมือขอดุอา โดยร้องเรียนต่อพระองค์ว่า “โอ้อัลลอฮ์ บัดนี้วงศ์วานของข้าฯกำลังจะตายจากด้วยความหิวโหย” พลันญิบรออีลนำโองการนี้มอบให้ท่านจากประโยค یوفُونَ بِالنَّذْرِ จนถึง إِنَّ هذا کانَ لَکُمْ جَزاءً وَ کانَ سَعْیکُمْ مَشْکُوراً [6] [7]

สอง. เนื้อหาที่ไม่แพร่หลาย
อีกฮะดีษหนึ่งเล่าว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เตรียมอาหารชุดหนึ่งไว้เพื่อละศีลอด เมื่อถึงเวลาละศีลอด ปรากฏว่ามียาจกคนหนึ่งมาขออาหาร ท่านอลี(อ.)ได้มอบเศษหนึ่งส่วนสามของอาหารทั้งหมดแก่เขา หลังจากนั้นก็มีเด็กกำพร้ามาขออาหารและได้รับอีกส่วนไป ต่อจากนั้นก็มีเชลยศีกมาขออาหารและได้รับส่วนที่เหลือไป โดยอิมามอลีและครอบครัวละศีลอดด้วยน้ำเปล่าแทน ในเวลานี้เองที่โองการ “นี่คือรางวัลของสูเจ้า และความเพียรพยายามของสูเจ้าย่อมได้รับการขอบคุณ”ประทานลงมา

อนึ่ง การตอบแทนอันยิ่งใหญ่นี้มีสาเหตุมาจากการต่อสู้ทางจิตวิญญาณบนพื้นฐานการขัดเกลาจิตใจ ซึ่งผู้ศรัทธาทุกคนที่สามารถกระทำการทุกอย่างเพื่ออัลลอฮ์องค์เดียวนั้น ก็ย่อมจะได้รับการตอบแทนความพากเพียร ณ พระองค์อย่างแน่นอน[8]

นักวิชาการสายชีอะฮ์และซุนหนี่ต่างเห็นพ้องกันว่า โองการเหล่านี้ล้วนประทานลงมาในกรณีของวงศ์วานของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประกอบด้วย ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) โองการนี้ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์ ในช่วงที่ท่านอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)กำลังแก้นะซัรที่เคยทำไว้เพื่อให้อิมามฮะซันและอิมามฮุเซนหายป่วย



[1] ดู: เฏาะบัรซี, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 26,หน้า 147-148,สำนักพิมพ์ฟะรอฮอนี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1360

[2] อัลอินซาน,8

[3] ญะฟะรี,ยะอ์กู้บ,โฉมหน้าอิมามอลี(อ.)ในกุรอาน,หน้า 264,อุสวะฮ์,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1381

[4] ตามรายงานที่ระบุว่าฟิฎเฎาะฮ์ร่วมนะซัรกับทั้งสี่ท่านด้วย

[5] อาจเกิดข้อสงสัยว่า เหตุใดเชลยศึกจึงมาที่บ้านท่านอลี(อ.)ได้ ทั้งๆที่ควรจะอยู่ในการจองจำมิไช่หรือ? ต้องชี้แจงว่า ประวัติศาสตร์ระบุว่าในยุคของท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยมีเรือนจำเลยแม้แต่แห่งเดียว แต่ท่านนบีใช้วิธีแบ่งเชลยศึกฝากให้มวลมุสลิมดูแล และสั่งให้ระมัดระวังและให้ปฏิบัติดีต่อพวกเขา และหากไม่มีอาหารจะให้เชลย ก็จะขอความช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิมข้างเคียง โดยอาจจะนำเชลยมาขอแบ่งอาหารตามบ้าน หรืออาจจะบอกให้เชลยออกมาขอแบ่งอาหารด้วยตัวเอง เนื่องจากในเวลานั้น มุสลิมอยู่ในภาวะกระเบียดกระเสียรเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อรัฐมุสลิมแผ่ขยายออกไป และเริ่มมีเชลยศึกรวมทั้งอาชญากรจำนวนมาก จึงดำริให้มีเรือนจำขึ้น โดยค่ากินอยู่ของเชลยแบ่งมาจากบัยตุลมาล” มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 25,หน้า 354,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1374

[6] อัลอินซาน, 7-22

[7] อมีน,ซัยยิดะฮ์ นุศร็อต, มัคซะนุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 237-239,ขบวนการสตรีมุสลิม,เตหราน,ปี 1361

[8] ดู: มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 35,หน้า 243, สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1409

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9556 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5785 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...
  • ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
    7910 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/03
    การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(ซ.ล.)และเคาะลีฟะฮ์คนแรกตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สองกระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุดแต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไปเนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรมอย่างไรก็ดีฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไปซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไปนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    7694 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9082 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9420 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    18283 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    7988 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
    9289 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจาก “ความถูกต้อง” นั่นเองซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียวส่วนศาสนาอื่นๆ
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...