การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12850
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/02
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1974 รหัสสำเนา 13394
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
คำถาม
ศาสนาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การที่จะสามารถนิยามความสัมพันธระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมจารีตได้นั้น ขั้นแรกต้องเข้าใจถึงลักษณะจำเพาะ เป้าประสงค์ และผลผลิตของทั้งศาสนาและวัฒนธรรมเสียก่อน.

บางคนปฎิเสธความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง ทัศนคตินี้ค่อนข้างจะไร้เหตุผล ทั้งนี้ก็เพราะแม้ว่าวัฒนธรรมจารีตบางประเภทอาจจะผิดแผกและไม่เป็นที่ยอมรับโดยศาสนาเนื่องจากขัดต่อเป้าประสงค์ที่ศาสนามุ่งนำพามนุษย์สู่ความผาสุก แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีวัฒนธรรมจารีตอีกมากมายที่สอดคล้องและได้รับการยอมรับโดยศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีวัฒนธรรมจารีตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากคุณค่าที่ได้รับการฟูมฟักโดยศาสนาเช่นกัน.

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า "ดีน"  (ศาสนา) ในเชิงภาษาอรับมีความหมายที่หลากหลาย อาทิเช่น การตอบแทน ,การภักดี, ความเคยชิน ,การตัดสินพิพากษา แต่จากจำนวนความหมายดังกล่าว ขุมตำราตัฟซีรกุรอาน(อรรถาธิบาย)รวมทั้งตำราไวยากรณ์อรับบ่งชี้ว่าอัลกุรอานใช้คำว่า ดีน เพื่อสื่อความหมายถึงความภักดี และการตอบแทนเสียส่วนใหญ่ ส่วนความหมายอื่นๆที่มีอยู่ประปรายนั้นก็ได้แก่ การหยิบยืมทรัพย์สิน การคำนวน และการตราคำสั่ง[1]

โองการที่สื่อความหมายถึงการภักดีนั้นได้แก่ "لااکراه فی الدین"؛  (ไม่มีการข่มบังคับในเรื่องของการภักดี) [2] ส่วนโองการที่สื่อความหมายถึงการตอบแทนก็ได้แก่ "مالک یوم الدین" (จ้าวแห่งวันตอบแทน)[3]

ส่วนความหมายของคำว่าดีนหรือศาสนาในแวดวง(วิชาการอิสลาม)นั้น ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานี (นักไวยากรณ์อรับนามอุโฆษ)เชื่อว่าเป็นการอุปมาอุปมัยถึง ชะรีอัต[4] (บทบัญญัติศาสนา) ส่วนท่านฟาฎิล มิกด้าด เชื่อว่าหมายถึง ฎอรีกัตและชะรีอัต[5] (วิถีทางและบทบัญญัติศาสนา) นอกจากนี้ศาสนายังหมายถึงพันธะสัญญาต่างๆที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งจะขับเคลื่อนมนุษย์ให้ประคองตนสอดคล้องกับบทบัญญัติที่ประทานแก่ท่านศาสดา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความหมายเชิงกว้างของคำว่า "ดีน" (ศาสนา) ที่สามารถปรับประยุกต์และนำมานิยามบทบัญญัติจากพระเจ้าที่ได้ประทานแก่เหล่าศาสดาทุกท่าน.[6]

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาสนาอุดมไปด้วยแนวความเชื่อ ,ศีลธรรมจรรยา และประมวลบทบัญญัติจากพระเจ้านั่นเอง[7]

อย่างไรก็ดี ความหมายจำเพาะของคำว่าดีน (ศาสนา) หรือศาสนาที่เที่ยงธรรมดังที่ปรากฏในโองการอัลกุรอานนั้นก็คือ "อิสลาม"

 "ان الدین عندالله الاسلام..." (แน่แท้ อิสลามคือศาสนา(อันเที่ยงธรรม)  อัลลอฮ์)[8]

ส่วน "วัฒนธรรม"นั้น นับเป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมมากที่สุดคำหนึ่งในเชิงสังคมศาสตร์ โดยมีผู้นิยามความหมายคำนี้ไว้อย่างหลากหลาย

