การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6487
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
คำถาม
จุดประสงค์ของโองการที่กล่าวว่า «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلاَّ بِالْحَقِّ وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَميلَ، إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلاَّقُ الْعَليمُ، وَ لَقَدْ آتَيْناكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثانی‏ وَ الْقُرْآنَ الْعَظيمَ» บทอัลฮิจญฺร์หมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา

ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการว่า : »และเราไม่ได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นความจริง และแท้จริงวันฟื้นคืนชีพ [กิยามะฮฺ]  จะมีมาอย่างแน่นอน  (ทุกคนจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ)   ดังนั้น เจ้าจงอภัยด้วยการอภัยที่ดี (แล้วจงอย่าประณามความไม่รู้ของพวกเขา) แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง พระผู้ทรงรอบรู้ และโดยแน่นอน เราได้ประทานแก่เจ้าเจ็ดอายาต (บทฟาติฮะฮฺ) ที่ถูกอ่านทวนซ้ำ และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่«[1]

จุดประสงค์คำว่า »ฮัก« ในโองการที่กล่าวว่า «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلَّا بِالْحَق»، คือความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า บาฏิล หรือเท็จไม่เป็นความจริง, ด้วยคำอธิบายดังกล่าวจะเห็นว่าชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินถูกสร้างขึ้นมาโดยมิได้แยกไปจากความจริง, ทว่าทั้งหมดเหล่านั้นคือความสำคัญของความจริง ภายหลังจากการสร้างสุดท้าย ซึ่งในไม่ช้านี้ทั้งหมดจะกลับไปสู่วาระสุดท้ายนั้น, เนื่องจากถ้าหากไม่มีบั้นปลายหรือการสิ้นสุดในการสร้างแล้วละก็, ทุกสิ่งก็จะกลายเป็นเท็จและไร้สาระ[2] ฉะนั้น โองการจึงได้กล่าวต่อไปอีกว่า : «وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ» แท้จริงวันฟื้นคืนชีพจะมีมาอย่างแน่นอน เป็นเหตุผลที่บ่งบอกอย่างชัดเจนถึงข้ออ้าง, เนื่องจากเป็นการอธิบายให้เห็นว่าการสร้างนี้มีเป้าหมายอย่างแน่นอน[3] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีคำสั่งแก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า จงแสดงความรักความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา : และจงอภัยในความผิดบาปของเขา, ด้วยการอภัยที่ดี ดังกล่าวว่า:[4] «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นั้นทราบดีถึงเหตุผลอันชัดแจ้งในบทบาทของ ผู้ที่หน้าที่เชิญชวนและประกาศสาส์น, และเพื่อการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับรากฐานความเชื่อในเรื่อง พระผู้ทรงสร้าง และวันฟื้นคืนชีพให้เกิดในหัวใจของประชาชน, ไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรงแต่อย่างใด, เนื่องจากเหตุผลและวิทยปัญญานั้นอยู่กับนบีอยู่แล้ว, นอกจากนั้นความรุนแรงต่อบรรดาพวกที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความรุนแรงและความอคติมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ[5]

คำว่า “อัซซอฟฮะ” ตามหลักแล้วหมายถึง ด้าน หรือการวางทับบนสิ่งหนึ่ง[6] เหมือนกับด้านข้างของใบหน้า ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ฟะอัซฟะฮฺ” จึงหมายถึง “การไม่ใส่ใจหรือการอภัย” และเนื่องจากการปล่อยวางและไม่ใส่ใจจากบางสิ่ง บางครั้งก็เกิดจากการไม่สนใจต่อสิ่งนั้น หรือการโกรธเคือง หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน, บางครั้งก็เกิดจากการอภัยและอโหสิกรรมให้, ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอาน โองการข้างต้นจึงได้กล่าวโดยฉับพลันในคำพูดต่อมาว่า “ญะมีล” (สายงาม) เป็นการอธิบายให้เห็นว่าความหมายที่สอง (อภัย) นั้นเหมาะสมกว่า[7]

รายงานฮะดีซ จากท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวอธิบายถึงการตัฟซีรโองการข้างต้นว่า : »จุดประสงค์, หมายถึงการอภัยโดยไม่มีการถือโทษ หรือการลงทัณฑ์ หรือการประณามใดๆ ทั้งสิ้น«[8]

ประโยคที่กล่าวว่า «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» จงอภัยด้วยการอภัยที่ดี นี้ เป็นการแยกให้ห่างไปจากเรื่องก่อนหน้านี้ ซึ่งโดย ปกติ ฟาอ์ ตัฟรีอ์ จะให้ความหมายในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว : ขณะที่การสร้างโลกถูกสร้างขึ้นมาโดยสัจจริง ซึ่งจะมีวันหนึ่งที่พวกเขาถูกสอบสวนในวันนั้น, ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลต่อการมุสา การเย้ยหยัน และการดูถูกของพวกเขาอีกต่อไป จงอภัยให้พวกเขาเถิด[9]

