การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7597
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8506 รหัสสำเนา 20879
คำถามอย่างย่อ
การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
คำถาม
ล่าสุดมีบางกลุ่มที่ถือว่าตนไม่ไช่วะฮาบีแต่มีความเชื่อคล้ายพวกวะฮาบี อ้างว่าความขัดแย้งระหว่างมุสลิมเกิดจากการยึดถือฮะดีษ และเชื่อว่าวิชาริญ้าลไม่น่าเชื่อถือ เพราะทำให้ชีอะฮ์และซุนหนี่วินิจฉัยหุกุ่มศาสนาต่างกัน วิธีแก้ก็คือการยึดถือเพียงกุรอานและตัดฮะดีษออกไปจากสารบบนิติศาสตร์อิสลาม หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังท่านนบีจำกัดเพียงในวงเนื้อหากุรอานเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ถือว่าเป็นคำแนะนำ มิไช่ข้อบังคับ
คำถามแรก. คำตอบใดตอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้ดีที่สุดจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา?
คำถามที่สอง. กลุ่มดังกล่าวเป็นใครมาจากใหนกันแน่?
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้น เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[i]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า ท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง



[i] อัลฮัชร์,7

คำตอบเชิงรายละเอียด

ข้อครหาดังกล่าวมิไช่ประเด็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นประเด็นต้นๆที่เกิดขึ้นภายหลังนบีเสียชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่แล้วโดยบุคคลบางคน
เราจึงขอเท้าความถึงภูมิหลังดังกล่าวเสียก่อน แล้วจึงวิเคราะห์และตอบคำถาม

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) ท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่าน เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)

เราขออ้างอิงจากตำราที่น่าเชื่อถือที่สุดของพี่น้องซุนหนี่ดังนี้
เศาะฮี้ห์บุคอรี, มุสลิม, มุสนัดอะห์มัด ฯลฯ รายงานว่า อิบรอฮีม บิน มูซารายงานจาก ฮิชาม บินมุอัมมัร จากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัด จากอับดุรร็อซซ้าก จากมุอัมมัร จากซุฮ์รี จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับบาสว่า อิบนิ อับบาสเคยกล่าวว่า ช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านนบี ซึ่งอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบก็อยู่ในจำนวนนั้นด้วย ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงมาใกล้ๆเถิด เพื่อจะเขียนบางสิ่งที่พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากฉันอุมัรพูดขึ้นว่าความเจ็บปวดมีอิทธิพลเหนือท่าน พวกเจ้ามีกุรอานอยู่แล้ว คัมภีร์ของอัลลอฮ์เพียงพอแล้วสำหรับเรา[1] พลันเศาะฮาบะฮ์เกิดมีปากเสียงต่อหน้าท่านนบี(..) ท่านจึงสั่งว่าจงลุกไปจากฉัน ไม่บังควรที่จะต่อล้อต่อเถียงกันต่อหน้าฉัน[2]
อุบัยดุลลอฮ์เล่าว่า อิบนิ อับบาสโอดครวญว่าโศกนาฏกรรมเริ่มตั้งแต่พวกเขาขวางกั้นมิให้ท่านบันทึกคำสั่งเสีย[3]

คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา และยังถือเป็นคำตอบสำหรับแนวคิดของเคาะลีฟะฮ์ที่สองได้อีกด้วย

เหตุผลที่หนึ่ง: สติปัญญา
สมมุติว่ามุสลิมทั้งโลกเชื่อว่ากุรอานเพียงพอแล้ว และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษ ถามว่าความเชื่อนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่?
หากจะเชื่อถือเพียงกุรอาน ถามว่าทุกคนเข้าใจกุรอานไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่?
แม้ว่าทุกคนทราบคำตอบได้ด้วยสามัญสำนึก แต่เราขอชี้แจงเรื่องดังกล่าวพอสังเขปตามแนวคิดที่ว่าเราจะเชื่อว่าสิ่งใดเกิดขึ้น ต้องสังเกตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง

. เป็นที่ทราบกันดีว่าในหมู่พี่น้องมุสลิมเอง ไม่ว่าซุนหนี่หรือชีอะฮ์ ก็มิได้เข้าใจโองการกุรอานในทิศทางเดียวกัน กล่าวได้ว่ามีหลักศรัทธาหรือข้อบังคับไม่กี่ข้อที่นักอธิบายกุรอานทุกคนจะมีทัศนะเป็นเอกฉันท์[4]

. ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ทั้งนี้ ถามว่ารายละเอียดข้อบังคับศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?