ในเชิงภาษา วัฒนธรรมหมายถึงจรรยามารยาท, องค์ความรู้, ศาสตร์ และความเข้าใจ[9]

ส่วนความหมายในแวดวงสังคมศาสตร์นั้นหมายถึง ความรู้และจรรยามารยาท, จารีตประเพณี, วัตรปฎิบัติของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งกลุ่มชนนั้นๆสืบสานและถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด[10] 

บ้างก็นิยามวัฒนธรรมว่า หมายถึงประมวลองค์ความรู้ต่างๆ ศิลปแขนงต่างๆ แนวคิดและความเชื่อ, ศีลธรรมจรรยา, กฎเกณฑ์และข้อตกลง รวมทั้งจารีตประเพณีทั้งหลาย.[11]

เพราะฉะนั้น ต่อข้อซักถามที่ว่า ระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่? และหากมีความเชื่อมโยงกัน จะถือว่าสองข้อเท็จจริงนี้คือสิ่งเดียวกันได้หรือไม่? เราจะถือว่าศาสนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวัฒนธรรม หรือในทางกลับกัน เราจะเชื่อว่าศาสนาคือบ่อเกิดของวัฒนธรรมได้หรือไม่?  ปริศนาเหล่านี้ เนื่องจากวัฒนธรรมมีคำนิยามที่หลากหลาย จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงวิชาการต่อไป

บางคนเชื่อว่าไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆระหว่างคำว่าศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคมและเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของชาติ  วัฒนธรรมค่อยๆผลิดอกออกผลภายในสังคม โดยที่ปัจจัยทางธรรมชาติและภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่นสามารถก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ 

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วัฒนธรรรมมิไช่สิ่งอื่นใดเลยนอกจากผลผลิตที่สังคมได้สังเคราะห์ขึ้นท่ามกลางบริบททางธรรมชาติและภูมิประเทศ (และปัจจัยทางประวัติศาสตร์) และได้มอบเป็นมรดกแก่คนในสังคมสืบไป ทว่าในทางตรงกันข้าม ศาสนามิไช่มรดกทางสังคม ศาสนามิไช่ผลงานที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น หากจะกล่าวตามประสานักเทวนิยมก็ก็กล่าวได้ว่า "ศาสนาเป็นสถาบันที่พระเจ้าสถาปนาขึ้น"  หากมองในมุมนี้แล้ว เราจะพบว่าศาสนามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในแง่จุดกำเนิด แต่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างสอดคล้องกัน[12]

อย่างไรก็ดี นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นการยากที่จะปฎิเสธสัมพันธภาพที่มีระหว่างนัยยะของศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งนี้เนื่องจากคำสอนศาสนาหลายประการนับเป็นคำสอนทางวัฒนธรรมด้วยนั่นเอง กล่าวคือ หากศาสนาสอนเกี่ยวกับหลักความเชื่อและศีลธรรมจรรยา ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งดังกล่าวถือเป็นแก่นของวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และหากจรรยามารยาทและจารีตต่างๆคือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรม อย่าลืมว่าชะรีอัต (บทบัญญัติ) ของศาสนาก็พูดถึงเรื่องดังกล่าวเช่นกัน [13]

อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางภูมิประเทศและสภาวะดินฟ้าอากาศ วัฒนธรรมจารีตบางอย่าง อาทิเช่นการฝังบุตรสาวทั้งเป็นในยุคอรับญาฮิลียะฮ์ รวมถึงอุตริกรรมและสิ่งงมงายอันแพร่หลายซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ค่อยๆแปรสภาพเป็นวัฒนธรรมนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนของศาสนาอย่างแน่นอน วัฒนธรรมจารีตบางประเภทสามารถเป็นที่ยอมรับของศาสนาได้หากได้รับการสังคายนาแก้ไขบ้างเสียก่อน และวัฒนธรรมจารีตบางประเภทก็เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาคำสอนของศาสนาโดยตรง

