การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8674
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2163 รหัสสำเนา 14713
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ?
คำถาม
เพราะเหตุใดนิกายชีอะฮฺจึงเป็นนิกายที่ดีที่สุด ? ผมเป็นคนหนึ่งที่ปฏิบัติตามแนวทางชีอะฮฺ, แต่ไม่รู้ว่าชีอะฮฺมีดีอะไรเมื่อเทียบกับนิกายวะฮาบียฺ ...ขออย่าเป็นเช่นนั้นว่าเราเป็นหนึ่งในมุสลิม 72 พวกที่หลงทาง? จะให้ผมมั่นใจได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การที่นิกายชีอะฮฺดีที่สุดนั้นเนื่องจากความถูกต้องนั่นเอง ซึ่งศาสนาที่ถูกต้องนั้นจำกัดอยู่เพียงแค่ศาสนาเดียว ส่วนศาสนาอื่นๆ ที่มีอยู่บางศาสนาโดยพื้นฐานไม่ถูกต้อง บางศาสนาหลักการไม่ถูกต้อง บางศาสนาก็สมมุติขึ้นมา บางศาสนาถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งทุกวันนี้บทบัญญัตที่ถูกต้อง, คือบทบัญญัติของอิสลาม, ซึ่งอิสลามที่แท้จริง อิสลามที่ถูกต้องถูกฉายออกมาในรูปแบบของชีอะฮฺเท่านั้น และเฉพาะคำสอนสั่งของชีอะฮฺเท่านั้น ที่สามารถอธิบายอิสลามมุฮัมมะดียฺให้ชัดเจนได้. หลักฐานทางประวัติศาสตร์และตำราศาสนาคือสิ่งสนับสนุนประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งความพิเศษเหล่านั้นไม่อาจพบได้ในลัทธิวะฮาบีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

สิ่งที่ยืนยันว่านิกายชีอะฮฺดีที่สุดหรือดีกว่า นิกายอื่นๆ คือความสัตย์จริงซึ่งศาสนาที่เที่ยงธรรมในแต่ละยุคสมัยจะมีเพียงศาสนาเดียว. อัลลอฮฺ ทรงประทานศาสนาลงมาในต่างยุคต่างสมัยซึ่งมีเพียงบทบัญญัติเดียวเท่านั้น และศาสนาอื่นนอกจากนั้นถือว่า ไม่ถูกต้องจะโดยพื้นฐานของศาสนาหรือประเด็นอื่น หรือบางศาสนาก็ถูกถอดถอนไปแล้ว และบางศาสนาก็เป็นเพียงสมมุติฐานเท่านั้น

ความหลากหลายของศาสนาแห่งพระเจ้าหรือศาสนาแห่งฟากฟ้า ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันนี้พระเจ้าได้ประทานลงมาแก่มนุษย์, มีความหลากหลายในแนวตั้ง มิใช่แนวนอน, หมายถึงศาสนาใหม่ได้มายกเลิกหรือทำให้ศาสนาเก่าก่อนหน้านั้นมีความสมบูรณ์ หรือการมาของศาสนาใหม่บ่งบอกให้เห็นว่า ศาสนาเก่าหมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งจะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ซึ่งแทนที่ตนด้วยศาสนาใหม่ และเป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามและศรัทธาต่อศาสนาใหม่นั้น. ด้วยเหตุผลนี้เองในหลักการของศาสนาบริสุทธิ์ สำหรับบุคคลที่ไม่ศรัทธาในศาสนาใหม่นั้นจึงอยู่ในฐานะของผู้ปฏิเสธศรัทธา

อิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาสุดท้าย จึงเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดที่ถูกส่งลงมาสำหรับมนุษย์ชาติทั้งหลาย และอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงตอบรับศาสนาใด นอกจากอิสลาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าแท้จริงศาสนา  อัลลอฮฺคือ อิสลาม[1]ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิสลาม จึงเป็นศาสนาเดียวที่ถูกยอมรับ  พระองค์ อัลกุรอานกล่าวอีกว่าและผู้ใดแสวงหาศาสนาใดอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นจะไม่ที่ยอมรับจากเขาเป็นอันขาด[2]

