การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7377
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/16
คำถามอย่างย่อ
จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
คำถาม
กรุณาชี้แจงว่า จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
คำตอบโดยสังเขป

บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก
แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม

เพื่อไขข้อข้องใจที่ว่า ในโลกที่คละคลุ้งไปด้วยบรรยากาศอันน่าสะอิดสะเอียน คุณธรรมถูกครอบงำโดยการหลอกลวง ฯลฯ คนในยุคนี้จะปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาได้อย่างไร และรอดพ้นจากภัยคุกคามทางสังคมได้หรือไม่? เราจะพิจารณาจากสองมุมมองดังต่อไปนี้

ก. บทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก
บทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก คือประมวลบทบัญญัติที่พระเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้มนุษยชาติบรรลุซึ่งความผาสุกอันสมบูรณ์ (ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสร้างมนุษย์) ประมวลบทบัญญัติเหล่านี้อยู่ในรูปของการสั่งและการปราม (ชุดบทบัญญัติที่พึงปฎิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการสรรสร้าง และชุดที่พึงหลีกเลี่ยงเนื่องจากจะเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายดังกล่าว) บทบัญญัติประเภทปัจเจกนี้สามารถปฏิบัติได้ในทุกสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมคนใดต้องการปฏิบัติก็สามารถกระทำได้แม้ในสังคมที่เสื่อมทราม เพราะสภาพสังคมมิได้เป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก ในสภาวะเช่นนี้ผู้ศรัทธาสามารถประกอบศาสนกิจของตนได้ แม้ว่าอาจจะลำบากอยู่บ้างก็ตาม กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

يا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا عَلَيْكُمْ أَنْفُسَكُمْ لا يَضُرُّكُمْ مَنْ ضَلَّ إِذَا اهْتَدَيْتُمْ إِلَى اللَّهِ مَرْجِعُكُمْ جَمِيعاً فَيُنَبِّئُكُمْ بِما كُنْتُمْ تَعْمَلُونَ[1]

“โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย พึงสำรวมตน บรรดาผู้หลงทางล้วนไม่สามารถที่จะทำอันตรายใดๆหากสูเจ้าได้รับทางนำแล้ว สู่อัลลอฮ์คือสถานคืนกลับของสูเจ้าทั้งหมด แล้วพระองค์จะทรงแจ้งในสิ่งที่สูเจ้าเคยกระทำ”

โองการนี้ได้จำแนกบัญชีกรรมของมนุษย์แต่ละคนอย่างชัดเจน กล่าวคือ การหลงทางของผู้อื่นไม่มีผลใดๆต่อการชี้นำของบุคคลที่ได้รับทางนำแล้ว แม้ผู้หลงทางจะเป็นวงศาคณาญาติก็ตาม ฉะนั้นจึงควรไม่ควรปฏิบัติตามคนเหล่านี้
แต่คนเราจะสามารถประคองความศรัทธาท่ามกลางสภาพสังคมเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อยึดถือสายสัมพันธ์ของอัลลอฮ์ ซึ่งก็คืออัลกุรอานและบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์อย่างมั่นคงในหนทางที่เต็มไปด้วยขวากหนาม สารธรรมอิสลามสอนแก่เราว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมเผชิญกับความแตกแยกและความสับสน จงหวลสู่กุรอานเถิด เพราะกุรอานคือทางนำสู่ความผาสุก

فَإِذَا الْتَبَسَتْ عَلَيْكُمُ الْفِتَنُ كَقِطَعِ اللَّيْلِ الْمُظْلِمِ فَعَلَيْكُمْ بِالْقُرْآنِ[2]

ผู้ที่ยึดถือคำสอนของกุรอานเป็นธรรมนูญชีวิต ย่อมจะได้พบกับความผาสุกในบั้นปลาย... เพราะคำสอนของกุรอานเปรียบประดุจรัศมี

อนึ่ง ควรคำนึงเสมอว่าในทุกยุคสมัย ผู้ศรัทธามักจะถูกบีบคั้นโดยสังคมเสมอมานับตั้งแต่ยุคของบรรดาศาสดาท่านก่อนๆ เรื่อยมาจนถึงอิสลามยุคบุกเบิกจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อพิจารณาในหน้าประวัติศาสตร์ก็ไม่สามารถจะพบยุคสมัยใดที่มีสังคมในอุดมคติที่สามารถปฏิบัติศาสนกิจอย่างอิสระเสรีและไร้กังวลได้ ข้อเท็จจริงก็คือสิ่งที่เราประสบอยู่ปัจจุบัน ฉะนั้น ศิลปะของเหล่าปูชณียบุคคลแห่งอัลลอฮ์ก็คือการพิทักษ์ศาสนาในสภาวะสังคมเช่นนี้ให้จงได้