. หากเราเชื่อดังที่กล่าวมา แล้วจะทำอย่างไรกับตำราฮะดีษที่มีจำนวนมากมายมหาศาลของพี่น้องซุนหนี่ อาทิเช่น เศาะฮี้ห์บุคอรี มุสลิม สุนันอบีดาวู้ด สุนันติรมิซี สุนันนะซาอี สุนันอิบนิมาญะฮ์ และอีกเป็นร้อยเป็นพันเล่ม

เหตุผลที่สอง: มติปวงปราชญ์(อิจมาอ์)
ปัจจุบันนี้ ทุกมัซฮับไม่ว่าจะเป็นมัซฮับหลักความเชื่อหรือมัซฮับฟิกเกาะฮ์ล้วนเห็นพ้องกันว่าเราขาดฮะดีษไม่ได้ ไม่มีฟะกี้ฮ์หรือนักเทววิทยามุสลิมคนใดที่เชื่อว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษในภาคความเชื่อและภาคปฏิบัติ[5]

เหตุผลที่สาม: กุรอาน
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตมอบให้ก็จงรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่ศาสนทูตยับยั้งก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[6]
แม้ว่าโองการข้างต้นจะประทานมาในเหตุการณ์แบ่งสินสงครามบนีนะฎี้รก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นพระดำรัสในเชิงกว้าง จึงครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิมทุกคน[7] และเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถยึดถือซุนนะฮ์นบี(..)ได้[8]

หลักการดังกล่าวสอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านนบี(..)โดยดุษณี ไม่ว่าจะในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ อิบาดะฮ์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โองการดังกล่าวเตือนว่าผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษแสนสาหัส[9]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
ในจุดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่าเหตุใดอัลลอฮ์จึงสั่งให้มนุษยชาติเชื่อฟังท่านนบี(..)โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ?
เราจะตอบปัญหาข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับเสียก่อนว่าท่านและวงศ์วานของท่านล้วนเป็นผู้มีภาวะไร้บาป(มะอ์ศูม)
ฮะดีษมากมาย[10]ระบุว่า เหตุที่อัลลอฮ์ทรงประทานอำนาจหน้าที่แก่ท่านนบีถึงเพียงนี้ก็เพราะว่าทรงพิจารณาแล้วว่าท่านนบีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันยิ่งใหญ่[11] 

เหตุผลที่สี่: ฮะดีษ
มีฮะดีษมากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่รณรงค์ให้ยึดถือฮะดีษ อาทิเช่นฮะดีษษะเกาะลัยน์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษของซุนหนี่และชีอะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า อัสวัด บินอามิร รายงานจากอบูอิสรออีล (อิสมาอีล บิน อิสฮ้าก มุลาอี) จากอะฎียะฮ์ จากอบูสะอี้ด รายงานว่าท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร[12]
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง

สรุปคือ หนึ่ง.เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับและดำเนินชีวิตตามวิถีมุสลิมโดยปราศจากฮะดีษ สอง. สมมุติว่าไม่พึ่งพาฮะดีษ ความขัดแย้งก็หาได้ลดลงไม่ อาจจะมากกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ



[1] บทที่รายงานโดยอิบนิอุมัร “...แท้จริงนบีกำลังเพ้อเจ้อ”,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333

[2] เศาะฮี้ห์บุคอรี,เล่ม 17,หน้า 417,ฮะดีษที่ 5237, และเศาะฮี้ห์มุสลิม,เล่ม 8,หน้า 414, และมุสนัดอะห์มัด,เล่ม 6,หน้า 368,478, ที่มา: http://www.al-islam.com

[3] ฮิลลี่,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333,สำนักพิมพ์ดารุ้ลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407

[4] กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากตำราตัฟซี้รของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์

[5] อิจมาอ์ในที่นี้มิได้หมายถึงอิจมาอ์เชิงฟิกเกาะฮ์ แต่หมายถึงทัศนะอันเป็นเอกฉันท์ที่สามารถเป็นหลักฐานสำหรับเราได้