น่าเสียดายว่าบรรดามุสลิมก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากบรรดาบรรพชนก่อนหน้านั้น ผู้เป็นเจ้าของศาสนาหลากหลายในอดีต พวกเขาได้แบ่งออกเป็นนิกายต่างๆ มากมาย และแน่นอนว่าเหล่านั้นต้องไม่เหมือนกัน และไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะถูกต้องไปทั้งหมดด้วย, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า :

"ان امّتی ستفرق بعدی علی ثلاث و سبعین فرقة، فرقة منها ناجیة، و اثنتان و سبعون فی النار"؛

แท้จริงประชาชาติของฉันภายหลังจากฉัน จะแตกออกเป็น 73 พวก, ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาเท่านั้น ที่ได้รับการช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือ 72 พวกล้วนเป็นชาวนรกทั้งสิ้น[3] นิกายที่ถูกต้องและได้รับการช่วยเหลือจากนิกายต่างๆคือ นิกายชีอะฮฺสิบสองอิมามหรือตะชัยยุอ์นั่นเอง,ดุจดังเช่นอิสลามที่ถูกต้องและสัจจริง. ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า :

"ایها الناس انی ترکت فیکم ما ان اخذتم به لن تضلوا، کتاب الله و عترتی اهل بیتی"؛

โอ้ ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่ของพวกท่าน ถ้าหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้น จะไม่มีวันหลงทางเด็ดขาด,ได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรัตอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน[4] (ทายาทของนบี)

ท่านอบูซัร ฆัฟฟารียฺ สหายผู้อาวุโสท่านหนึ่งของศาสดา (ซ็อล ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่ง กล่าวว่า :

"سمعت النبی (ص) انه قال: الا ان مثل اهل بیتی فیکم مثل سفینة نوح فی قومه، من رکبها نجی و من تخلف عنها غرق"؛

พึงรู้ไว้เถิด ฉันได้ยินจากท่านเราะซุล (ซ็อล ) กล่าวว่า : อุปมาอะฮฺลุลบัยตฺของฉันในหมู่พวกท่าน ประหนึ่งเรือของศาสดานูฮฺท่ามกลางหมู่ชนของเขา, ใครก็ตามลงเรือนั้นเขาก็จะได้รับความช่วยเหลือ และบุคคลใดผละออกจากเรือ เขาก็จะจมน้ำตาย[5]

รากฐานของนิกายชีอะฮฺคือ, เตาฮีด อัดล์ นุบูวัต อิมามะฮฺ และมะอาด, ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่า อิมามทั้ง 12 ท่านเป็นมะอฺซูม (บริสุทธิ์) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งคนแรกในหมู่พวกเขาคือ อิมามอะลี (.) ส่วนคนสุดท้ายในหมู่พวกเขาคือ มะฮฺดียฺ (.)

มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวถึงจำนวนและแม้แต่นามของอิมามทั้ง 12 ท่านเอาไว้, วันหนึ่งอับดุลลอฮฺ บุตรของมัสอูด ได้นั่งอยู่ในหมู่สหายทั้งหลาย เวลานั้นได้มีอาหรับชนทบคนหนึ่งเดินเข้ามา และได้ถามขึ้นว่าในหมู่พวกท่านใครืคือ อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูดหรือ? อับดุลลอฮฺ ตอบว่า : ฉันเอง, อาหรับคนนั้นกล่าวต่อไปอีกว่า : ศาสดาของท่านมิได้บอกผู้แทนภายหลังจากเขาสำหรับพวกท่านดอกหรือ? กล่าวว่า : ใช่ ท่านบอกไว้ว่า : จำนวนของพวกเขามี 12 คน อันเป็นจำนวนหมู่ดวงดาวของวงศ์วานบนีอิสราเอล[6]