สอง. ศาสนบัญญัติด้านสังคมของอิสลาม
ศาสนบัญญัติบางประการมีสถานะเชิงสังคม และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม จำต้องเรียนว่าสภาพสังคมที่คละคลุ้งด้วยการกลับกลอกหลอกลวงอย่างในปัจจุบันก็เคยเกิดขึ้นในยุคของท่านอิมามอลี(อ.)มาก่อน ท่านเคยกล่าวว่า ایها الناس انا قد اصبحنا فی دهر عنود و زمن کنود...
“โอ้กลุ่มชนเอ๋ย เราอยู่ในยุคแห่งการบีฑาและการลำเลิกบุญคุณ คนดีกลายเป็นผู้ร้าย และผู้กดขี่ยิ่งพยศทวีคูณ...”[3] ท่ามกลางสังคมเช่นนี้ หากบุคคลหนึ่งต้องการจะประคองตนให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายและตักเตือนผู้อื่นก็ย่อมจะถูกล้อเลียนถากถาง ในจุดนี้ควรปกป้องคุณธรรมและเผชิญหน้ากับอบายมุขเท่าที่จะสามารถกระทำได้ อันเป็นสำนึกทางสังคมและสอดคล้องกับหลักการกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่ว แต่หากเห็นว่าการกระทำของตนไม่สัมฤทธิ์ผล อย่างน้อยก็ถือว่าได้ทำหน้าที่แล้ว

อิมามอลีให้โอวาทเกี่ยวกับผู้ศรัทธาที่อยู่ในสภาพสังคมเช่นนี้ว่า “ผู้แสวงหาพระเจ้าที่แท้จริงคือผู้ที่หลั่งน้ำตาเนื่องด้วยความพรั่นพรึงต่อวันปรโลก วันแห่งการพิพากษา และวาระแห่งการฟื้นคืนชีพ บุคคลเหล่านี้จะปลีกตนจากผู้คนและอยู่อย่างลำพัง... สังคมได้บีบคั้นบุคคลเหล่านี้... เสมือนพวกเขาลอยคออยู่ในทะเลที่เค็มสนิท”[4] จากวจนะดังกล่าวทำให้ทราบว่าสังคมมีข้อแตกต่างในสายตาของผู้มีจิตใจผ่องแผ้ว เป็นไปได้ว่าบุคลลเหล่านี้อาจจะเบื่อหน่ายสังคมและปลีกตัวออกห่างความวุ่นวาย หรืออาจจะอยู่ในสังคมที่กดขี่พวกเขา หรือพวกเขาอาจพยายามปรับปรุงสังคมแล้วแต่ไม่มีใครนำพาจึงเลือกที่จะเงียบสงบ การที่อิมามอลี(อ.)เปรียบกัลยาณชนเป็นผู้ที่ลอยอยู่ในทะเลที่เค็มสนิทนั้น อาจเป็นเพราะการที่น้ำเค็มไม่อาจจะบำบัดความกระหายได้ เปรียบดังบุคคลที่ใช้ชีวิตในสังคมที่แตกต่างอย่างสุดขั้วเสมือนคนแปลกหน้าก็มิปาน

อย่างไรก็ดี สถานะของแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสังคม บางคนอาจจะทำได้เพียงรณรงค์ความดีในสังคมในวงแคบและได้ผลอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก ก็ถือว่าเขามีหน้าที่เพียงเท่านั้น เพราะกุรอานกล่าวว่า لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلاَّ وُسْعَها... อัลลอฮ์มิทรงกำชับเกินขีดความสามารถของบุคคล[5] ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าผู้ศรัทธามีสถานะที่แตกต่างกันในแต่ละเงื่อนไข