[6] อัลฮัชร์, 7 وَ ما آتاکُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَ ما نَهاکُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَ اتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدیدُ الْعِقابِ

[7] المورد لا یخصّص الوارد

[8] ฟัครุดดีน รอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บินอุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 29,หน้า 507,สำนักพิมพ์ดารุอิห์ยาอิตตุร้อษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สาม,..1420

[9] و الأجود أن تکون هذه الآیة عامة فی کل ما آتى رسول اللَّه و نهى عنه و أمر الفی‏ء داخل فی عمومه : เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซานฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 19,หน้า 353,สำนักพิมพ์อินติชาร้อตอิสลามีของญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันการศาสนาเมืองกุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า /อายะฮ์นี้มิได้จำกัดเนื้อหาไว้เพียงเหตุการณ์ที่ประทานลงมาในเรื่องสัดส่วนของสินสงคราม แต่ครอบคลุมคำสั่งและข้อห้ามปรามทั้งหมดของท่านนบี(..)

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 507- 508, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1375

[11] มีฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นนี้จำนวนมาก โปรดอ่านตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 5,หน้า 279-283
ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 509,510

[12] มุสนัดอะห์มัด,เล่ม 22,หน้า 226,252,324 เล่ม 39,หน้า 308

حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ أَخْبَرَنَا أَبُو إِسْرَائِیلَ یَعْنِی إِسْمَاعِیلَ بْنَ أَبِی إِسْحَاقَ الْمُلَائِیَّ عَنْ عَطِیَّةَ عَنْ أَبِی سَعِیدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَسَلَّمَ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمْ الثَّقَلَیْنِ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنْ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنْ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی وَإِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6209 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11451 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5787 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    5951 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    5965 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • ควรนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักกับพระเจ้าแก่ชมรมเยาวชนในพื้นที่อย่างไร?
    5952 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/19
    หากพิจารณาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อ ต้องถือว่าประเด็นการรู้จักพระเจ้าถือเป็นประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด อีกทั้งครอบคลุมประเด็นปลีกย่อยมากมาย หากคุณต้องการอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้จะต้องคำนึงถึง 2 หลักการเป็นสำคัญ หนึ่ง. ควรเลือกประเด็นที่จะหยิบยกมาพูดคุยให้เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตรรกะ สอง.จะต้องคำนึงถึงบุคลิกและพื้นฐานความรู้ของผู้ฟังอย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับหลักการแรก ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ คุณจะต้องเลือกประเด็นในการพูดคุยเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่มีความครอบคลุมมากกว่า เพื่อที่จะได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นลึกๆ ของการรู้จักพระเจ้า นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงลำดับการเรียงเนื้อหาที่เหมาะสม และจะต้องหลีกเลี่ยงการพูดเยิ่นเย้อ ให้ทยอยนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า และควรใช้วิธีการที่สามารถเข้าใจง่ายและมีความหลากหลาย ควรใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกแสวงหาพระเจ้าที่มีในเยาวชนให้มากที่สุด ควรจะปล่อยให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดและสรุปข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจประเด็นต่าง ๆได้ ควรใช้หนังสือต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอย่างชัดแจนและมีการลำดับเนื้อเรื่องที่ดี เกี่ยวกับหลักการที่สองควรจะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ควรจะนำเสนอประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของเยาวชนกลุ่มนั้น ๆ และหากต้องการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6557 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
    5563 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/03/07
    คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์ นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์: وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
  • ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
    6886 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้วจะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับโดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอนอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อัลกุรอานเป็นของขวัญแก่ชาวฮินดู ขณะที่เขาต้องการที่จะศึกษาและรู้จักอัลกุรอาน และเขาต้องสัมผัสหน้าอัลกุรอานแน่นอน ?
    6691 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    ก่อนที่จะอธิบายถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้, จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ก่อน1. ฮินดูในความเป็นจริงก็คือผู้ปฏิเสธศรัทธา2. ในกรณีที่มั่นใจ (มิใช่เดา) ว่าเขาจะทำให้กุรอานนะญิซโดยกาเฟร

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59399 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56850 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41680 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38434 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38432 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33459 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27546 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27245 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27148 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25222 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...