เหตุผลของเราที่ยืนยันว่า นิกายชีอะฮฺ ดีที่สุดคือ อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีรับสั่งแก่เราไว้ในอัลกุรอานว่า ให้พวกเราเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ เราะซูล และอูลิมอัมริ ซึ่งตามคำอธิบายของท่านเราะซูล (ซ็อล ) หมายถึง บรรดาอิมามทั้ง 12 ท่านของชีอะฮฺ. อัลกุรอานจำนวนหลายโองการได้เน้นย้ำถึงเรื่อง อิมามะฮฺและวิลายะฮฺเอาไว้ เช่น โองการที่กล่าวว่า :

"و انذر عشیرتک الاقربین"؛

จงประกาศแก่เครือญาติชั้นใกล้ชิด

"انما ولیکم الله و رسوله و المؤمنون الذین یقیمون الصلاة و یؤتون الذکوة و هم راکعون"،

อันที่จริง ผู้ปกครองพวกเธอนั้นคืออัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์และบรรดาผู้มีศรัทธาที่ดำรงไว้การนมาซ และชําระซะกาต และขณะเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้ก้มรุกูอฺ

"یا ایها الرسول بلغ ما انزل الیک من ربک و ان لم تفعل فما بلغت رسالته"،

โอ้ ศาสนทูต! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เธอจากพระผู้อภิบาลของเธอ และถ้าเธอไม่ได้ปฏิบัติ เธอก็ไม่ได้ประกาศสาส์นของพระองค์

"الیوم اکملت لکم دینکم و اتممت علیکم نعمتی و رضیت لکم الاسلام دیناً"ً،

วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเธอสมบูรณ์เพื่อพวกเธอ และฉันได้ทำให้ความโปรดปรานของฉันที่มีต่อพวกเธอนั้นบริบูรณ์ และฉันได้เลือกให้อิสลามเป็นศาสนาของพวกเธอ

"انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت"، و ... .

อัลลอฮฺ ทรงประสงค์ที่จะขจัดความโสโครกออกไปจากพวกเจ้า โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺ

ท่านศาสดา (ซ็อล ) โดยการบันทึกไว้ทางประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีซทั้งหลายว่า ท่านได้ประกาศแต่งตั้งท่านอะลี (.) ในฐานะที่เป็นตัวแทนของท่านแก่ประชาชน, ดังที่ฏ็อบรียฺได้บันทึกไว้ในหนังสือของตนว่า เมื่อโองการอิงซอรจงประกาศแก่เครือญาติชั้นใกล้ชิดถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวแก่เครือญาติของท่านว่า :อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาแก่ฉันว่า ให้เชิญชวนพวกท่านไปสู่พระองค์, ดังนั้น พวกท่านคนใดก็ตามได้ช่วยเหลือฉันในภารกิจดังกล่าวนี้ เขาจะเป็นทั้งพี่น้องและตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน, อะลี (.) กล่าวว่า : ฉันเอง โอ้ เราะซูลแห่งอัลลอฮฺ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านในภารกิจดังกล่าว, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้จับหัวไหล่ของอะลี (.) แล้วกล่าวว่า : แท้จริง อะลีคนนี้คือพี่น้องของฉัน และเป็นตัวแทนของฉันในหมู่พวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาเถิด, ขณะนั้นเครือญาติของท่านศาสดาต่างหัวเราะเย้ยหยัน บางคนได้ลุกขึ้นแล้วหันหน้าไปทางอบูฏอลิบกล่าวเชิงเย้ยหยันว่าเขาได้สั่งให้ท่านเชื่อฟังปฏิบัติตามบุตรชายของท่านเอง[7]

ในช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ),ช่วงกลับจากการทำฮัจญฺซึ่งรู้จักกันดีในนามของ ฮัจญฺตุลวะดา, เมื่อเดินทางมาถึงเขตแดนหนึ่งนามว่า เฆาะดีร ท่านได้ประกาศแต่งตั้งอะลี (.) อย่างเป็นทางการในฐานะของอิมามของมุสลิมทั้งหลาย และเป็นตัวแทนของท่านภายหลังจากท่าน และท่านได้กำชับบรรดามุสลิมที่อยู่กันพร้อมหน้าว่า ให้มอบสัตยาบันแก่อะลี ในฐานะที่เป็นผู้นำมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ) อันเป็นที่ประจักษ์ในวันนั้นคือ :