อนึ่ง ในกรณีที่จะต้องทนอยู่ในสังคมที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาแห่งอิสลามอย่างไม่มีทางเลือก ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งปัญหาทางสังคมและลดปฏิสัมพันธ์ด้านโลกย์เท่าที่จะทำได้ มิเช่นนั้นก็จะมีหน้าที่ตามที่กุรอานได้ระบุไว้ นั่นก็คือการอพยพไปจากสังคมนั้นๆ กุรอานกล่าวถึงบุคคลที่มักจะชี้แจงความอ่อนแอของตนโดยอ้างสภาพแวดล้อมของสังคมว่า “บุคคลที่มวลมลาอิกะฮ์เก็บวิญญาณในสภาพที่กดขี่ตนเอง จะมีปรารภแก่พวกเขาว่า สูเจ้าเคยเป็นเช่นไรหรือ? (และเหตุใดจึงอยู่ในแถวของกาฟิรทั้งที่เป็นมุสลิม) พวกเขาตอบว่า เราถูกกดขี่ในดินแดนของเรา (มลาอิกะฮ์)แย้งว่า แผ่นดินของอัลลอฮ์มิได้กว้างใหญ่ไพศาลหรืออย่างไร เหตุใดจึงไม่อพยพเล่า?”[6]
ศาสนศึกษาและความเข้าใจอิสลามในมุมมองใหม่,3002 (ลำดับในเว็บไซต์ 3250)

 

 


[1] อัลมาอิดะฮ์,105

[2] กุลัยนี,มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ, อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 599,600,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1365

قَالَ فَقَامَ الْمِقْدَادُ بْنُ الْأَسْوَدِ فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ وَ مَا دَارُ الْهُدْنَةِ قَالَ دَارُ بَلَاغٍ وَ انْقِطَاعٍ فَإِذَا الْتَبَسَتْ عَلَيْكُمُ الْفِتَنُ كَقِطَعِ اللَّيْلِ الْمُظْلِمِ فَعَلَيْكُمْ بِالْقُرْآنِ فَإِنَّهُ شَافِعٌ مُشَفَّعٌ وَ مَاحِلٌ مُصَدَّقٌ وَ مَنْ جَعَلَهُ أَمَامَهُ قَادَهُ إِلَى الْجَنَّةِ وَ مَنْ جَعَلَهُ خَلْفَهُ سَاقَهُ إِلَى النَّارِ وَ هُوَ الدَّلِيلُ يَدُلُّ عَلَى خَيْرِ سَبِيلٍ وَ هُوَ كِتَابٌ فِيهِ تَفْصِيلٌ وَ بَيَانٌ وَ تَحْصِيلٌ وَ هُوَ الْفَصْلُ لَيْسَ بِالْهَزْلِ وَ لَهُ ظَهْرٌ وَ بَطْنٌ فَظَاهِرُهُ حُكْمٌ وَ بَاطِنُهُ عِلْمٌ ظَاهِرُهُ أَنِيقٌ وَ بَاطِنُهُ عَمِيقٌ لَهُ نُجُومٌ وَ عَلَى نُجُومِهِ نُجُومٌ لَا تُحْصَى عَجَائِبُهُ وَ لَا تُبْلَى غَرَائِبُهُ فِيهِ مَصَابِيحُ الْهُدَى وَ مَنَارُ الْحِكْمَةِ وَ دَلِيلٌ عَلَى الْمَعْرِفَةِ لِمَنْ عَرَفَ الصِّفَةَ فَلْيَجْلُ جَالٍ بَصَرَهُ وَ لْيُبْلِغِ الصِّفَةَ نَظَرَهُ يَنْجُ مِنْ عَطَبٍ وَ يَتَخَلَّصْ مِنْ نَشَبٍ فَإِنَّ التَّفَكُّرَ حَيَاةُ قَلْبِ الْبَصِيرِ كَمَا يَمْشِي الْمُسْتَنِيرُ فِي الظُّلُمَاتِ بِالنُّورِ فَعَلَيْكُمْ بِحُسْنِ التَّخَلُّصِ وَ قِلَّةِ التَّرَبُّصِ

[3] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,คุตบะฮ์,32

[4] เพิ่งอ้าง, وَ بَقِيَ رِجَالٌ غَضَّ أَبْصَارَهُمْ ذِكْرُ الْمَرْجِعِ وَ أَرَاقَ دُمُوعَهُمْ خَوْفُ الْمَحْشَرِ فَهُمْ بَيْنَ شَرِيدٍ نَادٍّ وَ خَائِفٍ مَقْمُوعٍ وَ سَاكِتٍ مَكْعُومٍ وَ دَاعٍ مُخْلِصٍ وَ ثَكْلَانَ مُوجَعٍ