ส่วนประโยคที่กล่าวว่า «إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلَّاقُ الْعَلِيمُ»، แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง ซึ่งตามความเป็นจริงอยู่ในฐานะของเหตุผลที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการอภัย การอโหสิกรรม และปล่อยวางโดยดี[10] และบุคคลที่มีคำสั่งให้ยกโทษให้คือ, อัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าซึ่งบริบาล สร้างสรรค์ และทรงรอบรู้ยิ่ง พระองค์ทรงรู้ดีว่าการอภัยนั้นมีผลต่อจิตวิญญาณ ต่อบุคคล สร้างแรงดึงดูดใจ และความก้าวหน้าต่อสังคมมากน้อยเพียงใด, ฉะนั้น คำสั่งที่ให้เจ้าอภัยจึงมิใช่ภารกิจหนักหนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น[11]

ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด[12] เนื่องจากเราได้ให้ ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่แก่เจ้า ตรัสว่า  «وَ لَقَدْ ءَاتَيْنَاكَ سَبْعًا مِّنَ الْمَثَانىِ وَ الْقُرْءَانَ الْعَظِيمَ»

จุดประสงค์ของ เจ็ดโองการหมายถึงอะไร, โปรดศึกษาได้จากหัวข้อ “ปรัชญาการตั้งชื่อบทฟาติฮะฮฺว่า ซับบะอะ มะษานียฺ” คำถามที่ 1910 (ไซต์ : 3298)

 


[1] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 85-87 กล่าวว่า :

: «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلاَّ بِالْحَقِّ وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَميلَ، إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلاَّقُ الْعَليمُ، وَ لَقَدْ آتَيْناكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثانی‏ وَ الْقُرْآنَ الْعَظيمَ»

[2] เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ, อัลมีซานฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 188, ตัฟตัรอินเตชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5, ปี1417

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร,ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1374.

[5] อ้างแล้วเล่มเดิม

[6] วัตถุประสงค์ดังกล่าว, มุฮัมมัด บินมุกัรร็อม, ลิซานุลอาหรับ, เล่ม 2, หน้า 512, คำว่า (อัซซอฟฮะ) ดารุซอเดร, พิมพ์ครั้งที่ 3, เบรูต, ปี 1414, รอฆิบเอซฟาฮานียฺ, ฮุซัยนี บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าโดย, ซอฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 486, ดารุลอิลม์ อัดดารุชชามียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ดะมิชก์, เบรูต, ปี 1412, กุเรชีย์, ซัยยิด อะลี อักบัร, กอมูซ กุรอาน, เล่ม 4, หน้า 131, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1371.

[7] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, 128.

[8] เชคซะดูก, อุยูนนุลอัคบาร อัรริฎอ (อ.), ค้นคว้าโดย ลาญะวาดดียฺ, มุฮฺดียฺ, เล่ม 1, หน้า 294, พิมพ์ที่ฌะฮอน, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1378,อะรูซีย์ ญะวีซียฺ, อับดุล อะลี บิน ญุมอะฮฺ, ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, ค้นคว้าโดย, เราะซูลลียฺ มะฮัลลาตตีย์, ซัยยิดฮาชิม, เล่ม 3, หน้า 27, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กุม, ปี 1415.

[9] อัลมีซาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 190.

[10] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 128.

[11] กะรออะตียฺ, มุฮฺซิน, ตัฟซีรนูร, เล่ม 6, หน้า 352, สำนักพิมพ์ ฟัรฮังกี บทเรียนจากอัลกุรอาน, เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 11, ปี 1383.

[12] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 129.

 

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    6790 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    7487 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5928 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8628 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย ?
    9958 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    หนึ่งในสาเหตุที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิงคือเรืองค่าเลี้ยงดูของหญิงอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายกล่าวคือฝ่ายชายนอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนแล้วยังมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของฝ่ายหญิงและบรรดาลูกๆอีกด้วยอีกด้านหึ่งฝ่ายชายต้องเป็นผู้จ่ายมะฮฺรียะฮฺส่วนฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายรับมะฮฺรียะฮฺนั้นตามความเป็นจริงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งที่ฝ่ายหญิงได้รับในฐานะของมรดกหรือมะฮฺรียะฮฺนั้นก็คือทรัพย์สะสมขณะที่ส่วนแบ่งมรดกของฝ่ายชายถูกใช้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตนของภรรยาและบรรดาลูกๆนอกจากนี้แล้ว
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14545 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5748 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • ชีอะฮ์มีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)?
    5953 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/22
    ความเชื่อของชีอะฮ์คือ1. ตำแหน่งคิลาฟะฮ์เป็นตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์เป็นผู้แต่งตั้งเองและท่านศาสดา(ซ.ล.)ก็ได้รับคำสั่งจากพระองค์ให้ประกาศในหมู่มุสลิมหลายต่อหลายครั้งว่าท่านอลี(อ
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    8960 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    6663 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59308 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41584 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27490 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27172 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25139 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...