"من کنت مولاه فهذا علی مولاه"

ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีผู้นี้ก็เป็นผู้ปกครองของเขาด้วยรายงานฮะดีซบทนี้เป็นฮะดีซที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ที่สุดในอิสลาม

และนี่คือภาพรวมอันเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงความที่ดีที่สุด และความจริงของนิกายชีอะฮฺที่มีต่อนิกายอื่น จากด้านในดังคำกล่าวของรายงานฮะดีซ และอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามยังสามารถยกเหตุผลจากภายนอกที่กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ หรือนำเอาคำสั่งสอนของนิกายชีอะฮฺ ไปเปรียบเทียบกับนิกายอื่น เมือนั้นท่านก็จะพบความจริงว่า นิกายที่ดีกว่าคือนิกายใด?

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับ วะฮาบียฺ เพียงพอแล้วถ้าได้ศึกษาข้อเขียนของ ซัยยิด มุซเฏาะฟา ระฎะวี ในหนังสืออิฏลาอาต ซิยาซี วะ มัซฮับบี ปากิสถานซึ่งวะฮาบีย์ เชื่อว่านิกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิกายในซุนนียฺ หรือนิกายชีอะฮฺ ทั้งหมดคือ มุชริกีน เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา และเคารพรูปปั้นบูชาทั้งสิ้น, การขอดุอาอฺ การไปซิยาเราะฮฺกุบูรของท่านศาสดา (ซ็อล ) ท่านอิมามอะลี (.) และอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านอื่น ล้วนเป็นบิดอะฮฺทั้งสิ้น และเป็นหนึ่งในการเคารพรูปปั้นบูชา ซึ่งในทัศนะของวะฮาบีย์ การแสดงออกเช่นนั้น เป็นฮะรอม, พวกเขาเชื่อว่าการกล่าวสลาม การให้เกียรติ และการแสดงความเคารพต่อท่านศาสดา (ซ็อล ) นอกเหนือจากในนมาซแล้ว ไม่อนุญาตให้กระทำทั้งสิ้น, การสิ้นอายุขัยของท่านศาสดาบนโลกนี้ ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับท่านแล้ว ดังนั้น การสร้างหรือตบแต่งสุสานของศาสดา (ซ็อล ) หรืออิมามท่านอื่นๆ ล้วนเป็นบิดอะฮฺ พวกเขาเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ) เป็นสามัญชนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ท่านไร้ความสามารถ และมีความอ่อนแอเหมือนสามัญชนทั่วไป ไม่ได้มีอะไรวิเศษไปกว่านี้ ท่านไม่สามารถรับรู้ถึงสภาพของเราและโลกที่เราอยู่ ด้วยเหตุนี้, การไปซิยาเราะฮฺสุสานนบีจึง ฮะรอม[8]

ขอให้สติปัญญาอันชาญฉลาดของท่านเป็นเครื่องตัดสินว่า คำสอนเหล่านี้สามารถเข้ากับสติปัญญาและธรรมชาติของมนุษย์ได้หรือไม่? และสิ่งนี้คือความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ ในฐานะที่เป็นรางวัลของการเผยแผ่ของศาสดากระนั้นหรือ[9] อัลกุรอาน มิได้สั่งแก่เราหรือว่า บรรดาชะฮีดทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺนั้นตาย หามิได้! พวกเขายังมีชีวิตอยู่  พระผู้อภิบาลของพวกตน ในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ[10] ฐานะของท่านศาสดา (ซ็อล ) ต่ำกว่าบรรดาชุฮะดากระนั้นหรือ?