[5] อัลบะเกาะเราะฮ์,286

[6] อันนิซาอ์, 97

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5251 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8850 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • ถ้าหากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประสบความสำเร็จในการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ท่านจะได้จัดตั้งรัฐบาล แล้ววันนี้โลกอิสลามจะอยู่ในสถานภาพอย่างไร?
    8189 تاريخ بزرگان 2555/09/08
    สาเหตุหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยน (อ.) คือ การฟื้นฟูตำสอนศาสนา และการกำชับความดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดอิสลามให้สิ้นซาก ซึ่งความคิดอันเลวร้ายนั้นได้ลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมอิสลาม โดยมีความเชื่อว่าเคาะลีฟะฮฺหรือฮากิมอิสลาม จะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าจะก่ออาชญากรรมมากน้อยเพียงใดก็ตาม เขาก็คือเคาะลิฟะฮฺของอัลลอฮฺ วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา การยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ในแง่นี้ประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และถือว่าบรรลุเป้าหมายด้วย แม้ว่าเป้าหมายอันสูงส่งของอิสลาม ความสำเร็จของสังคมขึ้นอยู่การทำความดีต่างๆ และนำเอาบทบัญญัติมาดำเนินใช้ในสังคม การได้จัดตั้งรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า รูปแบบการจัดตั้งรัฐอิสลามโดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พร้อมกับการโค่นล้มการปกครองของผู้อธรรม ซึ่งผลที่จะได้รับนอกจากจะได้รับรัฐอิสลาม และความสำเร็จของสังคมแล้ว เราก็จะได้เห็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของอิสลาม แน่นอนว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อันอเนกอนันต์แก่ประชาชาติอิสลาม และถือว่านั้นคือความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลาม แต่น่าเสียดายว่าสิ่งนั้นมิได้เกิดขึ้นจริง ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะรีบจ่ายคุมุสหลังจากซื้อบ้านโดยมิได้จ่ายคุมุส?
    5816 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/16
    หากผู้ถามจะระบุให้ชัดเจนว่าต้องการทราบฟัตวาของมัรญะอ์ท่านใดก็จะช่วยให้ได้คำตอบที่แม่นยำมากขึ้นทั้งนี้เราขอตอบคำถามของท่านตามทัศนะของท่านอายะตุ้ลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีดังต่อไปนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้านและยังมีภาระต้องจ่ายคุมุสอยู่จำเป็นต้องจ่ายคุมุสเสียก่อนแล้วจึงซื้อบ้านแต่หากเงินคงเหลือหลังหักคุมุสไม่เพียงพอที่จะซื้อบ้านที่เหมาะสมขอให้ท่านปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนและทำการประนีประนอมหนี้คุมุสโดยขอผัดผ่อนการชำระไปก่อนระยะหนึ่งแต่ถ้าหากท่านดำเนินการซื้อบ้านไปก่อนที่จะปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทน  ให้รีบปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนตั้งแต่บัดนี้เพื่อพวกเขาจะอาศัยอำนาจหน้าที่ๆมีเพื่อกำหนดระยะเวลาชำระคุมุสให้ท่าน.[1][1]ดู: ประมวลปัญหาศาสนาโดยอิมามโคมัยนี(ภาคผนวก),เล่ม 2 ,หน้า
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    5802 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • นามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรและนามของบิดาของพวกเธอคืออะไร ?
    5761 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    ท่ามกลางหมู่มิตรของอัลลอฮฺและหมู่กัลญาณชนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกเขาได้เสียสละในแนวทางของความเป็นเอกะและเป้าหมายของพระเจ้าอย่างมากมายนามชื่อของพวกเขาได้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษย์แต่ท่ามกลางหมู่ชนแหล่งอ้างอิงและรายงานในอิสลามได้จารึกนามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรเอาไว้ว่าเป็นสตรีที่ดีที่สุดมีเกียรติและฐานันดรสูงส่งที่สุดในฐานะที่เป็นสตรีที่ดีที่สุดและเป็นสตรีชาวสวรรค์ที่ดีที่สุดด้วยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวแก่ท่านอมีรุลมุอฺมินีน ...
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8410 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8709 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10159 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    8945 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38430 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27239 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27137 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...