หากจะพิจารณาถึงจุดกำเนิดของศาสนา ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆชี้ให้เห็นว่าศาสนาแต่ละศาสนาจะกำเนิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของระบอบศาสนาที่มีอยู่เดิมได้เสื่อมลงหรืออาจเกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อศาสนาหนึ่งเริ่มแผ่ขยายขึ้นก็มักจะปฎิวัติโค่นล้มหรือไม่ก็ปฎิรูปโครงสร้างค่านิยมเดิมในสังคม ส่งผลให้วัฒนธรรมของสังคมดังกล่าวสั่นสะเทือนรุนแรงและหาทางกำจัดเนื้อหาของตนบางประการ และยอมรับเนื้อหาอันสอดคล้องกับคุณค่าชุดใหม่ของศาสนาหรือสำนักคิดใหม่ จากจุดนี้เองที่เราจะเห็นว่าศาสนาหรือสำนักคิดสามารถสร้างวัฒนธรรมได้

อย่างไรก็ตาม มิไช่ว่าทุกศาสนาจะสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาได้ ข้อเท็จจริงก็คือ ศาสนาทุกศาสนาจะสร้างสรรค์/นำเสนอคุณค่าชุดหนึ่งขึ้นมา โดยที่คุณค่าเหล่านี้ :

1.     สวมบทบาทวัฒนธรรมเข้าแก้ไขวัฒนธรรมเดิมที่ขัดแย้งกับคุณค่าดังกล่าว ดังกรณีที่วัฒนธรรมจารีตการฝังบุตรสาวทั้งเป็นได้ถูกเพิกถอนหลังอิสลามแผ่ขยาย 

2.     เข้าเติมเต็มวัฒนธรรมที่ว่างเปล่าไร้ซึ่งเนื้อหาคุณค่า หรือในกรณีที่วัฒนธรรมบางอย่างห่อหุ้มเนื้อหาที่เป็นภัยคุกคามต่อคุณค่าชุดใหม่ แต่ยังสามารถชำระให้บริสุทธิจากเนื้อหาเก่าได้ ศาสนาก็จะแปรสภาพวัฒนธรรมดังกล่าวให้พร้อมต่อการเจริญงอกงามของคุณค่าชุดใหม่ ดังจะเห็นได้จากกรณีการประกอบพิธีฮัจย์ที่เคยคราคร่ำไปด้วยเนื้อหาของการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ดในยุคญาฮิลียะฮ์ (อวิชชา) อิสลามมิได้ขจัดวัฒนธรรมดังกล่าวอย่างถอนรากถอนโคน แต่ได้อนุรักษ์ไว้โดยเติมเต็มเนื้อหาเข้าไปให้สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เองที่วัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่ได้ในโครงสร้างของคุณค่าชุดใหม่ต่อไปได้ ดังเช่น วัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ของชาวอิหร่านก่อนและหลังอิสลาม[14]

ขอย้ำอีกครั้งว่าศาสนาใหม่มิได้นำมาซึ่งวัฒนธรรมใหม่ แต่ศาสนาจะนำเสนอคุณค่าชุดใหม่ โดยที่สังคมจะก่อกำเนิดวัฒนธรรมขึ้นตามบริบทของคุณค่าชุดดังกล่าว และเมื่อวัฒนธรรมใหม่ถือกำเนิดขึ้นตามคำสอนของศาสนาใหม่ ครั้นเวลาผ่านไป ศาสนาก็จะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆในที่สุด

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ก็คือ หากศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีอิทธิพลเหนือความคิดของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ย่อมจะให้กำเนิดพหุวัฒนธรรมอันหลากหลายทว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าชุดเดียวกัน คงไม่ถูกต้องนักที่จะคิดว่าเมื่อศาสนาเข้าสู่เขตคามใดย่อมจะบังเกิดวัฒนธรรมเดียวเท่านั้น ที่ถูกต้องก็คือ ศาสนาจะผลักดันให้คุณค่าชุดเดียวโดดเด่นและมีอิทธิพลเหนือกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ส่วนวัฒนธรรมนั้นจะแตกต่างกันไปตามภูมิหลังทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพราะกรอบแห่งวัฒนธรรมเกิดขึ้นบนพื้นฐานทางภูมิประเทศและสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง [15]