[1] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน,19

[2] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 85

[3] อัลอะบานะตุลกุบรอ,อิบนุ บัฏเฏาะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 3, คิซอล, หน้า 585

[4] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, หน้า 44, บทอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวัลซุนนะฮฺ

[5] อัลมุสตัดร็อก อะลัซเซาะฮีฮัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 151

[6] คิซอล, หน้า 467

[7] ตารีคฏ็อบรียฺ, เล่ม 2, หน้า 320,พิมพ์ที่อียิปต์, กามิล อิบนุ อะซีร, เล่ม 2, หน้า 41, พิมพ์ที่ เบรูต

[8] ซัยยิด มุซเฏาะฟา,ระฎะวียฺ, อิฏลาอาต ซิยาซี วะ มัซฮับบี ปากิสถาน, หน้า 63-64

[9] "قُلْ لا أَسْئَلُکُمْ عَلَیْهِ أَجْراً إِلاَّ الْمَوَدَّةَ فِی الْقُرْبى"‏،จงกล่าวเถิด ฉันไม่ได้ขอร้องค่าตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้เว้นแต่เพื่อความรักใคร่ในเครือญาติ (อัชชูรอ,23)

[10] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน,169

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5092 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    12291 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6161 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    7808 کلیات 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    10430 شیعه و قرآن 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    10334 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    5961 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • ถูกต้องแล้วหรือ ที่บางคนปวารณาตัวเองเป็นสัตว์ชนิดต่างๆเพื่อให้เกียรติบรรดาอิมาม(อ.)? (อย่างเช่นเรียกตัวเองว่าเป็นสุนัขของอิมามฮุเซน(อ.))
    6649 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/16
    กุรอานและฮะดีษจากนบีและบรรดาอิมามล้วนกำชับให้เห็นถึงความสำคัญของการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะมุอ์มินนอกจากนี้ยังได้สอนว่าการตั้งชื่ออันไพเราะและการเรียกขานผู้อื่นด้วยชื่ออันไพเราะนั้นนับเป็นการให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ประการหนึ่งเช่นในซูเราะฮ์ฮุญุรอตได้กล่าวว่า“จงอย่าเรียกขานกันและกันด้วยชื่ออันน่ารังเกียจ” ยิ่งไปกว่านั้นอิสลามสอนเราว่าผู้ศรัทธามีเกียรติยิ่งกว่าวิหารอัลกะอ์บะฮ์ ผู้ศรัทธาทุกคนจึงไม่ควรจะทำลายศักดิ์ศรีของตนเองหรือผู้อื่นท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ก็คงจะไม่ยินดีปรีดาหากต้องเห็นกัลญาณมิตรดูถูกตนเองเพื่อเทิดเกียรติแด่ท่านอย่างไรก็ดีการจะตัดสินว่าพฤติกรรมใดขัดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ ชื่อบางชื่อในวัฒนธรรมหนึ่งอาจเป็นการดูหมิ่นแต่สำหรับอีกวัฒนธรรมหนึ่งนอกจากจะไม่น่ารังเกียจแล้วกลับจะเป็นที่ภาคภูมิใจด้วยซ้ำแน่นอนว่าเขาภูมิใจในความหมายเชิงอุปมาอุปไมยและความหมายประเภทนี้ไม่ขัดต่อศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาแต่อย่างใด ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    6514 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำนายฝันได้?
    7293 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    แม้การฝันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงบัดนี้นักวิชาการก็ยังไขปริศนาเกี่ยวกับความฝันไม่ได้อัลกุรอานกล่าวถึงท่านนบียูซุฟที่หยั่งรู้เหตุการณ์จริงจากความฝัน[1]และยังได้รับพรจากอัลลอฮ์ให้สามารถทำนายฝันได้อย่างแม่นยำ[2]ท่านเคยทำนายฝันของเพื่อนนักโทษในเรือนจำและมีโอกาสได้ทำนายฝันกษัตริย์แห่งอิยิปต์อีกด้วยจึงกล่าวได้ว่าการทำนายฝัน (หรือที่กุรอานเรียกว่าการ“ตีความ”[3]ฝัน) เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงและพระองค์ทรงประทานแก่ศาสนทูตของพระองค์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57970 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55450 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40697 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37608 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36573 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32659 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26855 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26423 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26202 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24318 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...