[1]. สารานุกรมตะชัยยุอ์ เล่ม 7  คำว่า دین

2. ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ : 256

[3]. ซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ : 4

[4]. รอฆิบ อิศฟะฮานี,มุฟเราะดาต อัลฟาซุลกุรอาน หน้า 177 คำว่า دین (ศาสนา)

[5]. ฟาฎิล มิกด้าด, ชัรฮ บาบ ฮาดีอะชัร หน้า 2

[6]. สารานุกรมตะชัยยุอ์ หน้า 7 คำว่า دین

[7]. อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี, ฟิตรัต ดาร กุรอาน เล่ม 12 หน้า 145

[8]. ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน : 19

[9]. มุฮัมมัด มุอีน, พจนานุกรมมุอีน เล่ม 2 คำว่า فرهنگ (วัฒนธรรม)

[10]. ซัยยิดมุศเฏาะฟา ดัชตี ฮุซัยนี, มะอาริฟ วะ มะอารีฟ เล่ม คำว่า فرهنگ

[11]. อับดุลฮุเซน สะอีดียอน, ดาอิเราะตุลมะอาริฟ โนว์ เล่ม 4 คำว่า فرهنگ

[12]. นสพ.สะลอม, ประจำวันที่ 15/7/1373 หน้า 10

[13]. อ้างแล้ว

[14]. นสพ.ญะฮอเน อิสลาม, ประจำวันที่ 1/2/1373 หน้า 10

[15]. อ้างแล้ว

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6354 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7410 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    24500 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5251 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8707 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • การสัมผัสสิ่งที่เป็นนะญิสจะทำให้เราเป็นนะญิสด้วยหรือไม่? หากต้องการทำความสะอาดเราจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหญ่หรือไม่?
    7318 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    หากสิ่งหนึ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยหนึ่งในสองหรือทั้งสองสิ่งนั้นมีความชื้นในลักษณะที่ถ่ายทอดถึงกันได้สิ่งสะอาดดังกล่าวก็จะเปื้อนนะญิสด้วย[1]สำหรับการทำความสะอาดสิ่งนั้นหลังจากที่ได้กำจัดธาตุนะญิสออกแล้วหากสิ่งที่เป็นนะญิสที่ไม่ใช่ปัสสาวะการล้างด้วยน้ำปริมาตรกุรน้ำปริมาตรก่อลี้ลหรือน้ำไหลผ่านถือว่าเพียงพอแล้ว       อิฮติยาตวาญิบให้บิดหรือสะบัดพรมเสื้อผ้าฯลฯเพื่อให้น้ำที่คงเหลืออยู่ในนั้นใหลออกมาหากต้องการทำความสะอาดสิ่งที่เป็นนะญิสโดยปัสสาวะจะต้องล้างด้วยน้ำก่อลี้ลโดยให้ราดน้ำหนึ่งครั้งโดยให้น้ำไหลผ่านหากไม่หลงเหลือปัสสาวะแล้วให้ราดน้ำอีกหนึ่งครั้งก็จะสะอาดแต่ในกรณีพรมหรือเสื้อผ้าและสิ่งทอประเภทอื่นๆทุกครั้งที่ราดน้ำจะต้องบีบหรือบิดจนน้ำไหลออกมา[2]ไม่ว่ากรณีใดข้างต้นก็ไม่จำเป็นจะต้องทำอาบน้ำยกฮะดัษนอกจากผู้ที่ได้สัมผัสศพก่อนอาบน้ำมัยยิตและหลังจากที่ศพเย็นลงแล้วในกรณีนี้นอกจากเขาจะต้องล้างส่วนๆนั้นของร่างกายที่สัมผัสกับศพแล้วเขาจะต้องทำกุซุลมัสส์มัยยิต(สัมผัสศพ)ด้วยเช่นกัน[3]หากสิ่งที่สะอาดสัมผัสกับสิ่งที่เปื้อนนะญิสโดยที่สองสิ่งดังกล่าวแห้งหรือมีความชื้นต่ำเสียจนไม่ถ่ายทอดถึงกันสิ่งที่สะอาดก็จะไม่เปื้อนนะญิส[4]
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8275 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7325 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    7987 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    18469 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59395 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38429 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27239 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...